ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ตอนที่ 2 ศาสตร์ว่าด้วยความคิด
หากเรา คนของเผ่าพันธุ์มีหัวใจ ไม่ทันความคิดของคนที่กำหนดอารยธรรมของโลก
เราเองก็คงเป็นได้แค่ แรงงานทาสที่ไม่รู้สิ่งที่เราทำนั้นมีความหมายใดต่อชีวิตเรา
เมื่อเราไม่ยอมรับความต่างระหว่างคนสองกลุ่ม
เราจึงพัฒนาการคิดของคนกันน้อยมาก
น้อยจนเราไม่รุ้ว่า เราจะใช้ความคิด เป็นนายของความคิดเราได้อย่างไร
สิ่งที่อารยธรรมของโลกจากอาณาจักรทุนนิยม
กำหนดให้เราสอนแก่ลูกหลานเราส่วนใหญ่เป็นแค่ความรู้
ความรู้ให้เราทำให้ถูก แต่ไม่สอนให้เราคิด ว่าอะไรควรจะถูกทำ
อาณาจักรที่เข็งแรงกว่ากำหนดชะตาชีวิตให้เรา
เราไม่รู้ว่า สิ่งที่เราทำจะเกิดสิ่งใด แต่เราทำได้ถูก ทำได้ตามที่เรียนมา
คนที่มีความคิดมากกว่า ใช้ความไม่รู้ของคนอื่นเป็นอำนาจของตน
สิ่งที่เราต้องรู้ ความคิดของคน รู้ทันความคิดของคน
เราจะรู้ความคิดได้อย่างไร วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เชื่อว่าความคิดมาจากสมอง
เราน่าจะมาเริ่มต้น พิจารณา กันจากสิ่งที่เป็นความรู้ในปัจจุบัน
มีการศึกษาเรื่องสมองกันมาตั้งแต่โบราณ มีหลักฐานการศึกษาสมองตั้งแต่ 4000 ปี ก่อนคริสตกาล การศึกษาเกี่ยวกับสมองก็ยังได้รับความสนใจมาจนถึงปัจจุบัน ศาสตร์ว่าด้วยสมองในปัจจุบันเยอะแยะมากมาย ยิ่งเปิดเผยความรู้เกี่ยวกับสมองมากเท่าไรยิ่งทำให้เราเองทึ่งกับความสลับซับซ้อน ความมหัศจรรย์เกินกว่าจะบรรยาย เกินกว่าเครื่องมือเครื่องจักร หรือระบบใดที่มนุษย์สร้างขึ้นจะทำได้เท่า
สมองของเด็กทารกแรกเกิดประกอบด้วยเซลล์สมองถึง 100,000 ล้านเซลล์ ซึ่งมีปริมาณมากพอกับจำนวนดาวในกาแล็คซีทางช้างเผือกเลยทีเดียว จำนวนเซลล์สมองเราว่ามีเยอะแล้ว ยังไม่พอ สมองยังมีเซลล์ส่วนส่งกำลังบำรุงที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องและป้อนอาหารให้สมองที่เรียกกันว่า "ไกลอัลเซลล์" (Glial Cell) อีกราว 1 ล้านล้านเซลล์ นั้นคือว่าด้วยจำนวนของเซลล์สมองและเซลล์ที่เกี่ยวข้อง
แต่สิ่งมหัศจรรย์ของสมองไม่ได้มีแค่จำนวนเซลล์เพียงอย่างเดียวในส่วนของเซลล์สมองเมื่อเราพัฒนาสมองไปจนถึงระดับ เซลล์สมองจะพัฒนา “รอยเชื่อมต่อ” ขึ้นมา หากเราเปรียบเซลล์สมองเป็นจุด 100,000ล้านจุด ก็เริ่มสร้าง เส้นทางเชื่อมต่อกัน โดยจากข้อมูลวิจัยพบว่า เซลล์สมองแต่ละเซลล์มีรอยเชื่อมต่อเฉลี่ยถึง 15,000 รอย
