ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กว่าจะได้ชื่อว่าเป็น "เด็กนอก"

    ลำดับตอนที่ #6 : คำนิยามของคำว่าเด็กนอกที่คนเข้าใจกันอย่างผิดๆ

    • อัปเดตล่าสุด 3 เม.ย. 52


    ·       เด็กนอกคือผู้เชี่ยนชาญทางด้านการใช้ภาษา

         มีคนจำนวนมากที่เข้าใจในเรื่องนี้กันอย่างผิดๆ เป็นเรื่องจริงที่เด็กนอกส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้ดีกว่าคนธรรมดาทั่วไป แต่ในอีกแง่หนึ่งมีจำนวนเด็กที่จบจากต่างประเทศจำนวนหนึ่งอีกเช่นกันที่มีความรู้การใช้ภาษาต่างประเทศน้อยกว่าคนธรรมดาๆเสียอีกเนื่องจากการเรียนรู้การใช้ภาษาที่คล่องแคล้วของพวกเขาส่วนใหญ่ได้จากการสนทนาในแต่ละวัน ซึ่งจริงๆแล้วภาษาพูดและเขียนมีความแตกต่างในตัวของมันเอง การเรียนภาษาต้องใช้ระยะเวลาในระดับหนึ่งเพื่อปรับตัวปรับหูและปรับสมอง จึงไม่ใช้เรื่องแปลกที่เด็กนอกบางคนที่เรารู้จักอาจขาดตกปกพร้องในเรื่องนี้ไปบ้าง

    ·      
    เด็กนอกคือผู้ที่มีหัวสมัยใหม่

         เป็นเรื่องจริงที่เด็กนอกอย่างเราๆได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่แตกต่างกับชีวิตที่เราเติบโตมาในช่วงเวลาของวัยเด็ก เด็กนอกบางคนมีลักษณะที่บางครั้งเราสามารถบอกได้ด้วยตาเปล่าว่าเธอคือเด็กที่จบจากต่างประเทศตัวจริง ไม่ว่าจากการแต่งตัวที่ดูล้ำสมัยหรือเปิดเผยมากกว่าคนทั่วไป การพูดจาที่ดูจะมีคำใหม่ๆที่ไม่ค่อยคุ้นหู หรือแม้กระทั้งลักษณะท่าทางที่ดูยังไงๆสังคมไทยคงไม่เคยมีการสอน
    คำว่าหัวสมัยใหม่นั้นสามารถแปลความหมายได้ในสองลักษณะ คือ ดีและไม่ดี ยกตัวอย่าง
    เช่น ตั้งเท้าบนโต๊ะ ใส่เสื้อผ้าที่ไม่ถูกกับเวลาและสถานที่ มองโลกในทุกแง้มุม พูดภาษาไทยปนอังกฤษ ผู้หญิงกับผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกัน การหย่าล้าง กล้าพูดกล้าคิดกล้าแสดงออก หรือแม้กระทั้ง การไม่ถือเนื้อถือตัวกับเพศตรงข้าม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช้ว่าเด็กนอกทุกคนจะมีมันเสมอไป ส่วนใหญ่มักมาจากนิสัยส่วนบุคคลและลักษณะวิธีของการเรียนรู้ของพวกเขาด้วย
    ในอีกด้านหนึ่งเด็กนอกบางคนมีลักษณะที่ดูยังไงๆก็คงจะไม่ได้จบจากต่างประเทศแน่ๆ เด็กเหล่านี้มักเปิดเผยตัวเมื่ออยู่ต่อหน้าชาวต่างชาติ คุณจะได้ฟังสำเนียงภาษาต่างประเทศของพวกเขาแบบที่คุณต้องอึ้ง และเมื่อฝรั่งเดินจากไปรัศมีของพวกเขาก็จะกลับมาเป็นคนธรรมดาเหมือนเดิม 

