ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ถ่ายความคิด

    ลำดับตอนที่ #8 : ตอนที่ 8 กระบวนการทำงานของความคิด

    • อัปเดตล่าสุด 30 ธ.ค. 50


    จาก ตอนที่ผ่านๆ มาทำให้เรา เห็น ภาพ การทำงานของการคิดของเราเอง
    ว่าการคิดก่อให้เกิด ผลที่ตามมาหลายอย่าง
    ลุงพูดถึงเฉพาะ ผลที่เกิดในหัวเรา ไม่ใช่ระดับที่ไม่ต้องไปสร้างอะไรออกมาเป็นรูปธรรม
    เอาแค่สิ่งที่อยู่ในหัวเรา ก็แตกต่างออกมาได้หลากหลายอย่าง
     
    ทั้งในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเห็น ความคิด ในหัวเรา
    เป็น ภาษา เดียวกับ ที่เราใช้พูดอ่านเขียนเป็นประจำ
    แต่เรารู้สึกไดว่า มีการคิดและผลของการคิดนั้น
    ไม่ว่าจะเป็นการ ติดสินใจ อารมณ์ความรู้สึก และ การคิด
     
    ใน “ชั้นรู้” ที่เราสังเกตเห็นเป็นภาษา ที่เราใช้พูดอ่านเขียน
    เห็นได้ชัดในหัวเราว่า เป็นสิ่งที่เราคิดจริง เป็นภาษา เหมือนที่เราใช้พูดอ่านเขียน
     
    เหมือน ตอนกำลังอ่านหนังสือที่ ลุงเขียน
    เราจะเห็นความคิด ชั้นรู้ นี้ เขามาลอยในหัวเรา สิ่งนี้ เข้าไปทำให้เรา คิด
    คิด จนรู้สึก บางอย่าง สิ่งที่รู้สีก นั้น ก็ เข้าสู่การคิด
    คิด หากมาจากความไม่พอใจ เราก็อาจ รู้สึกได้ว่า ความรู้อะไร อ่านทำไม
    เป็นใครทำไมต้องเชื่อ ด้วย หากเป็นไปในทิศทางนี้
    แล้วเราเอง ปล่อยให้ การคิด ดำเนินการซ้ำ ๆ ไปหลาย ๆรอบ
    ก็จะถึงจุดที่เรา อาจตัดสินใจ ไม่อ่านต่อ ไม่ซื้อหนังสือ เป็นต้น
    นี้ เป็นกระบวนการทำงานของการคิด
     
    การจะใช้ความคิดให้เต็มความสามารถเราต้อง
    ทำความเข้าใจการทำงานของการคิดให้ดีก่อน
    ตอนนี้เรารู้ว่าผลของการคิด เกิดขึ้นได้หลากหลาย
    และการคิดเองก็มีทั้งส่วนที่เรามองเห็นรู้สึกได้ในชั้นรู้
    ส่วนที่ต้องพยายามถึงจะมองเห็นในชั้นคิด
    และ มองไม่เห็น หากพยายาม ชั้น รู้สึก
     
    ลองพยายามพิจารณา ชั้นรู้สึกสิครับว่าเรารุ้สึก อะไร
    พอพิจารณา ที่ไร ก็กลายเป็นชั้นคิด ชั้น รู้สึก เป็นชั้นที่ แค่รู้พอว่ารู้สึกอะไร
    ไว้เล่มต่อไปลุงจะเขียนถึง เรื่องที่มาของสิ่งที่รู้สึก ให้ละเอียดยิ่งขึ้น
     
    เล่มนี้เราพิจารณา การคิด
    การคิด ที่พิจารณาได้ ด้วย การสังเกต การทงานของการคิดของของเรา
     
