ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #5 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ค)

    • อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 54


    หมวด ค

    คง    (.)   ข้าวโพด
            คนไทยถิ่นใต้ ตั้งแต่ชายแดนมาเลเซียจนถึงนครศรีธรรมราช  จะเรียกข้าวโพดว่า
            "คง"  
       (คำนี้ เลือนมาจากคำว่า
     jagong  ในภาษามลายู)

    คด ขดแข็ด คดเค็ด  (ว.)    ลักษณะที่คดเคี้ยว วกไป วนมา
           
    " แรกก่อน ทางขึ้นเขาพับผ้าไปจังหวดตรัง คด ขดแข็ด คดเค็ด" = เมื่อก่อน ทาง
            ขึ้นเขาพับผ้าไปจังหวัดตรัง คด วกวนมาก

    คนด้น  (.)  คนดุ ,  นักเลง

    คลิง    (ก) คลึง, หมุนไปมาด้วยมือ

    ครอกแครก   (ว.) อาการคลื่นไส้ มักใช้กับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่แพ้ท้อง

    คร็อม  1. (.) เพลี้ย 
             
    " ปลูกถั่วคราวนี้ไม่ได้ผล  คร็อมลง ฝักถั่วหงิกหมดเลย "   =  ปลูกถั่วคราวนี้ไม่
             ได้ผลเพลี้ยลง ฝักถั่วหงิกหมดเลย
            
    2. 
    (ว.) ความจำเสื่อม,  อาการหลงลืมของผู้สูงอายุ
     
           
     " หวางนี้ หลวงไข่ คร็อมแล้ว แหลงไม่รู้เรื่องเลย "  =  เดี่ยวนี้ หลวงไข่ เป็นโรค
              ความจำเสื่อมเสียแล้ว พูดจาไม่รู้เรื่องเลย

    คร่อม   (.)  กระดูกไหปลาร้า

    ครัน   (ว.)  มาก
            
    " น้องบวชได้ตั้ง 3 พรรษา แล้วสึก พี่ว่าดีครัน แล้วน้อง "
              น้องบวชได้ตั้ง 3 พรรษา แล้วสึก พี่ว่าดีมาก แล้วน้อง

    ครูหมอตายาย(.)วิญญาณของครูบาอาจารย์และบรรพบุรษ บางครั้งจะใช้เพียง
            คำว่า
    ตายาย ก็ได้    เช่น   " ไอ้บ่าวนุ้ย ไข้มาหลายวันแล้ว ไปโรงหมอหลายหน
            แล้ว กะไม่หาย พ่อเฒ่า
    แกว่า หมันโถก ตายาย ทัก "
            ความหมายคือ ลูกชายคนเล็กเป็นไข้มาหลายวันไปโรงพยาบาลก็
    หลายครั้งหลาย
            หนแล้ว ก็ไม่หายซักที พ่อเฒ่าแกบอกว่า วิญญาณปู่ย่าตายายทัก

           กรณีตายายทักเช่นนี้ผู้เฒ่าผู้แก่มักจะมีความเห็นให้เล่น
    โนราโรงครู แก้บนเสียลูก
           หลานที่เจ็บไข้ก็จะหาย

    ครกเบือ (ออกเสียงเป็น  คร็อก เบือ ) (.) ครกประจำครัว ใช้ตำน้ำพริก ตำเครื่องแกง
           
    สากเบือ  =  สากที่ใช้คู่กับ ครกเบือ

    คลด,  ครด  (ออกเสียงเป็น  คล็อด,  คร็อด ) (ก.)   กัด แทะ อาหาร
             
    " คลด คง "  =  กัดแทะข้าวโพด

    ควน    (.)  เนินเขา,  เขาเตี้ยๆ

    คอ    (.) 1.อวัยวะที่เชื่อมระหว่างหัวกับลำต้ว,   ส่วนคอดระหว่างหัวกับต้วของภาชนะ,
             ส่วนคอดของเส้นทาง    2. ผู้ช่วย, ผู้มีฐานะรองลงไป  ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้
             คำว่า 
    คอวัด  ในความหมาย รองเจ้าอาวาส หรือ รองสมภารวัด   3. เพื่อนเกลอ,
             คนที่ชอบเหมือนกันหรือคุ้นเคยกัน  "
    ไอ้คอ "   = ไอ้เพื่อนเกลอ  

