สงครามดำเนินต่อตอนที่ 5 จะเป็นอย่างไรกันบ้างจับตากันก่อนครับ - สงครามดำเนินต่อตอนที่ 5 จะเป็นอย่างไรกันบ้างจับตากันก่อนครับ นิยาย สงครามดำเนินต่อตอนที่ 5 จะเป็นอย่างไรกันบ้างจับตากันก่อนครับ : Dek-D.com - Writer

    สงครามดำเนินต่อตอนที่ 5 จะเป็นอย่างไรกันบ้างจับตากันก่อนครับ

    เรื่องนี้ต่อจากตอนที่ 4 หลายๆคนยังไม่ทราบกันเท่านี้เองแต่ถ้าจำไม่ได้ถามพี่เรย์ก็ได้ไม่มีปัญหาแน่นอนครับจบเท่านี้เองน่ะครับเรื่องนั้นต้องรู้กันบ้างบ่อยๆไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาเท่าที่ควรเหมือกันทุกประการ..

    ผู้เข้าชมรวม

    1,590

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    8

    ผู้เข้าชมรวม


    1.59K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  สงคราม
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  31 มี.ค. 53 / 11:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เหตุการณที่สำคัญในสงคราม

      ในปี ค.ศ.1917 ได้แก่การได้ร่วมเข้าสู่สงครามของสหรัฐ ความจริงแล้วกองทัพขนาดเล็กๆของสหรัฐที่ส่งมาร่วมรบมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยในการต่อสู้อย่างโหดเหี้ยม ซึ่งกำลังเป็นไปอย่างนองเลือดอยู่ในบริเวณภาคเหนือของฝรั่งเศส เมื่อกองกำลังทหารของสหรัฐเดินทางมาถึงบริเวณนั้น แต่การที่สหรัฐจะเอาทรัพยากรมหาศาลมาช่วยทำให้ขวัญของฝ่ายพันธมิตรเบ่งบาน ความวิตกกังวลปราศจากไป ในขณะเดียวกันก็ทำให้ความหวังในชัยชนะสงครามของเยอรมันมืดมนจนมองไม่เห็นทาง การเข้าร่วมสงครามของมิตรที่ทรงอานุภาพอย่างสหรัฐทำให้ฝ่ายพันธมิตรยินดีเป็นที่สุด เพราะในขณะนั้นรัฐบาลของรัสเซียพังทลาย และกองทัพรัสเซียทิ้งแนวรบด้านตะวันออกไป ภายใต้บัญชาการของนายพลรัสเซียที่ดีที่สุด ผลปรากฏว่ากองทัพรัสเซียมีความทรหดและกล้าหาญ แต่ในปี ค.ศ.1915 พระเจ้าซาร์ตัดสินใจผิดพลาดที่ก้าวเข้ามาเป็นผู้บัญชาการรบสูงสุดด้วยพระองค์เอง ปล่อยให้การปกครองภายในประเทศอยู่ในมือของชายาซารินา อเลกซานดร้า ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน ซารินา อเลกซานดร้าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอันชั่วร้ายของไกรกอรี่รัสปูติน นักบุญขี้เมา ซึ่งมีอำนาจสะกดจิตรักษาโรคร้ายแรงของพระโอรสพระองค์เดียวของซารินา อเลกซานดร้าให้หายขาดได้ จากการก้าวขึ้นสู่อำนาจเหนือซารินาทำให้รัสปูตินเปลี่ยนรัฐบาลรัสเซียให้กลายมาเป็นรัฐบาลที่น่าหัวเราะไร้ความหมาย และรัสปูตินยังจะจัดตั้งรัฐมนตรีด้วยตนเอง ในที่สุดในเดือนธันวาคม ค.ศ.1916 รัสปูตินก็ถูกขุนนางรัสเซียกลุ่มหนึ่งวางแผนการสังหารเสียชีวิต แต่ผลเสียนัน้ได้เกิดขึ้นแล้วเพราะว่าในขณะนั้นรัฐบาลรัสเซียไร้เกียรติยศโดยสิ้นเชิง และสิ่งที่เลวร้ายลงไปอีกก็คือมีข่าวเล่าลือออกไปทั่วรัสเซียว่า ซารินากับสหายของพระนางได้ทำการทรยศและไปเข้าข้างกับฝ่ายของเยอรมัน


