ลำดับตอนที่ #34
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #34 : ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มและมีเยื่อหุ้มชั้นเดียว
7. ไซโทพลาสซึม เป็นส่วนที่อยู่นอกนิวเคลียส มีออร์แกเนลล์ที่สำคัญทั้งหมด 9 ออร์แกเนลล์ โดยแบ่งเป็น
    ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม 3 ออร์แกเนลล์ ได้แก่ ไรโบโซม เซนทริโอล และไซโทสเกเลตอน
    ออร์แกเนลล์ที่มีอยู่หุ้มชั้นเดียว ได้แก่ ER กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม และแวคิวโอล
    ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ได้แก่ ไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์
    เราจะมาดูรายละเอียดของออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มกันก่อนนะครับ
    ไรโบโซม
ไรโบโซมเป็นแหล่งสร้างโปรให้กับเซลล์ โครงสร้างทางเคมีประกอบด้วยโปรกับ RNA สำหรับ RNA ที่เป็นองค์ประกอบของไรโบโซมเป็นประเภท  r RNA หรือที่เรียกว่า ribosomal RNA ในเซลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรจะพบไรโบโซมมาก ส่วนเซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตก็จะมีไรโบโซมมากเช่นเดียวกัน ไรโบโซมจะอยู่เป็นอิสระในไซโทพลาสซึมหรือเกาะอยู่กับ ER ก็ได้ ER ที่มีไรโบโซมเกาะเราจะเรียกว่า RER หรือเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ
  เซนทริโอล
มีส่วนสำคัญทำให้โครมาทิดแยกออกจากกัน โครงสร้างเป็นท่อทรงกระบอก 2 อันตั้งฉากกัน แต่ละท่อประกอบด้วยหลอดไมโครทูบูล 9 กลุ่ม เรียงตัวกันเป็นรูปทรงกระบอก ไมโครทูบูลแต่ละกลุ่มจะมีหลอดไมโครทูบูล 3 หลอด ตรงกลางไม่มีจึงเรียกการเรียงตัวแบบนี้ว่า 9+0 โครงสร้างของซิเลียกับแฟลเจลลานั้นคน้ายกับเซนทริโอลเลย แต่ต่างกันตรงที่ โครงสร้างของซิเลียกับแฟลเจลลาประกอบด้วยหลอดไมโครทูบูล 9 กลุ่มๆละ 2 หลอดเรียงตัวกันเป็นทรงกระบอก ตรงกลางมีอีก 2 หลอดจึงใช้สัญลักษณ์การเรียงตัวแบบนี้ว่า 9+2
ถ้ากลัวจำสับสนว่าอันไหน 9+0 อันไหน 9+2 ก็จำง่ายๆว่า เซนทริโอล ตัวโอลมันก็คล้ายๆคำว่า โอซึ่งเขียนเหมือนเลข 0 เพราะฉะนั้นเซนทริโอลจึงมีโครงสร้างเป็น 9+0 ส่วนซิเลียกับแฟลเจลลาจึงเป็น 9+2
ส่วนเจ้าเบซัลปอดีซึ่งเป็นส่วนฐานของซิเลียและแฟลเจลลาจะมีโครงสร้างเป็น 9+0 เหมือนกับเซนทริโอลครับผม
  ไซโทสเกเลตอน
เป็นโครงสร้างที่ค้ำจุนเซลล์มี 3 ประเภทคือ ไมโครฟิลาเมนท์ ไมโครทิวบูล และอินเทอร์มีเดียทฟิลาเมนท์
ไมโครฟิลาเมนท์  ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเซลล์ โครงสร้างเป็นโปรแอกทิน 2 สายพันบิดเป็นเกลียวคล้ายสร้อยไข่มุก
หน้าที่ของไมโครฟิลาเมนท์คือ  มีฟ้าไร้กาล หมายถึง
มี          คือ ช่วยในการเคลื่อนที่ของอะมีบา
ฟ้า        คือ ช่วยให้เกิดการกินแบคทีเรียแบบฟาโกไซโทซิสของ เม็ดเลือดขาว
ไร้        คือ มาจากคำว่า ไลใน ไมโครวิลไล เพราะไมโครฟิลาเมนท์ทำหน้าที่ค้ำจุนโครงสร้างบางอย่างที่พบในไมโครวิลไล ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่
ในเซลล์บุผิวของลำไส้เล็ก
กาล      คือ ช่วยในกระบวนการแบ่งเซลล์ โดยการช่วยแบ่งไซโทพลาสซึมออกเป็นสองส่วน
