คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ผลการศึกษาค้นคว้า (ประวัติความเป็นมาของการใช้ยาแก้ปวด)
ผลการค้นคว้า
ประวัติการใช้ยาแก้ปวด
ในสมัยโบราณนิยมใช้เปลือกต้นหลิว(willow) เป็นยาแก้ไข้(antipyretic) ในขณะนั้นรู้กันว่าสารเคมีในเปลือกหลิว คือ ซาลิซิน(salicins) ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนเป็นแอสไพรินได้และทราบด้วยว่าสารเคมีที่อยู่ในเปลือกซิงโคน่า(cinchona)ใช้เป็นยารักษามาลาเรียได้คือควินนิน(quinine)และมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไข้ได้ด้วย
ในช่วงทศวรรษ 1880 เกิดการขาดแคลนต้นซิงโคน่าจึงมีการหาทางเลือกอื่นสำหรับยาลดไข้และได้ค้นพบยาลดไข้ตัวใหม่ ได้แก่
- ในปี ค.ศ.1886พบ อะซิตานิไลด์ (Acetanilide)
- ในปี ค.ศ.1887 พบ ฟีนาซิติน (Phenacetin)
-ในปี ค.ศ.1873ฮาร์มอน นอร์ทรอป มอร์ส (Harmon Northrop Morse) สามารถสังเคราะห์ พาราเซตามอลโดยปฏิกิริยารีดักชั่นพาราไนโตรฟีนอล (p-nitrophenol) กับ ดีบุกในกรดน้ำส้ม (acetic acid) จากนั้นพาราเซตามอลไม่ได้ถูกใช้เป็นยาเกือบยี่สิบปี จนกระทั่งในปีค.ศ.1893ได้มีการตรวจพบพาราเซตามอลในปัสสาวะของผู้ที่ใช้ยาฟีนาซิตินและในปีค.ศ.1899พบว่าพาราเซตามอลเป็นเมตาโบไลต์ของอะซิตานิไลด์
-ในปี ค.ศ. 1948 เบอร์นาร์ด บรอดี้ และ จูเลียส อะเซลรอด ได้ทดลองใช้ อะซิตานิไลด์ ในโรคเมตทีโมโกบินีเมีย (methemoglobinemia) เขาพบว่าฤทธิ์บรรเทาอาการปวดของอะซิตานิไลด์เกิดจากพาราเซตามอล ซึ่งเป็นเมตาโบไลต์ ของอะซิตานิไลด์และพาราเซตามอลมีผลข้างเคียงน้อยกว่าอะซิตานิไลด์มาก ตั้งแต่นั้นมาพาราเซตามอลก็ถูกใช้เป็นยาแก้ไขแก้ปวดกันอย่างแพร่หลาย
- ในปีค.ศ. 1955 พาราเซตามอลวางตลาดในสหรัฐอเมริกา ชื่อการค้าว่า Tylenol
- ค.ศ. 1956 พาราเซตามอลวางตลาดในประเทศอังกฤษ ชื่อการค้าว่า Panadol
◊ SQWEEZ
ความคิดเห็น