ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : การออกกำลังกายแบบแอโรบิค
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค
หลายท่านคงทราบดีอยู่แล้วถึงประโยชน์ แต่ก็อยากที่จะนำมาให้อ่านกันอีก ก็เลยไปคัดลอกมาจากThaiclinic.com
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ปัจจุบันนี้ เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การออกกำลังกายนั้น สามารถช่วยลดอัตราการ เกิดโรคหลายๆอย่างได้ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
นอกจากนั้น การออกกำลังกายยังสามารถนำมาใช้ประกอบการรักษาโรคต่างๆเหล่านี้ นอกจากการรับประทานยาได้อีกด้วย การออกกำลังกายมีหลายอย่างแต่ที่ถือว่ามีประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก ก็คือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและปอด ซึ่งเรามักจะใช้การออกกำลังกายแบบแอโรบิก
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้น ไม่ได้หมายความถึงการเต้นแอโรบิก
แต่เป็นการออกกำลังกายอะไรก็ได้ ที่เราสามารถทำซ้ำๆกันต่อเนื่องได้นานพอ หนักพอและบ่อยพอ นานพอ ในทางการแพทย์เราพบว่าการออกกำลังกายอย่าง ต่อเนื่องติดต่อกัน อย่างน้อย15-20นาที จะได้ประโยชน์ต่อระบบหัวใจและปอดมากที่สุด หนักพอ การวัดความหนักนั้น ไม่ได้วัดจากแรงต้านทานที่กระทำต่อเราขณะออกกำลังกาย แต่จะวัดจากปริมาณออกซิเจน ที่ร่างกายใช้ในขณะออกกำลังกาย
ซึ่งจริงๆแล้ว จะต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และยุ่งยากในการวัด แต่เราพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจนั้น จะมีความสัมพันธ์กับอัตราการใช้ออกซิเจนนี้ ดังนั้น เราจึงใช้อัตราการเต้นของหัวใจหรือการจับชีพจร มาเป็นต้วช่วยวัดความหนักของการออกกำลังกายแทน โดย
อัตราชีพจรที่เหมาะสมที่สุดของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้น
จะอยู่ในช่วง 60-80% ของอัตราชีพจรสูงสุด
โดยที่ เราอาจจะคำนวณหาอัตราชีพจรสูงสุดของแต่ละคนได้จากสูตร
อัตราชีพจรสูงสุด = 220-อายุ(ปี) หน่วย เป็นครั้ง/นาที
ยกตัวอย่าง เช่น อายุ 30ปี อัตราชีพจรสูงสุดก็จะเท่ากับ 220-30 =190ครั้ง/นาที
ดังนั้น จึงควรออกกำลังกายให้เหนื่อยโดยให้ชีพจรเต้น ประมาณ120-150ครั้ง/นาที
(60-80% ของ อัตราสูงสุด) บ่อยพอ
พบว่าการออกกำลังกายแบบนี้ทำเพียง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็ให้ประโยชน์ต่อระบบหัวใจและปอด ดังนั้น เราอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกวันก็ได้ จะทำบ่อยกว่านี้ก็ได้ แต่ควรจะมีวันพักอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2วัน
เพื่อให้ร่างกายได้มีโอกาสพักฟื้นบ้าง และเพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บอีกด้วย
ดังนั้น จะเห็นว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้นทำได้ไม่ยากเลยและยังให้ประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกายได้อย่างมากด้วยการออกกำลังกายแบบนี้ที่นิยมกันอย่างเช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ขี่จักรยานเป็นต้น
ท่านอาจจะประยุกต์กิจกรรมอย่างอื่น ให้เข้ากับการออกกำลังกายแบบนี้ได้ โดยขอให้ยึดหลักสำคัญ 3 ข้อดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ นานพอ หนักพอ และบ่อยพอ
ขอให้ทุกคนโชคดี มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจและสนุกสนานกับการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพนะครับ
โดย นพ.ยุทธสิทธิ์ ธนพงศ์พิพัฒน์
Thanks : Thailand Mountain Bike -- http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=03535
