ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ถ่ายความคิด

    ลำดับตอนที่ #6 : ตอนที่ 6 ลักษณะกายภาพของความคิด

    • อัปเดตล่าสุด 25 ธ.ค. 50


    ก่อนจะไปพิจารณา ว่า เมื่อเรามี “รู้สึกในสิ่งที่ควร” แล้วความคิดจะคิดอะไรออกมาให้เรา
    เรามาพิจารณา ทำความเข้าใจ กายภาพของความคิด ของเรากันก่อนครับ
     
    กายภาพของความคิดเป็นเช่นไร
    หากเราพิจารณา ความคิด การทำงานของสมองทำงานตลอดเวลา
    แต่ที่เราสามารถสังเกต ได้ง่าย ๆ นั้น คือชั้น ที่ลุงเรียกว่า การคิด
     
    ชั้นเมื่อสมองคิด เมื่อสมองเราคิด เราสามารถสังเกตุได้  
    ลึกกว่านั้นพิจารณา ให้เห็นและบอกเล่ากันยากว่า
    สมองเราทำงานเช่นไร
     
    เราลองพิจารณา นะครับ ว่า เด็ก ตอนเล็ก ๆ ที่ยังพูดไม่ได้ เขาคิดกันอย่างไร
    แล้ว คนที่ พูดกันต่างภาษาการทำงานของสมอง จะเหมือนกันไหม
    แล้วสิ่งที่เขาสังเกตเห็นในความคิดของคนที่ต่างภาษา กัน จะเหมือนกันไหม
     
    เวลาเราคิด เรามักจะเห็น ความคิดเราเป็นภาษา เราใช้ภาษาไทย เราก็เห็นความคิดเราเป็นภาษาไทย
    คนที่ใช้ภาษาต่างกับเราก็เห็นความคิด เป็นของภาษาตนเอง แล้วเด็ก ๆที่ยังไม่มีภาษา ที่พูดได้เขาคิดกันอย่างไร
     
    หากเราพิจารณา สิ่งเหล่านี้ ที่ลุงกล่าวข้างต้น นำมาเปรียบเทียบกัน
    เราก็จะสามารถทำความเข้าใจ กายภาพของความคิดเราได้ ว่าเป็นเช่นไร
     
    แผนภาพที่ลุงจะนำมาให้เราเข้าใจกายภาพของความคิดเป็นดังแผนภาพนี้ครับ
     
    จากแผนภาพ กายภาพของความคิด แบ่งออกเป็นชั้น พอจะสังเกตให้รู้สึกได้ด้วยตนเองเช่นนี้
    ลุงอธิบายให้พวกเราฟัง กายภาพของความคิด แบ่งหยาบ ๆ ได้สองชั้นคือ
     
    ชั้นที่สังเกต เห็นได้ด้วยภาษาของตนเอง ลุง เรียกว่า “ชั้นรูป” เริ่มตั้งแต่แนวเส้น 3 4 ขึ้นไป
    ชั้นที่สังเกต ไม่เห็นเป็นภาษาของตนเอง ลุงเรียกว่า “ชั้นนาม” ลงมาตั้งแต่แนวเส้น 3 4
     
    โดยในที่นี้ “ชั้นรูป” และ “ชั้นนาม” อยู่ในขอบเขตการพิจารณา โลกในหัวเรานะครับ
    ลุงยืม คำสองคำนี้มาใช้จากโลกข้างนอกหัวเรา โลกนอกหัวเรา มีคำว่า รูปธรรม นามธรรม
    คล้ายกัน แต่ต่างกัน ตรงที่ลุงนำมาใช้ ใช้เปรียบเทียบเฉพาะโลกที่อยู่ในหัว
     
    ลองพิจารณาตามที่ลุงว่าแล้วสังเกต การทำงานของความคิดตนเองนะครับ
    จากชั้นบน สุด ตรงแนวเส้นตรง 1 2 ชั้นนี้ ลุงเรียกว่า ชั้น “รู้”
    สังเกตได้คือ เราเห็นความคิดเราเป็นภาษา เหมือนภาษาพูด ชั้นนี้ลุงเรียกว่า เรารู้
    สามารถถ่ายทอดคนอื่นได้ง่าย เปรียบเหมือน ใบไม้ เศษไม้ ที่ลอยบนผิวน้ำ มองเห็น สังเกตเห็นได้ง่าย
    นี้ คือชั้น แรกบนสุดที่เราเห็น ได้ง่าย ลุงเรียกว่า “ชั้นรู้”
     
