ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อาเซียน "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม"

    ลำดับตอนที่ #14 : ประเทศมาเลเซีย

    • อัปเดตล่าสุด 10 ส.ค. 56


    + ❥ Free theme mouse.naru The Elders Scroll Skyrim Pointer
     

    ประเทศมาเลเซีย
     

    มาเลเซีย เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออกอยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันตก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน

    1. ภูมิประเทศ

    ลักษณะภูมิประเทศ

    1.มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก

    2.มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล

    ลักษณะภูมิอากาศ

    ·  ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม

    2. ชื่อ

     

    คำว่ามาเลเซียเคยถูกใช้เรียกหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน

    ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา สิงค์โปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมายก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย

     3.ประวัติศาสตร์

    ปรากฏความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างหลายชนเผ่าพันธุ์และหลายวัฒนธรรมของประเทศ นอกจากชาวมาเลย์และกลุ่มชนพื้นเมืองแล้ว ยังมีผู้อพยพมาจากจีน อินเดีย อินโดนีเซียและส่วนอื่นของโลก ซึ่งรวมเข้าเป็นพลเมืองของมาเลเซีย มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจ อาจเนื่องมาจากการติดต่อสัมพันธ์นานปี กับภายนอกและการปกครองโดย ชาวโปรตุเกส ดัตช์ และ อังกฤษ ผลที่เกิดตามมาคือการวิวัฒน์ของประเทศจนเปลี่ยนรูปของวัฒนธรรมดังจะได้เห็น การผสมผสานได้อย่างวิเศษของ ศาสนา กิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งกาย ภาษาและอาหาร ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1957 เป็นสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาเมื่อรวมรัฐซาบาห์ และ รัฐซาราวัดเข้าด้วยแล้ว ประเทศมาเลเซียจึงได้ถือกำเนิดขึ้น

    4. การเมือง

    ในปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ ประกอบไปด้วย เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีการปกครองในรูปแบบคล้ายอังกฤษกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี

     

     

    5. การแบ่งเขตการปกครอง

    มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง ได้แก่

    รัฐ

    มาเลเซียตะวันตก (คาบสมุทรมลายู)

    ·  กลันตัน (โกตาบารู)

    ·  เกดะห์ (ไทรบุรี) (อลอร์สตาร์)

    ·  ตรังกานู (กัวลาตรังกานู)

    ·  เนกรีเซมบีลัน (สเรมบัน)

    ·  ปะหัง (กวนตัน)

    ·  ปะลิส (กางาร์)

    · ปีนัง (จอร์จทาวน์)

    · เประ (อีโปห์)

    · มะละกา (มะละกา)

    · ยะโฮร์ (ยะโฮร์บาห์รู)

    · สลังงอร์ (ชาห์อาลัม)

    มาเลเซียตะวันออก (เกาะบอร์เนียวตอนเหนือ)

    ·  ซาบาห์ (โกตากินะบะลู)

    ·  ซาราวัก (กูจิง)

    ดินแดนสหพันธ์

    มาเลเซียตะวันตก

    ·    กัวลาลัมเปอร์ (กัวลาลัมเปอร์)

    ·    ปุตราจายา (ปุตราจายา)

    มาเลเซียตะวันออก

    ·  ลาบวน (วิกตอเรีย)

    ·  กรุงกัวลาลัมเปอร์


    เมืองใหญ่ที่สุดใน มาเลเซีย
    จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรในปี พ.ศ. 2553

     

    ที่

    เมือง

    รัฐ

    ประชากร

    ที่

    เมือง

    รัฐ

    ประชากร

     


    กัวลาลัมเปอร์


    ยะโฮร์บาห์รู

    1

    กัวลาลัมเปอร์

    กัวลาลัมเปอร์

    1,674,621

    11

    มะละกา

    รัฐมะละกา

    503,127


    กาจัง


    อีโปห์

    2

    ยะโฮร์บาห์รู

    รัฐยะโฮร์

    1,386,569

    12

    โกตาบารู

    รัฐกลันตัน

    491,237

    3

    กาจัง

    รัฐสลังงอร์

    795,522

    13

    โกตากินะบะลู

    รัฐซาบาห์

    462,963

    4

    อีโปห์

    รัฐเประ

    767,794

    14

    กวนตัน

    รัฐปะหัง

    461,906

    5

    กลัง

    รัฐสลังงอร์

    744,062

    15

    ซูไงปตานี

    รัฐเกดะห์

    456,605

    6

    ซูบังจายา

    รัฐสลังงอร์

    708,296

    16

    บาตูปาฮัต

    รัฐยะโฮร์

    417,458

    7

    กูชิง

    รัฐซาราวัก

    617,887

    17

    ตาเวา

    รัฐซาบาห์

    412,375

    8

    ปตาลิงจายา

    รัฐสลังงอร์

    613,977

    18

    ซันดากัน

    รัฐซาบาห์

    409,056

    9

    สเรมบัน

    รัฐเนกรีเซมบีลัน

    555,935

    19

    อลอร์สตาร์

    รัฐเกดะห์

    366,787

    10

    จอร์จทาวน์

    รัฐปีนัง

    520,202

    20

    กัวลาตรังกานู

    รัฐตรังกานู

    343,284



    6. เศรษฐกิจ

    1.เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน

    2.การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ

    3.การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย

    4. อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)

    7.ประชากร

    ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17)  นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี

    ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชรัต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์

    ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่นๆอย่าง ฮอลันดา และอังกฤษส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง

    8. วัฒนธรรม

    มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมะละกา ประชากรนับถืออิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือคริสเตียน 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมืองแห่งกรมตำรวจภูธรมาเลเซีย 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนเรื่องค่าครองชีพตามนโยบายของรัฐบาล “ภูมิบุตร

     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×