ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จักรวาลลี้ลับ

    ลำดับตอนที่ #1 : กำเนิดดาวฤกษ์

    • อัปเดตล่าสุด 28 มี.ค. 50


    กำเนิดดาวฤกษ์

                    
                    ดาวฤกษ์อายุมากที่สุกในกาแลกซี่ของเราเกิดเมื่อประมาณ  14 ,00  ล้านปีมาแล้ว  และในเวลาต่อมาก็มีดาวฤกษ์เกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก  ดาวฤกษ์เกิดจากเมฆฝุ่นและก็าซขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า
    " เนบิวลา " แรงโน้มถ่วงดึงก้อนก็าซให้ยุบตัวลงเป็นการกำเนิดดาวฤกษ์ตอนแรกอาจจะมองไม่เห็นเพราะมีฝุ่นและก็าซบังอยู่  เรารู้ว่ามีดาวซ่อนอยู่จากการตรวจสอบพลังงาน     ในช่วงคลื่นอินฟราเรดซึ่งไม่ใช่ช่วงคลื่นและแสงสว่าง  ครั้นเมื่อเป็นดาวฤกษ์โดยสมบูรณ์แล้ว  ก็จะผ่านทะลุความมืดและทำให้ก็าซรอบ ๆ เรืองแสง  เนบิวลาว่างใหญ่เป็นเมฆฝุ่นและก็าซที่อยู่ใกล้เราที่สุดที่เราสังเกตการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายนี้ได้

                ลำดับการเกิดดาวฤกษ์

    ขั้นแรกของการกำเนิดดาวฤกษ์คือแรงโน้มถ่วงของก้อนฝุ่นและก็าซดึงก้อนฝุ่นก็าซ         ให้หดยุบตัวลงขณะที่ยุบตัวลงเป็นก้อนกลมโมเลกุลของก็าซเข้าใกล้กันมากขึ้น  เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้นความกดดันเพิ่มขึ้น ทำให้ก็าซและฝุ่นร้อนขึ้นอุณหภูมิของกาซที่ใจกลางสูงขึ้น   เรื่อย ๆ เพราะแรงโน้มถ่วงดึงให้ยุบตัวลงต่อไปอีก     ก้อนก็าซกลายเป็นดาวที่ยังไม่คลอด             ( protostar )  จนกระทั่งอุณหภูมิสูงขึ้น เป็น 15 ล้านองศาเซลเซียส จึงเกิดปฏิกิริยาเทอร์มอ        นิวเครียส ได้พลังงานออกมามหาศาลเป็นการสร้างพลังงานของดาวฤกษ์ ทำให้ดาวเปล่งแสงคลอดออกมาเป็นดาวฤกษ์เกิดใหม่ปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเครียสดังกล่าวเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อดาว         มีมวลสารมากพอที่จะทำให้ใจกลางมีอุณหภูมิสูงขึ้น 15 ล้านองศาเซลเซียสหากเนื้อสารน้อยกว่า 1 ใน 20 ของดวงอาทิตย์ก้อนก็าซจะร้อนขึ้นแต่อุณหภูมิภายในไม่สูงพอจะเกิดปฏิกิริยาได้ ดังนั้นจึงส่องแสงเป็นดาวฤกษ์อย่างสมบูรณ์ไม่ได้แต่จะกลายเป็นดาวเคราะห์น้ตาลเมื่อเกิดเป็นดาวฤกษ์ขึ้นมาแล้วจะมีฝุ่นและก็าซที่เหลือล้อมรอบดาวดวงนี้ฝุ่นและก็าซเหล่านี้อาจรวมกันเป็นดาวเคาะห์หรือดาวเคราะห์น้ำตาลและในที่สุด    แรงของการแผ่รังสีของดาวฤกษ์ที่ร้อนแรงจะผลักดันก็าซและฝุ่นที่หลงเหลือให้กระจายออกสู่อวกาศ           
         ที่มา : หนังสือเปิดโลกดาราศาสตร์ 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×