    คอม  (น.) ทหารกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
          ประเทศไทยที่เข้าไปอยู่ในเขตป่าเขาช่วงระหว่าง พ
    .. 2509 - 2523 โดยเหตุผล
          ทางการเมือง

    ค้อย   ( ออกเสียงเป็น ข่อย)   (ว.)  ด้วย    (คำนี้มีเฉพาะในภาษาสงขลา )
          
    " ไป ค้อย ม้าย ? "  
    =  ไปด้วยกันม๊ย ?
           
    " ท่ามั้ง ไปค้อย "  =  รอหน่อย จะไปด้วย  

    คั่น  (.)  ถ้า
         
    "
    คั่น ทำงานกล้า พันนี้   เรื่องเท่ หมัน อี้จน ไม่มีเด็ดขาด "
            ถ้าขยันทำงานอย่างนี้  เรื่องที่ จะจน ไม่มีเด็ดขาด

    คั้น ( ออกเสียงเป็น  ขั่น) (ก)  ขวาง,  กั้น   ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้ในความหมาย
          เกะกะ  ขวางทางเดิน
         
    " พี่นั่งตรงนี้ คั้นน้องม้าย "
    = พี่นั่งตรงนี้จะเกะกะน้องมั้ย(น้องจะทำงานสะดวกมั้ย)

    คำพรัด,  กำพรัด,  (.)การว่ากลอน หรือขับกลอนของโนรา ศิลปะประจำถิ่นใต้ หาก
            นำบทกลอนที่แต่งไว้ก่อนแล้วมาขับ จะเรียกว่า
    "ว่าคำพรัด"  หรือ "ว่ากำพรัด"
            แต่หาก โนรา
    มีปฏิญาณสามารถว่ากลอนที่เกี่ยวกับบุคคล สถานที่หรือเหตุการณ์
            เฉพาะหน้าได้เป็นกลอนสด จะเรียกว่า
    "ว่ามุดโต"

    คึง    (ว.)  (น้ำ)ที่ค้างอยู่  ยังคงอยู่  ยังขังอยู่
              
    "ฝนตกหนัก จนบ่อข้างบ้าน มีน้ำ คึง อยู่เต็มบ่อ"

    คุ่นคิ่น ( ออกเสียงเป็น ขุ่นขิ่น)  (ว.) เกือบหมด,  เกือบจะไม่พอ
            
    "เดือนนี้ ฉาน ต้องเสียค่าเทอมให้ลูกชาย คุ่นคิ่น จัง "  ( คุ่นคิ่น ในประโยคนี้
             หมายถึง เกือบไม่มีเงินเหลือ )

    คุบ,  คลุบ (ว.) ทันทีทันใด 
           
    " คุบ หวิบ,  คลุบ หวิบ"   -  อารมณ์โกรธ ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด
           
    " คุบ ยกขึ้น"  
    -  ลุกขี้นยืนทันที,  ลุกขึ้นอย่างเร็ว

    คุมท่าววัน , คุมราววัน  (ว.)  จนถึงทุกวันนี้
            
    " ฉานยังจำเรื่องนั้นได้ คุมท่าววัน " = ฉันยังจำเรื่องนั้นได้ จนถึงทุกวันนี้

    คุจง,   คูจง  (น.) สัตว์จำพวกบ่าง แต่มีขนาดใหญ่
            ( พบมากตามป่าเขา แนวเขาบรรทัด ในเขต สตูล- พัทลุง-สงขลา)

    คุรำ,   คูรำ   (.)   เลียงผา ( แพะภูเขา )

    คูด, นกคูด (ออกเสียงเป็น ขูด, หนก-ขูด) (.) นกกระปูด  ชื่อสามัญ Lesser Coucal
          
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Centropus touloue      นกคูด หรือ  นกกระปูด มีขนปีกสีน้ำตาล
           แดง อกสีดำ ตาสีแดง  ชอบวิ่งหากินกบ เขียด คางคก และสัตว์ตัวเล็ก ตามพื้นดิน
           อาศัยตามป่าโปร่ง 

