ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : ตอนที่ 5 หัวใจสำคัญของการคิดที่ควร
จากบทที่แล้ว เราจึงรู้ว่าหัวใจ สำคัญ ของการคิดที่ควร คือ ต้องมีจุดเริ่มต้นในการคิดที่ควร
นั่น คือ “สิ่งที่เรารู้สึก” ต้องเป็นสิ่งที่ควรรู้สึก
ก่อนจะไปรู้ได้ว่า สิ่งที่เรารู้สึก นั้นเป็นสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
มาทำความเข้าใจ “สิ่งที่รู้สึก” .ให้เห็นชัดขึ้นอีกนิด
เวลามีอะไรมากระทบ หรือ มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นนอกตัวเรา
การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทางกายภาพ ฝนตกฟ้าร้อง
ทางรูปธรรม สีสันที่เปลี่ยนไป ของโลกที่เรามองเห็น หรือ การกระทำของคนอื่น
หรือแม้แต่ทางนามธรรม เช่น ความรู้สึก ที่คนอื่นมีต่อเรา
เมื่อสิ่งต่าง ๆเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป เรารู้สึกเช่นไรต่อการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ
สิ่งที่รู้สึก นั้น เป็นตัวกำหนด ให้ความคิดที่ออกมานั้น เป็นความคิดที่ควรหรือไม่ควร
การจะหาว่า เวลาเกิดเหตุการณ์แต่ละอย่างขึ้นทำไมคนเรารู้สึกได้ต่างกัน
อันนี้ เป็นเรื่องที่ต้องศึกษา ให้ลึกลงไปเป็นความคิดชั้นที่เรามองสังเกต ไม่เห็น
ไว้ตอนหลัง ๆลุงจะอธิบายชั้นของความคิดให้เราได้เข้าใจ
“สิ่งที่รู้สึก” ลุงเขียนถึงไว้หลายเล่ม ตั้งแต่ในเล่ม แรก ๆ
การเขียนให้อ่าน ยากกว่า การนั่งพูดคุยก็อย่างนี้แหล่ะครับ ลุงไม่รู้ว่า
ที่ลุง สื่อสาร เราเข้าใจ พอที่จะไปพิจารณาประเด็นต่อไปหรือยัง
ใครอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ สิ่งที่รู้สึก ลองอ่านที่ลุงเขียนใหม่นะครับ
แล้วพิจารณาตนเอง ว่า เวลาเกิดอะไรขึ้น กระทบ ต่อเรา
ให้เราพิจารณา สิ่งที่อยู่ในหัวเราให้ช้าลง
ถ้า เราคิดออกมาแล้ว ก็ถามตนเอง กลับไปว่า ทำไม เราคิดเช่นนั้น
ถามให้ลึกลงไปในตัวเรา จนรู้ว่า เรารู้สึกเช่นไร เหตุที่เราคิดเช่นนั้น เพราะเรารู้สึก เช่นไร
อันนี้ คือ “สิ่งที่รู้สึก” การจะพิจารณาว่า สิ่งที่รู้สึก นั้นมาจากไหน ยากมาก ๆ
ขนาดเป็นสิ่งที่อยู่ในหัวเรา ในตัวเรา เรายังหาที่มาได้ยากมากครับ
เวลาลุงสอนเด็ก ๆ ลุง มักจะพูดเล่นๆ ว่า ใครเห็น ที่มาของสิ่งที่ตนรู้สึก คนนั้นก็ใกล้จะเห็นจักรวาลแล้วครับ
เพราะมันไม่รู้อยู่ที่ไหน ทั้งคู่ และก็ไม่รู้ว่า ต้องไปนั่งดูจากตำแหน่งไหน ถึงจะมองเห็น
อันนี้พาเราไปคิดอะไร เรื่อยเปื่อย ฝึกคิดเยอะๆ ครับ โต้เถียงกับความคิดตนเองเยอะ ๆ