ไมโครทูบูล เกิดจากโปรที่ชื่อว่า ทูบูลิน เรียงต่อกันเป็นสายทำให้เกิดลักษณะที่เป็นหลอดกลวงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 นาโนเมตร หน้าที่ของไมโครทูบูลคือ เส้นซิลำเลียง
เส้น    คือ ไมโครทูบูลเป็นโครงสร้างของเส้นใยสปินเดิล
ซิ        คือ เป็นส่วนประกอบของซิเลียและแฟลเจลลา
ลำเลียงคือ ทำหน้าที่ลำเลียงออร์แกเนลล์
อินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนท์ มีหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ไว้  โครงสร้างเป็นเส้นใย 4 สายพันบิดเป็นเกลียว
8.  ออร์แกเนลล์ที่มีอยู่หุ้มชั้นเดียว ได้แก่ ER กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม และแวคิวโอล
ER มี 2 ชนิดคือ เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดขรุขระ หรือ RER กับ เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดเรียบ หรือ SER
RER มีหน้าที่สร้างโปรแล้วส่งไปใช้นอกเซลล์
                    SER มีหน้าที่ดังนี้คือ
เทคนิคช่วยจำ  เซอร์กำกะ ดูดรอยไตร
เซอร์    หมายถึง  เจ้า SER
กำ        หมายถึง  กำจัดสารพิษในเซลล์ตับ
กะ      หมายถึง    กระตุ้นการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อ
ดูด      หมายถึง    เกี่ยวข้องกับการดูดไขมันที่ลำไส้เล็ก
รอย    หมายถึง    สเตียรอยด์ เพราะ SER ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนประเภทสเตียรอยด์
ไตร    หมายถึง    ไตรกลีเซอร์ไรด์  เพราะ SER สร้างไขมันประเภทไตรกลีเซอร์ไรด์
กอลจิคอมเพลกซ์ เป็นแหล่งบรรจุและข่นส่งสาร หน้าที่หลักมีดังนี้คือ
เทคนิคช่วยจำ กอลหุ้มอัด คาเซลล์พิษ
กอล      หมายถึง      กอลจิบอดี
หุ้ม        หมายถึง      สร้างเยื่อหุ้มเม็ดโปรที่ส่งมาจาก RER
อัด        หมายถึง      การดึงน้ำออกจากโปร หรือที่เรียกว่า dehydration เพื่ออัดโปรให้มันแน่นขึ้น
คา        หมายถึง      คาร์โบไฮเดรต เพราะ กอลจิบอดี คอยสร้างคาร์โบไฮเดรต แล้วนำไปรวมกับโปรที่ RER สร้างขึ้น จนกลายเป็น
                              ไกลโคโปร ส่งไปใช้นอกเซลล์
เซลล์  หมายถึง        เซลล์เพลต (cell plate) ในขั้นตอนของการแบ่งเซลล์ของพืช ตอนที่แบ่งไซโตพลาสซึม เจ้ากอลจิบอดีนี่แหละที่คอย
                            สร้างเซลล์เพลตในขั้นตอนดังกล่าว
พิษ      หมายถึง      เข็มพิษนีมาโทซิส  เจ้ากอลจิบอดีช่วยสร้างเข็มพิษนี้ให้แก่ไฮดรา 
ไลโซโซม  หน้าที่คือ ตายแล้วย่อยโรค
ตายแล้ว  หมายถึง  ทำลายเซลล์ที่ตายแล้วหรือเซลล์ที่มีอายุมาก
ย่อย        หมายถึง  ย่อยสลายโมเลกุลของสารอาหารภายในเซลล์
โรค        หมายถึง  ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
แวคิวโอล    เป็นถุงบรรจุสาร มี 3 ชนิดคือ แซป แวคิวโอล    ฟูด แวคิวโอล และ คอนแทรกไทล์ แวคิวโอล
        แซป แวคิวโอล พบในเซลล์พืช ภายในบรรจุของเหลวซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำ ตอนพืชยังอ่อนอยู่ แซป แวคิวโอลจะมีขนาดเล็ก เมื่อเซลล์แก่ แซป แวคิวโอลจะมีขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์
        ฟูด แวคิวโอล เกิดจากการกินแบบฟาโกไซโตซิส ซึ่งจะพบได้ในพวกอะมีบาและเซลล์เม็ดเลือดขาว