      ความวุ่นวายในรัสเซีย

      ถึงกระนั้นก็ดีในช่วงต้นปี ค.ศ.1917 กองทัพที่ใหญ่โตของรัสเซียยังคงทำการสู้รบกับศัตรูอย่างเข้มแข็งและด้านการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมยังคงผลิตได้อย่างเต็มที่ มีปัญหาความยุ่งยากก็คือบรรดาคนงานในเมืองขาดแคลนอาหาร เพราะค่าแรงที่ได้นั้นไม่ทันราคาสินค้าซึ่งถีบตัวสูงรวดเร็ว การขนส่งมีไม่เพียงพอ และชาวนาไม่ยอมทำการเพาะปลูกอาหารที่จำเป็น บรรดาชาวนาเองนั้นก็ไม่สามารถที่จะทนต่อราคาสินค้าซึ่งมีราคาสูงเพราะว่าเนเฟ้อ ชาวนารัสเซียจึงพากันเรียกร้องให้เอาผืนนากว้างใหญ่มหา- ศาลมาแบ่งให้พวกตน ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1917 (ตามปฏิทินของรัสเซียเป็นเดือนกุมภาพันธ์) การนัดหยุดงานและจลาจลได้ระเบิดออกมาในกรุงปีโตรกราด (เมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก เดิม) ทางด้านสภาดูม่าของรัสเซียกล้าที่จะวิจารณ์พระเจ้าซาร์และเตือนให้พระองค์ทราบว่าสถานการณ์เลวร้ายลงทุกขณะ พระเจ้าซาร์ นอโคลาสตอบโต้ด้วยการยุบสภาดูม่า เมื่อเป็นเช่นนี้ทหารจำนวนมากได้เข้าร่วมสมทบกับคนงานแล้วจัดตั้งสภาโซเวียตหรือสภาคนงานของตนขึ้นมา การปฏิวัติขยายตัวรวดเร็วเหมือนกับไฟไหม้ป่า เรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่าการปฏิวัติกุมภาพันธ์ ซึ่งบีบบังคับให้พระเจ้าซาร์ต้องยอมสละบัลลังก์ให้พระอนุชาของพระองค์ แต่ประชาชนชาวรัสเซียซึ่งเกิดความเบื่อหน่ายกับสงคราม และจากการที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากมาตลอดชีวิต บัดนี้ได้ถึงจุดเดือด ต้องการให้รัสเซียเป็น สาธารณรัฐ ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นมา เป็นรัฐบาลที่อยู่ภายใต้การนำของนักสังคมนิยมสายกลาง คือนายเคเรนสกี้ ท่านผู้นี้พยายามที่จะทำงานที่เป็นไปไม่ได้สองเรื่อง คือการสร้างรัสเซียประชาธิปไตยและการชักจูงให้ทหารออกไปทำการรบ ในขณะเดียวกันบุคคลผู้มีพลังมากกว่านายเคเรนสกี้กำลังคอยโอกาสอยู่ บุคคลผู้นี้คือวลาดิมีร์ เลนิน วลาดิมีร์ เลนิน ถูกเนรเทศไปใช้ชีวิตอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ แต่เลนินยังคงติดต่อกับพวกบอลเชวิกอยู่ตลอดเวลา และดำเนินงานควบคุมสหภาพการค้า สหกรณ์ หนังสือพิมพ์ และทำการรณรงค์ต่อต้านสงครามอย่างไม่ยอมเลิก
      ในทัศนะของทางเยอรมันจึงเห็นว่าเลนินคือคนที่สามารถทำให้ความพยายามทำสงครามของรัสเซียนั้นยุติลงได้ ดังนั้นในเดือนเมษายน ค.