          ( คนไทยถิ่นใต้ได้ยินเสียงร้องของนกชนิดนี้เป็น คูดๆๆ ในขณะที่คนไทยภาคกลาง
          ได้ยินเป็นเสียง ปูดๆๆๆ  จึงเป็นที่มาของชื่อ 
    นกคูด , นกกระปูด )   

    เคง   (.)  1.  หวอด หรือฟองน้ำที่แม่ปลาพ่น ลอยเป็นกลุ่ม ใช้เป็นที่วางไข่
            
    2.
    จอมปลวกเล็กๆ ที่อยู่ตามทุ่ง ป่าเสม็ด ป่าพรุ (สูงประมาณ 1-2 ฟุต) หรือรัง
            ปลวกเล็กๆที่เกาะอยู่ตามต้นมะพร้าว เรียกว่า
    หัวเคง ก็ได้ 
            "
     ลายเคง "  = การ
    รื้อหรือทำลายงานที่เพิ่งเริ่มวางรากฐานจนงานนั้นต้องล้มเลิก

    เคย  (.) 1. กะปิ     "เคยกุ้ง" = กะปิกุ้ง      " เคยปลา " =   กะปิที่ทำจากปลา
             
    2.  อวัยวะเพศหญิง (ของเด็กเท่านั้น ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้ว จะไม่ใช้คำนี้ )
              3.
     "แมงเคย" = แมงปอ    ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา-คลองหอยโข่ง)
             จะเรียก แมงปอ ว่า
    แมงเคย      ผีเสื้อ จะเรียกว่า  แมงบี้

    เคร่า  ( ออกเสียงเป็น  ขฺร่าว)(ก.)   รอคอย
             " เคร่า พี่มั้ง
    "   =  รอพี่ด้วย
            
    " พี่นั่ง เคร่า น้อง อยู่ที่หลาริมทาง " พี่นั่งคอยน้อง อยู่ที่ศาลาริมทาง

    เคอะ   (ก.)    ทะลึ่ง, แสดงกริยาวาจา ที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่รู้จักกาละเทศะ

    เค้า   (น.)  ต้นเรื่อง,  กรอบ,  ขอบเขต
            คำนี้ภาษาไทยถิ่นใต้  มักใช้ในสำนวน

              
    1. 
    "ในเค้า"  จะใช้ในความหมาย ในเครือญาติ   เช่น
                
              ถาม  
    " รู้จักหลวงไข่ คนนี้ม้าย ?
                  
           ตอบ   " รู้จัก.. ในเค้าลุงใกล้เขา"  =  รู้จัก..เป็นเครือญาติของลุงใกล้
             
    2. 
    " ไม่เข้าเค้า "     = ไม่เข้าพวก ไม่เข้ากลุ่ม
                  
    " คนไม่เข้าเค้า "  = คนไม่เอาไหน

    แค่     (ว.)   ใกล้  , เกือบ
            
    " เหนื่อยแค่ตาย "        =  เหนื่อยเกือบตาย
            
    " ข้าวสารแค่หมดแล้ว " =   ข้าวสารเกือบจะหมดแล้ว
            
    " อยู่แค่ๆ บ้าน "          อยู่ใกล้ๆบ้าน
            
    " หลบ มาอยู่แค่ๆ "      =  กลับมาอยู่ใกล้ๆ
            
    " แค่รูหมูก "   
    =  ใกล้นิดเดียว
              
    บ้านอยู่แค่รูหมูก ยังมาไม่ทันรถ    บ้านอยู่ใกล้นิดเดียว ยังมาไม่ทันรถ
            
    " แค่เข้าแล้ว " = เกือบแล้ว,  เกือบจะบ้าแล้ว
             " ฉานแลๆ หลวงไข่ แค่เข้าแล้ว  แกเดินแหลงคนเดียวทั้งวัน "
             