        คอนแทรกไทล์ แวคิวโอล ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสีย พบในโพรโทซัวน้ำจืดพวก อะมีบา พารามีเซียม เป็นต้น
    ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม 3 ออร์แกเนลล์ ได้แก่ ไรโบโซม เซนทริโอล และไซโทสเกเลตอน
    ออร์แกเนลล์ที่มีอยู่หุ้มชั้นเดียว ได้แก่ ER กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม และแวคิวโอล
    ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ได้แก่ ไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์
    เราจะมาดูรายละเอียดของออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มกันก่อนนะครับ
    ไรโบโซม
ไรโบโซมเป็นแหล่งสร้างโปรให้กับเซลล์ โครงสร้างทางเคมีประกอบด้วยโปรกับ RNA สำหรับ RNA ที่เป็นองค์ประกอบของไรโบโซมเป็นประเภท  r RNA หรือที่เรียกว่า ribosomal RNA ในเซลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรจะพบไรโบโซมมาก ส่วนเซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตก็จะมีไรโบโซมมากเช่นเดียวกัน ไรโบโซมจะอยู่เป็นอิสระในไซโทพลาสซึมหรือเกาะอยู่กับ ER ก็ได้ ER ที่มีไรโบโซมเกาะเราจะเรียกว่า RER หรือเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ
  เซนทริโอล
มีส่วนสำคัญทำให้โครมาทิดแยกออกจากกัน โครงสร้างเป็นท่อทรงกระบอก 2 อันตั้งฉากกัน แต่ละท่อประกอบด้วยหลอดไมโครทูบูล 9 กลุ่ม เรียงตัวกันเป็นรูปทรงกระบอก ไมโครทูบูลแต่ละกลุ่มจะมีหลอดไมโครทูบูล 3 หลอด ตรงกลางไม่มีจึงเรียกการเรียงตัวแบบนี้ว่า 9+0 โครงสร้างของซิเลียกับแฟลเจลลานั้นคน้ายกับเซนทริโอลเลย แต่ต่างกันตรงที่ โครงสร้างของซิเลียกับแฟลเจลลาประกอบด้วยหลอดไมโครทูบูล 9 กลุ่มๆละ 2 หลอดเรียงตัวกันเป็นทรงกระบอก ตรงกลางมีอีก 2 หลอดจึงใช้สัญลักษณ์การเรียงตัวแบบนี้ว่า 9+2
ถ้ากลัวจำสับสนว่าอันไหน 9+0 อันไหน 9+2 ก็จำง่ายๆว่า เซนทริโอล ตัวโอลมันก็คล้ายๆคำว่า โอซึ่งเขียนเหมือนเลข 0 เพราะฉะนั้นเซนทริโอลจึงมีโครงสร้างเป็น 9+0 ส่วนซิเลียกับแฟลเจลลาจึงเป็น 9+2
ส่วนเจ้าเบซัลปอดีซึ่งเป็นส่วนฐานของซิเลียและแฟลเจลลาจะมีโครงสร้างเป็น 9+0 เหมือนกับเซนทริโอลครับผม
  ไซโทสเกเลตอน
เป็นโครงสร้างที่ค้ำจุนเซลล์มี 3 ประเภทคือ ไมโครฟิลาเมนท์ ไมโครทิวบูล และอินเทอร์มีเดียทฟิลาเมนท์
ไมโครฟิลาเมนท์  ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเซลล์ โครงสร้างเป็นโปรแอกทิน 2 สายพันบิดเป็นเกลียวคล้ายสร้อยไข่มุก
หน้าที่ของไมโครฟิลาเมนท์คือ  มีฟ้าไร้กาล หมายถึง
มี          คือ ช่วยในการเคลื่อนที่ของอะมีบา
ฟ้า        คือ ช่วยให้เกิดการกินแบคทีเรียแบบฟาโกไซโทซิสของ เม็ดเลือดขาว
ไร้        คือ มาจากคำว่า ไลใน ไมโครวิลไล เพราะไมโครฟิลาเมนท์ทำหน้าที่ค้ำจุนโครงสร้างบางอย่างที่พบในไมโครวิลไล ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่
ในเซลล์บุผิวของลำไส้เล็ก
กาล      คือ ช่วยในกระบวนการแบ่งเซลล์ โดยการช่วยแบ่งไซโทพลาสซึมออกเป็นสองส่วน
ไมโครทูบูล เกิดจากโปรที่ชื่อว่า ทูบูลิน เรียงต่อกันเป็นสายทำให้เกิดลักษณะที่เป็นหลอดกลวงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 นาโนเมตร หน้าที่ของไมโครทูบูลคือ เส้นซิลำเลียง