ศ.1917 เยอรมันจึงส่งเลนินจากสวิตเซอร์แลนด์ข้ามเยอรมันเข้าไปยังกรุงปีโตรกราด ที่เมืองนี้คนงานมาร์กซีสต์ต้องการมีส่วนร่วมในคณะรัฐบาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ดีเลนินได้พบว่าพวกบอลเชวิกยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้และเมื่อทางรัฐบาลขณะนั้นประกาศว่าพวกบอลเชวิกคือพวกทรยศประเทศชาติ เลนินจึงปลอมตัวหนีไปยังฟินแลนด์ที่นั่นเขาจะพบกับพวกสนับสนุนบอลเชวิก สถานการณ์ในรัสเซียยังคงเลวร้ายมากขึ้น สงครามเพิ่มความเลวร้าย ทำให้ทหารชาวนาหนีทัพกลับบ้านจำนวนหลายพันคน เมื่อพวกก่อกวนประกาศว่าการสู้รบในสงครามเป็นผลประโยชน์ต่อชนชั้นปกครองเท่านั้น ประชาชนยากจน การจลาจลแย่งขนมปังได้ระเบิดออกมาในหลายๆเมือง และในเขตต่างๆทั่วประเทศ ชาวนาเริ่มยึดท้องที่นาจากเจ้าของที่ดิน เมื่อนายพลคอร์นิลอฟดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพคนใหม่ของรัสเซียเดินทัพเข้ามายังกรุงปีโตรกราดเพื่อที่จะล้มรัฐบาลเฉพาะกาลแล้วจัดตั้งรัฐบาลทหารแทน แต่นายเคเรนสกี้ต้องการที่จะรักษาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนไว้ให้ได้ จึงได้จัดส่งอาวุธไปให้พวกบอลเชวิกหรือพวกเรดการ์ด พวกบอลเชวิกได้ทำการต่อสู้กับกองกำลังของนายพลคอร์นิลอฟและขับไล่ทหารของนายพลผู้นี้แล้วจึงเข้ายึดเมืองปีโตรการ์ดไว้ เลนินเดือนทางมาจากฟินแลนด์ เลนินกับเพื่อนของเขาผู้ปราดเปรื่องของเขาที่ชื่อนายทรอดสกี้ได้ร่วมมือกันโค่นล้มรัฐบาลเคเรนสกี้ และแล้วในฐานะที่เป็นประธานสภาคอมมิซซาร์ประชาชนเลนินก็มีอำนาจโดยสมบูรณ์ ในขณะที่กลุ่มอื่นๆยังสับสนหรือตื่นเต้นกับสถานการณ์ที่วุ่นวายในขณะนั้น เลนินก็รู้แล้วอย่างแน่ชัดว่าควรที่จะต้องทำอะไรบ้าง งานครั้งแรกของเลนินนั้นก็คือการกำจัดพวหเมนเชวิกและการปฏิวัติสังคมเพราะเลนินตัดสินใจแล้วว่าไม่ต้องการที่จะแบ่งอำนาจให้กับกลุ่มใด งานชิ้นต่อไปเลนินประกาศเอาที่ดินเป็นของรัฐและยุติสงครามทันที เยอรมันฉกฉวยโอกาสเต็มที่จากการประกาศเลิกสงครามของทางเลนิน โดยการเรียกร้องอย่างหนักจากทางรัสเซีย จนกระทั่งแม้แต่ทรอดสกี้ในครั้งแรกก็ไม่ยอมตามคำเรียกร้องของเยอรมัน แต่เลนินยอมจ่ายเพื่ออำนาจของตน ข้อเรียกร้องของทางเยอรมันคือผืนแผ่นดินที่กว้างใหญ่ของทางรัสเซียตะวันตกซึ่งรวมถึงดินแดนเพาะปลูกของแคว้นยูเครน เหมืองถ่านหินทั้งหมด และจำนวนประชากรชาวรัสเซีย 1 ใน 3 สนธิสัญญาเบรสท์-ลิทอฟส์ ระหว่างเยอรมัน-รัสเซีย ยุติสงครามในแนวรบด้านตะวันออกและทำให้เยอรมันทุ่มเทเต็มที่เอากำลังที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมดมาต่อสู้กับศัตรูในแนวรบด้านตะวันตก ขณะนั้นผู้นำทางทหารของเยอรมันได้ทราบแล้วว่ากำลังของทางตุรกีนั้นเกือบหมดแล้ว อาหารและวัสดุในเยอรมันกลายเป็นปัญหาที่ร้ายแรง อังกฤษยังไม่อดอาหารจนต้องยอมแพ้ และเมื่อเวลาล่วงเลยไปอีกปีทหารอเมริกันจำนวนมากจะเดินทางมาถึงภาคเหนือของทางฝรั่ง-เศส แต่ก็มีโอกาสสุดท้ายในการที่จะเอาชนะสงคราม ถ้าหากว่าเยอรมันจะรีบเอาชนะอย่างรวดเร็ว การที่รัสเซียออกจากสงครามทำให้เยอรมันเคลื่อนย้ายทหารนับล้านคน ปืนใหญ่อีกนับพันกระบอกมายังแนวรบด้านตะวันตก สำหรับโจมตีอังกฤษอย่างรุนแรง การบุกครั้งใหญ่ของเยอรมัน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×