ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เซลล์ หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

    ลำดับตอนที่ #1 : การค้นพบและทฤษฎีของเซลล์

    • อัปเดตล่าสุด 10 ก.ย. 55





    การค้นพบและทฤษฎีของเซลล์

    การค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เริ่มต้นจากปี ค.ศ.1655 Robert  Hook  ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบที่มีลํากล้องป้องกันแสงจากภายนอกรบกวน แล้วนําไปส่องดูชิ้นไม้คอร์คที่ฝานบาง ๆ ได้พบโครงสร้างที่มีรูปร่างเป็นช่องเหลี่ยมเล็ก ๆ จึงเรียกว่า เซลล์ (Cell)  ซึ่งหมายถึง ห้องเล็ก ๆ อันที่จริงสิ่งที่ฮุกเห็นนั้นเป็นเพียงผนังเซลล์ของพืชที่ยังคงเหลืออยู่หลังจากที่เซลล์ตายแล้ว อย่างไรก็ตามฮุกก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้พบและตั้งชื่อเซลล์เป็นคนแรก และใช้มาจนถึงปัจจุบัน

     

    ทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory)

    ในปี ค.ศ.1838 Matthias  Jacob  Schleiden  นักชีววิทยาชาวเยอรมัน ได้ศึกษาเซลล์ของพืชชนิดต่าง ๆ แล้วสรุปว่า พืชทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ ต่อมาในปี ค.ศ.1839 Theoder  Schwan  นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้ศึกษาเซลล์ของสัตว์ แล้วสรุปว่า เนื้อเยื่อของสัตว์ประกอบด้วยเซลล์ ในปีนี้เอง Schleiden  และ Schwan  ได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (Cell   Theory)   มีสาระสําคัญ คือ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประกอบด้วย เซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์” (All animal and plant are composed of cell and products) และในปี ค.ศ.1855 Rudolf Virchow   ได้ศึกษาการเจริญเติบโตของเซลล์และการเพิ่มจํานวนเซลล์จากเซลล์ที่เจริญเติบโต จึงเพิ่มเติมทฤษฎีเซลล์ว่า เซลล์ทุกชนิดย่อมมีกําเนิดมาจากเซลล์ที่มีอยู่ก่อน

    การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ในปัจจุบันก้าวหน้าไปมากและค้นพบความจริงเกี่ยวกับเซลล์มากมาย ทฤษฎีเซลล์ได้พัฒนามาเป็นทฤษฎีในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นรากฐานสําคัญของชีววิทยาสมัยใหม่ มีสาระสําคัญคือ

             1.  สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์

             2.  เซลล์ที่เกิดใหม่ย่อมต้องมาจากเซลล์เดิมเท่านั้น

             3.  เซลล์ทุกชนิดมีส่วนประกอบพื้นฐานและกระบวนการสร้างและสลาย (Metabolism) เหมือนกัน

             4.  พฤติกรรม กิจกรรม และกระบวนการต่าง ๆ ที่ดําเนินอยู่ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทํางานร่วมและประสานกันของกลุ่มเซลล์
     

    (ซ้าย) Matthias  Jacob  Schleiden
    (ขวา) Theoder  Schwan




     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×