ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #20 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ย)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 54


    หมวด ย

    ยกขึ้น (ก. ลุกขึ้น
          
    " ยกขึ้น ยกขึ้น  ไอ้บ่าว   เติ่นได้แล้ว  นอนโหย๋ ผรื่อ  ... หวันแยงวานแล้ว "
             ลุกขึ้นๆ  ไอ้หนู ตื่นได้แล้ว นอนอยู่ได้อย่างไร  ตะวันแยงก้นแล้ว (ตะวันขึ้นสูง
             แล้ว ; สว่างแล้ว)

    ยง  1. (ก.)  พรวนดิน, ทำให้ดิน รอบๆต้นไม้ ที่ปลูกไว้ ร่วนซุย  ( เฉพาะ ใช้ไม้หรือ
          อุปกรณ์พรวนดินเล็กๆ  ถ้าอุปกรณ์พรวนดินมีขนาดใหญ่ จะไม่ใช้คำนี้ )
          2.(ว.)  ชอบคุ้ยเขี่ยข้าว ของกระจุยกระจาย (คำนี้ มักใช้กับไก่ ที่คุ้ยเขี่ยทั้งพืชผัก
          ที่ปลูกไว้ข้างบ้าน รวมทั้งขึ้นไปคุ้ยหาเศษอาหารบนบ้านหรือในครัว จำเป็นต้องให้
          เด็กๆ คอยไล่อยู่ตลอด )  
    " แม่ไก่ตัวนี้ ยง  เอาไว้ไม่ได้ ต้องเชือดแล้วแกง "

    ยน, บอกยน    (น. ตะบันหมาก
          ( เหนือจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นไป ไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า
    " ไม้ทิ่มขล้อง" )
          " ดันยน "  แผ่นไม้รองก้นของ ตะบันหมาก
        
     " จนเหมือน ยนม้ายดัน "   -   สำนวน ไทยถิ่นใต้ ใช้ในความหมาย ยากจนมาก
          ขนาดไม้รองก้น ตะบันหมาก ก็ยังไม่มีปัญญาหา

    ยอน    (ก.)  ยุยงให้เกิดเรื่อง ,  ยุให้ทำ,   แหย่ ,  กระทุ้ง      " ยอน มดแดง "

    ยักหลัง(ก.)   ล้มหงายหลัง      " ยักหลังผีง "  หงายหลังตึง

    ยัง     (ก.)   มี      
          
     " ยังเบี้ยเท่าใด "  -  มีเงินเท่าไหร่ ?
           
    " ยังไหรม้าย " - มีอะไรมั้ย ?
            " ยังมั่งม่าย "  -  มีบ้างมั้ย ?

    ยัน    (ก.)   เมา  โดยเฉพาะกินหมากแล้วเมา จะเรียกว่า ยันหมาก

    ยาขาว  (น.)  บุหรี่

    ย่าง  (ออกเสียง ย้า)  (ก.) การทำให้อาหารสุก โดยวางไว้ห่างๆไฟ อาจจะวางไว้ บน
           ไฟ หรือ ข้างๆไฟ   ก็ได้   (ถ้าวางไว้ใกล้ไฟ หรือวางบนถ่าน จะเรียกว่า จี )


           คำนี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้ - สงขลา คลองหอยโข่ง หรือ "โหม่เหนือ"ออกเสียงเป็น
           ย้าง     แต่ถ้าเป็น คนสงขลาริมทะเล หรือ " โหม่ บก " จะออกเสียงเป็น  หย่าง
           ( ดูคำอธิบายเพิ่มเติม หัวข้อ   "
    หมายเหตุ กรณีศึกษาภาษาสงขลา " )

    ย่าน,  ย่านเชียก  (ออกเสียง หย่านหย่านเฉียก(น.)  เถาวัลย์ (ทั้งที่ทอดยาวไป
            กับพื้นดิน  หรือเกี่ยวพนต้นไม้อื่น)
            
       ย่านปด   -  
    รสสุคนธ์
             
     ย่านนาง  -   เถาย่านาง
           
    "พอสาวย่านถึง"   สำนวนใต้ ใช้ในความหมายว่า พอจะนับญาติกันได้ เปรียบ
           ได้กับญาติพี่น้องที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน    เหมือนกับ
    เถาวัลย์ ที่มาจากกอเดียวกัน
            หรือจุดกำเนิดร่วมกัน
             
    " ชักย่าน " (ออกเสียง ฉัก หย่าน )  - เดินตามกันเป็นแถว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×