ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ถ่ายความคิด

    ลำดับตอนที่ #10 : ตอนที่ 10 เคล็ดลับ การใช้สมองให้ได้ 100 เปอร์เซ็น

    • อัปเดตล่าสุด 30 ธ.ค. 50


    จากตอนที่แล้ว เราได้ทราบ วิธีการในการพัฒนาการคิด ของเรา
    หลักการพัฒนา การคิด มีง่าย ๆ ให้เราพิจารณา ที่ ตำแหน่ง 1 และ 2
     
    แล้วตั้งคำถามตนเองว่า ในตำแหน่งที่หนึ่ง ต้นทางของกระบวนการคิด
    ตำแหน่งที่เป็น เหตุของการคิด ตั้งคำถามตนเองว่า
    สิ่งที่รู้สึก เป็น สิ่งที่ควรรู้สึกไหม ?
     
    ส่วนในตำแหน่งที่สอง ปลายทางของกระบวนการคิด
    ทำไมเราถึงคิดเช่นนั้น เรารู้สึก อะไร
     
    เมื่อ นำทั้งสองคำถามมาใช้พิจารณา การคิดของเรา
    ก็ได้เทคนิคในการพัฒนา การคิดได้ง่ายแบ่งออกเป็นสองขั้นตอนดังนี้
     
    ขั้นตอนที่ 1 ที่เราคิดออกมาเช่นนั้น ทำไมเราถึงคิดเช่นนั้น
    ขั้นตอนที่ 2 เรารู้สึก อะไร สิ่งที่เรารู้สึก เป็นสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
     
    พิจารณา ความคิดแบบย้อนกลับ จากผลไปหาเหตุ เช่นนี้
    ก็จะทำให้ การคิดเราดีขึ้น สิ่งที่เราคิด เป็นสิ่งที่ควรมากขึ้น
     
    เทคนิดนี้ เริ่มต้นจะยาก นิดหนึ่งที่เราไม่สามารถรู้ตนเองได้ทัน
    และตั้งคำถามกับตนเองตามขั้นตอนดังกล่าวทัน
     
    ช่วงแรกของการฝึก การคิด เราจะรู้ตัวช้า
    ก็ให้มั่นพิจารณา เรื่องราวที่ผ่านไปแล้วที่เกิดขึ้นไปแล้วก็ได้
    รู้ตัวช้า ไม่เป็นไร ให้ ฝึกไปเรื่อยๆ  สักพัก ตัวรู้ ที่ใช้สังเกต และตั้งคำถาม ของเราก็จะเร็วขึ้น
     
    ที่เรารู้ตัวช้า หรือ ไม่รู้ตัวเพราะส่วนใหญ่ เราจะไม่รู้ว่า ผลของการคิดของเรานั้น
    ก่อให้ชีวิต เราเดินไปในทิศทางใด ทางเสื่อม หรือ ทางเจริญ
    จนกว่า เวลาในการเดินทาง ของชีวิต จะหมด
    เราจึงเพิ่งรู้ว่า เราหลงทาง  ก็ต่อเมื่อ ไม่มีเวลาเหลือพอให้ ชีวิต เราได้ไปถึง
    ทางที่เราควรไป หรือแม้แต่ทางที่อยากจะเดินไปให้ถึง
     
    การเดินทางของชีวิต กับ การเดินป่า ก็คล้ายกัน
    ต้องมั่น สังเกต สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราว่า ที่เราเดินไปนั้น เราหลงทางไหม
    และ ที่เหมือนกันมากสำหรับ นักเดินทางใหม่ คือ
    กว่าเราจะรู้ตัวว่าหลงทางก็ต่อเมื่อเราหลงทางไปแล้ว
    เช่นกัน สำหรับ การคิด กว่าเราจะรู้ตัวว่า สิ่งที่คิดนั้น ไม่ควรคิด ก็คิดไปแล้วเช่นกัน
     
    และผลของความคิดที่ไม่ควรก็เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว
    ทำให้เราพูด หรือ ทำอะไรที่ไม่ควรไปแล้ว
     
    หากเรามั่น สังเกต เราก็จะรู้ว่า ทางที่เดิน นั่น ถูกทางไหม
    จะได้ปรับ ทางเดินที่ ควรเดิน ได้ ทันก่อนเวลาชีวิตเราจะหมดไป
    จะได้ ปรับ การคิด ก่อนที่จะคิดในสิ่งที่ไม่ควร  
     
    ความคิด เป็น ตัวกำหนด  การกระทำ พฤติกรรม นิสัย สันดาน ตลอดจนชะตาชีวิตเรา
    เหตุ ต้นทางแค่ความคิด แต่ปลายทาง คือ ชะตา ทั้งชีวิต
    จะเสี่ยงหรือที่จะไม่ศึกษา และทำความเข้าใจ การคิดของตนเอง
     
