ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #24 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ส)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 54


    หมวด ส

    สกเส็ก (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น ซ็อกเซ็ก)  (ว.)  ไร้สาระ,  ไม่น่าพูด ไม่ควร
            
    นำมาปฏิบัติ
               
    " เรื่องสกเส็ก พรรค์นี้  คนเป็นถึงกำนันเขาไม่ทำกันหรอก "   ความหมายคือ
            เรื่องไร้สาระอย่างนี้  คนเป็นถึงกำนันเขาไม่ทำกันหรอก
            คำว่า สกเส็ก นี้ บางครั้งจะใช้อธิบายลักษณะของฝนที่ตกๆ หยุดๆ ตกประปราย
            ว่า  
    ฝนตกสกเส็ก    ( หรือจะใช้ว่า  "ฝนตก รกเร็ก" ก็ได้ )

    สกครูก,  สักครูก,  สกโครก,   สักโครก     (ว.)  สกปรก
              
    คำที่มีความหมาย สกปรก ในภาษาไทยถิ่นใต้ มีหลายคำ  คือ
              
    หลุหล๊ะ  (เลอะเทอะ) ,
             
     ม่อร็อง  (ใช้กับเสื้อผ้าและรูปร่างหน้าตา)
              
    สกหมก, มรก ((ใช้กับเสื้อผ้าก ารแต่งกาย)

    สมรม  (ว.)  ผสมผสาน ปนเป
           
     " แกงสมรม " 
    =  แกงเหลือในงานวัด ที่นำมาผสมรวมกัน แล้วอุ่นใหม่ ไม่ให้บูด
            
    " สวนสมรม "  =  สวนผลไม้ ที่มีพืชหลายชนิด ขึ้นปะปนกัน

    สวด   (น.)    หวด,  อุปกรณ์ที่ใช้นึ่งข้าว, นึ่งอาหาร

    สอก   (ก)  พร่อง ,  ลดลง
            
    (คำนี้เลือนมาจาก  ซฺรอก  ในภาษาเขมรโบราณ)
             
    " น้ำ สอกล้ว "  =  น้ำลดล้ว
              
    " หวากในจอก  สอกลงไปฮีดหนึ่ง " =  น้ำตาลเมาในจอกพร่องไปนิดเดียว

    สมุก  (น.) ภาชนะสานก้นเหลี่ยม มีฝาครอบ ใช้สำหรับเก็บของใช้ มีขนาดเล็ก
            ( มักสานด้วย ใบเตย หรือใบลำเจียก )

    สะคี่ , สะกี้ ,  ส่ากี้    (น.) ปุ้งกี๋  อุปกรณที่ใช้ขนดิน  ขนทราย

    สะโบ (น.) 1. สบู่ (ที่ใช้ฟอกตัว,ชำระล้างร่างกาย)     2.  ถั่วสะโบ (น.) ชื่อของถั่วชนิด
           หนึ่ง
    (Bambarra Groundnut)เป็นพืชตระกูลถั่วที่ฝักถั่ว เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน หรือ
           วางบนผิวดิน โดยแต่ละฝักจะมีเมล็ดในเพียงเมล็ดเดียว 

           ชาวสงขลา(คลองหอยโข่ง)เรียกถั่วชนิดนี้ว่า ถั่วสะโบ, ชาวนครศรีเรียกว่า ถั่วหรัง,
          ชาวกระบี่,พังงา เรียกว่า ถั่วปันหยี


    ถั่วสะโบ ของชาวคลองหอยโข่ง(สงขลา )

    สะมายัง, สะมาหยัง,  มาหยัง (น.) การสวดแสดงความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้าของ
             ชาวมุสลิม   ( คำนี้คนไทยถิ่นใต้ มักใช้สั้นๆว่า มาหยัง )

    ส้มๆ     (ออกเสียงเป็น ซ็อมๆ) (ว.) ไม่ปกติ ไม่เต็มบาท
             
    " หลวงขวดเป็นคนส้มๆ ทำไหร กะเพี้ยนๆ " 
               หลวงขวดเป็นคนไม่ปกติ ทำอะไรก็เพี้ยนๆ