    เริ่มต้น ด้วยกระบวน การทำงานเบื้องต้นของการคิด
     
    มาเริ่มพิจารณา ทั้งหมด กันอีกครั้งครับ
    ตรงตำแหน่งที่ เลข 1 ลุงเรียกว่า ตัวรับรู้ หรือเรียกสั้น ๆว่า ตัวรู้
    ตรงนี้มีหน้าที่ เหมือน ตัววัดค่าการเปลี่ยนแปลง หรือที่เราเรียกกันว่า เซ็นเซอร์ ในระบบทางวิศวกรรม
    ทำหน้าที่แค่ รู้ สิ่งที่ได้ จาก ตำแหน่งที่ เลข 1 คือ “รู้สึก” หรือ “สิ่งที่รู้สึก”
    จากสิ่งที่รู้สึก ก็ถูกนำส่งเข้าสู่ กระบวนการคิด
    การคิด มีหลายแบบ แต่พื้นฐานของการคิด สมองเราจะใช้วิธีเปรียบเทียบ
     
    เปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยมีมา ในอดีต ในหัวเรา เบื้องต้นการคิดเริ่มต้นด้วยกระบวนการเปรียบเทียบ
    เปรียบเทียบเสร็จแล้วมีกระบวนการอื่นตามมามากมาย ขึ้นกับธรรมชาติ ของแต่ละคนที่เรียนรู้กันมา
     
    พอคิดเสร็จแล้วก็จะได้ สิ่งที่คิด หรือ ผลของการคิด มายังตำแหน่งที่สอง
    มาถึงตำแหน่งนี้ มีทางเลือกให้หลายทาง ที่สำคัญมี 3 เส้นทาง
     
    เริ่มด้วยเส้นทางที่ง่ายที่สุดในการพิจารณา หากการคิดของเราโดนฝึกมาดี คิดแค่ครั้งเดียว
    ไม่ต้องวนหลายรอบ สู่การตัดสินใจได้เลย ก็จะเป็นดังแผนภาพ
    จากสิ่งภายนอก การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม(ทุกอย่างที่ไม่ใช่ตัวเรา)
    เกิดการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้เรารู้สึก สิ่งที่รู้สึก ส่งมาให้เราคิด
    เมื่อคิด แล้ว ผลของการคิดทำให้เราสั่งการ “ตัดสินใจ” หรือ “ลงมือทำ”
     
    กระบวนการคิดเช่นนี้ เกิดขึ้นแบบชั้นเดียวจบ ทำความเข้าใจได้ง่าย
    การคิดของใครเป็นไปในลักษณะนี้ลุงก็ยินดีกับเราด้วย เพราะเราพิจารณา ความคิดตนเองได้ง่าย
    และสามารถทำความเข้าใจ และใช้งานความคิดตนเองได้ง่ายครับ
     
    เท่าที่ลุงสังเกต การคิด เช่นนี้ จะเกิดขึ้นในเด็ก ตัวเล็กๆ ที่ยังพูดไม่ได้
    เด็กเล็กๆ การเรียนรู้ จะสูงแต่ความรู้ ยังน้อยอยู่ ความคิด ส่วนใหญ่จึงเป็นลักษณะนี้
    เช่น หากเด็ก อยู่นอนหลับอยู่ข้างๆ แม่อยุ่นานๆ แล้วตื่นมาแม่หายไป (สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน)
    เด็กรู้สึกกลัว ก็ตัดสินใจ ร้องไห้ เลย ผลที่เกิดส่งผลต่อการตัดสินใจเลย ลงมือทำทันที
     
    แต่หากเป็นเราโต ขึ้นมาหน่อย การคิดเราส่วนใหญ่ จะไม่ใช่เช่นนี้แล้ว
    มาพิจารณา เส้นทาง ของการคิดอีกเส้นทางนะครับ
     
    เราโตขึ้นมา หน่อย เริ่มมี ภาษา ที่ใช้สื่อสารแล้ว
    แต่หากใครไม่เป็นเช่นนี้ มาพิจารณา ในเส้นทางต่อไป
     
    หากเรา รู้สึก กระบวนการคิดเราไม่สามารถตัดสินใจได้ ว่าต้องลงมือทำสิ่งใด
    เราก็จะเกิดอารมณ์ แล้วก็ส่งต่อไป เป็นความรู้สึก แล้วก็ส่งให้ตัวรู้สึก รับรู้ อีกครั้ง
     
