ลำดับตอนที่ #52
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #52 : ปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง (ต่อ)
                    3. ปฏิกิริยาขั้นที่ 3
             
                      จำได้ใช่ไหมครับว่าเราได้อะไรมาจากปฏิกิริยาขั้นที่ 2 บ้าง
                      ถูกต้องแล้วครับ เราได้ PGAL 12 โมเลกุล  เยยยยยยยยยยยยยยย (จะดีใจไปทามไหมเนี่ย)
แล้วมันจะไปไหนต่อเอ่ย จริงๆแล้วมันจะไปได้ 2 วิธีครับคือ
1. PGAL 10 โมเลกุล จะทำปฏิกิริยากับ 6 ATP ได้เป็น ไรบูโลสบิสฟอสเฟต 6 โมเลกุล
2.  PGAL 2 โมเลกุล รวมตัวกันเป็นกลูโคส 1 โมเลกุล
                      จริงๆแล้ว  PGAL ถูกใช้ในหลายกิจกรรมนะครับ คือ เป็นไรไปใหญ่ (ไม่ต้องตกใจไป นี่เป็นเทคนิคช่วยจำครับผม)
เป็น--------------หมายถึง เป็นสารตัวกลางในกระบวนการหายใจ โดยเข้าไปในช่วงไกลโคไลซิสครับป๋ม
ไร---------------ไร ตัวนี้คือเจ้าไรบูโลสบิสฟอสเฟต เพราะ PGAL จะนำไปสร้างเป็น ไรบูโลสบิสฟอสเฟต (RuBP)
ไป--------------หมายถึงมันจะถูกส่งไปยังเซลล์ข้างเคียง
ใหญ่------------คือถูกนำไปสร้างเป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่ เช่น กลูโคส ไขมันฯ
                    ถ้าอยากเขียนสมการตั้งแต่ปฏิกิริยาขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 3 ก็ต้องเทคนิคช่วยจำอันนี้ครับ
\"ฆ่าเอเอ็น ใจกูออก ฟอกเอ็นเป็นน้ำ\"  ซึ่งหมายถึง
ฆ่า--------------คาร์บอนไดออกไซด์
เอ--------------หมายถึง ATP
เอ็น------------หมายถึง NADPH + H บวก
ใจ-------------ลูกศรแห่งหัวใจ
กู--------------กลูโคส
ออก-----------ADP
ฟอก----------ฟอสเฟต หรือ Pi
เอ็น-----------NADPบวก
น้ำ------------น้ำ
                  เขียนสมการแล้วก็อย่าลืมดุลสมการนะครับ เลขข้างหน้าทางฝั่งซ้าย 3 ตัวคือ 6 , 18 , 12
ส่วนเลขทางขวา 5 ตัวคือ  1 , 18 , 18 , 12 , 6  ลองจำดูจำไม่ยากหรอกครับ ส่วนสมการกระบวนการสังเคราะห์แสงที่สมบูรณ์คงเขียนเป็นกันทุกคนนะครับ
หมายเหตุ      แนะการทำข้อสอบเฉพาะเรื่องนี้  น้องๆเอาดินสอกับยางลบเข้าไปในห้องสอบด้วยนะครับ แล้วเขียนสมการของปฏิกิริยาทั้ง 3 ขั้นหรือสมการรวมลงในตัวข้อสอบเลย ทำเสร็จแล้วอย่าลืมลบออกด้วยนะครับ ดินสอที่ใช้ควรใช้เส้นบางๆครับ จะได้ลบได้ง่ายไงล่ะ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น