ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บข้อมูล Health & Beauty

    ลำดับตอนที่ #8 : มารู้จักสารต้านโภชนาการกันดีกว่า

    • อัปเดตล่าสุด 12 ก.ค. 51


    มารู้จักสารต้านโภชนาการกันดีกว่า
    ตอนนี้ ทหารของน้าบุชช์ ออฟ ยูเอสเอ(ฮิตเลอร์ 2003) กำลังยกพลบุกยึดอิรัค คนเราก็แปลกนะ ชาวบ้านเค้าต่อต้านสงคราม แ่ต่ยังหน้าด้านประกาศสงคราม(หน้าแบบนี้นะ ขี่จักรยานล้มแล้วเอาหน้าแถกกับพื้น สงสัยพื้นคงพังเป็นแถบๆ)ใครจะต่อต้านสงครามก็ต่อต้านไปแล้วกันนะ แต่วันนี้น้องแอนนำความรู้เรื่องสารต้านโภชนาการมาเสนอ คงงงกันล่ะสิ
    "สารต้านโภชนาการ" ถ้าพูดขึ้นมาหลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จัก สารต้านโภนาการก็คือ การที่ร่างกายของเรารับประทานอาหารหลาย ๆ ชนิดเพื่อให้ครบ 5 หมู่ แต่ในขณะเดียวกันอาหารที่เราได้รับนั้น ก็มีสารบางชนิดที่เป็นโทษต่อร่างกายซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติไปทำลาย หรือขัดขวางการดูดซึมและการนำไปใช้ประโยชน์ของสารอาหาร และที่พบเป็นส่วนใหญ่จะมาจากพืช แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
    1. สารต่อต้านวิตามิน
    2. สารต่อต้านแร่ธาตุ
    3. สารต่อต้านเอ็นไซม์
    1. สารต่อต้านวิตามิน
    สารนี้สามารถทำลายวิตามินบางชนิด หรือไปรวมกับวิตามินบางชนิด ทำให้เกิดสารใหม่ที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ เช่น
    1.1สารต้านวิตามินบี 1 ที่เจอมากจากการรับประทานปลาดิบหรือดิบ ๆ สุก ๆ ผักบางชนิดเช่น กะหล่ำปลีสีม่วง กะหล่ำดาว หัวผักกาดแดง เป็นต้น
    1.2สารอะวิดินที่รวมตัวกับไบโอดินแล้วได้สารใหม่ที่ร่างกายนำไปใช้ไม่ได้ เพราะปกติสารไบโอดินจะเป็นตัวนำเอาคาร์โบไฮเดรตกับโปรตีนไปใช้ และอะวิดินจะพบได้ในไข่ขาวดิบ ซึ่งถูกทำลายได้ด้วยความร้อน จึงไม่ควรรับประทานไข่ขาวดิบ ดังนั้นคนที่แต่งงานใหม่ๆแล้วเชื่อว่าทานไข่ขาวดิบๆแล้วโด๊ปให้ฟิตปั๋งเนี่ย เปลี่ยนความคิดได้เลยค่ะ
    2.สารต่อต้านแร่ธาตุ
    สารนี้จะจับตัวกับแร่ธาตุตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัว ทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ไม่ได้ เช่น
    2.1กอยไตรเจน ที่จะยับยั้งไอโอดีน ลดการสร้างฮอร์โมนธัยรอกซิน พบมากในพืชตระกูลกะหล่ำ บร็อคโคลี่ คะน้า หัวหอม กระเทียม เป็นต้น
    2.2ออกซาเลต จะจับตัวกับธาตุหลายชนิดโดยเฉพาะแคลเซียม พบในผักขม คะน้า ชา โกโก้
    2.3ไฟเตต จะรวมตัวกับแร่ธาตุหลายชนิด เช่น เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส พบในพืชผักทั่ว ๆ ไปและธัญพืช โดยเฉพาะถั่วและเมล็ดพืชน้ำมัน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว งา เป็นต้น ซึ่งสารต่อต้านแร่ธาตุทั้งสามตัวนี้ทำลายได้ด้วยความร้อน จึงต้องมีการปรุงอาหารให้สุกก่อนรับประทาน
    3.สารต่อต้านเอ็นไซม์
    สารกลุ่มนี้จะไปขัดขวางการทำงานของเอ็นไซม์ในการย่อยอาหาร ร่างกายจึงรับประโยชน์จากอาหารได้ไม่เต็มที่ พบได้ในถั่วต่าง ๆ เมล็ดพืชน้ำมัน ธัญพืช เช่น ในถั่วเหลืองดิบ จะมีสาร Anti-Trypsin ซึ่งจะขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ทริปซินในการย่อยโปรตีน เป็นต้น ถูกทำลายได้ด้วยความร้อนสูง ซึ่งอาหารทุกชนิดมีประโยชน์และโทษแตกต่างกันไป ดั้งนั้นจึงความรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ปรุงอาหารให้สุก และหมุนเวียนชนิดอาหารไปเรื่อย ๆ สารต้านโภชนาการพวกนี้ก็จะไม่เป็นโทษต่อร่างกายแล้วล่ะค่ะ 

    Thanks : Thailand Mountain Bike -- http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=17846
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×