    อย่างเช่น เราโตขึ้นมาหน่อยแล้ว ต้องไปโรงเรียน เราโดนบังคับ ว่าต้องไปโรงเรียน
    ขณะที่ พ่อแม่กำลังอาบน้ำแต่งตัวให้เรา เราไม่อยากไปโรงเรียน แต่เราไม่ได้พิจารณาว่าทำไมเราไม่อยากไป
    เรารู้สึกว่า เราไม่อยากไป แล้วระหว่างที่แต่งตัว เรารู้ว่า การแต่งตัวนั้นจะต้องทำให้เราต้องไปโรงเรียน
    ยิ่งแต่งตัวไปได้มากเท่าไร พ่อแม่ ใส่ชุดให้เราได้เรียบร้อยแล้ว พาเราขึ้นรถ นั่งรถ ขับรถออกจากบ้าน
    ทุกการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทำให้เรารุ้ว่า เราต้องไปโรงเรียน แต่เราไม่สามารถ ตัดสินใจทำอะไรได้ ต้องนั่งไปในรถ การคิดของเราก็เริ่มวนทำงาน ในชั้นคิด เราเกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึก แต่เรา ไม่รู้ว่า ทำไม มันเริ่มเศร้า ขึ้นเรื่อย ๆ ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากไปจากพ่อแม่ กลัว
    แต่ยังทำอะไรไม่ได้ การคิดเช่นนี้ วนไปเรื่อยๆ ในชั้นคิด ดังแผนภาพ
     
    การคิดก็จะวนรอบ ซ้ำ ๆ ไปมา สิ่งที่รู้สึก ที่เป็นผลที่เกิดจากตำแหน่งที่ 1
    เกิดจาก การเปลี่ยนแปลง ที่เรารับรู้จากภายนอก และ “ความรู้สึก” สัญญานจากภายใน
    ทั้งสองสิ่ง จะเป็นเหตุให้เรา รู้สึก และ นำสิ่งที่เรารู้สึก เข้าสู่กระบวนการคิด
     
    แล้วผลที่นำออกมา เราไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้ ก็จะวนๆ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ
    ในบางปัญหา หรือ สถานการณ์ ที่เราเจอ ความคิดมันวนซ้ำ
    โดยไม่รับรู้ สัญญาณจากภายนอกเลยก็มี
    ยามที่เราตกอยู่ในความรู้สึกใดนานๆ เช่น รู้สึกว่า “ได้ความรัก” หรือ “อกหัก”
    สิ่งที่เราคิด ไม่มีอะไรที่เป็นสัญญาณจากภายนอกเข้าไปเกี่ยวข้อง เราคิดจาก สัญญาณที่เราสร้างขึ้นมาเอง
    มีบ่อยครั้ง ที่ลุงเจอหลานๆ ตกในภาวะ เช่นนี้ โดยเฉพาะในปัญหาเรื่องความรัก
     
    ลุงเห็นหลานหลายราย มักโดนความรู้สึกว่า “รัก” หลอก
    มารู้อีกที่ ก็สงสัย ว่าทำไมคนที่เรารัก ไม่เป็นแบบที่เรารู้สึกเลย
    จริงๆ เขาหรือเธอก็เป็นแบบนั้นมานานแล้ว แต่เรา ไม่เห็น
     
    เรารับบางสิ่งที่เขาเป็น ไปสร้าง อารมณ์ ความรู้สึก ขึ้นมา
    โดยไม่ได้สังเกตรายละเอียดอื่นๆ ของเขาหรือเธอต่างหาก
    ใครอ่านเรื่องนี้ อยากเข้าใจความรักเพิ่มขึ้น กลับไปอ่านเรื่อง “วิชาความรัก” นะครับ
     
    ในเรื่องนั้น เป็นชุดความรู้ ของลุงที่ให้เราได้อ่าน
    ตอนนี้เรามีเครื่องมือทำความเข้าใจความคิดตนเองได้มากขึ้น
    ลองอ่านใหม่อีกรอบจะพิจารณาเห็นความจริงได้มากขึ้นครับ อย่างน้อยก็จะเจอสิ่งที่รู้สึก
     
    กลับมาเรื่องความคิดกันต่อครับ พอเราเป็นเช่นนี้
    การคิด ในชั้นคิดของเรามันวนๆ ซ้ำ ๆ ไปหลาย ๆรอบ
     