นี้คือความอัศจรรย์ของสถาปัตยกรรม ระบบการสื่อสารเลยทีเดียวเพราะ เซลล์สมองและรอยเชื่อมต่อเหล่านั้นทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้า เพื่อก่อเกิดเป็นความคิดของเรา เส้นทางการเดินของสัญญาณไฟฟ้าแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน โอกาสที่ คนเราจะมีวิธีคิดในระดับการเดินทางของสัญญาณไฟฟ้าในสมองเหมือนกันแทบเป็นไปไม่ได้ ถึงแม้ทุกคนจะมีเซลล์สมองเท่ากันก็ตาม ไม่สามารถบอกได้ว่า เรามีเซลล์สมองเท่าเขาแล้วเราจะตีความสิ่งที่เรารับรู้ได้เหมือนกัน
นี้ยังมิต้องพิจารณาถึงการสร้างขึ้นมาของสมองแค่ ศึกษากายภาพของสมองเราก็ทึ่งมากมายกับ สิ่งมหัศจรรย์ที่ทุกคนมีเท่ากัน คนละ 1 ก้อน สมอง
1 ก้อนสมองที่เท่ากัน แต่ต่างกันเหลือเกิน จึงเกิดคำถามขึ้นมากมายในวงวิชาการด้านสมองและเกี่ยวข้อง
มีทฤษฎีอีกมากมายเกิดขึ้นเพื่ออธิบาย และเข้าใจการทำงานของสมองการพยายามอธิบายในกลไก ทางไฟฟ้า หรือ กายภาพที่ว่าด้วยสมองข้างซ้ายขวา สารสื่อประสาทตัวใด และ แต่ละตำแหน่งทำงานเกี่ยวข้องกับอะไร
นี้คือเรื่องราวว่าด้วยการศึกษาสมองที่ผ่านมาแต่
มีเซลล์ประสาท เป็น 100,000ล้าน แล้วอย่างไร
มีสารสื่อประสาทแต่ละชนิดทำงานต่างกันแล้วส่งผลอย่างไรต่อเรา
ต่อให้ใครมายืนยันว่า สมองเราไม่ต่างกับอัจฉริยะในโลก
มีเท่ากันคนละ 1 ก้อนสมอง แล้วอย่างไร
ในเมื่อความจริง ความรู้เหล่านั้น เกินกว่าที่จะทำให้เราเข้าใจการทำงานของสมองเราได้ด้วยตัวเราเอง
สิ่งเหล่านี้หากท่านสนใจอ่าน ! สามารถหาอ่านหนังสือเล่มอื่นและค้นได้ ในอินเตอร์เน็ต มีมากมายหลายเว็บไซด์
แต่ไม่ใช่ขอบเขตที่ลุงจะเล่าให้เราฟังในเล่มนี้
เพราะความรู้เหล่านั้นเกินขอบเขตคนธรรมดาเช่นเรา
เราไม่มีเครื่องมือจะรู้ว่า ความรู้นั้น อันไหนหน่อที่เขาบอกเรา มันจริง
ความรู้เหล่านั้น เรานำมาตรวจสอบไม่ได้ ก็เป็นความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านสมองเหล่านั้น
แต่สำหรับเราอย่างมากก็เป็นได้แค่ ข้อมูล ของเรา
และที่สำคัญความรู้เหล่านั้นก็ไม่สามารถตอบได้แม้แต่คำถามพื้นฐานที่ว่า
“ใครใช้ให้เราคิด” คำถามแรกๆที่ทำให้ลุงสนใจเรื่องนี้
หรือถ้าหยาบหน่อยตามวัยขณะที่ลุงเองสงสัยนั้น “ใครที่อยู่ในหัวของกูวะ”
เคยสงสัยเคยถามตนเองไหมครับ “ใครเป็นคนใช้ให้เราคิด”
เรื่องราวต่างๆ ในหัวเรามันมาจากไหน ทำไมเราต้องคิด
แล้ว ไม่คิดได้ไหม คิดอย่างอื่นได้ไหม
แล้วเวลาคิดอย่างอื่น ใครละเป็นคนกำหนดกรอบคิดของเรา
คำถามเกี่ยวกับที่มาจุดตั้งต้นของความคิด
อีกมากมายหลากหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกับความคิดของเราเอง
จากความรู้เรื่องสมองที่ลุงได้เล่าให้ฟังเหล่านั้นที่ลุงได้อ่านมา
มองลึกลงไปในความคิดของเราเอง ลุงไม่เห็นอะไร
ลุงไม่รู้ว่าที่เราคิดนั้น เซลล์สมองตัวไหนสั่งงาน
แล้วไฟฟ้าวิ่งจากเส้นไหนอย่างไร
ลุงมองไม่เห็นอะไรเลย
หาคำตอบไม่ได้เลย ถึงที่มาของความคิด
แม้แต่ความคิดของตัวเราเอง
คำถามเหล่านี้ ทำให้ลุงต้องเริ่มสนใจอ่านหนังสือ ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับสมอง และการทำงานของสมอง ตลอดจนเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจิต หรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะทำให้สิ่งที่ลุงสงสัยในวัยเด็กนี้หมดไป จนเป็นความรู้ทั้งหมด ที่จะมีในหนังสือเล่มนี้
เจตนาของหนังสือเล่มต้องการให้เราสามารถทำความเข้าใจต่อความคิดของเรา
ซึ่งเป็นผลสังเคราะห์ จะของสารเคมีหรือระบบไฟฟ้า ในสมองเรา ก็แล้วแต่
แต่เราสามารถตรวจสอบการทำงานของสมองเราได้
และที่สำคัญทำให้เราสามารถใช้สมองเราได้ เต็มกำลัง
และเป็นประโยชน์สูงสุดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้สมองได้พึงมี
หากพวกเราปรารถนาความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมอง
แต่ไม่สามารถทำให้เราเข้าใจความคิดของตนเองได้เลย
หนังสือเล่มนี้ก็คงไม่สามารถให้เราได้
แต่หากเราอยากรับรู้ ความคิดของเราเอง จนเข้าใจที่มาของความคิดเรา
ลุงก็อยากให้พวกเราได้อ่านหนังสือเล่มนี้
และตลอดเวลาที่ได้อ่าน ลุงปรารถนาอย่างยิ่งว่า
พวกเราจะอ่านหนังสือเล่มนี้ประหนึ่งว่ากำลังเถียงกับเพื่อนชาย วัยเดียวกัน
หาเหตุผล ที่จะเถียงความรู้ในหนังสือเล่มนี้ให้ได้
ลุงอยากให้พวกเราอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยอารมณ์เช่นนั้น
ไม่อยากให้ อ่านหนังสือเล่มนี้ ประหนึ่งว่าเป็นหนังสือวิชาการ
ที่เขียนจากคนที่ดูเหมือนมากภูมิปัญญา
หรืออ่านหนังสือของ นักคิด นักเขียน
ที่ทำให้พวกเราอ่านแล้วความสงสัยหมดสิ้น
แล้วก็เชื่อไปโดยไม่ได้รู้ด้วยซ้ำว่า สิ่งที่อ่านนั้น มันความรู้ของเขา
เป็นแค่ข้อมูลของเรา อ่านโดยที่อ่านแล้วไม่สงสัยด้วยว่า สิ่งที่อ่านนั้นจริงไหม
ลุงหวังจริงๆ ไม่อยากให้หนังสือทุกเล่มที่ลุงเขียน กลายเป็นแค่ข้อมูลของพวกเรา
ยินดีที่ได้รู้จัก และดีใจที่ได้พูดคุย ประหนึ่งว่าเราเป็นเพื่อนที่สนิทกันมานาน
จนพวกเราเองกล้าบอกทุกสิ่งที่รู้สึก ต่อความคิดของลุง
เพื่อนคนหนึ่งของพวกเรา
ลุงมัย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น