คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : นิวเคลียส (Nucleus)
นิวเคลียส (Nucleus)
นิวเคลียสเป็นออร์แกเนลล์ขนาดใหญ่ รูปร่างกลมรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-10 ไมโครเมตร ประกอบด้วย
1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear Membrane) เป็น Unit Membrane 2 ชั้น ซึ่งเชื่อมติดกันเป็นช่วง ๆ ทําให้เกิดเป็นหลุม (Nuclear Pore) ทําให้มีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างนิวเคลียสกับไซโตพลาสซึมได้ เยื่อชั้นนอกบางส่วนติดต่อกับ ER
2. นิวคลีโอพลาสซึม (Nucleoplasm) เป็นส่วนที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วย สารโปรตีน DNA และ RNA ซึ่งมีการแยกเป็นอิสระและรวมกันตามกิจกรรมของเซลล์ ในสภาวะปกติที่เซลล์ยังไม่ทําการแบ่งตัว สารประกอบเหล่านี้จะจัดเรียงตัวให้เห็นเป็น 2 ส่วน คือ นิวคลีโอลัส (Nucleolus) และเส้นใยโครมาติน (Chromatin) นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นเส้นใยซึ่งเป็นโมเลกุลของ DNA ที่ขดตัวเป็นก้อน ฝังตัวอยู่ในนิวคลีโอพลาสซึม สามารถเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ภายในนิวเคลียส สามารถรวมตัวและแบ่งตัวได้ ทําหน้าที่สังเคราะห์ RNA โดย DNA ช่วงที่จะถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมจะคลายเกลียวออกแล้ว DNA สายใดสายหนึ่งจะเป็นแม่พิมพ์ (Template) ให้ RNA ลอกรหัสพันธุกรรม (Transcription) เมื่อลอกรหัสเสร็จแล้ว DNA จะจับกันขดเป็นเกลียวเหมือนเดิมโครมาติน (Chromatin) คือ เส้นใย DNA ที่จับอยู่กับโปรตีนแทรกกระจายอยู่ทั่วไปในนิวเคลียส มี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่จับตัวกันแน่น เมื่อย้อมสีจะติดสีทึบ และชนิดจับตัวอย่างหลวม ๆ ย้อมติดสีปานกลาง ในระยะที่เซลล์แบ่งตัว DNA กับโปรตีนจะรวมตัวกันแน่น ปรากฏให้เห็นเป็นแท่งโครโมโซม (Chromosome) แต่ละโครโมโซม คือ 1 โมเลกุลของ DNA จํานวนโครโมโซม เป็นเอกลักษณ์ของชนิด (Species) ของสิ่งมีชีวิต คือ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีจํานวนโครโมโซมเท่ากัน
นิวเคลียส(ก) และ โครมาติน(ข)
ความคิดเห็น