    สำหรับลุง แม้ การเดินทางที่ช่วงแรกต้อง อาศัย เข็มทิศ แผนที่จุดสังเกต
    คำบอกเล่า จาก คนเก่าแก่ จะน่าเบื่อ ไม่สนุก เท่าการเดิน เล่น อย่างอำเภอใจ
    แต่ลุงก็ไม่อยากเสี่ยง เอาชีวิต ที่มีอยู่ชีวิต เดียวไปหลงทาง
     
    ลุงจึงมั่นฝึกตน เพื่อสังเกต ว่าตัวเราอยู่ที่ไหน และสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่เป็นเช่นไร
     
    ในการหัดสังเกต สิ่งแวดล้อม รอบตัวเรา ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่น
    แรกๆ ของการเดินทาง เราจะรู้ตัวว่าเราหลงทาง ก็ต่อเมื่อเราหลงทางไปแล้ว
    เดินหลงไปแล้ว ถ้าโชคดี หน่อย ก็เดินหลงไม่ไกลแล้วรู้ตัว
    โชคร้าย ก็เดินหลงทาง จนเวลาเหลือไม่พอไปให้ถึง เป้าหมายของการเดินทาง
     
    ทำอย่างไร ไม่ให้ หลงทาง ก็ต้อง มีแผนที่ เข็มทิศ ของการเดินทาง
    แผนที่ การเดินทาง ของชีวิต หากเราต้องเดินทาง ในสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า ระบบทุนนิยม
    ลุงก็ได้เล่าให้เรา ฟังแล้วใน หนังสือ “ความจริงที่ทำให้รวย”
     
    กลับมาเรื่อง การพัฒนการคิด กันต่อครับ ช่วงฝึก แรกๆ
    ก็ยาก ที่จะรู้ตัวได้ทันสังเกต จึงต้องฝึกให้ ทบทวน เรื่องราว ในแต่ละวันที่ผ่านไป
    รอบ ในการคิดของเรา อาจจะเป็น หน่วยวัน ก่อนเข้านอน ก็ทบทวน ว่า
    วันนี้ ได้ คิด ทำอะไรลงไป มีสิ่งใด บ้างที่ทำไป แล้วรู้สึก ว่า ไม่ควรทำ ไม่ควรคิด
     
    มีร่องรอย ของคนที่เคยเดินทางผ่านแล้วมาให้เราได้ตรวจสอบว่าที่เราเดินนี้หลงทางไหม
     
    นั่นคือ ความยากของขั้นตอนแรก ต้องรู้ตัวให้ทัน หากไม่ทัน ก็กลับมาทบทวน
    อยากน้อย วันละครั้ง ก่อนนอน วันนี้ คิดอะไรไป ทำอะไรลงไป
     
    ตามเทคนิค ที่ได้ให้ ไว้
     
    ขั้นตอนที่ 1 ที่เราคิดออกมาเช่นนั้น ทำไมเราถึงคิดเช่นนั้น
    ขั้นตอนที่ 2 เรารู้สึก อะไร สิ่งที่เรารู้สึก เป็นสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
     
    การทบทวนตนเองใน ขั้นตอนที่ 1 ไม่ยาก หากเรากินยาสองเม็ด ที่ลุงเคยให้ไวในเรื่องอ่านก่อนฯ
    เม็ดที่ หนึ่ง อย่าโกหกตนเอง เม็ดที่สอง อย่าปฏิเสธสิ่งที่ตนรู้สึก
     
    ก็ทำให้เราสามารถ ตอบคำถามของขั้นตอนที่ 1 ได้แล้ว
    เห็นผลของกระบวนการคิดของเราแล้ว
    มาถึงสิ่งที่ยาก ก็คือ การตอบคำถามในขั้นตอนที่สอง
     
    สิ่งที่รู้สึก เป็น สิ่งที่ควรรู้สึกไหม คำถามนี้ ตอบยาก
    คำว่า ควร และไม่ควร ของแต่ละคน นั้นต่างกัน
     
    สำหรับลุงนั้น วิธีคิด ก็ง่ายๆ ว่าอะไร ควรไม่ควร
    อะไรที่ทำให้ชีวิต ไปทางเจริญ ก็ควร เสื่อมก็ไม่ควร
     
    ทางเจริญ ของลุง ก็มีเหตุที่ ความเสียสละ เป็นตัวตั้ง อธิบายเท่านี้ ก่อนนะครับ
     
    หากเราไม่รู้จะพิจารณา อย่างไร ว่าสิ่งที่รู้สึกนั้นควรไหม
    ใช้ กระบวนการคิด ของเราพิจารณา ให้เห็นเอง หากไม่เห็นจริงๆ เพิ่งฝึกใหม่ ๆก็ หาผู้รู้ถามสะครับ
     
