ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #6 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด จ)

    • อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 54


    หมวด จ

    จก แจ็ก    (ออกเสียงเป็น "จ็อกแจ็ก") (ว.)    พูดมาก  พูดพร่ำเพรื่อ  พูดไม่
             หยุด(มักใช้ในความหมาย  การนินทา หรือ พูดเรื่องของชาวบ้าน)

    จริงอะแหละ,  จริงฮันแหละ     จริงๆด้วย, เป็นอย่างนั้นแหละ

    จอก  (น.)  ภาชนะใส่เหล้า หรือ น้ำดื่ม  (อาจจะทำด้วยแก้ว หรือดินเผา ก็ได้)

    จ๊อง,  จ็อง,   จ้อง   (ก.) ชี้เด่, แข็งขึ้น, ลุก คำนี้จะใช้กับอวัยวะเพศของเด็ก
            ชายตัวเล็กๆ ที่มักจะแข็งตัวเมื่อตื่นนอน หรือก่อนถ่ายปัสสาวะ  (เป็นคำที่
            ผู้ใหญ่ใช้หยอกเล่นกับเด็กๆ
    ที่แสดงถึงความรัก ความเอ็นดู)
      
      
    " ไอ้ตัวเอียด  ไขจ๊อง แต่เช้าเลยนะ " = ไอ้ตัวน้อย จู๋ชี้เด่ ตั้งแต่เช้าเลยนะ
        
         
    (ในภาษาไทยถิ่นใต้ คำว่า  ไขจ๊อง จะเป็นคำที่ใช้หยอกเล่นกันได้ แต่คำว่า
         
    ไขลุก  จะถือว่าเป็นคำที่หยาบ  ไม่ควรพูด )

    จ๊องหม๊อง (น.)  ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือนปลากระเบน แต่ตัวเล็กกว่า

    จัง    (ก.) ล้น, หก, กระฉอก
              
    " หม้อแกงร้อนๆ ยกค่อยๆหีด เดี๋ยวน้ำแกงจัง "
      หม้อแกงร้อนๆ ยก
            ค่อยๆหน่อย  เดี๋ยวน้ำแกงจะหก

    จังกับ, จากับ  ( ม.),(ก.)พูดคุย
          
    ( เป็นภาษาสงขลาที่ใช้ในเขต นาทวี เทพา และสะบ้าย้อย ปัจจุบันมีคนพูด
           น้อยมาก  
    เปรียบเทียบกับมลายู จะใช้คำว่า  cakap  )

    จังหรีด  (น.)  จิ้งหรีด

    จังเหลน  (น.)  จิ้งเหลน

    จังหู ,   จังเสีย,  จ้าน,  แจ็กแจ็ก   (ว.)  มากมาย, เหลือเฟือ,  เยอะแยะ
              
    " หรอยจังหู "  
    =   อร่อยมากๆ
              
    " งานนี้คนมากจังเสีย "  =   งานนี้คนมากมาย
              
    " งานพืชสวนโลกที่เชียงใหม่มีต้นไม้แปลกๆมากจ้าน เดินแลไม่หมด "
              
    " งานเดือนสิบเมืองคอนปีนี้ คนเจ็กเจ็ก "(ความหมายคือผู้คนมากมาย
             เหลือเกิน)

    จับจันทร์,  ราหูจับจันทร์  (น.) จันทรุปราคา

    จันหวัน  (ว.) (คน)ที่ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี,  ไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวอะไร,  (คน)ที่เอา
            แต่ได้
       ( คำนี้เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในเขตนครศร๊ธรรมราช  ในภาษา
            สงขลาไม่ค่อยมีคนใช์คำนี้  ส่วนมากจะใช้คำว่า บ้าหวัน  ขวางหวัน  ซึ่ง
            ความหมายจะใกล้เคียง ไม่ตรงกันทีเดียวนัก   )

    จาน    1.  (น.) ภาชนะใส่อาหาร
              2.
     (ก.) ราดน้ำแกง 
           
    " กินหนุมจีนให้หรอย อย่าจานน้ำแกง ให้มากแรง " = (จะ)กินขนมจีนให้
            อย อย่าราดน้ำยาให้มากนัก

    จ้าน   (ว.) มาก,  จังเลย
                
    " ไอยะ น่ารักจ้าน "  =  โอ โห  น่ารักจังเลย
                
    "  มากจ้าน "  =   มากจังเลย

    จ้าโขย,  จาโขย, จาก้วย  (จ.) (น.) ปาท่องโก่  ; ขนมทอดของคนจีน (อิ่วจา
            ก้วย)
    ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะเรียกว่า จ้าโขย  หรือ จาโขย ขณะ
            ที่คนไทยถิ่นใต้ฝั่งอันดามัน แถบภูเก็ต - พังงา จะเรียกว่า จาก้วย 

    จาพุทโธ  (อ.)  คำอุทาน เวลามีเรื่องเศร้าสลด 
            ( คล้ายๆ กับคำว่า พุทโธเอ๋ย  
    ของคนบางกอก )