    ความน่าเศร้ามากมายก็เกิดขึ้นช่วงนี้แหล่ะครับ หากเราใช้ความคิดไม่เป็น
    ยังไม่ต้องไปหาว่าจะใช้ความคิดให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
     
    แต่หากความคิด ตกอยุ่ในภาวะ วน เช่นนี้ กับเรื่องบางเรื่อง
    พอทุกครั้งที่มีเรื่องที่การคิดเราวนเช่นนี้ เขามา เราก็ จะเป็น วนแบบเดิม ๆ ไม่ได้รับรู้ความจริงเลย
     
    คนที่มีปัญหา ทางจิตใจหลายคน เริ่มต้น ด้วยภาวะ เช่นนี้ครับ
    แต่ก็เช่นกัน คนที่สร้างสรรค์ อะไรออกมามากมาย ก็ใช้ความคิดลักษณะนี้เช่นกันครับ
     
    ลุงเลยต้องย้ำกับพวกเราว่า การทำความเข้าใจกับการคิดของตนเองคุ้มค่าครับ
    เราจะดึงศักยภาพของเราออกมาได้มากขึ้น ยากนิดนะครับ แต่อดทน ฝึก พิจารณาตนเอง
    สิ่งที่ได้รับมา คุ้มกับเวลาที่เสียไปแน่นอนครับ อย่างน้อย เราก็จะไม่ตกอยู่ในภาวะ
    ที่ความคิดเรา สร้าง ความรู้สึก มาหลอกตัวเราเอง มากจนเกินที่จะเจอความสุขที่แท้จริงในชีวิตครับ
     
    มาพิจารณา เส้นทางการคิด เส้นทางที่ 3
    เด็กคนเดิม นั่งรถไปโรงเรียน  จนถึงโรงเรียน พ่อแม่ ก็ส่งให้ ครู
    ครูเห็นเด็ก ท่าทาง ดูเศร้า ๆ ก็เลยถามว่า เป็นอะไร เด็ก ก็ต้องตอบครู
     
    การคิดในหัวเราก็เริ่มวิ่งหาคำตอบ เส้นทางของการคิด ก็เริ่มเห็นเป็นรูปธรรม
    เป็นภาษา เดียวกับที่เราใช้สื่อสาร ก็เข้าสู่การคิด ในชั้นคิดที่ลุงเรียกว่า “ชั้นรู้”
    ดังแผนภาพ
    มาพิจารณาเหตุการณ์ กันต่อนะครับ
    เมื่อเด็ก โดนคุณครู ถามว่าเป็นอะไรทำไม ดูเศร้า ๆ
    เด็กก็เริ่มคิด แต่ผลจากการคิดครั้งนี้ จะต้องสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจด้วย
     
    หากเด็กเองไม่มีความรู้เก่าๆ ในอดีตมาก่อนว่า การไม่อยากไปโรงเรียนเป็นสิ่งไม่ดี
    เด็กอาจจะตอบไปหลังจาก ที่คิดกำลังจะตอบ ออกไป สิ่งที่อยู่ใน “ชั้นรู้”
    ตัวความคิด ที่อยู่ในหัวที่เตรียมพูดออกไปว่า “ไม่อยากมาโรงเรียน อยากอยู่บ้าน”
    เด็กกำลังจะตอบ หากบังเอิญครูกำลังอารมร์เสีย ทำให้เด็กรู้สึกว่า
    ไม่ปลอดภัย แล้วถามกลับมาว่า “ทำไมเหรอ ไม่อยากมาโรงเรียนเหรอ”
    ด้วยน้ำเสียงดุ ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอก กับสิ่งที่เด็กรู้ในหัว ก็จะส่งเข้าไปเป็น สิ่งที่รู้สึก
     
    แต่เด็ก เอง รู้ว่าต้องตอบ ครู หากไม่ตอบจะต้องโดนทำโทษ ก็เลยตอบไป
    แต่ไม่ตอบกับสิ่งที่ตนรู้สึก จริง ก็ได้ เช่น อาจจะตอบว่า “ไม่สบายค่ะ ปวดหัวนิดหน่อย”
     