    “ชั้นรู้” หลักการสังเกตที่ง่ายที่สุด คือ เวลาเราหยุดสังเกต ความคิดในหัวเรา
    เช่นเราอ่านหนังสือ เข้ามาในหัวเราก็จะเป็น ภาษา เป็นตัวหนังสือ
    เรารู้ได้ชัด เห็นได้ชัด ว่าในหัวเราเป็นอะไร เหมือนเวลาที่เราอ่านหนังสือ มาเป็นสิ่งที่เรารู้ เข้ามาในหัวเรา
     
    การที่เราเห็นได้ชัด เช่นนี้ ลุงจึงเรียกว่า รูปธรรมของความคิด  ใกล้เคียงกับคำว่า
    รูปธรรมที่จับต้องได้เพราะความคิดระดับนี้ สังเกตและจับต้องได้ชัด จึงเปรียบได้ว่าเป็นรูปธรรม
    (อย่าลืมนะครับ ภาษาเป็นแค่สัญลักษณ์ ลุงจำเป็นต้องยืมมาใช้ แม้ผิดความหมายจากที่เขาใช้กันในปัจจุบัน)
     
    เพราะเราเห็น มันได้ชัด สังเกตได้ชัด เป็นภาษา เหมือนที่เราพูดเขียน
    สามารถสั่งการได้ง่าย ว่าให้ในหัวเรานี้ คิดเป็นอะไร ชั้นนี้แค่ชั้นรู้
     
    ชั้นในระดับ รูป อีกชั้นคือ ชั้น คิด “ชั้นคิด”
    เปรียบเหมือน น้ำในระดับที่ใส สามารถ มองเห็น สังเกตได้ด้วยตา
    จะมีเศษกิ่งหญ้า ใบไม้ เศษสารต่างๆ ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ เปรียบเหมือน สิ่งที่เรารู้
    ในความคิด เราถ้า เราพยายาม และสังเกต เราสามารถ เห็น
    และถ่ายทอดออกมาเป็น ภาษาพูดเขียนของเราได้
     
    เช่น เวลาเราอ่านหนังสือ เข้าไป ตอนอ่าน เป็นชั้นรู้ เห็น ชัด เป็นตัวหนังสือ
    พอเรา หยุด พิจารณา ถ้าเราไม่สังเกต เราอาจเข้าใจ ว่า ในหัวไม่มีอะไร ไม่มีตัวหนังสือ
     
    แต่เรารู้ว่า มันยังคิด ไม่ได้ หยุดนิ่งสนิท เมื่อเราเพ่งมองในความคิดเรา
    เราจะเห็น ว่า มี เศษจากชั้น รู้ ร่องลอย อยู่ให้เราเห็น จับต้อง หรือหยิบ
    ออกมาเพื่ออธิบายคนอื่นได้ ว่าเราคิดอะไร ชั้นนี้ จึงยังเป็นรูปธรรม อีกเช่นกัน
     
    แต่ จะไม่ได้ เห็นง่าย เหมือน ชั้นคิด ถ้า เราไม่จำเป็นต้อง ถ่ายทอดสิ่งที่เราคิดให้ใครรับรู้
    เราอาจจะมองไม่เห็นเลยด้วยซ้ำ เหมือน ดัง ในชั้นน้ำที่ใส หากเราไม่ต้องเพ่งมอง
     
    ต่อให้น้ำใส เพียงใด เราก็ไม่เห็นว่าในน้ำนั้นมีอะไร ซ่อนอยู่เช่นกัน
     
    ชั้นต่อ มาที่สำคัญมาก เพราะเป็นตัวเชื่อมต่อ ระหว่าง ชั้นรูปและนามของความคิด
    นั้นคือ ชั้น สิ่งที่รู้สึก หรือแนวเส้นตรง 3 4
    แนวเส้นตรง 3 4 นี้เปรียบเหมือนรอยต่อของแนวน้ำ
    ถ้าเรามองน้ำ ก็เป็นเส้นแนวรอยต่อ ระหว่างน้ำที่ใสมองเห็นและ ส่วนที่มองไม่เห็น
     