    หรือ ไหม ก็นำคำสอน ของศาสนา ต่างๆ ที่เรานับถือ มาพิจารณา ครับ
    เช่น นำศิลห้า มาเป็นกรอบในการพิจารณา สิ่งที่รู้สึก ว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
    ทั้งที่ เราเองยังไม่รู้เลยว่าทำไม มนุษย์ ต้องมีศิลห้า แต่ เรารู้มา ก็นำ ความรู้มา พิจารณา สิ่งที่รู้สึก
    เหมือน ที่ลุงได้อธิบายไปในตอนที่แล้ว นี้คือ หลักการของการใช้เทคนิคสองขั้นตอนที่จะพัฒนาการคิด เรา
     
    เทคนิค การพัฒนาการคิด เราก็รู้แล้ว
    มาสู่ เคล็ดลับ ที่จะทำให้เราเดินทางสู่การใช้สมองได้ 100 เปอร์เซนตํ
     
    หากเราอ่านหนังสือ วิทยาศาสตร์ หรือ สนใจเรื่องราว ของคน วิทยาศาสตร์ อัจฉริยะ ทั้งหลายแหล่
    เรา คงเคยได้ยิน คำพูดที่ พูดกันว่า มนุษย์ ใช้ สมองได้ไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์
    เขารู้กันได้อย่างไร และจะเกี่ยวข้องกับการ ฝึกใช้งาน สมองเราได้อย่างไร
     
    ลุงเคยได้ยิน เคยอ่านเจอ ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ตอนสมัยเด็กๆ ว่า
    คนเรา ใช้ความสามารถของสมองไม่เต็มความสามารถ ใช้กันไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์
    แม้แต่ในคนที่เราเรียกกันว่า อัจฉริยะ ก็ตาม (บางแหล่งข้อมูลบอกตัวเลขไว้น้อยกว่านี้)
     
    ความรู้นี้ ฝั่งอยู่ในหัว ลุง ตั้งแต่ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ในวัยเด็ก จนโต
    ไม่เคยมีคำถามต่อ เนื่องใดๆ จากชุดความรู้นี้เลย “คนเราใช้ สมองกันไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์”
     
    ไม่มีคำถาม เป็นเรื่องที่น่าแปลก บ้างครั้ง เราเอง
    ก็ได้ความรู้อะไรในหัวเราโดยไม่เคยมีคำถาม
    จริงหรือ ที่เราใช้สมองไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ รู้ได้อย่างไร
     
    หรือ จะเป็นได้เพียงชุดความรู้ ที่ใช้เป็นข้ออ้างเวลาเราทำอะไรไม่สำเร็จ
    ความคิดที่เรามีไม่ดีพอ ที่จะทำให้ชีวิต เราทำได้ในสิ่งที่ตัวเราหวังจะได้
    เราจะได้อ้างได้ว่า ก็เพราะเราเอง ยังใช้ความคิดได้ไม่เต็มที่เลย
    ถ้าเราใช้ได้เต็มที่ นะ เราก็คงไม่ต่างอะไร กับ อัจฉริยะ ในโลก
    ชุดความรู้นี้มีประโยชน์ เพียงแค่นี้หรือ
     
    ลุงเอง มาเกิดคำถามกับตนเอง ได้ไม่นาน
    เมื่อมีรุ่นน้องคนหนึ่งถามลุงว่า งานที่ทำใช้สมองเต็มที่หรือยัง
    ลุงบอกไปว่า ใช้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เลย
    รุ่นน้องถามลุงกลับมาว่า แล้วรู้ได้อย่างไร เป็นคำถามที่ดี มากครับ ขอบคุณ
     
    หลังจากวันนั้น ที่มีคำถามนี้ เข้ามาในหัวลุง
    ทำให้ชุดความรู้เก่าๆ ที่มีในหัวลุงต้องเริ่มนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง
    “คนเราใช้ สมองกันไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์”
     
    ชุดความรู้ ที่เด็กเรียน และ ผู้คลั้งไคล้ อัจฉริยะ ชอบพูดถึงกัน
     
    เราจะรู้ได้อย่างไร คำถามง่ายๆ ที่ต้องใช้ความคิดพิจารณา
    จะไปหาเครื่องมือมาวัดก็คงลำบากมากมาย ว่า
    เรานี้ใช้ความสามารถของสมองไปกี่เปอร์เซนต์
    และที่สำคัญกว่า ใช้กี่เปอร์เซ็นต์ คือ จะทำให้สามารถใช้ได้สูงสุดได้กี่เปอร์เซ็นต์
     
    คือสิ่งที่เรากำลังพิจารณา จะพิจารณา การใช้สมองจากสิ่งใด
    ลุงเลือก พิจารณา ผลจากการใช้สมองที่เราสัมผัสได้ด้วยตัวเราเอง นั่นคือ สังเกตการคิดของเรา
     