    แล้วก็ไปโรงเรียน กด สิ่งที่ตนเองรู้สึกไว้ ว่าไม่อยากไป ไม่อยากจากพ่อแม่
    การคิดในชั้นรู้ ที่เราสร้างมา ก็เลยไม่รู้ว่าเป็นความจริงไหม
    หากเราสังเกต ไม่ดีพอ สิ่งที่เราสร้างในชั้นรู้ นี้ อาจจะไม่มีอะไรจริงเลยก็ได้
    เพราะบางเรื่องราว เราโกหกสิ่งที่ตนเองรู้สึก ไว้นานมาก จน เราไม่รู้ว่า แท้จริง เรารู้สึกเช่นไร
     
    มีแต่ความรู้ ที่ เราสะสมไว้ เหมือนกรณี นี้ ที่เราไม่อยากไป โรงเรียน เพราะเรากลัวไม่อยากจากพ่อแม่
    แต่ พอ เราเคย รู้สึก เช่นั้น และเราบอกพ่อแม่ แล้ว ปรากฏว่า สิ่งที่เรารู้สึก นั้น ในสังคม ไม่ให้เราควรรู้สึก
     
    พอเราถึงวัย ต้องไปโรงเรียน เราต้องไปโรงเรียน หากเราไปโรงเรียน แล้วเราไปร้องไห้ อยากกลับบ้าน
    เพราะ อยากอยู่กับ พ่อแม่ เราจะยิ่งโดนล่อ หรือ มีชุดความรู้ ที่ผุ้ใหญ่ ให้มา ว่า โตแล้วต้องไปโรงเรียน
    โตแล้ว ไม่ควร เป็นเด็กงอแง เราจึง จำต้องปิดสิ่งที่รู้สึกที่แท้จริงไว้
     
    ว่าที่เราไม่อยากไปโรงเรียน เพราะ เรากลัว ที่จะจากจากคนที่รักเรา
    ในขณะ ที่เรายังเด็ก การเรียนรู้เรายังไม่พอที่จะพึ่งตนเองได้ แล้วเราต้องจากพ่อแม่ คนที่รักเรา
    ก่อให้เกิดเป็นความกลัว พื้นฐาน ของ คนเรา  แต่เรา โดนการเรียนรู้ในสังคม ว่า ห้ามรู้สึกเช่นนั้น
     
    เราจึง กดความรู้สึก นั้น ไว้ โดยการนำชุดความรู้ (กรอบในการคิด)มา บอกว่า
    ไม่อยากไปโรงเรียน ไปโรงเรียนไม่สนุก ๆ  ในชั้น รู้ของเราจึงสะสม เหตุผล ที่เกิดจากการคิด
    ที่ว่า ไปโรงเรียน ไม่สนุก ทั้งที่ ความจริง ที่เรารู้สึก จริง อาจจะไม่ใช่เรื่องความสนุก ด้วยซ้ำไป
     
    ในกระบวนการคิด ที่เดินทางมาเส้นทางนี้ ที่ส่งมา “ชั้นรู้” นั้น
    ส่วนใหญ่ จาก สิ่งที่เรารู้สึก พอ นำมาสู่กระบวนการคิด เราจะนำไปเปรียบเทียบแล้ว
    พบ ข้อมูลเก่าๆ หรือ ชุดความรู้ เก่า ที่เราเคยมีประสบการณ์ พอเรานำไปเปรียบเทียบ
    ว่าตรงกับสิ่งที่ เคยมี มาอย่างใด เราก็จะ นำสิ่งที่ตนรู้นั้นมา เป็นผลของการคิดที่เดินทางใน “ชั้นรู้”
     
    ชุดความรู้ เก่าๆ ที่เราสะสม ไว้เพื่อเปรียบเทียบ มีมาจากหลายทาง
    ล้วนเกิดจากการเรียนรู้ของเราในอดีต
     
    การศึกษา การทำงานของความคิด เรา เมื่อเห็น ความคิดตนเองชัดขึ้น
    เราก็ตรวจสอบ สิ่งที่อยู่ในหัวเราได้ง่ายขึ้น ว่า มาจากไหน จริงไหม
    เป็นสิ่งที่เรา สร้าง ความรู้สึก มาหลอกตัวเราเอง
    หรือ เป็น “ชั้นรู้” ที่เรา สร้างขึ้นปกปิด สิ่งที่ตนเองรู้สึก
     