    ลองนึกภาพ ถึง น้ำในแม่น้ำแหล่งน้ำ ที่ลึกพอ จนเกิดสภาวะตามที่ลุงเราให้เราฟัง
    ถ้าเราสังเกตน้ำ เช่นในทะเลสาบ
     
    เราว่ายน้ำเล่น มองน้ำ สังเกต น้ำ ก็จะมีชั้นแรก สุด
    เป็นชั้นผิวน้ำ อะไรอยู่บนผิวน้ำก็มองเห็นได้ง่าย
    ชั้นมา เลื่อนต่ำลงมาจากผิวน้ำ ก็เป็นน้ำชั้นที่แสงยังสาดส่องถึง
    น้ำใสพอให้เราสังเกตเห็นว่า มีอะไรซ่อนอยู่ในน้ำ
     
    ลึกลงมาอีกนิด เป็นจุดสิ้นสุดที่เราจะมองเห็น
    แนวรอยต่อของน้ำส่วนที่สามารถมองเห้นด้วยตา และมองไม่เห็น
     
    เลื่อนต่ำลงไปอีก ลึกลงไป ก็เป็นน้ำส่วนที่แสงส่องไม่ถึง
    เราไม่สามารถมองเห็นได้แต่รู้สึก ว่าลึก แต่มองไม่เห็นว่ามีอะไร ซ่อนอยุ่
     
    กายภาพของความคิดเราก็เป็นเช่นนั้น
     
    ตอนนี้เราพิจารณามาถึง ชั้นรอยต่อที่สำคัญ เส้นตรง 3 4
    “สิ่งที่รู้สึก” ชั้นนี้สำคัญมาก เพราะเป็นตัวกำหนด ความคิดเราในชั้น คิดและชั้นรู้
    หากมองจากล่างขึ้นบน และหากมองจากบนลงล่าง อะไรที่เรารับรู้เข้ามาทำให้เรา “รู้สึก” อะไร
    ก็สำคัญ ไม่ต่างกัน หากเราไม่มีการกรองสิ่งที่ไม่ควรรู้สึกออกไป
     
    ไม่รู้ว่า ตะกอนในความคิดเราจะมีอะไรซ่อนอยู่ ในชั้นที่มองไม่เห็น
     
    ชั้นสุดท้าย ชั้นที่เป็น “นามของความคิด”
    ชั้นที่ไม่สามารถ อธิบายได้เป็นภาษามนุษย์ ไม่เป็นภาษาพูด หรือ เขียนที่เราใช้
    เราทำได้ แค่ “รู้สึก” ชั้นนี้ ต้องสังเกต ให้ดี ว่ารู้สึก อะไร
     
    เมื่อสิ่งที่อยู่ในหัวเรา เราไม่สามารถ อธิบายได้เป็นภาษา พูดหรือเขียน
    ให้เรามั่นสังเกต ว่าเรารู้สึกเช่นไร พยายามมอง พยายามสังเกต
     
    มองไปเรื่อยๆ เราก็จะมองได้ง่ายขึ้น จนสามารถ รู้ว่า ความคิดชั้น นั้นรู้สึกอะไร.
    และ สามารถ เอาสิ่งที่อยู่ลึกในชั้นนั้น ขึ้นมา
     
    ยังชั้น ที่อยู่ในระดับ คิด หรือ นำขึ้น มาจนอยู่ระดับรู้
    เห็นได้ชัด จนสามารถ อธิบายให้คนอื่นเข้าใจ
     
    และนำกลับไปพิจารณา จนรู้สึก ตามได้
     
    แผนภาพนี้ และ เรื่องที่ลุงเล่าไปทั้งหมด ให้เราเข้าใจกายภาพของความคิดเราเอง
    ลองพิจารณานะครับ เห็นความคิดตนเองได้ชัด ก็ใช้งานมันได้มากขึ้น
     