    จิ้งจัง (น.)  ปลาตัวเล็กหมักเกลือ
            
    ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)จะเรียกว่า จิ้งจัง, ภาษาไทยถิ่นใต้ในบางที่ออก
            เสียงคำนี้เป็น 
    ฉิ่งฉาง

    จิม    (ว.)  ใกล้ๆขอบ,  เกือบถึงขอบ,   ริม,
              
    " วางของบนโต๊ะ  อย่าวางให้จิมเดี๋ยวของจะหล่น  "

    จี   (ออกเสียงเป็น จี๋ )  (ก.) จี่, การทำให้อาหาร(ปลา เนื้อ ฯลฯ ) สุกโดยวาง
          ใกล้ๆ
    ถ่าน ที่ไฟไม่ร้อนจนเกินไป
         
       
      ในภาษาไทยถิ่นใต้- สงขลา คลองหอยโข่ง   ถ้าวางสิ่งของที่ต้องการให้สุก
          ไว้ห่างๆไฟ จะเรียกว่า " ย่าง " (ออกเสียงเป็น ย้าง ) คำนี้ ถ้าเป็นคนสงขลา
          ริมทะเล หรือ " โหม่ บก "  จะออกเสียงเป็น  หย่าง

    จุก อก,  ยัดตับ,  แตกเลือด (ก.)   กิน
            ( ถือเป็นคำหยาบ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า  แดก ,  ยัดห่า )

    จู้จี้   1.(น.)ชื่อของแมงชนิดหนึ่งที่อยู่ในมูลสัตว์
                  "แมงจู้จี้"
     (อีสานเรียกว่า แมงกุดจี้)
          
    2.(ว.)  มืดสนิทจนมองอะไรไม่เห็น  
                  
    " มืดจู้จี้"   (
    มืดดำเหมือนสีของแมงจู้จี้)

    จู้จุน (น.) ชื่อของขนมชนิดหนึ่ง มักจะใช้เศษแป้งที่เหลือจากการทำขนมเจาะหู
    ผสมน้ำตาล  นำมาทอดน้ำมัน   มีลักษณะกลมๆคล้าย
           ไข่ดาว
           (ขนมแห้งเดือนสิบ)

    เจ้ย  1. (ก.) เชย,  สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่
           
     " เจ้ยคาง "  =  เชยคาง

          
    2. (น.) เจ้ย, ภาชนะจักสาน ในกลุ่มกระด้งมีขนาดเล็กทำด้วยไม้ไผ่สานตา
           ห่างๆ (ใช้ตากปลา)

           ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะมีภาชนะจักสาน ในกลุ่มนี้ 3 ชนิดคือ
              
    เจ้ย  =  กระด้งขนาดเล็ก  สานด้วยไม้ไผ่ ตาห่างๆ
               
    ด็อง =  กระด้ง ที่มีขอบเป็นวงรี ขอบด้านหนึ่งจะแหลมเป็นจงอยช่วยให้
           สะดวกเวลาฝัดข้าว เอาแกลบออก
              
    ดั้ง   =  กระด้ง  ที่มีขอบเป็นรูปวงกลม)
              

          

    เจียน    (ก.)  ทอด(ปรุงอาหาร) เช่น    เจี้ยนปลาเค็ม = ทอดปลาแค็ม

    เจียนฉี  (น.ตะหลิว  
             (บางที่ เช่น นครศรีธรรมราช จะเรียกตะหลิว ว่า 
    " หวักผัด ")

    แจ็บแบ็ดหัว (ก.) เจ็บหัว, ปวดหัว (ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือพฤติกรรมใดพฤติกรรม
             หนึ่ง)
           
    " กู แจ็บแบ็ดหัว กับเณรดำนี่จริงไส่มันเบล่อพรรค์นี้กูปวดหัวกับเณร
             ดำนี่จริง ทำไมถึงโง่อย่างนี้

    จ็บพุงเยี่ยว  (ก.) ปวดฉี่

    จ็บพุงขี้   (ก.ปวดท้องขี้

    โจ  ( ม.),(น.เครื่องกันขโมย(มักใช้ขู่เด็กที่ชอบขโมยผลไม้) ทำด้วยกระบอก
          ไม้ไผ่หรือ
    " ติหมา " เสกคาถาอาคมหรือเขียนอักขระ ไว้ที่ "โจ"  เพื่อให้
          ขลัง ถ้าใครขโมยผลไม้ไปกิน เชื่อว่าจะมีอันเป็นไป
    เช่น ปวดท้อง
         ( " โจ " ในภาษาไทยถิ่นใต้คำนี้ เป็นคำที่รับมาจาก " ปาโจ" หรือ pachau
          ในภาษามลายู )

    โจะ  (ว.)  จุ    (พอ,  เต็ม )
       
    " ของทั้งหมดนี้ ใส่ในลัง พอ โจะ ม้าย " = ของทั้งหมดนี้ ใส่ในลัง พอจุ มั้ย
        
     (
    เสียงสระ อุ ในภาษาไทยภาคกลาง   สำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา)จะแปลง
         เป็นเสียง สระโอะ )
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×