จะได้ ปรับแต่ง เหตุของความคิดที่ควร เมื่อเราโต้เถียงกับความคิดไปเรื่อยๆ
เถียงกับความคิดตนเองนะครับ ความคิดมันจะช้าลง
เราจะเห็นความคิดตนเองได้ละเอียดขึ้นครับ
คำถามหลักที่ใช้ โต้เถียงกับ ความคิด ส่วนใหญ่ ก็คือคำถามทำไม ครับ ทำไม คิดเช่นนั้น
ถามให้ลึกลงไปเรื่อยๆ ใหม่ ๆ เวลาเราถามแล้วมันจะวนเป็นวงกลม
กลับมาที่เหตุผลเดิมๆ แสดงว่าอันนี้ เราไม่ได้ถามให้ลึกลงไปในตัวเรา
เหมือนเราวน อยู่ที่ผิดน้ำ ไม่ได้ลึกลงไปใน น้ำ
เราเลยไม่รู้ว่า ใต้ความคิดเรานั้น มีอะไรซ่อนอยู่
เปรียบเหมือน สิ่งที่เราเห็น นั้นเป็นแค่ใบไม้บนผิวน้ำ
ลึกลงไปหน่อยก็ แค่ สิ่งที่เราเห็นในน้ำใส ๆ
แต่ลึกกว่านั้นเรามองไม่เห็น บ้างคนก็ไม่กล้ามอง เพราะกลัว ในสิ่งที่ตนมองไม่เห็น
ความคิด ก็เป็นเช่นนั้น เราจึงมองไม่เห็นที่มาของความคิด
มาเรื่อง “สิ่งที่รู้สึก” ในเล่มนี้ลุงจะไม่พูดถึงว่ามาจากไหน
แต่อยากให้เราพิจารณา เห็นและรู้ว่า มีอยู่จริง
และเรามาตกลงตรงกันว่า หลังจากนี้ เราจะใช้ คำว่า “สิ่งที่รู้สึก” กับ “ความรู้สึก” คนละความหมายกัน
ใครยังแยกไม่ชัด พิจารณาให้เห็นชัดก่อน จะเข้าประเด็นต่อไปนะครับ
เมื่อ เรารู้ว่า สิ่งที่เรารู้สึ กนั้น คืออะไร โดยส่วนใหญ่ สิ่งที่รู้สึก ต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นั้น
แบ่ง อย่างหยาบ ๆได้ 3 แบบ คือ
1.พอใจ 2.ไม่พอใจ 3.เฉย ๆ
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่า สามอย่างที่เรารู้สึก นี้ควร รู้สึก ไหม
ลุงยกตัวอย่างให้เราได้ เห็น ภาพ ชัดๆ หน่อยนะครับ
สมมติ ว่า เราเป็น หนุ่ม ๆ ไปนั่งกินข้าว ในโรงอาหาร โรงเรียน เห็น สาวสวยประจำโรงเรียน
นั่งกินข้าวแต่ไม่ระวัง เลยกระโปรงเปิดเห็นไปถึงไหนต่อไหน เราจะรู้สึกเช่นไร
พอใจ ไม่พอใจ เฉย ๆ แต่ละคนก็รู้สึกได้ต่างกัน แล้วรู้ได้ไหงว่า ควรไม่ควร
อย่างตัวอย่างนี้พิจารณา ง่าย ว่า สิ่งที่รู้สึกนั้น ควร หรือไม่ควร
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ซับซ้อนในชีวิตเรา ตลอดเวลาทั้งวันทุกวัน ที่เราใช้ ชีวิต จะมีกระบวนการเช่นนี้เกิดขึ้น เรารับรู้ ว่า สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเปลี่ยนแปลง เรารู้สึก แล้วก็ นำไป คิด แต่เรา ไม่ได้พิจารณา ว่าตอนเรารับรู้ว่า สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงแล้วเรารู้สึกนั้น เรารู้สึกอะไร แล้วควรรู้สึกไหม มาพิจารณา ว่าแล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่า ควรรู้สึกเช่นไร จากตัวอย่างสมมติ นี้
