ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เพลง เนื้อเพลงและโน๊ตเพลงพระราชนิพนธ์

    ลำดับตอนที่ #11 : ดวงใจกับความรัก>>>เนื้อเพลง+ประวัติ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.53K
      0
      20 ก.พ. 52

    ดวงใจกับความรัก

      ค่ำคืนนภาดาราพราว
    ดาษเรียงเคียงแสงดวงจันทรา ์
    ที่จริงนั้นเดือนและดวงดาว
    ด้วยแรงจากแสงดวงตะวัน
    เปรียบดวงดาวและดวงเดือน
    เปล่งแววไปเปลี่ยนใจชม
    แน่นอนแท้จริงคือดวงใจ
    เปรียบดังกับแสงตะวันตระการ

       ตะวันฉายมาดาราราย
    รื่นรมย์ชมแสงดวงจันทรา
    มาตรแม้นสูญดวงตะวันไป
    ผู้คนสัตว์ไม้จะตายตาม
    เปรียบดวงดาวและดวงเดือน
    เปล่งแววไปต่างใจคน
    ตะวันนั้นเหมือนดังดวงใจ
    ขาดความรักเหมือนชีวาวาย



    ประกายแสงดาวพราวตา
    เพลินชมแสงพรายนภาเห็นดวงดาราล้อมจันทร
    ต่างเรืองแสงวาวพราวพรรณ
    จึงมีแสงเดือนงามครันแสงดาวประชันน่าชม
    ก็เหมือนแม้นแววมโนรมย์
    ด้วยจินตนาอารมณ์นานาประการ
    ส่องแววรักไปยืนนาน
    ยังคงแสงงามสะคราญแสงทองยืนนานเรื่อยมา

    ส่องแสงพริ้มพรายนัยน์ตา
    ชมดาวล้อมเดือนงามตาพริ้มพรายนภาแสงงาม
    ประดาแสงในฟ้าทราม
    ตะวันสูญไปเป็นยามล้วนมีแต่ความมืดมน
    ก็เหมือนแม้นแววมโนรมย์
    เปลี่ยนแปลงไปตามใจตนเวียนวนจนตาย
    หากสิ้นแสงไปรักคลาย
    จะเป็นหรือตายทั้งใจและกายไม่วายโศกโทรม



     

    เพลงพระราชนิพนธ์ “ดวงใจกับความรัก” “NEVER MIND THE HUNGRY MEN’S BLUES”

    เป็นเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ในช่วงระยะต้นรัชกาล ระหว่างที่เสด็จพระราชดำเนินศึกษาต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และขณะที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงดนตรีกับวง “กระป๋อง” โดยโปรดเกล้าฯว่า ถ้าหากข้าราชบริพารหรือนักดนตรีสมัครเล่นผู้ใดไม่อาย ก็ให้เข้ามาร่วมบรรเลงได้
    เพลงนี้เกิดขึ้นภายหลังเพลงพระราชนิพนธ์ “H.M. Blues” เนื่องจากมีผู้ข้องใจในความหมายของคำว่า H.M. จึงทรงไขปริศนาภายหลังเสวยพระกระยาหารในวันที่มีการทรงดนตรี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงประพันธ์คำร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ศาสตราจารย์ Ted Pease ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประพันธ์เพลงแจ๊สแห่ง Barklee College of Music, Boston, Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ร่วมเรียบเรียงเพลงพระราชนิพนธ์ในโครงการ “ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์” ได้กล่าวถึงเพลงพระราชนิพนธ์ “Never Mind the Hungry Men’s Blues” ไว้ว่า เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในลักษณะ swing composition ที่น่าชื่นชม เข้าในลักษณะแจ๊สคลาสสิคของ Duke Ellington เช่น เพลง Don’t Get Around Much Anymore และ เพลง Let a Song Fo Out of My Heart เขาจึงเรียบเรียงเพลงนี้ด้วยความรื่นรมย์ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระทัยถึงสไตล์เพลงแจ๊สอย่างลึกซึ้ง การเรียบเรียงของเขาจึงราบรื่นราวกับหลั่งไหลออกมาตามธรรมชาติ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×