    ในรอบ วัน หนึ่งวัน เรารู้ตัวว่าเราคิด เราใช้ความคิดตนเองทุกครั้งก่อน
    ตัดสินใจ วันหนึ่งสักกี่ครั้ง กี่นาที ที่เรารู้ตัวว่าเราได้ใช้การคิด
     
    หรือ เอาแค่ เห็นความคิดได้ชัด ตามเทคนิคที่ว่าขั้นต้น
                    ที่เราคิดออกมาเช่นนั้น ทำไมเราถึงคิดเช่นนั้น
                    เรารู้สึก อะไร สิ่งที่เรารู้สึก เป็นสิ่งที่ควรรู้สึกไหม
    เช่นนี้ เราเห็นความคิดเราเช่นนี้ ก่อนตัดสินใจ สัก กี่ครั้งต่อวัน
     
    ลุงสมมติ ให้เราใช้ ความคิด เป็นเจ้านายเต็มที่เลย 1 ชั่วโมง ต่อวัน
    วันหนึ่ง มี 24 ชั่วโมง เรายังใช้สมองได้ไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์เลย
     
    ดังนั้น หากเราแค่เอาจุดสังเกตที่ว่า หากเรา เห็นความคิด ใช้ความคิดเป็นเจ้านายความคิด
    คือการใช้งานสมอง วันหนึ่ง เราใช้ไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นก็น่าจะจริงที่ว่า
    แค่ใช้ความสามารถของสมองได้สัก 15 เปอร์เซ็นต์ ก็เป็นอัจฉริยะแล้ว
     
    พอเราเห็นเช่นนี้แล้ว เสียดายเวลาชีวิตไหม
    ธรรมชาติให้สมองเรามาเท่ากันคนละก้อนแล้ว
    แต่เราไม่สามารถใช้ได้เท่ากัน ทำอย่างไรให้เราได้ใช้ได้เต็มที่
     
    เบื้องต้นที่ลุงบอกไว้ หากเรา สามารถทบทวนความคิด ตนเองวันละครั้งก่อนนอนได้ ก็ดีแล้ว
    แต่หากเรา อยากใช้ความสามารถสมองให้เต็มกำลัง ทำได้เช่นนั้นคงไม่พอ แล้วต้องทำอย่างไร
     
    ก็ต้องมาหารอบของการคิดที่เราจะนำมาพิจารณา ให้เห็นการคิดได้สะดวกที่สุด
    จะมาดูนาฬิกาตลอดเวลาก็ไม่สะดวกแน่นอน รอบของการคิด เป็นระบบที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
    หน่วยวัดเวลา ที่เหมาะสม ก็มีในธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ค้นพบไวแล้ว เมื่อ 2500 กว่าปีที่แล้ว
     
    การดึงศักยภาพของสมองมาใช้งานให้เต็มที่ (มีโอกาสเข้าใกล้ 100 เปอร์เซ็นต์)
    อยู่ที่ การพิจารณา รอบของการคิดทุกๆ ลมหายใจ เรานั้นเอง
     
    หากเรารู้ตัว เห็นความคิด ชัด ใช้งานความคิดได้ชัด ตลอด
    ทุกๆ ลมหายใจ  เราก็สามารถ ใช้สมองได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เต็ม
    ของความต้องการที่ต้องใช้ความสามารถของสมอง
     
    ที่ลุงต้องบอกว่า 100% เต็มของความต้องการที่เราต้องใช้ความสามารถของสมอง
    หากเรารู้ตัวได้ทุกครั้ง ของลมหายใจเรา เราเอง จะได้ถามทุกความคิด ที่เห็นในหัวเรา
    ว่า เราคิดอะไร แล้ว ทำไมเราต้องคิด ที่เราคิด เพราะเรารู้สึกอะไร
     
    เมื่อพิจาณา ไปเรื่อยๆ ใช้ ความสามารถของสมองได้มากขึ้น
    จนเพียงพอที่จะ รู้ว่า สิ่งที่เรารู้สึกนั้น เป็นผลที่เกิดจากสัญญาณจากภายนอกเพียงอย่างเดียว
    ไม่มีจาก ชุดความรู้ในอดีต ไม่มีจาก ความรู้สึก ที่เราสร้างขึ้น
     
    เป็นเพราะ สิ่งที่รู้สึก จริง จากเหตุของการเปลี่ยนแปลงแค่สิ่งแวดล้อมภายนอก
    เมื่อ นั้น เราเองก็จะเข้าถึง ความจริง ที่มีอยุ่ ในสิ่งแวดล้อมได้อีกครั้ง
     
    การใช้ งานของสมองก็ทำงานได้เต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์
    ขอให้โชคดี เป็นนายของความคิด ทุกๆ ลมหายใจ
    ลุงมัย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×