บางคน รู้สึก พอใจ บางคนรู้สึก ไม่พอใจ บางคน ก็เฉย ๆ ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา
จะพิจารณาว่า สิ่งที่รู้สึกนั้น ควร หรือไม่ควร นั้นเอา อะไรมาใช้เป็นเครื่องมือ
ก็นำความคิด นั้นแหละมาเป็นเครื่องมือในการพิจารณา
เหมือน อย่างเช่น ตัวอย่างระบบต้มน้ำร้อน ที่ลุงยกตัวอย่าง
เราก็ใช้ระบบสมองกลตรวจสอบว่า ค่าที่ส่งมาให้นั้นถูกต้องไหม
ในระบบทางวิศวกรรม แทนที่เราจะมีอุปกรณ์วัดการเปลี่ยนแปลง
แค่ จุดเดียวเราก็อาจจะมีหลายจุดเพื่อนำมาให้สมองกลเปรียบเทียบว่าสิ่งที่ ส่งมานั้นควรรู้สึกไหม
แล้ว ถ้าเป็น คนเรา เวลาเรารู้สึก เราจะนำสิ่งที่รู้สึก มาให้สมองเราเปรียบเทียบแบบไหน
คิดเช่นไร ถึงจะรู้ว่า สิ่งที่รู้สึกนั้น ควรรู้สึกไหม
ขึ้นกับ ความหมายของชีวิตแต่ละคนครับ
บทนี้ให้เราได้รู้ว่า หัวใจ สำคัญของการคิดที่ควร
จุดเริ่มต้น อยู่ที่การครวจสอบสิ่งที่รู้สึก ว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
ซึ่งอันนี้ขึ้นกับ ความหมายของชีวิตแต่ละคน
คนเราแตกต่างกัน คนหลายคนมักจะอ้างเรื่องว่าคนเราแตกต่างกัน
ลุงยอมรับในความแตกต่าง แต่ การเดินทางเพื่อทำความเข้าใจ ความคิดของเรา
เพื่อให้เราได้หา ว่า ถึงแม้คนเราต่างกันแล้วคนเราที่ควรเป็น ที่ต้องเป็น
เพื่อทำให้ความหมายของคำว่าคน ยังคงมีอยู่ต่อไป
แล้วอะไรที่คนเราควรมีเหมือน ๆ กัน
การศึกษาเพื่อ สามารถรู้และปฎิบัติได้ว่า ตนเอง “ควรรู้สึก” เช่นไร
ต้องทำความเข้าใจ กับ ความคิดตนเอง
การให้ได้รู้ที่มาของ “สิ่งที่รู้สึก” ไว้ลุงเล่าให้ฟังในเรื่องอื่น เพราะค่อนข้างยาก
เราต้องเห็น ตนเองในระดับ หนึ่งก่อน ถึงจะสามารถ เห็นที่มาเหล่านั้นได้
เวลาเกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากระทบตัวเรา
หลังจากสามารถพิจารณา เห็น “สิ่งที่ตนรู้สึก” แล้ว
การตั้งคำถามตนเอง ระหว่าง ถามตนเองว่า “ทำไม ถึงรู้สึกเช่นนี้” กับ “ควรรู้สึกเช่นไร”
คำถามที่ ว่า “ควรรู้สึกเช่นไร” จะง่ายกว่าและเกิดประโยชน์ กับเราส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
“ควรรู้สึกเช่นไร” หากเราได้ถามตนเองทุกครั้ง ก่อนที่จะเริ่มใช้ความคิด
การดึงศักยภาพของสมองให้ได้คิดในสิ่งที่ควร ก็เริ่มเกิดขึ้น
เมื่อเราได้เริ่มต้นคิดในสิ่งที่ควร ชีวิต เราก็เริ่มเดินทางสู่ ชีวิต ที่ควรเป็น
ทำความเข้าใจความคิดตนตั้งแต่วันนี้
ก่อนความคิดจะพาชีวิต ไปสุ่ ชีวิตที่ไม่ควรเป็น
ลุงมัย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น