ลำดับตอนที่ #9
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : ตอนที่ 9 การพัฒนาการคิด
จากตอนที่แล้ว เราเห็น กระบวนการทำงานของการคิดแล้ว
มาถึงคำถามที่ทิ้งไว้เมื่อตอนท้าย ของ ตอนที่แล้ว
หากเราต้องการพัฒนา การคิด ของเรา เราควรจะทำได้อย่างไร ?
เป็นคำถามให้เราลองคิด กันครับ เราจะพัฒนาตรงไหนส่วนไหนครับ
จากแผนภาพ หลาย ๆ คน คงคิดว่าเราต้องพัฒนที่กระบวนการคิด
เพราะ หากพิจารณา จากแผนภาพ ในตอนที่ผ่านมา ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น
หากต้องการให้ ทั้งระบบการคิด ดีขึ้น น่าจะเป็น ต้องพัฒนา กระบวนการคิด
แต่ ในความเป็นจริง มีวิธีการอื่นที่ง่ายกว่า การพยายามพัฒนา หรือ สอนกระบวนการคิด
(เรื่องกระบวนการคิด แบบที่เป็นชุดความรู้ไว้วันหลังลุงค่อยเล่าให้พวกเราฟังครับ)
ธรรมชาติ กระบวนการคิด ของมนุษย์ ธรรมชาติ ไดสร้างมาสมบูรณ์
และยุติธรรม กับ ทุกคน ทุกคนมีเหตุ ที่ ต้องมีสมองเช่นนั้น
และสมองที่มีเพียงพอให้เราพ้นทุกข์ของเราที่ต้องเกิดมาทุกของชาติ นี้ที่เกิด
ลุงเชื่อ ใน ชุดความรู้ ที่พระพุทธองค์ท่านได้ ทิ้งไว้ให้ ทุกสิ่งเกิดขึ้น ล้วนมีเหตุในการเกิด
การเกิดขึ้นของชีวิตเราก็เช่นกัน เรามีเหตุที่ต้องเกิดมา เหตุของแต่ละคน
ปัญหา ที่เราต้องเกิดมา ที่เราต้องแก้ไข สิ่งผิดพลาด ที่เคยทำ ล้วนเป็นเหตุ ให้เราต้องเกิด
หากเราไม่มีแล้ว ซึ่งปัญหา หรือ ความผิดพลาด ที่เคยทำ ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราต้องเกิดมา
ลองพิจารณา หาสิครับ ว่า มีมนุษย์คนไหนเกิด มา พร้อมความรู้สึก เป็นสุข
ไม่มีทุกข์เลยที่ได้เกิดมา ไม่มีปัญหา ที่ต้องแก้ไข ไม่เคยทำผิดสิ่งใด
มีมนุษย์ คนไหน ที่เกิดมา พร้อมภาวะ เช่นนั้นไหมครับ
เท่าที่ลุง ศึกษา เท่าที่ลุงดูมา ในประวัติศาสตร์ ไม่มีมนุษย์คนไหน เกิดมาไม่มีปัญหา
หากจะมีก็คงมีแต่คนที่ไม่รู้ปัญหา หรือ ไม่ยอมรับปัญหา ตน
ตายไปด้วยความไม่รู้อีกชาติ หนึ่ง ชาตินี้ เกิดมาก็ตายเปล่า ไปอีกหน
กลับมาเรื่อง การคิดกันต่อครับ ธรรมชาติยุติธรรมกับทุกคนครับ
ลุงเชื่อ ว่า ในส่วนของกระบวนการคิด
มนุษย์ ทุกคน ถูกสร้างมาให้มีพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน คือ
ใช้ การเปรียบเทียบเป็นเครื่องมือหลักเบื้องต้นในการคิด
เครื่องมือ หลัก แค่ สมองเปรียบเทียบ ได้ เราก็ใช้ความคิดได้แล้วครับ
ดังนั้น กระบวนการคิด ที่ มี สมบูรณ์อยู่ แล้ว
