ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคช่วยจำวิชาชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #44 : โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ตอนที่ 4

    • อัปเดตล่าสุด 6 พ.ย. 48


                        วันนี้พอมีเวลาก็ขอเริ่มเลยก็แล้วกันนะครับ แล้วเดี๋ยวเราค่อยคุยกัน ผมขอเอาที่เขียนค้างไว้ตอนที่แล้วมา copy ต่อเลยนะครับ





                        ตอนนี้ย้อนกลับมาดูตรง บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ กันอีกนิดนึง บริเวณนี้ถ้าตัดตามขวางเราจะเห็นเนื้อเยื่อเรียงตัวกันแบบนี้นะ มิสคอล เพ่คิวพิด สำนวนนี้มันดูเหมือนเป็นการฟ้องพี่คิวพิด หรือกามเทพว่า แฟนชอบโทรมาแบบมิสคอลอยู่เรื่อยเลย เราก็เลยจำไว้ว่า มิสคอล เพ่คิวพิด ซึ่งจริงๆแล้วเนี่ยหมายถึง



                        มิส-----------------------มิสตรงนี้คือ เอพิเดอร์มิส เป็นชั้นที่อยู่นอกสุด และมีขนรากยื่นออกมา



                        คอล---------------------ก็คือ คอร์เทกซ์ ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์เรียกว่าเอนโดเดอร์มิส



                        เพ่-----------------------หมายถึง เพริไซเคิล เป็นชั้นที่เป็นจุดกำเนิดของรากแขนง



                        คิว-----------------------ในที่นี้หมายถึง วาสคิวลาร์บันเดิล หรือเรียกแบบไทยๆว่า กลุ่มท่อลำเลียงนั่นแหละ การจัดเรียงตัวนั้นจะแตกต่างกันในพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว



                        ส่วนความแตกต่างคงต้องไปหารูปมาดูเอง พอจะบอกได้ว่าสำหรับรากนั้นส่วนของไซเลมจะเรียงตัวเป็นแฉก ส่วนมากแล้วรากพืชใบเลี้ยงคู่จะเรียงตัวเป็น 4 แฉก ส่วนรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมากกว่า 4 หรือ 5 แฉก



                        พิด-----------------------ในที่นี้ก็คือ พิธ ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่บริเวณตรงกลางของราก  เป็นเซลล์พวก \"พาใครมาวะ\" เอ้ย...ไม่ใช่ พาเรงคิมา  หน้าที่ของมันก็คือ ช่วยในการสะสมอาหารครับ



    หมายเหตุ ชั้นของเพริไซเคิล วาสคิวลาร์บันเดิล และพิธจะรวมเรียกว่า สตีล





                         ต่อไปเราจะมาดูหน้าที่และชนิดของรากกันนะ





                         หน้าที่ของรากก็คือ ดูดหายยึด สมสืบแสง เรามาดูกันนะครับว่ามันหมายถึงอะไร



                         ดูด-----------------------คือคอยดูดน้ำและแร่ธาตุต่างๆไงครับ



                         หาย----------------------ก็หมายถึง หายใจ ไม่ได้หายไปไหนหรอก



                         ยึด-----------------------อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว เกิดเป็นรากก็ต้องคอยยึดพื้นดินและค้ำจุนลำต้นไว้



                         สม-----------------------สะสมอาหารครับผม



                         สืบพันธุ์------------------สืบพันธุ์



                         แสง----------------------รากพืชบางชนิดจะมีคลอโรฟีลล์อยู่ สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ด้วยอ่ะ







                         มาต่อที่ชนิดของรากเลยนะครับ



                         มี 3 ชนิด อันนี้จำง่ายมาก ซึ่งก็คือ primary root , secondary root และ adventitious root



                         primary root  เป็นรากที่เกิดมาจากรากแรกเกิด รากชนิดนี้คือรากแก้วนั่นเอง



                         secondary root  รากชนิดนี้เจริญมาจากรากแก้ว เราเรียกว่า รากแขนง



                         adventitious root เป็นรากพิเศษที่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ฝอยเกาะหาย ฝากค้ำด้วย เรื่องมีอยู่ว่าเศรษฐินีคนหนึ่งชอบฝอยทั้งวันจนเธอเผลอพนันจนเกาะที่ซื้อไว้หายไป เวลาเธอจะไปซื้อเกาะใหม่ เธอจะให้เพื่อนสนิทช่วยค้ำประกันให้ และเธอไม่ลืมที่จะโทรไปบอกเพื่อนว่า \"ฝากค้ำด้วย\" เอ้ย...ไม่ใช่...มันคือชนิดของรากพิเศษซึ่งที่สำคัญมีอยู่ 6 ชนิดคือ