    ·      
    เด็กนอกคือผู้ที่ไม่สามารถสอบเข้ามหาลัยในเมืองไทยได้

         เป็นอีกหนึ่งแง้คิดที่คนจำนวนมากมองพวกเขาเหล่านี้ อันที่จริงแล้วมันเคยเป็นค่านิยมของครอบครัวผู้มีอันจะกินในสมัยก่อน ครอบครัวรู้สึกอับอายสังคมเมื่อลูกๆของตัวเองไม่สามารถที่จะสอบเข้ามหาลัยได้ และมีความรู้สึกว่าการส่งเสียลูกๆไปเรียนยังต่างประเทศสามารถลบล้างความอับอายและตราบาปที่พวกเขาได้รับ  ในสมัยก่อนอาจจะฟังดูเป็นเรื่องง่ายๆแต่ในสมัยนี้ค่าเงิน การขอวีซ่า และมหาลัยเอกชนที่เปิดรับนักเรียนมากขึ้นทำให้ค่านิยมเหล่านี้เริ่มหายไป รวมกับการตอบรับนักเรียนต่างชาติของมหาลัยในต่างประเทศเริ่มมีความยุ่งยากและการแข่งขันสูงจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เด็กนอกในสมัยนี้น้อยนักที่ถูกส่งตัวไปเรียนด้วยเหตุผลดังกล่าว

    ·      
    เด็กนอกคือผู้ที่พ่อแม่ส่งมาดัดนิสัย
       
             เป็นอีกหนึ่งค่านิยมที่เคยเกิดขึ้นจริงและมักเกิดกับนักเรียนชายมากกว่าหญิง เมื่อลูกชายไม่ได้ดังใจ ไม่เอาไหนสักอย่างพวกเขาถูกส่งตัวให้ห่างไกลจากพ่อแม่เพื่อให้เรียนรู้ชีวิตด้วยตัวเองมากขึ้น ผลที่ได้รับมักแตกต่างกันออกไปอีกซึ่งในปัจจุบันด้วยวิวัตธนการ ต่างๆทำให้ชีวิตในต่างประเทศช่างดูอันตรายและยั่วยุมากกว่าจะช่วยให้พวกเขาดีขึ้นค่านิยมนี้จึงเริ่มน้อยลง น้อยลงและน้อยลง

    ·      
    เด็กนอกคือผู้ที่มีฐานะทางครอบครัวดี
        
         ไม่ใช้เรื่องแปลกที่คนมักจะดูว่าเด็กที่จบจากต่างประเทศจะมีฐานะทางครอบครัวดี และอันที่จริงแล้วร้อยล่ะเจ็ดสิบเป็นเรื่องจริง เด็กนอกนั้นอยากให้ทราบว่ามีหลายลักษณะในที่นี้หมายถึง เด็กนอกที่ได้ทุนจากสถาบันต่างๆ เด็กนอกที่ครอบครัวส่งให้เรียน หรือแม้กระทั้งเด็กนอกที่ส่งเสียตัวเองเรียน แน่นอนว่าเด็กที่พ่อแม่และครอบครัวส่งเสียให้เรียนนั้นจะมีฐานะที่ค่อนข้างดีกว่าทุกๆแบบ เพราะเด็กประเภทนี้ถ้าเรียนในระดับมปลายด้วยแล้วล่ะก็เสียค่าเรียนปีนึงหลายแสนบาทบางครั้งถึงหลักล้านก็มี เนื่องด้วยต้องเสียค่าเล่าเรียนให้กลับโรงเรียนเอกชนที่มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะเด็กประเภทนี้ถือวีซ่านักเรียนต่างชาติ
    J1อย่างเต็มตัวไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลได้ ต่างจากนักเรียนทุนซึ่งแน่นอนว่ามีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าเพราะโดยปกติแล้วนักเรียนทุนเหล่านี้มักเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลซึ่งปกติแล้วไม่มีค่าเทอมสำหรับประชาชน (ขอเจาะจงในประเทศอเมริกา) ประจวบกับทุนที่ได้รับทำให่ค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆลดลงไป สุดท้ายคือนเด็กนอกที่ส่งเสียตัวเองเรียนต้องถือว่าเป็นซุปเปอร์เด็กนอกขนานแท้เป็นเรื่องยากที่เดี๋ยวสำหรับพวกเขาที่ต้องทำงานส่งเสียตัวเองเรียน
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×