คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ญ)
หมายเหตุ : ภาษาสงขลาและภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไปจะออกเสียง ญ. ( เสียง |
ญ้า ( ย. นาสิก เสียงตรี ) (น.) หญ้า
ในภาษาไทยมาตรฐาน มีการใช้ ญ.ในการเขียนแต่ไม่ได้ออกเสียงนาสิก คง
ออกเสียงเป็นหย้า ซึ่งเป็นเสียงเดียวกันกับคำว่า ย่า (แม่ของพ่อ) ขณะที่ใน
ภาษาสงขลา ย่า ออกเสียงเป็น หย่า( ย. เสียงเอก ) หญ้า ออกเสียงเป็น
ญ้า( ย. นาสิก เสียงตรี )จึงสามารถแยก หญ้า และ ย่า ออกได้ทันที ที่ฟังคน
สงขลาพูดสำเนียงใต้
หญา-จก ( ย. นาสิก เสียงตรี ) หาจก (ว.) ยาจก ใช้ในความหมายลักษณะการ
กินที่ตะกละ ตะกราม กินอย่างมูมมาม กินทุกอย่างเหมือนยาจก หรือคนที่ขัดสน
เพราะไม่แน่ใจว่ามื้อต่อไปจะมีกินอีกหรือเปล่า คำนี้ มักเน้นไปในเรื่องการกิน
อาหารที่ไม่สะอาด, ประเภทอาหารที่คนทั่วไปไม่กิน หรือกินมากผิดปกติ เรียก
ว่า " กิน หญาจก " หรือ " กิน หาจก "
ญิ้ง ( ย. นาสิก เสียงตรี ) (น.) หญิง
ในภาษาไทยมาตรฐานเขียนด้วยอักษร ญ. แต่ไม่ออกเสียงนาสิก คงออก
เสียงเป็น หยิง
ใญ้ ( ย. นาสิก เสียงตรี ) (ว.) ใหญ่
ในภาษาไทยมาตรฐาน จะเขียนด้วยอักษร ญ. แต่ไม่ออกเสียงนาสิก คงออก
เสียงเป็น ใหย่ แต่ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะออกเสียง ญ นาสิกชัดเจน
หญอด (หยอด - ออกเสียงนาสิก) (ว.) แคระ แกร็น (มักใช้กับต้นไม้ที่แคระแกร็น
เนื่องจากขาดน้ำ ขาดการดูแล )
แหญะ (แหยะ - ออกเสียงนาสิก) (ว.) กินไม่หมด
ข้าวที่เหลือจากการกิน เรียกว่า ข้าวแหญะ
เญื้อ (เยื้อ - ออกเสียงนาสิก)(น.) เหี้ย ( Varanus salvator วงศ์ Varanidae )
สัตว์เลื้อยคลานลำตัวมีสีดำ มีลายดอกสีขาว หรือเหลืองอ่อนพาดขวางลำตัว
หางมีสีดำ หรือ ลายปล้องดำสลับเหลืองอ่อน บางตัวมีจุดแดงเล็กๆที่หาง ชอบ
อาศัยตามที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำ เหี้ย หรือ "เญื้อ" เป็นสัตว์ที่เนื้อมีกลิ่นคาวมาก
คนปักษ์ใต้ดั่งเดิม จึงไม่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร
ภาษาไทยถิ่นใต้ (คลองหอยโข่ง-สงขลา) จะเรียก เหี้ย ว่า "เญื้อ" เสียง ห.ใน
คำว่า เหี้ย กร่อนหายไป และหลังเสียง ย.จะมีเสียง อ.ต่อท้าย คำว่า เหี้ย จึง
กลายเสียงเป็น " เญื้อ " (ออกเสียงนาสิก )
ความคิดเห็น