แต่การใช้กระบวนการคิดที่มี ต่างหาก ที่ยังมีปัญหา
แล้วเราจะพัฒนา การทำงานของการคิดได้เช่นไร
วิธีการที่ว่า ง่าย กว่า คือ ให้เราตรวจสอบ ที่ตำแหน่ง 1 และ 2 ในแผนภาพ
ทำไม ลุง ถึงให้เรา ตรวจสอบในตำแหน่งที่ 1 และ 2
กระบวนการคิด ธรรมชาติ ได้สร้างมาอย่างสมบูรณ์ มากๆ
สามารถ พัฒนา ตนเองได้ ไม่เหมือน คอมพิวเตอร์ หาก เราต้องการพัฒนา ส่วนนี้
ต้อง เปลี่ยน ส่วนประมวลผล หรือ ซีพียู แต่ สมองคน ตรงส่วนกระบวนการคิด
ตรงนี้ สามารถ ปรับแต่งตนเองให้เหมาะ สม กับการใช้งานได้ด้วยตัวมันเอง
ในกรณี ที่ใครรู้สึกว่า ก็มี คน ที่มีส่วนนี้ที่เป็น ปัญหา ลุงก็เห็นว่ามีอยู่
แต่ที่มีนั้น ไม่ว่า จะเป็น เพราะเรื่องของโรคภัย พันธุกรรม เรื่องของชาติที่แล้ว
ก็แล้วแต่ แต่ธรรมชาติ ก็ได้ให้ กระบวนการคิด พื้นฐานมาเท่ากัน คือ
สามารถ เปรียบเทียบได้ ลุงเชื่อว่า หากกระบวนการคิด พื้นฐาน
ยังทำงานได้ คือสามารถเปรียบเทียบได้ ก็ยังสามารถ พัฒนา การคิด ได้ทุกคน
เพียงแต่ต้องใช้เวลา มากน้อยต่างกัน และ
ที่สำคัญ ในส่วนของคนที่มีปัญหาเขาเหล่านั้น
มีคนที่มีความรัก ต่อเขาพอที่จะช่วยเขาพัฒนาไหมเท่านั้นเอง
ทำไมลุงถึง รู้สึกเช่นนั้น ก่อนที่จะไป พัฒนา การคิด ลุงมีเรื่อง หนึ่งให้เราพิจารณา
ลองพิจารณา ธนู หรือ เครื่องดนตรี ประเภทสาย
แค่ เรา ติดตั้ง ปรับ แต่ง ตำแหน่ง ปลายทั้งสองข้างของเส้นสายได้ ถูกต้องเหมาะสม
เมื่อเราติดตั้งสายธนู ในตำแหน่งที่เหมาะสม ปรับให้ตึงพอเหมาะ สายธนูที่เหลือก็ทำงานได้
เช่นกัน ดนตรีเครื่องสายก็เป็นเช่นนั้น แนวคิดในการพัฒนา การคิด ก็ใช้วิธีเช่นนั้น
ยิ่ง ในส่วนของกระบวนการคิด สามารถ ปรับแต่งด้วยตนเองได้แล้ว
แค่เราพัฒนา ในส่วนที่ 1 และ 2 ได้ดีมาตั้งแต่เนิ่นๆ การคิดทั้งหมดของเราก็ดีเอง
การพัฒนา ในส่วนที่ 1 คือ พิจารณา ว่า เวลาที่เรารู้สึก นั้น
1. สิ่งที่รู้สึก เป็น สิ่งที่ควรรู้สึก ไหม
2. สิ่งที่รู้สึก นั้น มีส่วนผสมจากสิ่งใด
มาพิจารณา กรณี ที่ 2 ก่อนนะครับ
กรณี นี้ จากแผนภาพ เราจะเห็นว่า “สิ่งที่รู้สึก” นั้น เป็นผลที่เกิดจากเหตุ ถึงสามส่วนคือ
สัญญาณจากภายนอก (เส้นด้านซ้ายมือของ ตำแหน่งตัวรู้ เลข 1)
สัญญาณจากภายใน (ความรู้สึก เส้นที่มาจากด้านล่างของตำแหน่ง 1) และ
สัญญาณ ของข้อมูลจาก “ชั้นรู้” (เส้นที่มาจากทิศทางด้านบนของตำแหน่ง 1 ในแผนภาพ)
