ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคช่วยจำวิชาชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #51 : ปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง

    • อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 48






                        ปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง อาจเรียกอีกอย่างนึงว่า วัฏจักรแคลวิน-เบนสัน มี 3 ขั้นตอนใหญ่ๆคือ



    1. คาไรน้ำใจพี       เทคนิคนี้ทำให้เราจำภาพรวมให้ได้ก่อน ถ้าจำภาพรวมไม่ได้เดี๋ยวจะแย่ครับ



                       ตกลงว่า คาไรน้ำใจพี หมายถึง



    คา------------คาร์บอนไดออกไซด์



    ไร------------ไรบูโลสบิสฟอตเฟต (น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม)



    น้ำ------------ก็คือน้ำ



    ใจ -----------เป็นลูกศรแสดงสมการครับ ผมเรียกว่าลูกสอนแห่งหัวใจ



    พี-------------ย่อมาจาก PGA หรือชื่อเต็มว่า กรดฟอสโฟกลีเซอริก



                       ที่ผ่านมาเป็นเทคนิคในการเขียนปฏิกิริยาขั้นที่ 1 ครับ น้องๆลองเขียนดูนะ เมื่อเขียนได้แล้วเราก็จะมาทำความเข้าใจพร้อมๆกันดังนี้



                       เมื่อแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มารวมตัวกับ ไรบูโลสบิสฟอตเฟต ซึ่งเป็นตัวรับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีคาร์บอน 5 อะตอม มันก็จะกลายเป็น สารที่มีคาร์บอน 6 อะตอม แต่พอมีเอนไซม์ ไรบูโลสบิสฟอตเฟตคาร์บอกซิเลสมาช่วยเร่งให้สารตัวนี้กลายเป็น PGA ที่มีคาร์บอน 3 อะตอม 2โมเลกุล



                       จริงๆแล้ว ตอนแรกมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 6 โมเลกุล มันจึงทำปฏิกิริยากับ ไรบูโลสบิสฟอตเฟต 6 โมเลกุล และยังมีน้ำร่วมด้วยอีก 6 โมเลกุล ได้เป็น PGA ทั้งหมด 12 โมเลกุลครับผม



    2. เหมือนเดิมนะครับ น้องๆต้องเขียนภาพรวมให้ได้ก่อน ปฏิกิริยาขั้นที่ 2 นี้คือ พี่เอเอ็น ใจพี่เอแฟบและอืดเหมือนน้ำ



                      และนี่ก็คือเทคนิคให้น้องๆเขียนปฏิกิริยาขั้นที่ 2 ได้ก่อนนะครับ พอเห็นภาพรวมแล้วค่อยทำความเข้าใจที่หลังมันถึงจะถูกต้อง

    ตอนนี้เราไปดูสิ่งที่ซ่อนอยู่กันเลยนะ



    พี่-------------หมายถึง  PGA



    เอ------------หมายถึง ATP



    เอ็น----------หมายถึง NADPH + H บวก



    ใจ-----------เขียนหัวลูกศรไปทางขวามือเลยครับ อย่าลืมว่ามันแปลว่า ลูกศรแห่งหัวใจ



    พี่------------พี่ตัวที่สองนี้ อย่าลืมว่าเป็น PGAL



    เอ-----------เอตัวที่ 2 นี้คือ ADP



    แฟบ---------หมายถึง ฟอสเฟต หรือเขียนย่อๆว่า Pi



    อืด----------เจอคำว่าอืดในที่นี้ให้นึกถึง คำว่าเอ็นก่อน แล้วค่อยนึกถึง NADPบวก



    น้ำ----------น้ำก็คือน้ำครับผม



                    พอเขียนสมการได้แล้วเราก็มาทำความเข้าใจ  เอาง่ายๆก่อนคือ มีการเติม ATP ให้กับ PGA จนได้สารตัวหนึ่ง ขอเรียกว่าสาร X ก็แล้วกันครับ และเจ้าสาร X นี้ก็ถูกรีดักชั่นโดยเจ้า NADPH + H บวก จนได้เป็น PGAL

                  

                   เมื่อเข้าใจภาพรวมของสมการเสร็จแล้วน้องๆก็เติมเลข 12 ข้างหน้าทุกตัวด้วย เพราะเราได้ PGA มาจากปฏิกิริยาขั้นที่ 1 ทั้งหมด 12 โมเลกุล เราก็ต้องได้ PGAL ทั้งหมด 12 โมเลกุลเหมือนกัน



                  ส่วน ATP กับ NADPH + H บวก เราก็ได้มาจากปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงไงครับ



                  ทบทวนด้านบนให้ขึ้นใจ สัก 3 รอบ  แล้วค่อยมาอ่านเก็บตกด้านล่างนี้นะครับ สัญญานะ ห้ามโกง



    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------



                  เก็บตกของ ปฏิกิริยาขั้นที่ 2



    1. การเติม  ATP ให้ PGA เรียกว่า ฟอสโฟริเลชัน



    2. เอนไซม์ที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาในข้อ 1 คือฟอสโฟกลีเซอริกไคเนส



    3. สาร X คือกรดไดฟอสโฟกลีเซอริก



    4. เอนไซม์ที่ช่วยเร่งปฏิกิริยารีดักชันชื่อว่า ไตรโอสฟอตเฟตดีไฮโดรจีเนส



    5. ตอนรีดักชั่นเสร็จ จริงๆแล้วจะได้น้ำตาล 2 ตัวคือ PGAL กับน้ำตาลที่มีชื่อว่า ไดไฮดรอกซีแอซีโตนฟอสเฟต น้ำตาล 2 ตัวนี้เปลี่ยนกลับไปกลับมาได้  แต่ PGAL เท่านั้นที่จะนำไปใช้ต่อที่ปฏิกิริยาขั้นที่ 3



    6. เอนไซด์ที่เปลี่ยนเจ้าน้ำตาล 2 ตัวในข้อที่ 5. ให้กลับไปกลับมาได้คือเจ้า ไตรโอสฟอสเฟตไอโซเมอเรส



    --------------------------------------------------------------------------------------------------------





    ทบทวนตอนนี้สัก 3 รอบ ก่อนที่จะไปอ่านปฏิกิริยาขั้นที่ 3 นะครับ สัญญานะครับ น้องชายและน้องสาวที่น่ารักของผม











    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×