    ลุงจึงบอกว่า ขั้นเริ่มต้น ของการ ฝึกใช้งานความคิด
    จึงต้องอย่าโกหกตนเอง และอย่าปฏิเสธสิ่งที่ตนรุ้สึก
     
    พิจารณา ให้เห็น ก่อนว่า ตอนนี้ ที่เราเป็น จริงๆ เป็นเช่นไร
    แล้วจึงตั้งคำถามว่า แล้ว ตัวเราที่ควรเป็น ควรเป็นเช่นไร
     
    บ้างครั้งพอรู้ว่าตัวเราที่ควรเป็น เป็นเช่นไร แล้ว ก็ยังเป็นไม่ได้
     
    เพราะสิ่งที่รู้สึก ที่ควรรู้สึก เรารู้สึกไม่ได้ อันนี้ ก็เริ่มค้นหา
    ปัญหาที่แท้จริงของชีวิต ของแต่ละคนครับ เรื่องนี้ละเอียดมาก
    ไว้ ในครั้งต่อไปลุง จะค่อยๆ เล่าให้พวกเราไว้พิจารณาตนเอง
     
    มาต่อเรื่องกระบวนการคิด  ในเรื่องราวต่างๆ ที่กระทบตัวเราต้องให้คิด
    ความคิดก็ทำงาน เป็นวนรอบ หากสิ่งที่รู้สึก รอบนี้ ส่งผลให้เกิดอารมณ์
    รอบของการคิดก็จะวน ไปสู่ อารมณ์ และความรู้สึกได้เช่นกัน
    การวนของการคิด ไม่จบในรอบเดียว ในหนึ่งครั้งที่เราเห็นความคิดเราใน “ชั้นรู้”
     
    หากการเดินทางของกระแสความคิด เดินทางด้วยความเร็วของอิเลคตรอนจริง
    ลุงเองก็ไม่อาจรู้ได้ว่า การวนรอบของการคิดลักษณะ นี้
    มีการวนรอบการคิด กี่ แสน ล้านรอบ คงเยอะมากๆ
     
    เพียงแต่เรามองไม่เห็น มองไม่ทัน
    รอบการเกิดขึ้น ของการคิด เร็ว และละเอียดมาก
    การคิดที่เรามองเห็น สังเกตเห็น ยังมีข้างล่างของความคิดซ่อน อยู่อีกมากมาย
     
    การศึกษา การทำงานของการคิด เมื่อเราเห็น การเดินทาง หลักๆ ทั้ง 3 เส้นทาง
    นำมาพิจารณา ในรอบในการคิดของเรา รอบดังกล่าวทั้งหมด ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้
    สามารถแสดงได้ดังแผนภาพต่อไปนี้
    จากแผนภาพเราจะเห็นว่า ในรอบการคิดมีได้ 3 เส้นทาง
    เวลามีเรื่องอะไรมากระทบให้เราต้องคิด การคิดของเรา วนไปหลายรอบมาก ๆ
     
    บางครั้งก็วน ขึ้นไปทาง “ชั้นรู้” เราจึงเห็นความคิดเราเป็นลักษณะเดียวกับภาษาที่เราใช้พูด
    บางครั้ง ก็วน ลงมาทาง ชั้นคิด มาเป็น อารมณ์ และความรุ้สึก
     
    และส่งกลับไปให้เรารู้สึก เป็นเช่นนี้ หลายๆ รอบ วนไป วนมาเช่นนี้
    ลองสังเกต ความคิดของตนเองเราก็เห็น บางครั้ง ก็เห็น เป็นภาษา ว่าตนคิดอะไร
    บางที่ ก็แค่ รู้สึก เป็น อารมณ์ เป็น ความรู้สึก วนไปวนมา
    ก่อนที่จะตัดสินใจอะไร ได้สักเรื่อง
     