ที่ลุงได้เล่าให้พวกเราได้ฟังไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ว่า ความคิด ชั้นที่เราสังเกตเห็นนั้น
เป็น ส่วนปลายของการคิดแล้ว ไม่รู้ว่า การคิดของเรา วนรอบไปกี่รอบแล้ว
ดังนั้นเมื่อเรา รู้ตัวพอที่จะพิจารณาสิ่งที่รู้สึก ได้ ตอนฝึกแรกๆ เราต้องพิจารณา
ก่อนว่า สิ่งที่รู้สึก นั้น เป็นสิ่งที่รู้สึก จริงจาก การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอก
หรือ เป็นสิ่งที่รู้สึก อันเกิดจาก อิทธิพลของการ คิดไปเอง(ความรู้สึก) หรือ
ข้อมูล(ความรู้ของคนอื่น)ที่มีมาดังเดิม ในชั้นรู้ มากำหนด สิ่งที่รู้สึกของ ตัวเรา
เช่นตัวอย่าง เราลองนึกถึง ตอนเราเด็กๆ ในความมืด คืนที่ฝนตก เราเองเกิดมายังไม่เคยโดนฟ้าผ่าตาย
พอได้ยิน เสียง ฟ้าผ่า (การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม) ตอนที่เราไม่มี ชุดความรู้ ที่ว่า ถ้าเสียงดังอย่างนี้ แล้วมีแสงด้วย แปลว่า ฟ้าผ่า แล้วถ้าเราโดนฟ้าผ่า เราก็มีโอกาสตายได้ ครั้งพอ เรารู้สึก กลัว เรานำเข้าสุ่ กระบวนการคิด ไม่มีข้อมูลเก่าให้เราเปรียบเทียบ ว่าสิ่งนี้คืออะไร ผลที่ได้จากการคิด อาจทำให้เราตัดสินใจร้องไห้
หรือ ถ้ามาอีกเส้นทางของการคิด เราอาจจะเกิด อารมณ์ ตกใจกลัว สุดขีด แล้วพอส่งมาเป็นความรู้สึก
เราก็สร้าง ความรู้สึก ที่กลัวความมืด ขึ้นมา ส่งต่อให้ ตัวรับ(เลข 1) เราก็กลัว ไปเรื่อย ๆ โดย ที่ยังไม่รู้ว่า
ทำไม ต้องกลัว ความมืด และ ฝนตก ฟ้าผ่า จนกระทั้ง เราโต พอที่จะรับรู้ด้วยภาษา ที่สื่อสาร กัน
เราจึงรู้ว่า สิ่งที่เรากลัว นั้น เรียกว่า ฟ้าผ่าและรู้ว่า คนโดนฟ้าผ่าตาย
พอทุกครั้งที่เราเจอปรากฏการณ์ ฝนตก ฟ้าผ่า เราก็จะรู้สึกกลัว ว่าจะโดนฟ้าผ่าตาย
เมื่อเกิดปรากฏการณื ฝนตก ฟ้ามืด ยังไม่ทันมีฟ้าผ่า เราก็กลัว เราจึงตัดสินใจหลบเข้าหาที่ปลอดภัย
การคิด และความรู้สึก กลัว ในหนหลัง หลังจากที่เรามีชุดความรู้ ว่า ฟ้าผ่า ทำให้คน ตายได้นั้น ไม่ได้เกิดจาก สิ่งที่รู้สึก ที่เกิดจากผล ของ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ภายนอกโดยลำพังแล้ว เพราะ เรามีทั้ง อิทธิพลของ ความรู้ และ ผล จากความรู้สึก มาเป็น ส่วน กำหนด สิ่งที่เรารู้สึก
การพิจารณา กรณี ที่ 1 นี้ เป็นไปก็พื่อให้เห็น ว่า สิ่งที่เรารู้สึก นี้ มีอิทธิพล จากสิ่งใดบ้าง
โดยส่วนใหญ่ หากเราโต พอที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ แล้ว