    สังหยา  1. (น.) ขนมสังขยา   เช่น   " ข้าวเหนียวสังหยา "  = ข้าวเหนียวสังขยา
               
    2.
    (น.)
    อาการพุพอง  ติดเชื้อบริเวณหนังศีรษะ(ชันนะตุ) จะเรียกว่า
           
     " หัวเป็นสังหยา "

    สา 1. (น.) ความเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักรับผิดชอบ รู้ในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรกระทำ  (หรือ
             เดียงสา ในภาษาไทยมาตรฐาน)  ในภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า   รู้สา  ( ออก
             เสียงสำเนียงสงขลาเป็น 
    โร่ สา ) ซึ่งจะมีความหมายตรงข้ามกับคำว่า     ไม่รู้
            
    สา  - ไร้เดียงสา
             2.
    (ก.) รู้สึก , รับรู้ได้
             
    " กูไม่ สา กลัว สักฮีด "
      -  กูไม่รู้สึกกลัวสักหน่อย
             
    " ถูกด่าแค่นั้น ไม่สาไหรหรอก "   -  ถูกด่าแค่นั้น ไม่รู้สึกอะไรหรอก
            
     " หลวงชม เป็นคนไม่สาไหร พี่ถูกแทงตาย ยังทำเฉยอยู่ได้ "
                 หลวงชม เป็นคนไม่เอาไหน (ไร้ความรู้สึก) พี่ถูกแทงตาย ยังทำเฉยอยู่ได้
            
     " สาว่า
    " 
    ดูเหมือนว่า , น่าจะเป็น (อย่างนั้น อย่างนี้)

    สาด      (น.)   เสื่อ ( ที่ใช้ปูรอง นั่ง - นอน )

    สามส้าง (ศฺมศาน  ันส.)(น.) สถานที่เผาศพของคนปักษ์ใต้สมัยก่อนเป็นเสาไม้
             หมากสูง 4 เสาข้างล่างกว้าง ข้างบนสอบ ข้างบนจะขึงด้วยผ้าขาวไว้กับเสา 4
             มุม ที่พื้นจะใช้เป็นที่วางโลงศพ
             
    (ปักษ์ใต้โบราณเชื่อกันว่า สามส้าง เป็นสัญลักษณ์ใช้แทน เขาพระสุเมรุ)

    สาย  (น.) 1. เส้น, แถว,  แนว, ก้านของบัวต่างๆ ( ความหมายตรงกันกับความหมาย
              ในภาษาไทยภาคกลาง)

              2. สาหร่าย
    ; พันธุ์
    ไม้น้ำ ที่พบอยู่ใต้น้ำ ตามลำคลอง ท้องทุ่ง  และในทะเ
             ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะเรียกว่า   "สาย"
             " ยำสาย " 
    - ยำสาหร่าย ; อาหารที่ขึ้นชื่อของเกาะยอ สงขลา

    สายคอ  (น.)  สร้อยคอ


    สายดม (น.) แนวเขตบ้านหรือแนวที่ดินซึ่งมีต้นไม้หลายๆพันธุ์ขึ้นอยู่เป็นแนว
         
    ( ผักเหนาะ จิ้ม น้ำชุบของคนใต้ จึงมักจะเป็นผักที่เก็บจากแนวสายดมข้างบ้าน )
          

    สายหนาม  (น.) รั้วลวดหนาม
         
    " แต่แรก คนบ้านเราใช้สายดมเป็นเขตบ้าน  แต่หว่างนี้ ทุกบ้านเปลี่ยนเป็นสาย
           หนามหมดแล้ว  หมา กะ เข้าไม่ได้ "
        
       เมื่อก่อนคนบ้านเราใช้แนวต้นไม้กั้นเป็นเขตบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ทุกบ้านเปลี่ยนเป็นรั้ว
           ลวดหนามกันหมด  หมาก็เข้าไม่ได้

