ลำดับตอนที่ #7
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : เบาหวานค่ะ อ่านหน่อยนะ มีประโยชน์มากเลย
เบาหวานค่ะ อ่านหน่อยนะ มีประโยชน์มากเลย
คนทั่วไปไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ชายหรือหญิง มักจะเคยได้ยินว่า ญาติของเพื่อนคนนั้นคนนี้เป็นโรคเบาหวาน หรือที่ใกล้ตัวเข้ามาหน่อยก็อาจจะเคยได้ยินว่า คุณปู่ คุณตา คุณย่า คุณยายของตนเองเป็นโรคเบาหวาน ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ได้ข่าวว่าบุคคลที่เอ่ยถึงมานี้ บางคนได้เสียชีวิตไปแล้วจากโรคหัวใจ หรือถูกตัดขาไปเสียแล้ว หรือถ้าในสังคมคนเมืองกรุง หรือในหมู่ผู้มีฐานะหน่อย ก็อาจจะได้ข่าวว่าญาติบางคนที่เป็นเบาหวาน ต้องทนทุกข์ทรมานจากการต้องไปล้างไตที่โรงพยาบาลอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เสียค่าใช้จ่ายไปเดือนละหลายหมื่นบาท
"เบาหวาน" เป็นโรคที่พบได้บ่อย และมักจะพบได้หลายๆ คนในครอบครัวเดียวกัน ไม่ใช่เกิดจากโรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือญาติสนิทเป็นโรคเบาหวาน คนอ้วน คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย จึงเป็นพวกที่มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคเบาหวาน และที่สำคัญมักจะพบในผู้สูงอายุ ยิ่งอายุยืน ยิ่งพบได้มากขึ้น
มีอัตราตายสูง แต่จะไม่เสียชีวิตทันที มักรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานมาแล้วหลายๆ ปี บางครั้งเป็นมานานถึง 20-30 ปี และสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ใช่เกิดจากโรคเบาหวาน บางคนมีชีวิตค่อนข้างยืนยาว แต่ต้องทรมานอยู่หลายปีกว่าจะเสียชีวิต เช่น ถูกตัดขาเพราะเป็นแผลแล้วไม่รีบรักษา เป็นโรคไตวายจากเบาหวาน ต้องถูกล้างไตทุก 3-4 วัน เพื่อยืดชีวิตให้ยืนยาวต่อไป บางคนก็ตาบอดมองไม่เห็น เนื่องจากเบาหวานลามเข้าไปที่จอรับภาพที่ตา ดังนั้นเรื่องของเบาหวานอย่างไรก็ไม่ล้าสมัย และมีเรื่องน่ารู้อีกมากมายเลยค่ะ
โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ซึ่งอยู่ภายในช่องท้อง ความผิดปกติของตับอ่อนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่โชคดีที่เราสามารถพิสูจน์ว่าใครเป็นโรคเบาหวาน โดยไม่ต้องตรวจตับอ่อน เพียงเจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสว่ามีมากน้อยเพียงใดก็วินิจฉัยได้ ไม่จำเป็นต้องตรวจที่อวัยวะเสมอไป
ในคนปกติ ถ้าเจาะเลือดตรวจในตอนเช้าก่อนอาหาร จะมีระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 70-110 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ถ้าระดับเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ก็เรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน ในคนที่ไม่มีอาการอะไรเลย ต้องตรวจเลือด 2 ครั้งในต่างวันกันว่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 จริง จึงจะให้การวินิจฉัยโรคได้ แต่ถ้ามีอาการชัดเจน การเจาะเลือดเพียงครั้งเดียวแล้วพบว่าผิดปกติก็เรียกว่าเป็นเบาหวานได้
เบาหวานเป็นโรคที่รักษาได้ ควบคุมได้ แต่เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ส่วนใหญ่ต้องกินยา หรือฉีดยาไปตลอดชีวิต หรืออย่างน้อยที่สุด ต้องควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนักตัว ดูแลสุขภาพตนเอง รับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณยา เวลาที่กิน หรือฉีดยา
เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องรักษาไปตลอดชีวิตเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังหลายๆ จึงไม่น่าแปลกใจเลยถ้าจะมีคนใดคนหนึ่งถูกผู้ที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์มาชักจูงให้กินยาโน้นยานี้ พืชผักสมุนไพรชนิดนั้นชนิดนี้ ฯลฯ โดยบอกว่ามีคนเคยรักษาแล้วหายได้ บางครั้งอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมให้ดีได้ โดยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นระยะๆ ตามความรุนแรงของโรค ผู้ที่เป็นเบาหวานต้องช่วยเหลือตัวเอง ศึกษาหาความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง
สาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน 95 % ของผู้ที่เป็นเบาหวานจะเป็นชนิดที่เรียกว่า เบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่ ตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงสูงอายุ จัดว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ถ่ายทอดทางยีนส์จากบรรพบุรุษ มักจะรู้ว่าเป็นเบาหวาน หรือมีอาการเมื่ออายุมากกว่า 45 ปี ขึ้นไป ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรคปะทุขึ้นคือ ความอ้วน ซึ่งมักจะเกิดตอนอายุมากขึ้น อาจเนื่องจากกินมากไป หรือร่วมกับการออกกำลังกายน้อยลง ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมามีรายงานว่าโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยลงกว่าเมื่อก่อน กระทั่งในเด็ก และวัยรุ่นก็พบได้ สาเหตุที่สำคัญคือ การมีจำนวนเด็กที่อ้วนเพิ่มขึ้นในประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา มีการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมีการออกกำลังกายน้อยลงเพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
สาเหตุอื่นๆ ของเบาหวานพบได้น้อย มีไม่ถึงร้อยละ 5 ของผู้ป่วยทั้งหมด มักพบในเด็ก ลักษณะที่แตกต่างจากพวกแรกคือ จะผอม อาการรุนแรง ต้องรักษาโดยการฉีดอินซูลิน กินยาเม็ดไม่ได้ผล สาเหตุเกิดจากภูมิคุ้มกันต่อตับอ่อนบกพร่อง ตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้สร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นกว่าปกติและเป็นเบาหวาน
นอกจากเบาหวานแล้วยังมีโรคอื่นๆ ของตับอ่อนอีก เช่น ตับอ่อนอักเสบ มะเร็งตับอ่อน การผ่าตัดตับอ่อน ถ้ามีการทำลายเบต้าเซลล์ซึ่งใช้สร้างอินซูลินไปมาก ก็จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้
ผู้ที่เป็นเบาหวานเมื่อเป็นนานมากขึ้นหลายๆ ปี จะเกิดโรคแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ทำให้มีอาการแล้วแต่ว่าเกิดที่อวัยวะใด อวัยวะที่สำคัญ 3 แห่ง คือ
1. ไต
2. ตา
3. ระบบประสาท
อวัยวะเหล่านี้มักจะมีหลอดเลือดเล็กๆ ไปหล่อเลี้ยง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดถ้าทำได้ไม่ดี บวกกับระยะที่เป็นมานานจะทำให้หลอดเลือดเหล่านี้เสื่อมและตีบ ยิ่งน้ำตาลสูงมากและยิ่งเป็นเบาหวานมานาน จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้เร็วขึ้น
โรคแทรกซ้อนอีกกลุ่มหนึ่งจะเกิดกับอวัยวะที่มีหลอดเลือดใหญ่ไปหล่อเลี้ยง ได้แก่
1. หัวใจ
2. สมอง
3. หลอดเลือดใหญ่ที่เท้า
อาการ และการเสื่อมของอวัยวะเหล่านี้พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเช่นเดียวกัน อาจพบได้ในผู้ที่ไม่ใช่โรคเบาหวานด้วย แต่เกิดในคนที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสู พบว่าการที่หลอดเลือดขนาดใหญ่แข็งและตีบเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างรวมกัน ได้แก่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ฯลฯ
ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควบคุมเรื่องอาหาร อย่ารับประทานอาหารที่หวานหรือมีน้ำตาล เน้นให้กินมากคือผัก และปลาทุกชนิด สำหรับเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เลือกเฉพาะไขมันจากพืชทุกชนิด ยกเว้นไขมันจากมะพร้าว น้ำมันปาล์ม นมดื่มได้เฉพาะประเภทที่จืดและพร่องไขมันควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วนหรือผอมเกินไป โดยควบคุมปริมาณอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ 3-4 ครั้งๆ ละ 30-45 นาที ชนิดของการออกกำลังกายจะต้องให้เหมาะสมกับอายุและสภาพของแต่ละคน ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สามารถควบคุมได้ด้วยวิธีการต่างๆ ข้างต้น แพทย์จะสั่งยาเม็ดให้คนที่เป็นเบาหวานที่รักษามานานๆ ร่างกายอาจตอบสนองต่อยาเม็ดได้ลดลง ซึ่งเป็นธรรมชาติของโรคเบาหวาน ไม่ใช่เพราะยาไม่ดี แพทย์อาจจะสั่งให้ฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น
การใช้ยาเม็ด และการฉีดอินซูลิน แม้ว่าจะใช้นานๆ จะไม่มีผลเสียต่อผู้ป่วย ตราบใดที่ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ ถ้าไม่เข้าใจ ควรปรึกษาแพทย์ อย่าสั่งยาให้กับตนเอง ผู้ที่เป็นเบาหวานทุกคนจะมีชีวิตที่เป็นสุขได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป ข้อจำกัดเล็กน้อยเรื่องการรับประทานอาหาร การกินยา และการที่ต้องตรวจเลือดบ่อยๆ ก็เพื่อจะให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับคนทั่วไป
Thanks : Thailand Mountain Bike -- http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=17549
คนทั่วไปไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ชายหรือหญิง มักจะเคยได้ยินว่า ญาติของเพื่อนคนนั้นคนนี้เป็นโรคเบาหวาน หรือที่ใกล้ตัวเข้ามาหน่อยก็อาจจะเคยได้ยินว่า คุณปู่ คุณตา คุณย่า คุณยายของตนเองเป็นโรคเบาหวาน ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ได้ข่าวว่าบุคคลที่เอ่ยถึงมานี้ บางคนได้เสียชีวิตไปแล้วจากโรคหัวใจ หรือถูกตัดขาไปเสียแล้ว หรือถ้าในสังคมคนเมืองกรุง หรือในหมู่ผู้มีฐานะหน่อย ก็อาจจะได้ข่าวว่าญาติบางคนที่เป็นเบาหวาน ต้องทนทุกข์ทรมานจากการต้องไปล้างไตที่โรงพยาบาลอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เสียค่าใช้จ่ายไปเดือนละหลายหมื่นบาท
"เบาหวาน" เป็นโรคที่พบได้บ่อย และมักจะพบได้หลายๆ คนในครอบครัวเดียวกัน ไม่ใช่เกิดจากโรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือญาติสนิทเป็นโรคเบาหวาน คนอ้วน คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย จึงเป็นพวกที่มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคเบาหวาน และที่สำคัญมักจะพบในผู้สูงอายุ ยิ่งอายุยืน ยิ่งพบได้มากขึ้น
มีอัตราตายสูง แต่จะไม่เสียชีวิตทันที มักรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานมาแล้วหลายๆ ปี บางครั้งเป็นมานานถึง 20-30 ปี และสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ใช่เกิดจากโรคเบาหวาน บางคนมีชีวิตค่อนข้างยืนยาว แต่ต้องทรมานอยู่หลายปีกว่าจะเสียชีวิต เช่น ถูกตัดขาเพราะเป็นแผลแล้วไม่รีบรักษา เป็นโรคไตวายจากเบาหวาน ต้องถูกล้างไตทุก 3-4 วัน เพื่อยืดชีวิตให้ยืนยาวต่อไป บางคนก็ตาบอดมองไม่เห็น เนื่องจากเบาหวานลามเข้าไปที่จอรับภาพที่ตา ดังนั้นเรื่องของเบาหวานอย่างไรก็ไม่ล้าสมัย และมีเรื่องน่ารู้อีกมากมายเลยค่ะ
โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ซึ่งอยู่ภายในช่องท้อง ความผิดปกติของตับอ่อนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่โชคดีที่เราสามารถพิสูจน์ว่าใครเป็นโรคเบาหวาน โดยไม่ต้องตรวจตับอ่อน เพียงเจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสว่ามีมากน้อยเพียงใดก็วินิจฉัยได้ ไม่จำเป็นต้องตรวจที่อวัยวะเสมอไป
ในคนปกติ ถ้าเจาะเลือดตรวจในตอนเช้าก่อนอาหาร จะมีระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 70-110 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ถ้าระดับเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ก็เรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน ในคนที่ไม่มีอาการอะไรเลย ต้องตรวจเลือด 2 ครั้งในต่างวันกันว่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 จริง จึงจะให้การวินิจฉัยโรคได้ แต่ถ้ามีอาการชัดเจน การเจาะเลือดเพียงครั้งเดียวแล้วพบว่าผิดปกติก็เรียกว่าเป็นเบาหวานได้
เบาหวานเป็นโรคที่รักษาได้ ควบคุมได้ แต่เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ส่วนใหญ่ต้องกินยา หรือฉีดยาไปตลอดชีวิต หรืออย่างน้อยที่สุด ต้องควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนักตัว ดูแลสุขภาพตนเอง รับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณยา เวลาที่กิน หรือฉีดยา
เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องรักษาไปตลอดชีวิตเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังหลายๆ จึงไม่น่าแปลกใจเลยถ้าจะมีคนใดคนหนึ่งถูกผู้ที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์มาชักจูงให้กินยาโน้นยานี้ พืชผักสมุนไพรชนิดนั้นชนิดนี้ ฯลฯ โดยบอกว่ามีคนเคยรักษาแล้วหายได้ บางครั้งอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมให้ดีได้ โดยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นระยะๆ ตามความรุนแรงของโรค ผู้ที่เป็นเบาหวานต้องช่วยเหลือตัวเอง ศึกษาหาความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง
สาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน 95 % ของผู้ที่เป็นเบาหวานจะเป็นชนิดที่เรียกว่า เบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่ ตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงสูงอายุ จัดว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ถ่ายทอดทางยีนส์จากบรรพบุรุษ มักจะรู้ว่าเป็นเบาหวาน หรือมีอาการเมื่ออายุมากกว่า 45 ปี ขึ้นไป ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรคปะทุขึ้นคือ ความอ้วน ซึ่งมักจะเกิดตอนอายุมากขึ้น อาจเนื่องจากกินมากไป หรือร่วมกับการออกกำลังกายน้อยลง ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมามีรายงานว่าโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยลงกว่าเมื่อก่อน กระทั่งในเด็ก และวัยรุ่นก็พบได้ สาเหตุที่สำคัญคือ การมีจำนวนเด็กที่อ้วนเพิ่มขึ้นในประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา มีการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมีการออกกำลังกายน้อยลงเพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