ชีวิต เราที่ผ่านมา จะมี สี่งที่เรารู้ ในชั้นรู้ สะสม อยุ่มากมาย ลุงอยากให้เราพิจารณาให้เห็นสิ่งเหล่านั้น
เพราะ เราสามารถ ปรับ แต่ง ผลของสิ่งที่รู้สึก ได้โดยตรง จาก ชั้นรู้
ลุงเรียกว่า การปรับกรอบความคิด จะปรับไปทิศทางไหน เราจึงต้องพิจารณา
ชุดความรู้ที่เรา สะสมมาในตัวเราให้เป็น ว่า มีแล้ว จะทำให้ชีวิต เราไปทางไหน เสือมหรือเจริญ
ในชั้นรู้ จะมีทั้ง สิ่งที่เป็น ความรู้ ของเราและ สิ่งที่เราสะสมมาจากความรู้ของคนอื่น
ในชั้นรู้ ของเรา จะมี ทั้งความรู้ ที่เราสร้างขึ้นเอง และ ความรู้ ที่เรานำมาสะสม
โดยส่วนใหญ่ หากเรายังไม่เคยพิจารณา และฝึกการใช้งานความคิด
ในกรอบความคิดใน “ชั้นรู้” ของเรา
ในช่วงฝึก พัฒานาการคิด ใหม่ๆ สิ่งที่มากำหนด “สิ่งที่รู้สึก”
จะเป็น ความรู้ของคนอื่นที่เราสะสมไว้ เป็นส่วนใหญ่
ไม่ว่าจะเป็น คำสอนต่างๆ คุณธรรม จารีต ข้อควรปฎิบัติ กฎ ระเบียบ การใช้ชีวิตในสังคม
ต่างๆ ที่สั่งสอนกัน มา ผ่าน ภาษา ที่เราใช้สื่อสาร แม้แต่คำสอนทางศาสนา
ลุงขอยก ตัวอย่างเรื่องใกล้ ๆตัว เช่น ศิล 5 ก็ เป็นตัวอย่างหนึ่ง
ที่ใช้ ชุดความรู้ ปรับ กรอบความคิดเรา ให้รู้สึก ในสิ่งที่ควรรู้สึก
ทั้งที่เราเอง ยังไม่เคยได้พิจารณา เลย ว่า ทำไม มนุษย์ต้อง ปฏิบัติ ศิล 5 เป็นอย่างน้อย
ถึงจะทำให้สังคม สงบสุข หรือ คำสอน ต่างๆ ทางศาสนา ที่มีลักษณะ เป็น ชุด ความรู้
ถ้า อย่างในศาสนา พุทธ ก็เป็นความจริง ที่พระพุทธเจ้า ท่าน เข้าถึง และ นำมาย่อย เป็น ชุดความรู้
ให้เรา หากเรา นำมาใช้ โดย ไม่เคยพิจารณา ให้เห็น จริง ก็เป็นได้แค่ข้อมูล ของเรา
ยิ่งหากเราไม่เคยนำ มาพิจาณา การคิด เลย สิ่งที่เราสะสมข้อมุล ก็ทำงานได้น้อยมาก
การ นำ ชุด ข้อมูล สิ่งที่สั่งสอน ถ่ายทอดกันมาใช้งานในการพัฒนา การคิด
ก็นำมาใช้ช่วงนี้ครับ ช่วง การพิจาณา “สิ่งที่รู้สึก” ว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
หาก สัญญาณจาก “ชั้นรู้” ของเรา ที่เข้ามาสู่ ตำแหน่งที่ 1
เราไม่รู้ว่า จะส่งผลให้เรารู้สึกในสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
ให้เราหยุด พิจารณา ว่า ขัดกับคำสอนอะไรที่เราศรัทธาไหม
หากเรายังพิจารณา ความจริงได้ไม่ชัดนัก ก็ใช้ ชุดความรู้ เหล่านั้นได้ครับ
โดยปกติ ลุง จะใช้ เครื่องมือ ที่ลุงเรียกว่า “เข็มทิศ”
ที่เคยเล่าให้เราฟังตั้งแต่ หนังสือ เรื่อง “ความลับของคน”
และนำมาใช้ กันเต็มที่ในหนังสือเรื่อง “ความจริงที่ทำให้รวย”
