ลำดับตอนที่ #37
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #37 : ทบทวนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยีนและโครโมโซม
ก่อนอื่นมาทบทวนชนิดของเซลล์ก่อนนะครับ
1. ชนิดของเซลล์  เซลล์แบ่งตามลักษณะนิวเคลียสได้ 2 ชนิดคือ
    1. เซลล์โพรคาริโอต เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส  นิวเคลียสประกอบด้วยโครโมโซมเพียงเส้นเดียวซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวน สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบโพรคาริโอตได้แก่  แบคทีเรียกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
        เซลล์แบคทีเรีย โครโมโซมจะประกอบด้วย DNA เป็นรูปวงแหวนเพียงชุดเดียวซึ่งเราจะเรียกว่าจีโนฟอร์  จีโนฟอร์เป็น DNA อย่างเดียวนะครับ ไม่มีโปรแทรกอยู่ด้วย
    2. เซลล์ยูคาริโอต เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส สารพันธุกรรมจะอยู่ภายในนิวเคลียส  สิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ไม่ใช่แบคทีเรียกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะเป็นเซลล์ประเภทนี้
        ในโครโมโซมของพวกยูคาริโอตจะประกอบไปด้วย DNA RNA และโปร
    โปรจะมี 2 ชนิดคือ ฮิสโตนกับนอน-ฮิสโตน  ฮิสโตนเป็นโปรที่มีกระอะมิโนประจุบวก ช่วยใหเ DNAเกาะกับโปรได้อย่างดี ในเซลล์ยูคาริโอตจะมีส่วนของ DNA ต่อฮิสโตนประมาณ 1: 1 และทั้งคู่ยังมีปริมาณมากกว่า RNA และโปรฮิสโตน
    เรามาพูดถึงเจ้าDNA กับโปรฮิสโตนดีกว่า  โปรฮิสโตนที่ถูกพันด้วย DNA 2 รอบ ทำให้มีลักษณะเหมือนลูกปัดที่ถูกร้อยด้วยเส้นด้าย
เรียกว่านิวคลีโอโซม  หรือเรียกว่าร่างแหโครมาติน
    ร่างแหโครมาทินนี้จะประกอบไปด้วยโปรและ DNA  เวลาย้อมสีโครมาทิน จะมีส่วนที่ติดสีเข้ม และติดสีจาง  โครมาทินที่ติดสีจางเราจะเรียกว่า ยูโครมาทิน      ส่วนที่ติดสีเข้มจะเรียกว่า เฮเทอโรโครมาทิน ส่วนที่มียีนอยู่คือส่วนที่ติดสีจาง
                ถ้ากลัวจำสับสน ให้นึกถึงผู้หญิงฮ่องกงที่ชื่อว่า ยูยีน จาง    จะได้จำได้ว่า ยูโครมาทิน มียีน และติดสีจาง
ส่วนเฮเทอโรโครมาทินก็ตรงกันข้ามนะครับ แทบจะไม่มียีนอยู่เลย หรือถ้ามีก็ไม่ทำงาน เวลาย้อมสีก็ติดสีเข้ม
               
                ตอนแบ่งเซลล์นั้น    โครมาทินจะหดสั้นเข้า และมีลักษณะเป็นแท่งๆ  เจ้าแท่งนี้แหละที่เราเรียกว่า โครโมโซม  โครโมโซมช่วงนี้แหละที่จะมีการจำลองตัวเอง เหมือนกับว่า มีอยู่แท่งหนึ่ง แล้วสร้างเพิ่มอีกแท่งหนึ่ง แต่แท่งที่สร้างขึ้นนี้ก็ไม่ได้หายไปไหน ยังคงติดอยู่ด้วยกันคล้ายๆกับปาท่องโก๋  น้องๆคงพอนึกภาพออกนะครับ
                ถึงตอนนี้เราเรียกเจ้าปลาท่องโก๋นั้นว่า  โครโมโซม  แต่มันมี 2 แท่งติดกัน เราเรียกแต่ละแท่งว่าโครมาติด  ตรงจุดที่มันติดกันนั้นเราเรียกว่า เซนโทรเมียร์
                โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนไม่เท่ากันนะครับ    สำหรับมนุษย์เรามีโครโมโซมทั้งหมด 46 แท่ง แต่นิยมเรียกเป็นคู่ครับ  เพราะเจ้า 46 แท่งนั้น บังเอิญเอามาจับคู่กันได้ เพราะมันจะเหมือนกันเป็นคู่ๆ  เราเรียกว่า โครโมโซมคู่เหมือนหรือ Homologous Chromosome    เพราะฉะนั้นมนุษย์เรามี Homologous Chromosome ทั้งหมด 23 คู่ครับ    สิ่งมีชีวิตอื่นก็มีแบบนี้แต่จำนวนคู่จะแตกต่างกันไป เราลองไปดูกันหน่อยดีไหมครับ
                คน อย่างที่รู้กันไปแล้วมี 23 คู่ครับ      มะละกอมี 9 คู่ จำง่ายๆว่า กอ-เก้า    ส่วนแมวมี 9 ชีวิตตามความเชื่อ  แต่แมวมี 19 คู่ครับ    แมลงหวี่  เสียงหวี่ๆก็เลยมี 4 คู่      กาแฟ บังเอิญผมชอบกินกาแฟที่ซอยสุขุสวิท 22 เลยจำได้ง่ายมากว่ากาแฟมี 22 คู่  หมูล่ะครับมีกี่คู่  จำไม่ยากครับ หมูมี 20 คู่
                บางครั้งมีการกำหนดตัวอักษร n ขึ้นมา แทนจำนวนชุดของโครโมโซม  โครโมโซมคู่เหมือนทั้ง 23 คู่นั้น ถ้าเราแยกออกมาเป็น 23 แท่งซึ่งแต่ละแท่งรูปร่างไม่เหมือนกันเลย เราจะเรียกทั้ง 23 แท่งนี้ว่า n หรือเท่ากับโครโมโซม 1 ชุด
              อย่างของคน n = 23  ถ้ามีโครโมโซม 2 ชุด ก็จะเรียกว่า 2n=46
              ยกตัวอย่างของแมวบ้าง  n= 19      2n=38
              โครโมโซมมีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมของเซลล์และการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมครับผม
ก่อนจบตอนนี้อยากจะเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างยูโครมาทินกับเฮเทอโรโครมาทินให้มากขึ้นไปอีกครับ
แต่ตอนจำและทำความเข้าใจนี่ควรเอายูโครมาทินเป็นหลักนะครับ เพราะเฮเทอโรโครมาทินจะตรงกันข้าม
ต่อไปนี้คือเทคนิคช่วยจำลักษณะเด่นของยูโครมาทินครับ
ยีนทำจาง ห่างหดเปลี่ยนเร็ว      ความหมายมีดังนี้ครับ
ยีน                หมายถึง    มียีนจำนวนมาก
ทำ                หมายถึง    เป็นยีนที่ทำหน้าที่
จาง                หมายถึง    เป็นแถบจาง
ห่าง                หมายถึง    อยู่บนโครโมโซมและอยู่ห่างเซนโทรเมียร์
หด                หมายถึง    มีการหดตัวและคลายตัวในขณะแบ่งเซลล์
เปลี่ยน            หมายถึง    สามารถเปลี่ยนเป็นเฮเทอโรโครมาทินได้เมื่อไม่ทำหน้าที่
เร็ว                หมายถึง    สังเคราะห์ได้เร็ว
ส่วนเฮเทอโรโครมาทินก็จะตรงข้ามกับยูโครมาทินนะครับ จำอันเดียวถอว่าได้ 2 อย่างเลยครับ
ของเอเทอโรโครมาทิน
1. มียีนจำนวนน้อย
2. เป็นยีนที่ไม่ทำหน้าที่
3. เป็นแถบเข้ม
4. อยู่ใกล้เซนโทรเมียร์
5. ไม่มีการหดและคลายตัวในขณะแบ่งเซลล์
6. ส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นยูโครมาทินไมได้