เส้น    คือ ไมโครทูบูลเป็นโครงสร้างของเส้นใยสปินเดิล
ซิ        คือ เป็นส่วนประกอบของซิเลียและแฟลเจลลา
ลำเลียงคือ ทำหน้าที่ลำเลียงออร์แกเนลล์
อินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนท์ มีหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ไว้  โครงสร้างเป็นเส้นใย 4 สายพันบิดเป็นเกลียว
8.  ออร์แกเนลล์ที่มีอยู่หุ้มชั้นเดียว ได้แก่ ER กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม และแวคิวโอล
ER มี 2 ชนิดคือ เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดขรุขระ หรือ RER กับ เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดเรียบ หรือ SER
RER มีหน้าที่สร้างโปรแล้วส่งไปใช้นอกเซลล์
                    SER มีหน้าที่ดังนี้คือ
เทคนิคช่วยจำ  เซอร์กำกะ ดูดรอยไตร
เซอร์    หมายถึง  เจ้า SER
กำ        หมายถึง  กำจัดสารพิษในเซลล์ตับ
กะ      หมายถึง    กระตุ้นการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อ
ดูด      หมายถึง    เกี่ยวข้องกับการดูดไขมันที่ลำไส้เล็ก
รอย    หมายถึง    สเตียรอยด์ เพราะ SER ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนประเภทสเตียรอยด์
ไตร    หมายถึง    ไตรกลีเซอร์ไรด์  เพราะ SER สร้างไขมันประเภทไตรกลีเซอร์ไรด์
กอลจิคอมเพลกซ์ เป็นแหล่งบรรจุและข่นส่งสาร หน้าที่หลักมีดังนี้คือ
เทคนิคช่วยจำ กอลหุ้มอัด คาเซลล์พิษ
กอล      หมายถึง      กอลจิบอดี
หุ้ม        หมายถึง      สร้างเยื่อหุ้มเม็ดโปรที่ส่งมาจาก RER
อัด        หมายถึง      การดึงน้ำออกจากโปร หรือที่เรียกว่า dehydration เพื่ออัดโปรให้มันแน่นขึ้น
คา        หมายถึง      คาร์โบไฮเดรต เพราะ กอลจิบอดี คอยสร้างคาร์โบไฮเดรต แล้วนำไปรวมกับโปรที่ RER สร้างขึ้น จนกลายเป็น
                              ไกลโคโปร ส่งไปใช้นอกเซลล์
เซลล์  หมายถึง        เซลล์เพลต (cell plate) ในขั้นตอนของการแบ่งเซลล์ของพืช ตอนที่แบ่งไซโตพลาสซึม เจ้ากอลจิบอดีนี่แหละที่คอย
                            สร้างเซลล์เพลตในขั้นตอนดังกล่าว
พิษ      หมายถึง      เข็มพิษนีมาโทซิส  เจ้ากอลจิบอดีช่วยสร้างเข็มพิษนี้ให้แก่ไฮดรา 
ไลโซโซม  หน้าที่คือ ตายแล้วย่อยโรค
ตายแล้ว  หมายถึง  ทำลายเซลล์ที่ตายแล้วหรือเซลล์ที่มีอายุมาก
ย่อย        หมายถึง  ย่อยสลายโมเลกุลของสารอาหารภายในเซลล์
โรค        หมายถึง  ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
แวคิวโอล    เป็นถุงบรรจุสาร มี 3 ชนิดคือ แซป แวคิวโอล    ฟูด แวคิวโอล และ คอนแทรกไทล์ แวคิวโอล
        แซป แวคิวโอล พบในเซลล์พืช ภายในบรรจุของเหลวซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำ ตอนพืชยังอ่อนอยู่ แซป แวคิวโอลจะมีขนาดเล็ก เมื่อเซลล์แก่ แซป แวคิวโอลจะมีขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์
        ฟูด แวคิวโอล เกิดจากการกินแบบฟาโกไซโตซิส ซึ่งจะพบได้ในพวกอะมีบาและเซลล์เม็ดเลือดขาว
        คอนแทรกไทล์ แวคิวโอล ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสีย พบในโพรโทซัวน้ำจืดพวก อะมีบา พารามีเซียม เป็นต้น
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น