ในเล่ม การพัฒนาการคิดก็เช่นกัน ลุงก็พิจารณา
ผลที่คิด ที่ส่งมาจาก “ชั้นรู้” นั้น ว่า เป็นไปในทิศทางไหน
ทิศทาง มีสองทิศ “เพื่อแค่ประโยชน์ตนเอง” หรือ “เป็นไปเพื่อคนอื่นบ้าง”
ลุงก็ใช้ เข็มทิศ ทุกครั้งที่ต้องพิจารณา สิ่งที่อยู่ใน “ชั้นรู้” ความคิดที่อยู่ในหัวลุง
ในส่วนของความรู้สึก เป็น ผลจากการคิด ของเราแล้ว
การพัฒนา ส่วนนี้ จะพิจารณา ที่หลัง ตอนพิจาณา ตำแหน่ง ที่ สอง
มาต่อเรื่องการพัฒนา “สิ่งที่รู้สึก” ในกรณีที่ 1
ในเบื้องต้น เราได้พิจาณาแล้วว่า สิ่งที่รู้สึกนั้น
มีส่วนผสมมาจากสัญญาณ ใดบ้าง และจะปรับปรุงได้ ด้วยวิธี ใด
และมาถึง ผลที่เกิดขึ้น จาก ตำแหน่ง เราตรวจสอบ เหตุก่อนเข้าสู่ ตำแหน่งที่ 1 แล้ว
เราก็ต้องตรวจสอบผลด้วยเช่นกัน “สิ่งที่รู้สึก” คือ “สิ่งที่ควรรู้สึก” ไหม
เช่น สมมติ เราเป็นเด็กหนุ่ม วัยกำลังเรียน หนังสือ
ได้อ่านหนังสือ วารสาร ส่วนใหญ่ มีรูป ผู้หญิง แต่งตัว โป้
และ ปลุกอารมณ์ทางเพศเราเป็นส่วนใหญ่ เราได้รับ สื่อ พวกนั้นเยอะๆ
ไม่ว่า จะเป็น ทางหนังสือ หนัง หรือ อินเตอร์เน็ต
แล้วก็โดยเฉพาะ ข่าว การทำร้ายทางเพศ ต่อผู้หญิง ข่าวการข่มขืน
ที่มีให้อ่านทุกวัน ในหนังสือ พิมพ์ รายวัน ลงข่าว ให้เราได้อ่าน
โดยที่ไม่ได้สนใจ ว่า เนื้อหาในข่าว จะส่งผล ให้เกิดสิ่งที่รู้สึกเช่นใด บ้างต่อ ผุ้ได้รับข่าว
ลุงสมมติ ว่า หาก นักข่าวหนังสือพิมพ์ ไม่ได้ ระวัง หรือ
มีสำนึกรับผิดชอบ ต่อสิ่งที่ทำให้ ผู้อ่านข่าวรู้สึก
เขียนข่าวไม่ระวัง ไม่ได้ บอก ถึง ผลกระทบ ความเสียหาย ที่เกิดจากการประทุษร้าย
เพียงพอให้ เรา(โดยเฉพาะเด็กๆ) ได้รู้สึก สงสาร เศร้า เสียใจไปกับผู้ถูกทำร้าย
ที่โดนชะตากรรมอันโหดร้าย จากการกระทำของคน ที่ไม่มีหัวใจ
เราอ่านข่าวก็รู้สึก เฉย ๆ หรือ บ้างครั้ง เนื้อหาข่าว ก็พาเราไปอีกทางที่ไม่ควรรู้สึก
นั้น คือ ไปทางอยากรู้อยากเห็น และ ปลุกอารมณ์ ทางเพศ หากเราสะสม เรื่องเหล่านี้ไปเรื่อยๆ
จากสื่อ ที่ ไม่ได้ระวัง ผลจากการกระทำของตน หรือ สื่อที่ไม่รับผิดชอบ ต่อสิ่งที่ผุ้ได้รับสื่อรู้สึก
เขียนเรื่องให้เราอ่าน ให้ เรารู้สึก ไปอีกทาง ๆ เรื่อย จนสู่ความเสื่อม
จนเราไม่รู้สึก ถึงความมีชีวิต ของเหยื่อผู้ถูกกระทำ
แล้วพอเรามาใช้ชีวิต จริง ชุดความรู้ที่เราได้จากการเสพสื่อเช่นนั้น จะทำให้สิ่งที่เรารู้สึก เป็นเช่นไร