     ฉันดูๆ แล้ว  พี่ไข่เกือบจะบ้าแล้วนะ  แกเดินไปเดินมา พูดอยู่คนเดียวทั้งวัน

    แค็ก (ออกเสียงเป็น  แข็ก) (ก.)    ยืด , เบ่ง , เต๊ะท่ากิริยาท่าทางที่ถือดี อวดเก่ง

    แค่น   (ก.) ฝืนกิน, ฝืนทำ   " พอ แค่น ได้ " = พอใช้ได้(แต่ยังไม่ดีพอ)

    แค้น   (ออกเสียงว่า แข่น) (ก.)  1. (ความรู้สึก)โกรธ แค้น  ซึ่งจำเป็นจะต้องตอบโต้
           "ล้างแค้น" เพื่อเอาคืน ( ความหมายนี้ตรงกับความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน )
           
    2. (อาการ) จุก, กลืนอาหารไม่ลง จำเป็นจะต้อง  "ล้างแค้น"  ดื่มน้ำตามเพื่อแก้
            อาการอาหารติดคอ 

    แคระ   (ก.)   สะพาย        " แคระย่าม " - สะพายย่าม 
             
    (ในบางท้องถิ่น จะออกเสียงเป็น  แคร่ )

    โครฺะ  (น.) ครุ, ภาชนะจักสาน สำหรับใส่ของ

    แคว็ก ( ออกเสียงเป็น  แขว็ก )  (ก.) แคะ  ควัก ตัก  ขุด
           
     (อุปกรณ์ที่ใช้
    แคว็ก จะต้องมีขนาด เล็ก เช่น เศษไม้เล็กๆ,  ช้อน, มีด,  นิ้ว)

    แคว็ด   (ออกเสียงเป็น  แขว็ด )   (ว.)  คด,  เอียง, ไม่ตรง  คำนี้จะใช้คู่กับคำว่า  ไข่
          หรือ ไข ในสำเนียงถิ่นใต้  รวมเป็น  "
    ไขแคว็ด "
        
    "ไขแคว็ด"  หมายถึง อวัยวะเพศของเด็กชายตัวเล็กๆ ทีไม่ห้อยลงตรง แต่เอียงไป
          ข้างหนึ่งข้างใด    ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)คำว่า แคว็ด นี้เป็นคำที่ผู้เฒ่าผู้แก่ใช้
          เรียกเด็กผู้ชาย แสดงถึงความรักความเอ็นดูที่ปู่ย่าตายายมีต่อลูกหลาน  และมักจะ
          ติดปาก กลายเป็นชื่อที่เรียกกันปกติ จนลืมชื่อจริงไป  
    แม้ว่า "ไอ้ไขแคว็ด"  จะโต
          เป็นหนุ่มแล้ว จากเด็กๆที่ถูกเรียกว่า
    "ไอ้ไขแคว็ด"  จึงเปลี่ยนมาเป็น  "บ่าวแคว็ด"
       
      เมื่อบวชเป็นพระ ก็เรียกขานเป็น  "ต้นแคว็ด"   เมื่อสึกออกมาเด็กๆรุ่นน้อง
    ก็เรียก
          ทิดสึกใหม่คนนี้ว่า
     "พี่หลวงแคว็ด"
        
     (ดูความหมายคำว่า   บ่าว,   ต้น,   หลวง     เพิ่มเติม)

         ในภาษาไทยถิ่นใต้จะมีคำที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศ ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ ใช้เรียกเด็กผู้ชาย ด้วย
         ความรักเอ็นดู อยู่หลายคำ
    คือ    ไอ้ไขแคว็ด,   ไอ้ไขจ็อง,  ไอ้ไขนุ้ย,  ไอ้ไขดำ

         

    แคว็-จ้อน  (ออกเสียงเป็น  แขว็ด จ้อน)  (ก.) ถกเขมร,   นุ่งผ้าหยักรั้งพ้นหัวเข่า , 
            
    ลักษณะการนุ่งผ้าโสร่งของผู้ชายปักษ์ใต้ ที่ดึงส่วนล่างของโสร่งขึ้นมาเหน็บตรง
             สะเอว (
    มักใช้เวลาลุยน้ำ  ไม่ให้โสร่งเปียก)

