ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #25 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ห)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 54


    หมวด ห

    หาหึง   (น.มหาหิงค์    สมุนไพรไทยที่ใช้บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ของเด็ก
              อ่อน  คนไทยถิ่นใต้ เรียกว่า  หาหึง

    หางยาม (น) มือจับของคันไถ  ใช้สำหรับ ควบคุมการไถนาให้ วัวหรือควาย เดินไป
             ตามแนวของรอยไถ ที่ได้ไถไว้แล้ว

    หาญ   (ก.) กล้า, ไม่กลัว    
            
    " เบอะ เปรวอยู่ข้างทาง น้องไม่หาญไป " -ก็ป่าช้าอยู่ข้างทาง น้องไม่กล้าไป
            
    ใจไม่หาญ- ใจไม่กล้า

    หายหูด ตูดบ็อง (ว.) หายไปแล้ว , ไปไกลแล้วจนมองไม่เห็น    คำนี้ มักใช้เป็นคำ
               ขยายความ เช่น
                
    " ลุงเท่ง แล่น หายหูดตูดบ็อง ไปนานแล้ว ตามกะไม่ทันหรอก " 
               ความหมายคือ  ลุงเท่ง วิ่งหนีหาย ไปตั้งนานแล้ว ตามก็ไม่ทันหรอก

    หีด , แยด , แต็ด , เท่าตุ้งหีด , เท่าตุ้งแยด (ว.) นิด , นิดเดียว, มีปริมาณหรือ
               ขนาดที่น้อยมาก

    หีบ    1. (น.)  หีบ  (หีบใส่ผ้า ) 
            
    2.
    (ก.) หนีบ,  บีบ, ถูกขนาบสองข้างจนกระดิกตัวไม่ได้   เช่น
           
       
     " ตลาดผีหีบ "   คำนี้เป็นชื่อของตลาดที่มีป่าช้าขนาบอยู่ 2 ข้าง ที่นครศรี
             ธรรมราช
          
         
    " ควนหีบ " คำนี้เป็นชื่อช่องเขาที่มีควนขนาบอยู่ 2 ข้าง อยู่ระหว่างอำเภอ
             คลองหอยโข่ง กับบ้านบาโรย อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา

    หึงสา  (ก.)  อิจฉา, ไม่อยากให้คนอื่นดีกว่าตัวเอง
              คำนี้ ความหมายตามตัวหนังสือ คือ  เบียดเบียน, คิดทำให้ผู้อื่นเกิดทุกข์ แต่
              ในภาษาถิ่นใต้มักใช้ในความหมาย อิจฉา  ริษยา   (
    ไม่อยากให้คนอื่นดีกว่า
              ตัวเอง)

    หืด (ก.)  หายใจเข้า

    หูเป็นช้างท้อง,  หูเป็นถ่างท้อง ( น.) ช่องหูอักเสบ เรื้อรัง มีน้ำหนองไหล และมี
           กลิ่นเหม็น มักจะเป็นกับเด็กๆที่เล่นน้ำในห้วยหนองคลองบึงที่มีน้ำสกปรก
          (
    คำนี้ในบางถิ่น จะออกเสียงเป็น  
    " หูเป็นถ่างทื่ง " )

    เห็ง     (ก.)   ทับ, กดอยู่ข้างบน
           
             
     " ตาล่อเหมือนหมาครก เห็ง - ตาถลนเหมือนหมาที่โดนครกทับ 
              กรุณาเปรียบเทียบกับคำว่า กดขี่ข่มเหง หรือ ข่มเหงรังแกในภาษากรุงเทพฯ

    เห็นดู   (ก.)  สงสาร
             
     " เณรคล้อย เอาแต่เล่นไพ่ เล่นปอ แล้วโลกเมีย ของเณรคล้อย อิกินไหร
              น่าเห็นดู จริงๆ " 
            
     
    -   เณรคล้อยเอาแต่เล่ไพ่ เล่นโป แล้วลูกเมีย ของเณรคล้อย จะกินอะไร
              น่าสงสาร จริงๆ

    เหอ  (ว.)  ใช้ต่อท้ายคำอื่นให้สละสลวย เปรียบได้กับคำ  " จ๋า, เอย " 
               
    " พี่หลวงเหอ "  -  พี่หลวงจ๋า
               
    " ฝนตกเหอ "    - ฝนตกเอย  (ใช้ในเพลงร้องเรือ หรือในบทกลอนโนรา-
                หนังตลุง
    )  

    เหิด       (ก.)  แหงน    ( มองไป ในที่สูง)  
                 
    " เหิด แล ยอดพระธาตุ "  -  แหงน มองยอดพระบรมธาตุ
                 
    "  หมาเหิดแลเครื่องบิน "  -  หมาแหงน มองเครื่องบิน

    เหียบ  (ว)  เงียบ , ไม่มีเสียงดัง
           (
    ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) ไม่มีเสียง .   แต่จะใช้เสียง  . , ฮ. แทน )

    แห    1.  (น.)อุปกรณ์ประมง ใช้จับปลา
            2.  (ก.) กลัว,  ไม่เชื่อง,  ไม่คุ้นคน  (คำนี้จะใช้กับสัตว์เลี้ยงเช่น  วัว  ควาย 
           
    สุนัข..  เช่น
                
    "ลูกฮัวตัวนี้แหจัง
      ใครเข้าแค่ไม่ได้"  ความหมายคือ  ลูกวัวตัวนี้ไม่เชื่อง
            (ไม่คุ้นคน
    ) ใครเข้าใกล้ไม่ได้เลย
           
    3.  
    (น.) แมลงมีพิษชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้าย"ตัวต่อขนาดเล็ก" สีน้ำตาล-แดง
           
    มีพิษน้อยกว่า
    ตัวต่อ รังของ"แห"คล้ายรังของตัวต่อ แต่มีขนาดเล็ก "แห"จะ
            ออกหากินเวลากลางคืน
    แต่ตัวต่อ จะออกหากินเวลากลางวัน

    โหนอน,  เหานอน  (ก.ง่วงนอน

    โหะ       (ว.)  ผุพัง  ชำรุดทรุดโทรม
              
    " หนำในสวนยาง โหะ หมดแล้ว หลังคา กะรั่ว อิ นอนผรื่อเล่า "
                 
    ขนำในสวนยาง พังหมดแล้ว หลังคาก็รั่ว แล้วจะนอนได้อย่างไร

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×