สมมติ ว่า หากเราเห็น เพื่อนผู้หญิง หรือ คนที่เรากำลังรักแต่งตัวบังเอิญโป้ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
พอเราเห็น หาก สิ่งที่เรารู้สึก ต่อ เพื่อนผู้หญิงที่เราเห็น หากเราพิจารณา ทัน การคิดของเรา
เห็น การคิดใน “ชั้นรู้” ของเรา ว่า มีตั้งหลายครั้ง ที่ คนกระทำ ล่วงเกินทางเพศ ไม่โดนจับ
และไม่ได้ รับ ผลเสียหายจากการกระทำใดๆ ของตน
และ ในชั้นรู้ เราไม่เคยมี เลยว่า ชีวิต หลังการถูกกระทำเช่นนั้น เป็นเช่นไร
เราไม่มีหัวใจ พอ ที่จะรู้สึก ถึง ความมีชีวิต ของผู้หญิง เราก็เลยคิดใช้ วิธี
การเช่นเดียวกับชุดความรู้ที่เราสะสมมา โดย ที่ไม่ได้นึกว่า เราควรรู้สึกเช่นไร
ดังนั้น การพัฒนา การคิด เพื่อ ตั้งคำถามว่า สิ่งที่เรารู้สึก นั้นเป็น สิ่งที่ควรรู้สึก ไหม
จึง มีความสำคัญมาก ๆ เพราะ จะทำให้เราได้ต้นทางของกระบวนการคิดที่ถูกต้อง
มาพิจาณา ตัวอย่างเดิมต่อนะครับ
หากบังเอิญ เพื่อน สาว หรือ หญิงคนที่เรารัก มาอยู่กับเราในที่สองต่อสอง
เราไม่ยอมรับ “สิ่งที่ตนรู้สึก” สมมติ ตอนนั้นเรารู้สึก ถึงความต้องการทางเพศ
สิ่งที่รู้สึก นั้น นำเข้าสู่กระบวนการคิด
ในกระบวนการคิดของเรา ความรู้เก่า ๆที่เราสะสมมา
ไม่มีชุดความรู้ไหน เลยที่บอกว่า ไม่ควรรู้สึกเช่นนั้น มีแต่ มาวน ๆจน
ให้เราเกิด อารมณ์ และความรู้สึก จนถึงขั้น ตัดสินใจ ใช้กำลัง หรือ ความได้เปรียบ ต่าง ๆ
ทำในสิ่งที่ตนต้องการ ทำลายผู้หญิงที่เรารัก เราก็กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว และถ้า ผลที่เกิดขึ้น
ทำให้ เกิดปัญหาตามมาที่เรายังไม่สามารถ รับผิดชอบได้ เราก็ทำลายคน ที่เรารัก
เพื่อสนองความต้องการของเรา ณ เวลานั้น เท่านั้นเอง
ความเห็นแก่ตัวของเรา แค่ ชั่วพริบตา ทำลายชีวิต คนทั้งชีวิต
แต่หากเรา พัฒนาการคิด ของเรา ยอมรับ ในสิ่งที่ตนรู้สึก
และตั้งคำถามว่า เป็นสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
เหตุ การณ์ ที่เราทำลาย คนที่เรารัก ก็จะไม่เกิดขึ้น
ลุงยกตัวอย่างเรื่องง่ายๆ ที่ ใกล้ตัว ในชีวิตเรามีเรื่องให้เราผิดได้อีกเยอะ
จากสิ่งที่ไม่ควรรู้สึก เราเองต้องมั่นพิจารณา ด้วยตนเอง
หากเราอยากเดินทางสู่ชีวิต คน ที่ควรเป็น
การพัฒนา การคิด การยอมรับ สิ่งที่รู้สึก และ พิจารณา ว่า เป็นสิ่งที่ควรรู้สึก ไหม
เป็นจุดเริ่มต้นของการคิด ที่ควร ทั้งหมด กรอบที่นำมาพิจารณา ก็เช่นเดียวกับ
การพิจารณา ชั้นรู้ ที่ลุงกล่าวไปแล้ว
