ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พีระมิดในอียิปต์

    ลำดับตอนที่ #1 : พีระมิด

    • อัปเดตล่าสุด 4 พ.ย. 49


    พีระมิดใน ประเทศอียิปต์ มีมากมายหลายแห่งด้วยกันแต่ที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่หมู่พีระมิดแห่ง กิซ่า (Giza) ซึ่งประกอบไปด้วย พีระมิดคีออปส์ (Cheops) คีเฟรน (Chephren) และแมนคีเร (Menkaure) พีระมิดทั้งสามสร้างเรียงต่อกันเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของกรุงไคโร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ปัจจุบัน ด้วยโครงสร้างรูปทรงเรขาคณิตเฉพาะตัว ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้ในระยะไกล รวมทั้งจาก อวกาศ

    พีระมิดคีออปส์ ซึ่งใหญ่โตและเก่าแก่ที่สุดในหมู่พีระมิดทั้งสามแห่งกิซ่า เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยฟาโรห์คูฟู แห่งราชวงศ์ที่ 4 ของอียิปต์โบราณ ซึ่งปกครองอาณาจักรอียิปต์เมื่อประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาลหรือกว่า 4,600 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นที่ไว้พระศพตามธรรมเนียมของชาวอียิปต์ในยุคนั้น พีระมิดคีออปส์นี้ได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเป็นหนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

    ยอดพีระมิดคีออปส์เมื่อสร้างเสร็จสูง 147 เมตร (481 ฟุต หรือประมาณเท่ากับอาคารสูง 40 ชั้น เมื่อคิดความสูงที่ชั้นละ 3.6 เมตร) โดยที่ปัจจุบันส่วนยอดสึกกร่อนหายไปประมาณ 10 เมตร ยังคงเหลือความสูงประมาณ 137 เมตร นับจากก่อสร้างแล้วเสร็จพีระมิดคีออปส์นับเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลก เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 43 ศตวรรษ จนกระทั่งมีการก่อสร้างวิหาร Lincoln Cathedral ที่ประเทศอังกฤษซึ่งมียอดวิหารสูง 160 เมตรในปี ค.ศ. 1300 ต่อมายอดวิหารนี้ถูกพายุทำลายในปี ค.ศ. 1549 แต่ในขณะนั้นส่วนยอดของพีรามิดคีออปส์ก็สึกกร่อนลงจนมีความสูงไม่ถึง 140 เมตร ทำให้ วิหาร St. Olav's Church ในแอสโทเนีย (Estonia) ซึ่งเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1519 กลายเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลกด้วยความสูงของยอดวิหาร 159 เมตร

    รูปทรงของพีระมิดมีลักษณะเฉพาะตัว ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบด้วยด้านสามเหลี่ยม 4 ด้านยอดสามเหลี่ยมแต่ละด้านเอียงเข้าบรรจบกันเป็นยอดแหลม ฐานทั้ง 4 ด้านของพีระมิดคีออปส์กว้างด้านละประมาณ 230 เมตร (756 ฟุต กว้างกว่า สนามฟุตบอลต่อกัน 2 สนาม) คิดเป็นพื้นที่ฐานประมาณ 53,000 ตารางเมตรหรือประมาณ 33 ไร่ มีข้อสังเกตว่าแต่ละด้านของฐานพีระมิดมีความกว้างคลาดเคลื่อนจากกันเพียงไม่เกิน 8 นิ้ว หรือคิดเป็น 0.09% ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดงานก่อสร้างและระดับเทคโนโลยีในขณะนั้นฐานล่างสุดของพีระมิดก่อขึ้นบนชั้นหินแข็งซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นทรายเพื่อป้องกันปัญหาการทรุดตัวของชั้นทรายซึ่งจะมีผลกับความคงทนแข็งแรงของโครงสร้างพีระมิด ผิวหน้าพีระมิดแต่ละด้านทำมุมเอียงประมาณ 52 องศา ซึ่งมีส่วนทำให้พีระมิดคงทนต่อการสึกกร่อนอันเนื่องมาจากพายุทราย สิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือด้านทั้ง 4 ของพีระมิดหันออกในแนวทิศ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ถูกต้องแม่นยำตามทิศจริงไม่ใช่ตามทิศเหนือแม่เหล็กจึงไม่ใช่การกำหนดทิศด้วยเข็มทิศ และแสดงถึงความสามารถในการประยุกต์ความรู้ ทางดาราศาสตร์ของชาวอียิปต์โบราณ มาใช้กำหนดทิศทางได้เป็นอย่างดี

    ตามที่มีข้อมูลปรากฏในแหล่งต่างๆ อ้างถึงจำนวนหินที่นำมาก่อสร้างพีระมิดคีออปส์ต่างๆ กันไปตั้งแต่ 2 ล้านถึง 2.6 ล้านก้อน ประมาณน้ำหนักเฉลี่ยก้อนละ 2.5 เมตริกตัน โดยจัดเรียงซ้อนกันขึ้นไปประมาณ 200 ชั้น คิดเป็นน้ำหนักรวมกว่า 6 ล้านเมตริกตัน [1] เปรียบเทียบกับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กอย่าง ตึกเอ็มไพร์สเตท (Empire State Building) อดีตตึกระฟ้าสูงที่สุดในโลกซึ่งมีน้ำหนักรวม 365,000 เมตริกตัน จะพบว่า พีระมิดคีออปส์ มีน้ำหนักมากกว่า ตึกเอ็มไพร์สเตท ถึงประมาณ 16 เท่าครึ่ง และเมื่อเปรียบเทียบกับ อาคารไทเป 101 (Taipei 101) อาคารสูงที่สุดในโลก ณ ปี ค.ศ. 2006 ซึ่งมีน้ำหนักรวม 700,000 เมตริกตัน พีระมิดคีออปส์ ยังคงมีน้ำหนักมากกว่า อาคารไทเป 101 ถึง 8 เท่าครึ่ง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×