    สายเอว  (น.) เข็มขัด

    สีน (ก)  ตัด
          
    " ทำงานเผื่อไข้ ตัดไม้เผื่อสีนสำนวนใต้ ใช้ในความหมาย จะต้องรู้จักเตรียม
           การ เผื่อวันข้างหน้า  เช่น
     ต้องรู้จักเก็บเงินเก็บทองไว้ใช้ในยามเจ็บไข้ไม่สบาย
           การตัดไม้จากป่า จะต้องตัดให้ยาวไว้ก่อน เผื่อว่าจะต้องตัดอีก

    เส (ออกเสียงเป็น เซ้ ) (น.)  สี่, จำนวนนับ 4 
          ( ในภาษาสงขลา เสียง อี จะแปลงเป็นเสียงเอ    สี่ ของ คนกรุงเทพ จึงเป็น เส
           ของคนสงขลา )

    เสดสา (ว.)  ทุกข์ยาก ลำบาก
            
    " หว่างอิพ้นปีนั้นมาได้  มันเสดสา "  -  กว่าจะพ้นปีนั้นมาได้ มันลำบากมาก

    เสงเครง,  ส้มเสงเครง  (น.) กระเจี๊ยบ 
          คนคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาดั้งเดิม จะเรียก กระเจี๊ยบ ว่า
    ส้มเสงเครง  มัก
          ใช้ใบเสงเครงอ่อนๆ เป็นผักแกงส้ม เรียกว่า แกงส้มเสงเครง

    เสียงว่า  (ว.) ได้ยินข่าวว่า,   ได้ยินเขาพูดกันว่า
        
     
    " เสียงว่า หลวงไข ตายแหล่ว, จริงม้าย ไอ้บาว "
           ได้ยินข่าวว่า หลวงไข่ ตายแล้ว,   จริงมั้ย ไอ้หนู

    แสก   (น.)  สาแหรก :  เครื่องหาบสิ่งของ ทำจากหวาย

    เสาะข้าว  (ก.)  กินข้าวรองท้อง  ก่อนออกไปทำงาน

    สุพัน    (น.กำมะถัน

    สำหนวน (ออกเสียงเป็น ซ้ำ-น้วน ) 1. (ว.)  สำนวนดี, พูดคุยเก่ง, มีโวหาร
             
    "สำหนวนแกดี "
           
    พี่ไข่เป็นคนที่ไม่มีใครเกลียด....คารม โวหารแกดี
          (ก) หยอกล้อ โดยใช้สำนวนโวหาร
             
    " อย่าโกรธหลวงไข ตะ  แกทำสำหนวน หยอกเล่น หรอกอย่าโกรธพี่ไข่เค้าเลย แกพูดหยอกล้อเล่นเท่านั้น "
           
     2.
    หลวงไขเป็นคนที่ไม่มีใครเกลียด แกจีบหญิงเก่ง 

    ไส, ป่าไส  (น.) ป่าไม้ที่ได้ถางต้นไม้เล็กๆเพื่อจะทำไร่  แต่ยังไม่ได้โค่นต้นไม้ใหญ่
            ป่าชนิดนี้จะมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ทั่ว  คำว่าไส นี้ ยังใช้เรียกสถานที่ในภาคใต้
            หลายแห่ง เช่น ไสใหญ่(ควนเนียง สงขลา) ,   ไสถั่ว( พัทลุง ) ,    ไสยูงปัก
            (นาบอน นครศรีธรรมราช) ฯลฯ

    เส้า, ก้อนเส้า (น.) ก้อนหิน 3 ก้อนที่ใช้สำหรับเป็นเตาหุงข้าว ต้มแกง

    โสด   1. (ว.)  โสด,  ยังไม่แต่งงาน    
             2.
    (น.)
     แถว,   แนว
              " โสดยาง "
      แนว หรือแถวของต้นยางพารา

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×