7. สังเคราะห์ได้ช้า
พบกันใหม่ตอนหน้าครับผม
       
1. ชนิดของเซลล์  เซลล์แบ่งตามลักษณะนิวเคลียสได้ 2 ชนิดคือ
    1. เซลล์โพรคาริโอต เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส  นิวเคลียสประกอบด้วยโครโมโซมเพียงเส้นเดียวซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวน สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบโพรคาริโอตได้แก่  แบคทีเรียกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
        เซลล์แบคทีเรีย โครโมโซมจะประกอบด้วย DNA เป็นรูปวงแหวนเพียงชุดเดียวซึ่งเราจะเรียกว่าจีโนฟอร์  จีโนฟอร์เป็น DNA อย่างเดียวนะครับ ไม่มีโปรแทรกอยู่ด้วย
    2. เซลล์ยูคาริโอต เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส สารพันธุกรรมจะอยู่ภายในนิวเคลียส  สิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ไม่ใช่แบคทีเรียกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะเป็นเซลล์ประเภทนี้
        ในโครโมโซมของพวกยูคาริโอตจะประกอบไปด้วย DNA RNA และโปร
    โปรจะมี 2 ชนิดคือ ฮิสโตนกับนอน-ฮิสโตน  ฮิสโตนเป็นโปรที่มีกระอะมิโนประจุบวก ช่วยใหเ DNAเกาะกับโปรได้อย่างดี ในเซลล์ยูคาริโอตจะมีส่วนของ DNA ต่อฮิสโตนประมาณ 1: 1 และทั้งคู่ยังมีปริมาณมากกว่า RNA และโปรฮิสโตน
    เรามาพูดถึงเจ้าDNA กับโปรฮิสโตนดีกว่า  โปรฮิสโตนที่ถูกพันด้วย DNA 2 รอบ ทำให้มีลักษณะเหมือนลูกปัดที่ถูกร้อยด้วยเส้นด้าย
เรียกว่านิวคลีโอโซม  หรือเรียกว่าร่างแหโครมาติน
    ร่างแหโครมาทินนี้จะประกอบไปด้วยโปรและ DNA  เวลาย้อมสีโครมาทิน จะมีส่วนที่ติดสีเข้ม และติดสีจาง  โครมาทินที่ติดสีจางเราจะเรียกว่า ยูโครมาทิน      ส่วนที่ติดสีเข้มจะเรียกว่า เฮเทอโรโครมาทิน ส่วนที่มียีนอยู่คือส่วนที่ติดสีจาง
                ถ้ากลัวจำสับสน ให้นึกถึงผู้หญิงฮ่องกงที่ชื่อว่า ยูยีน จาง    จะได้จำได้ว่า ยูโครมาทิน มียีน และติดสีจาง
ส่วนเฮเทอโรโครมาทินก็ตรงกันข้ามนะครับ แทบจะไม่มียีนอยู่เลย หรือถ้ามีก็ไม่ทำงาน เวลาย้อมสีก็ติดสีเข้ม
               
                ตอนแบ่งเซลล์นั้น    โครมาทินจะหดสั้นเข้า และมีลักษณะเป็นแท่งๆ  เจ้าแท่งนี้แหละที่เราเรียกว่า โครโมโซม  โครโมโซมช่วงนี้แหละที่จะมีการจำลองตัวเอง เหมือนกับว่า มีอยู่แท่งหนึ่ง แล้วสร้างเพิ่มอีกแท่งหนึ่ง แต่แท่งที่สร้างขึ้นนี้ก็ไม่ได้หายไปไหน ยังคงติดอยู่ด้วยกันคล้ายๆกับปาท่องโก๋  น้องๆคงพอนึกภาพออกนะครับ
                ถึงตอนนี้เราเรียกเจ้าปลาท่องโก๋นั้นว่า  โครโมโซม  แต่มันมี 2 แท่งติดกัน เราเรียกแต่ละแท่งว่าโครมาติด  ตรงจุดที่มันติดกันนั้นเราเรียกว่า เซนโทรเมียร์
                โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนไม่เท่ากันนะครับ    สำหรับมนุษย์เรามีโครโมโซมทั้งหมด 46 แท่ง แต่นิยมเรียกเป็นคู่ครับ  เพราะเจ้า 46 แท่งนั้น บังเอิญเอามาจับคู่กันได้ เพราะมันจะเหมือนกันเป็นคู่ๆ  เราเรียกว่า โครโมโซมคู่เหมือนหรือ Homologous Chromosome    เพราะฉะนั้นมนุษย์เรามี Homologous Chromosome ทั้งหมด 23 คู่ครับ    สิ่งมีชีวิตอื่นก็มีแบบนี้แต่จำนวนคู่จะแตกต่างกันไป เราลองไปดูกันหน่อยดีไหมครับ
                คน อย่างที่รู้กันไปแล้วมี 23 คู่ครับ      มะละกอมี 9 คู่ จำง่ายๆว่า กอ-เก้า    ส่วนแมวมี 9 ชีวิตตามความเชื่อ  แต่แมวมี 19 คู่ครับ    แมลงหวี่  เสียงหวี่ๆก็เลยมี 4 คู่      กาแฟ บังเอิญผมชอบกินกาแฟที่ซอยสุขุสวิท 22 เลยจำได้ง่ายมากว่ากาแฟมี 22 คู่  หมูล่ะครับมีกี่คู่  จำไม่ยากครับ หมูมี 20 คู่
                บางครั้งมีการกำหนดตัวอักษร n ขึ้นมา แทนจำนวนชุดของโครโมโซม  โครโมโซมคู่เหมือนทั้ง 23 คู่นั้น ถ้าเราแยกออกมาเป็น 23 แท่งซึ่งแต่ละแท่งรูปร่างไม่เหมือนกันเลย เราจะเรียกทั้ง 23 แท่งนี้ว่า n หรือเท่ากับโครโมโซม 1 ชุด
              อย่างของคน n = 23  ถ้ามีโครโมโซม 2 ชุด ก็จะเรียกว่า 2n=46
              ยกตัวอย่างของแมวบ้าง  n= 19      2n=38
              โครโมโซมมีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมของเซลล์และการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมครับผม
ก่อนจบตอนนี้อยากจะเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างยูโครมาทินกับเฮเทอโรโครมาทินให้มากขึ้นไปอีกครับ
แต่ตอนจำและทำความเข้าใจนี่ควรเอายูโครมาทินเป็นหลักนะครับ เพราะเฮเทอโรโครมาทินจะตรงกันข้าม
ต่อไปนี้คือเทคนิคช่วยจำลักษณะเด่นของยูโครมาทินครับ
ยีนทำจาง ห่างหดเปลี่ยนเร็ว      ความหมายมีดังนี้ครับ
ยีน                หมายถึง    มียีนจำนวนมาก
ทำ                หมายถึง    เป็นยีนที่ทำหน้าที่
จาง                หมายถึง    เป็นแถบจาง
ห่าง                หมายถึง    อยู่บนโครโมโซมและอยู่ห่างเซนโทรเมียร์
หด                หมายถึง    มีการหดตัวและคลายตัวในขณะแบ่งเซลล์
เปลี่ยน            หมายถึง    สามารถเปลี่ยนเป็นเฮเทอโรโครมาทินได้เมื่อไม่ทำหน้าที่
เร็ว                หมายถึง    สังเคราะห์ได้เร็ว
ส่วนเฮเทอโรโครมาทินก็จะตรงข้ามกับยูโครมาทินนะครับ จำอันเดียวถอว่าได้ 2 อย่างเลยครับ
ของเอเทอโรโครมาทิน
1. มียีนจำนวนน้อย
2. เป็นยีนที่ไม่ทำหน้าที่
3. เป็นแถบเข้ม
4. อยู่ใกล้เซนโทรเมียร์
5. ไม่มีการหดและคลายตัวในขณะแบ่งเซลล์
6. ส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นยูโครมาทินไมได้
7. สังเคราะห์ได้ช้า
พบกันใหม่ตอนหน้าครับผม
       
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น