ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หอสมุดกลาง,เมืองหลวงอัคเคตาเตน

    ลำดับตอนที่ #1 : สภาพทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์โบราณ

    • อัปเดตล่าสุด 29 ก.ย. 53


    สภาพทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์โบราณ



         อียิปต์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาในสมัยโบราณบริเวณที่ีมีผู้คนอาศัยอยู่ได้แก่ ดินแดนที่อยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ ทิศเหนือคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน   ทิศตะวันออกคือทะเลแดง   ทิศใต้คือประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบันส่วนทิศตะวันตกคือทะเลทรายซะฮารา    อียิปต์โบราณประกอบด้วยบริเวณสองแห่งคืออียิปต์บน   (Upper   Egypt)    และอียิปต์ล่าง  (Lower  Egypt)
    อียิปต์บนได้แก่บริเวณที่มีแม่น้ำไนล์ ไหลผ่านหุบเขา มีความยาวประมาณ 500ไมล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตาเต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง มีเนินทรายสีแดงและสีเหลืองเป็นตอนๆ อียิปต์ล่างได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัดไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน   บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า    เดลต้า เป็นบริเวณปลายสุดของลำน้ำมีความยาวประมาณ
    200 ไมล์และกว้างระหว่าง 6-22 ไมล์ อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในบริเวณแถบเดลต้านี้
         อียิปต์เป็นดินแดนกันดารฝน   แต่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์ซึ่งได้รับน้ำอันเกิดจากหิมะละลาย  และฝนในฤดูร้อนจากภูเขาในอบิสสิเนีย  น้ำจะไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำ   ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคมทำให้สองฝั่งแม่น้ำไนล์จมอยู่ใต้น้ำเป็นบริเวณกว้างเมื่อน้ำลดโคลนตมที่น้ำพัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
     ความอุดมสมบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้มาจากตะกอนโคลนตมอันอุดมด้วยปุ๋ย     ซึ่งน้ำที่ท่วมประจำปีนำมาทิ้งไว้เช่นเดียวกับบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำไทกรีส    และยูเฟรตีส ของเมโสโปเตเมียพัฒนาการของอารยธรรมก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน      กล่าวคือมีการร่วมแรงกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม สร้างทำนบกั้นน้ำ      ขุดคูน้ำไปยังดินแดนที่ห่างไกลออกไปแต่ทว่าพัฒนาการทางการเมืองของอียิปต์แตกต่างจากเมโสโปเตเมีย     กล่าวคืออียิปต์ได้แบ่งแยกเป็นนครรัฐอิสระอย่างในเมโสโปเตเมีย     หากแต่ร่วมกันเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของบุคคลเดียวคือกษัตริย์ซึ่งอียิปต์เรียกว่าฟาโรห์ (Pharaoh)


    ข้อมูลจาก http://std.kku.ac.th/5050201559/index.htm
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×