มำถึงตำแหน่งที่ สอง ผลจากการคิด
มีสัญญาณ ที่ออกถึง สามทาง และสัญญาณเข้า แค่ทางเดียว คือ ผลจากการคิด
หากเราพิจารณา ก็ให้หยุดถามว่า ทำไม เราคิดเช่นนั้น ถาม คำถามนี้ กลับไปยัง ผลของการคิด
ว่า เรารู้สึก อะไร ทำไม เราถึงคิด เช่นนั้น ถามย้อน ไปเท่านี้
ทำไม เราถึงคิด เช่นนั้น เรารู้สึกอะไร สิ่งที่รู้สึก นั้น เป็นสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
นี้เป็นหลักการในการ ตรึง จุดเริ่มต้น และปลายของการคิด
เหมือนดังเช่น การ ตั้งสาย ของคันธนู หลังจากหาตำแหน่งที่ถูกต้องเจอแล้ว
ตั้งที่ต้นสาย ปลาย สายของคันธนู
มัดที่ต้นสายให้แน่น ขันที่ปลายสายให้ตึง สายธนูที่เหลือ ก็ตึงพอที่เราจะใช้งาน
ในเบื้องต้น ของ การพัฒนาการคิด เราเองจะยังแยกไม่ออกว่า
อะไร คือ ความรู้สึก อะไร คือ สิ่งที่รู้สึก
แต่ให้เราใช้กระบวนการเดียวกันในการพัฒนาการคิด
ไม่ว่า จะเป็น “ความรู้สึก” หรือ “สิ่งที่รู้สึก” ให้เราหยุดถาม ว่า
เป็น “ความรุ้สึกที่ควร” หรือ “เป็นสิ่งที่ควรรู้สึก” ไหม
ฝึกไปสักพัก พิจาณา ไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นตนเองได้ชัดขึ้น
เมื่อนั้น การคิด ที่ควร ก็จะยิ่งมีมากขึ้น
ทุกวันนี้ สิ่งแวดล้อม(ทุกอย่างที่ไม่ใช่ตัวเรา) เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และ ไม่ใช่ เฉพาะ สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม การเปลี่ยนแปลง
ของสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรมก็เปลี่ยนแปลงไว
และส่วนใหญ่ สิ่งที่เรารู้สึก เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของ สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม
ไม่ว่า จะเป็น ความรู้สึก หรือ สิ่งที่คนอื่นรู้สึก ต่อเรา ส่งผลต่อ สิ่งที่เรารู้สึก
และเมื่อใด ที่เรา พัฒนาการคิด ไปเพียงพอ จน รู้เห็นได้ชัดว่า
สิ่งที่รู้สึก นั้น เป็นสิ่งที่ควรรู้สึก ไหม เมื่อนั้น การเปลี่ยนแปลง..
ของสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ภายนอก ก็จะไม่ส่งผล ต่อ สิ่งที่เรารู้สึก มากจนเกินไป
มาก จน ทำให้เราเดินหลง ทางเพียง เพราะ ความรู้สึกที่ไม่ควร
ของคนอื่นที่ไม่ใช่เราแค่นั้นเอง
โชคดี ไม่หลงทางชีวิต เนื่องเพราะ ความรู้สึก ที่ไม่ควร
ทั้งจากของตนเองหรือผู้อื่นเลย
ลุงมัย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น