                         ฝอย-------------------หมายถึง รากฝอย พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว



                         เกาะ-------------------หมายถึง รากเกาะ ได้แก่ พลู พริก ไม้ ซึ่งก็คือพลู พลูด่าง พริกไทย และกล้วยไม้



                         หาย-------------------หมายถึง รากหายใจ



                         ฝาก--------------------หมายถึง รากกาฝาก



                         ค้ำ---------------------หมายถึง รากค้ำจุน



                         ด้วย-------------------หมายถึง รากสังเคราะห์ด้วยแสง



    หมายเหตุ ขอข้ามหน้าที่และชนิดของลำต้นไปก่อนเพราะคิดว่าคงไม่ยาก สงสัยต้องคัดเนื้อหาที่น่าจะซับซ้อนก่อนนะครับ เพราะเห็นเหมือนใครบางคนเหมือนกันว่าถ้าจะเขียนละเอียดในทุกหัวข้อ มันก็คงไปไม่ถึงไหน ยิ่งผมเองช่วงหลังๆมีธุระมากด้วยแล้ว งั้นเอาตามนี้ไปก่อนนะครับ





                         ตอนนี้เรามาสรุปการเจริญขั้นต้นของรากกันก่อน



    ถ้าเริ่มจากเนื้อเยื่อเจริญปลายรากมันจะเจริญไปเป็น 3 กลุ่มคือ โตเต็มแคมป์  อันนี้ภาษาไทยง่ายๆนะครับ ถ้าจะเล่นสำเนียงก็จะเป็น โทเท็มแคม เรามาว่ากันเลยดีกว่า



                        โต หรือ โท ในที่นี้คือ โพรโทเดิร์ม



                        เต็ม           ในที่นี้มาจาก กราวด์เมอริสเต็ม



                        แคม          ในที่นี้คือ โพรแคมเบียม







                        และถ้าจะจำว่าแต่ละส่วนจะเจริญเป็นอะไรต่อในรากต้องจำวลีนี้ต่อครับ





                        เอ...คอเอน...เพ่โปรคิงไซด์ แปลเป็นไทยอาจพูดเล่นๆว่า  เอ  เถียงคอเป็นเอ็นเลยนะ พี่ \"โปรคิงไซด์\"





                        แต่จริงๆแล้ว เอ คือ เอพิเดอร์มิส



                        คอเอน คือ คอร์เทกซ์และเอนโดเดอร์มิส



                        เพ่โปรคิงไซด์ก็คือ เพ่---------เพริไซเคิล



                                                 โปร-------เพี้ยนมาจาก โฟลเอ็มขั้นต้น



                                                  คิง-------เพี้ยนมาจากคิว ของคำว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม



                                                  ไซ-------มาจากคำว่า ไซเลมขั้นต้น



                       เวลาจับคู่ 2 ประโยคก็คือ โต-เต็ม-แคมป์    กับ        เอ-คอเอน-เพ่โปรคิงไซด์



    คำว่าคิงไซด์ในท้ายประโยคเป็นคำที่พยายามจะเน้นให้นึกถึงขนาดของที่นอนหรือเตียงที่มันแบนราบ จะได้จำว่าเทคนิคช่วยจำ 2 วลีนี้ใช้กับราก ถ้าจำ 2 วลีนี้ได้และไปดูรูปประกอบเสริมความเข้าใจ น้องๆก็จะจำและเข้าใจเนื้อหาตรงนี้ได้อย่างขึ้นใจ เช่น ถ้าถามว่ากราวเมอริสเต็มของการเจริญขั้นต้นหรือ primary growth ของรากเจริยไปเป็นอะไร ก็จะตอบได้ทันทีว่า เป็นคอร์เทกซ์และเอนโดเดอร์มิส เพราะน้องๆจะจำคำว่า คอเอนได้ และถ้าดูรูปประกอบไปด้วยจะดีมากเลยครับ



    ตอนนี้ขอแค่นี้ก่อนนะ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดเดี๋ยววันนี้จะเข้ามาอีกครับผม



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×