ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อาเซียน "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม"

    ลำดับตอนที่ #15 : ประเทศอินโดนีเซีย

    • อัปเดตล่าสุด 10 ส.ค. 56


        + ❥ Free theme mouse.naru The Elders Scroll Skyrim Pointer

    ประเทศอินโดนีเซีย

     

                อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว, ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์

     

     

     

     

    1. ประวัติศาสตร์

      อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

     

    เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

    ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดน

    อิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

    2.การเมืองการปกครอง

    ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ

    3.การแบ่งเขตปกครอง

    ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 31 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ (special regions -daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่

     

     

     

     

     

    เกาะสุมาตรา

    ·       เขตปกครองพิเศษอาเจะห์ -บันดาร์อาเจะห์*

    ·       จังหวัดสุมาตราเหนือ -เมดาน

    ·       จังหวัดสุมาตราใต้ -ปาเลมบัง

    ·       จังหวัดสุมาตราตะวันตก -ปาดัง

    ·       จังหวัดเรียว -เปอกันบารู

    ·       หมู่เกาะเรียว -ตันจุงปีนัง

    ·       จังหวัดจัมบี -จัมบี

    ·       หมู่เกาะบังกาเบลีตุง -ปังกัลปีนัง

    ·       จังหวัดเบงกูลู -เบงกูลู

    ·       จังหวัดลัมปุง -บันดาร์ลัมปุง

    เกาะชวา

    ·       เขตนครหลวงพิเศษจาการ์ตา**

    ·       จังหวัดชวากลาง -เซมารัง

    ·       จังหวัดชวาตะวันออก -สุราบายา

    ·       จังหวัดชวาตะวันตก -บันดุง

    ·       จังหวัดบันเตน -เซรัง

    ·       เขตปกครองพิเศษย็อกยาการ์ตา*

    หมู่เกาะซุนดาน้อย

    ·       จังหวัดบาหลี -เดนปาซาร์

    ·       จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก -คูปัง

    ·       จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันตก -มาตาราม

    เกาะบอร์เนียว

    ·      จังหวัดกาลีมันตันเหนือ -Tanjung Selor

    ·       จังหวัดกาลีมันตันกลาง -ปาลังการายา

    ·       จังหวัดกาลีมันตันใต้ -บันจาร์มาซิน

    ·       จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก -ซามารินดา

    ·       จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก -ปนตีอานัก

    เกาะซูลาเวซี

    ·       จังหวัดโกรอนตาโล -โกรอนตาโล

    ·       จังหวัดซูลาเวซีเหนือ -มานาโด

    ·       จังหวัดซูลาเวซีกลาง -ปาลู

    ·       จังหวัดซูลาเวซีใต้ -มากัสซาร์

    ·       จังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ -เกินดารี

    ·      จังหวัดซูลาเวซีตะวันตก -มามูจู

    หมู่เกาะโมลุกกะ

    ·     จังหวัดมาลูกู -อัมบน

    ·     จังหวัดมาลูกูเหนือ -เตอร์นาตี

    เกาะนิวกินี

    ·     จังหวัดปาปัว -จายาปุระ

    ·     จังหวัดปาปัวตะวันตก -มานกวารี

    4. นโยบายต่างประเทศ

    ความสัมพันธ์กับอาเซียน

    ความสัมพันธ์ของประเทศอินโดนีเซียกับอาเซียนคือการที่ประเทศอินโดนีเซียนั้นได้ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งอาเซียนอีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการทำงานของกลุ่มประเทศสมาชิกของอาเซียนอีกด้วยซึ่งบริษัทที่ทำงานอยู่ที่กรุงจากาตาร์ประเทศอินโดนีเซียและยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการอาเซียนที่ช่วยดูแลการทำงานของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนอีกด้วย

    ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

                ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีต่อกันมาโดยตลอด และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินโดนิเซียเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจากาตาร์

    5. เศรษฐกิจ

    ทรัพยากรสำคัญ

    ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง

    แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับประเทศ

    มากที่สุดอินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก

    เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ

    ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำใหอินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก

    อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น



        
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×