    แควบ  1. (ว.) แฟบ, แบนเข้าไป    2. (น.แฟบ, พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นตามริมหนอง
             คลองบึง ผลแบน แฟบ ผลอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้ยำเป็นอาหารได้

            (มายเหตุ : ภาษาไทยถิ่นใต้ดั้งเดิมจะไม่มีเสียง ฟ.แต่จะใช้เสียง ควฺ.   แทน )  

    โค่-เค่  (ในสำเนียงสงขลา จะออกเสียงเป็น โข่-เข่(ว.)   คู่ คี่   ( เลขคู่ เลขคี่ )
              
    " นกโค่เค่ "  จะหมายถึง นกเงือก (หรือ  "นกเฮียก" ในสำเนียงสงขลา)
              
             
    มายเหตุ  "นกโค่เค่" มักจะอพยพย้ายถิ่นในช่วงเดือนสามเดือนสี่ จากป่าใน
             แถบเขาบรรทัดเขตรอยต่อสงขลา-พัทลุง-สตูล โดยจะบินเป็นฝูงใหญ่ผ่านคลอง
             หอยโข่ง-หาดใหญ่ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ป่าขาสันกาลาคีรีในเขตนาทวี
             สะบ้าย้อย ในอดีตเมื่อ 40 ปีก่อน จะพบเห็น "นกโค่เค่" เป็นประจำทุกปี ประมาณ
             ฝูงละ 10 - 20 ตัว   เมื่อมองไปไกล  เด็กๆจะเห็นฝูงนกและจะทายกันว่า นกทั้ง
             ฝูงรวมแล้ว  คู่ หรือ คี่  นั้นคือที่มาของ คำว่า "นกโค่เค่"
              
             ในปัจจุบัน  หลังจากมีการสร้างสนามบินหาดใหญ่ และเปิดใช้เพื่อการพาณิชย์มา
             ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 "นกโค่เค่"ก็ค่อยๆ ลดน้อยลงจนถึงปัจจุบัน เด็กแถสนามบิน
             หาดใหญ่ น้อยคนที่จะรู้จัก  "นกโค่เค่"

    โคม   (น.)  กะละมัง   (ภาษาตรังใช้    ปุ๋น  ในความหมายเดียวกัน )
     


    ควฺ   ฟ,        ขวฺ   =  ฝ

    มายเหตุ  : ในภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียงดั้งเดิม จะไม่มีเสียง ฝ. และ  เสียง  ฟ. แต่จะ
             ใช้เสียง ขวฺ. และ  ควฺ.   แทน  

             ตัวอย่าง เสียง ขวฺ. และ  ควฺ.   ที่คนไทยถิ่นใต้ดั้งเดิม ใช้
                  ไควฺ  ม้าย 
    ไฟไหม้
                   ขวัด ข้าว 
    =   ฝัดข้าว
                   ขวฺน ตก  
    =   ฝนตก
                   ควัน ไควฺ 
    =   ควันไฟ
                   โหร่ ควัง มั้ง  ม้าย  
    =  รู้ฟังบ้างมั้ย  ;  เข้าใจบ้างมั้ย
                   แรก คืน พี่ ขวัน ไม่ดี  
    เมื่อคืน พีฝันไม่ดี
                   โหลกสาวใคร มีไขวฺ ข้างปาก
    = ลูกสาวใคร มีไฝข้างปาก
                      ฯลฯ

           (  คำเหล่านี้ ยังคงมีใช้อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มชาวบ้านในเขตชนบท )

     

    ปัจจุบัน เนื่องจากการจัดการศึกษาที่ใช้ภาษาไทยภาคกลางเป็นต้นแบบประกอบ
    กับ อิทธิพลของวิทยุ โทรทัศน์   ทำให้ เด็กใต้รุ่นใหม่สามารถออกเสียง  ฝ
    .,  ฟ.
    ได้     จึงถือได้ว่าเสียง ฝ
    . และ ฟ. ในภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นพัฒนาการทางภาษา
    ของภาษาไทยถิ่นใต้ ในยุคปัจจุบัน

           

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×