    สิ่งที่ฝึกได้ แรก ๆ เลยสำหรับ การเริ่มต้น ใช้งานสมองให้เต็มกำลัง
    คือการหาแนวรอยต่อระหว่าง ชั้นรูป และ นาม
     
    นั้นคือ การกินยาเม็ดสองเม็ดที่ลุงให้ไว้ ตั้งแต่หนังสือ
    อ่านก่อนที่ชีวิตจะหมดความหมายไปมากกว่านี้
    1.        อย่าโกหกตนเอง
    2.        อย่าปฏิเสธสิ่งที่ตนเองรู้สึก
     
    หากเราอยากเห็น ว่า ลึกที่สุดในความคิดของเรามีอะไรซ่อนอยู่และศักยภาพในการคิดของเรา
    มีแค่ไหน ทำอะไรได้บ้าง สามารถ ทำให้ชีวิตเรามีความหมายความสุขได้ไหม
     
    เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ความคิดของเราว่า มองให้เห็น ตรงรอยต่อระหว่าง
    ชั้นรูปและนามของความคิดเราเอง
     
    สิ่งเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ใดใด
    แค่เราสังเกต เราก็เห็นสิ่งที่ลุงกล่าวมาทั้งหมด
     
    ความคิดของเราเอง รู้ได้ด้วยตัวเราเอง
     
    กายภาพของความคิด ได้อธิบายเราแล้ว
    มาถึงการทำงานคร่าวๆ ของความคิดตามลักษณะกายภาพ
     
    หลักการหลักของการทำงานตามกายภาพ
    มีสองทิศทางตามแผนภาพคือ
     
    ตามกระบวนการที่ลุงเคยเล่าให้เราได้ฟัง ได้อ่านกัน ในหนังสือเล่มก่อนหน้านี้
    แบบที่ 1 จากชั้นที่มองไม่เห็น ชั้นรู้สึก สิ่งที่อยู่ลึกค่อยๆ ลอยโผล่ขึ้นไป สู่ชั้น คิด ชั้น รู้
    แบบที่ 2 จากชั้นที่ มองเห็น รับเข้ามา ค่อย ๆ ล่วงหล่นลงมาจากชั้นรู้ ไปสู่คิด จนรู้สึก
     
    การทำงานทั้งสองมีความสำคัญเพราะทำให้กำหนดชีวิตเรา
    ทั้งชีวิต ว่า จะเป็นไปทางไหน อะไรที่ ลึกเข้าไปในตัวเราที่เราสังเกตไม่เห็น
    ก็ผ่านขั้นตอนการทำงานเช่นนี้ ทั้งสองกระบวนการ
     
    สิ่งที่ลุงเล่ามาถึง ตอนนี้ คือ การทำงานและกายภาพของความคิด
    เราเองเมื่อรับรู้ ความรู้นี้ลองนำไปพิจารณา
     
    ว่าสิ่งที่อยู่ในหัวเราส่วนใหญ่ มาจากทางไหน
    สิ่งแวดล้อม หรือ เราสร้างขึ้นมา
     
    ความคิดชั้น ที่ลอยให้เราได้เห็นในหัวเรา มาจากไหน
    ตอนนี้ หากเราพิจารณา อย่างน้อยเราก็รู้ว่า
     
    สิ่งที่อยู่ในหัวเรานั้น  มาจากสิ่งแวดล้อม หรือ เรา คิดขึ้นมา
    พิจารณาได้เช่นนี้ เรื่องของตัวเรา เราก็รู้ได้ด้วยตัวเราเอง
    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราก็เลือกได้ ว่าชีวิตเรา
    สิ่งที่อยู่ในหัวเรา เราก็สามารถกำหนดได้เอง
     
    และเมื่อเรากำหนดได้ เราก็เริ่มใช้ความคิดได้
    เมื่อเราเป็นผู้ใช้ความคิดได้ กำหนดความคิดได้เอง
     
    เราก็ไม่ต้องกลายเป็น ชนเผ่า ที่ไม่รู้ว่า
    สิ่งที่กำลังทำนั้นมีความหมายใด ต่อชีวิต อีกต่อไป
     
    ลุงมัย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×