    เราเองคงเคยผ่านประสบการณ์ ความคิดที่ทำงานช้าพอให้เราเคยได้เห็น
    เช่น ที่ลุงกล่าวมา กันมาทุกคน โดยเฉพาะเวลาที่ เรากังวล หรือ ทุกข์ใจ
    หรือ กำลังแก้ปัญหา หนึ่ง ปัญหา ใด ในชีวิตของเราเอง
     
    หากเราไม่ทันความคิดตนเองเราก็ถูกความคิดใช้
    ให้ตัดสินใจ ให้ลงมือทำ โดยที่เราเองมองไม่ทัน สังเกตไม่เห็น
    จุดเริ่มต้นของการตัดสินใจในแต่ละครั้งเลย
     
    ตัวอย่าง การคิด ที่ลุงนำมาให้เราพิจารณา เป็นตัวอย่างการคิด ตอนคนเราอยู่ในวัยเด็ก
    เพราะเป็นตัวอย่างที่สังเกต ให้เห็นได้ง่าย เราส่วนใหญ่ เคยผ่านประสบการณืเหล่านั้น
    แต่ถึงแม้เราจะโตเป็นผู้ใหญ่ การคิดเราก็มีลักษณธ การทำงานหลัก ๆ ตามที่เราได้พิจารณา
    กันไปแล้ว ลองสังเกต ผุ้ใหญ่ หรือ คนอายุ คนที่เราเห็นชีวิต และผลของการคิดเขาดูสิครับ
     
    ก็มีลักษณะ ประมาณที่เราพิจารณา กันไปแล้ว
    คนอายุเยอะๆหลายคน ที่ไม่เคยฝึก ใช้ความคิดตนเลย
    ก็ จะยิ่งเห็นได้ชัด ว่า ความคิด ทำงาน เช่นนี้ น่าเศร้า ที่คนเราอายุมากขึ้น
    แต่บางคนไม่รู้เลย ว่า ความคิดที่ใช้ งานเรานั้น น่าตาเช่นไร 
    มาจากส่วนที่คิดไปเอง (ความรู้สึก) หรือ มาจาก ชั้นรู้ (บางครั้งในชั้นรู้ นี้ ก็มีความรู้ของคนอื่นที่เรารับเขามา)
     
    การวนลักษณะนี้เกิดขึ้นมากมายหลายครั้ง ในแต่ละเรื่องที่เราพิจารณา ที่เราต้องคิด
    การฝึกใช้ความคิดเรา เราต้องพิจารณา ความคิด การทำงานของการคิด ได้ชัดเจน
    เมื่อเราเข้าใจกระบวนการทำงาน ของการคิด ได้เช่นนี้แล้ว
    คำถามต่อมา ที่เราต้องพิจารณา คือ แล้วจะพัฒนาการคิด ได้อย่างไร ?
     
    ทิ้งไว้ให้เราคิด ในตอนนี้ ตอนต่อไปลุงจะมาเล่าให้ฟัง
    ความรู้ของลุง เป็นแค่ข้อมุลของเรา
     
    พิจารณา จนเห็น รู้สึก จริงได้ด้วยตนเอง
    เมื่อนั้น เราเองก็จะเป็น คน ที่สร้างความรู้เองได้
     
    ลุงนำความรู้ของลุงมาเล่าให้เราฟัง
    ไว้ให้เราได้ศึกษา ความคิด ของพวกเราเอง
     
    เพื่อให้ความคิดของพวกเราช้าลง จนเพียงพอ
    ที่พวกเราจะสังเกตเห็นความคิดตนเอง
     
    หรือ ตัวรับรู้ เราเร็ว พอ ที่จะเห็น ความคิด ตน
     
    เมื่อไรที่เราความเร็ว เท่าแสง เราก็เห็นแสง หยุดนิ่ง
    เมื่อตัวรู้เราเร็วขึ้น ภาพที่เราเห็น กลับช้าลง
     
    เมื่อนั้น เราก็จะเห็น ในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น
     
    ความจริง ที่ซ่อนอยู่ ในธรรมชาติ
    ความจริง ที่มนุษย์ ทุกคน
    มีความสามารถ พอที่จะเห็นได้ทุกคน
     
    ลุงเชื่อเช่นนั้น จริง ๆ
    ลุงมัย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×