สาเหตุอื่นๆ ของเบาหวานพบได้น้อย มีไม่ถึงร้อยละ 5 ของผู้ป่วยทั้งหมด มักพบในเด็ก ลักษณะที่แตกต่างจากพวกแรกคือ จะผอม อาการรุนแรง ต้องรักษาโดยการฉีดอินซูลิน กินยาเม็ดไม่ได้ผล สาเหตุเกิดจากภูมิคุ้มกันต่อตับอ่อนบกพร่อง ตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้สร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นกว่าปกติและเป็นเบาหวาน
นอกจากเบาหวานแล้วยังมีโรคอื่นๆ ของตับอ่อนอีก เช่น ตับอ่อนอักเสบ มะเร็งตับอ่อน การผ่าตัดตับอ่อน ถ้ามีการทำลายเบต้าเซลล์ซึ่งใช้สร้างอินซูลินไปมาก ก็จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้
ผู้ที่เป็นเบาหวานเมื่อเป็นนานมากขึ้นหลายๆ ปี จะเกิดโรคแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ทำให้มีอาการแล้วแต่ว่าเกิดที่อวัยวะใด อวัยวะที่สำคัญ 3 แห่ง คือ
1. ไต
2. ตา
3. ระบบประสาท
อวัยวะเหล่านี้มักจะมีหลอดเลือดเล็กๆ ไปหล่อเลี้ยง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดถ้าทำได้ไม่ดี บวกกับระยะที่เป็นมานานจะทำให้หลอดเลือดเหล่านี้เสื่อมและตีบ ยิ่งน้ำตาลสูงมากและยิ่งเป็นเบาหวานมานาน จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้เร็วขึ้น
โรคแทรกซ้อนอีกกลุ่มหนึ่งจะเกิดกับอวัยวะที่มีหลอดเลือดใหญ่ไปหล่อเลี้ยง ได้แก่
1. หัวใจ
2. สมอง
3. หลอดเลือดใหญ่ที่เท้า
อาการ และการเสื่อมของอวัยวะเหล่านี้พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเช่นเดียวกัน อาจพบได้ในผู้ที่ไม่ใช่โรคเบาหวานด้วย แต่เกิดในคนที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสู พบว่าการที่หลอดเลือดขนาดใหญ่แข็งและตีบเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างรวมกัน ได้แก่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ฯลฯ
ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควบคุมเรื่องอาหาร อย่ารับประทานอาหารที่หวานหรือมีน้ำตาล เน้นให้กินมากคือผัก และปลาทุกชนิด สำหรับเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เลือกเฉพาะไขมันจากพืชทุกชนิด ยกเว้นไขมันจากมะพร้าว น้ำมันปาล์ม นมดื่มได้เฉพาะประเภทที่จืดและพร่องไขมันควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วนหรือผอมเกินไป โดยควบคุมปริมาณอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ 3-4 ครั้งๆ ละ 30-45 นาที ชนิดของการออกกำลังกายจะต้องให้เหมาะสมกับอายุและสภาพของแต่ละคน ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สามารถควบคุมได้ด้วยวิธีการต่างๆ ข้างต้น แพทย์จะสั่งยาเม็ดให้คนที่เป็นเบาหวานที่รักษามานานๆ ร่างกายอาจตอบสนองต่อยาเม็ดได้ลดลง ซึ่งเป็นธรรมชาติของโรคเบาหวาน ไม่ใช่เพราะยาไม่ดี แพทย์อาจจะสั่งให้ฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น
การใช้ยาเม็ด และการฉีดอินซูลิน แม้ว่าจะใช้นานๆ จะไม่มีผลเสียต่อผู้ป่วย ตราบใดที่ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ ถ้าไม่เข้าใจ ควรปรึกษาแพทย์ อย่าสั่งยาให้กับตนเอง ผู้ที่เป็นเบาหวานทุกคนจะมีชีวิตที่เป็นสุขได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป ข้อจำกัดเล็กน้อยเรื่องการรับประทานอาหาร การกินยา และการที่ต้องตรวจเลือดบ่อยๆ ก็เพื่อจะให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับคนทั่วไป
Thanks : Thailand Mountain Bike -- http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=17549
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น