หลายท่านคงทราบดีอยู่แล้วถึงประโยชน์ แต่ก็อยากที่จะนำมาให้อ่านกันอีก ก็เลยไปคัดลอกมาจากThaiclinic.com
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ปัจจุบันนี้ เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การออกกำลังกายนั้น สามารถช่วยลดอัตราการ เกิดโรคหลายๆอย่างได้ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
นอกจากนั้น การออกกำลังกายยังสามารถนำมาใช้ประกอบการรักษาโรคต่างๆเหล่านี้ นอกจากการรับประทานยาได้อีกด้วย การออกกำลังกายมีหลายอย่างแต่ที่ถือว่ามีประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก ก็คือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและปอด ซึ่งเรามักจะใช้การออกกำลังกายแบบแอโรบิก
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้น ไม่ได้หมายความถึงการเต้นแอโรบิก
แต่เป็นการออกกำลังกายอะไรก็ได้ ที่เราสามารถทำซ้ำๆกันต่อเนื่องได้นานพอ หนักพอและบ่อยพอ นานพอ ในทางการแพทย์เราพบว่าการออกกำลังกายอย่าง ต่อเนื่องติดต่อกัน อย่างน้อย15-20นาที จะได้ประโยชน์ต่อระบบหัวใจและปอดมากที่สุด หนักพอ การวัดความหนักนั้น ไม่ได้วัดจากแรงต้านทานที่กระทำต่อเราขณะออกกำลังกาย แต่จะวัดจากปริมาณออกซิเจน ที่ร่างกายใช้ในขณะออกกำลังกาย
ซึ่งจริงๆแล้ว จะต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และยุ่งยากในการวัด แต่เราพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจนั้น จะมีความสัมพันธ์กับอัตราการใช้ออกซิเจนนี้ ดังนั้น เราจึงใช้อัตราการเต้นของหัวใจหรือการจับชีพจร มาเป็นต้วช่วยวัดความหนักของการออกกำลังกายแทน โดย
อัตราชีพจรที่เหมาะสมที่สุดของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้น
จะอยู่ในช่วง 60-80% ของอัตราชีพจรสูงสุด
โดยที่ เราอาจจะคำนวณหาอัตราชีพจรสูงสุดของแต่ละคนได้จากสูตร
อัตราชีพจรสูงสุด = 220-อายุ(ปี) หน่วย เป็นครั้ง/นาที
ยกตัวอย่าง เช่น อายุ 30ปี อัตราชีพจรสูงสุดก็จะเท่ากับ 220-30 =190ครั้ง/นาที
ดังนั้น จึงควรออกกำลังกายให้เหนื่อยโดยให้ชีพจรเต้น ประมาณ120-150ครั้ง/นาที
(60-80% ของ อัตราสูงสุด) บ่อยพอ
พบว่าการออกกำลังกายแบบนี้ทำเพียง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็ให้ประโยชน์ต่อระบบหัวใจและปอด ดังนั้น เราอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกวันก็ได้ จะทำบ่อยกว่านี้ก็ได้ แต่ควรจะมีวันพักอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2วัน
เพื่อให้ร่างกายได้มีโอกาสพักฟื้นบ้าง และเพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บอีกด้วย
ดังนั้น จะเห็นว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้นทำได้ไม่ยากเลยและยังให้ประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกายได้อย่างมากด้วยการออกกำลังกายแบบนี้ที่นิยมกันอย่างเช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ขี่จักรยานเป็นต้น
ท่านอาจจะประยุกต์กิจกรรมอย่างอื่น ให้เข้ากับการออกกำลังกายแบบนี้ได้ โดยขอให้ยึดหลักสำคัญ 3 ข้อดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ นานพอ หนักพอ และบ่อยพอ
ขอให้ทุกคนโชคดี มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจและสนุกสนานกับการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพนะครับ
โดย นพ.ยุทธสิทธิ์ ธนพงศ์พิพัฒน์
Thanks : Thailand Mountain Bike -- http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=03535
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น