ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อาเซียน "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม"

    ลำดับตอนที่ #9 : ประเทศไทย

    • อัปเดตล่าสุด 4 ส.ค. 56


    + ❥ Free theme mouse.naru The Elders Scroll Skyrim Pointer

    ประเทศไทย

     

     

    คำอธิบาย: หน้านี้ถูกกึ่งล็อก

    ราชอาณาจักรไทย

    ธงชาติ

    ตราแผ่นดิน

    เพลงชาติเพลงชาติไทย
    เพลงสรรเสริญพระบารมีสรรเสริญพระบารมี

    เมืองหลวง
    (และเมืองใหญ่สุด)

    กรุงเทพมหานคร
    13°44′N 100°30′E

    ภาษาทางการ

    ภาษาไทย

    การปกครอง

    ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และ

    ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา

     - 

    พระมหากษัตริย์

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

     - 

    นายกรัฐมนตรี

    ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

    นิติบัญญัติ

    รัฐสภา

     - 

    สภาสูง

    วุฒิสภา

     - 

    สภาล่าง

    สภาผู้แทนราษฎร

    สถาปนาเป็น

     - 

    กรุงสุโขทัย

    พ.ศ. 1792–1981 

     - 

    กรุงศรีอยุธยา

    3 เมษายน พ.ศ. 1893 – 7 เมษายน พ.ศ. 2310 

     - 

    กรุงธนบุรี

    28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325 

     - 

    กรุงรัตนโกสินทร์

    6 เมษายน พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน 

    พื้นที่

     - 

    รวม

    513,115 ตร.กม. (51)
    198,115 
    ตร.ไมล์ 

     - 

    แหล่งน้ำ (%)

    0.4 (2,230 km2)

    ประชากร

     - 

    2556 (ประเมิน)

    64,456,6952 (20)

     - 

    2553 (สำมะโน)

    65,479,453

     - 

    ความหนาแน่น

    132.1 คน/ตร.กม. (88)
    342 คน/ตร.ไมล์

    จีดีพี (อำนาจซื้อ)

    2555 (ประมาณ)

     - 

    รวม

    643,266 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (24)

     - 

    ต่อหัว

    10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (84)

    จีดีพี (ราคาตลาด)

    2555 (ประมาณ)

     - 

    รวม

    377,158 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30)

     - 

    ต่อหัว

    5,850 ดอลลาร์สหรัฐ (89)

    จีนี (2552)

    42.5 

    HDI (2554)

    0.682 (ปานกลาง) (103)

    สกุลเงิน

    บาท (฿) (THB)

    เขตเวลา

    (UTC+7)

    ระบบจราจร

    ซ้ายมือ

    โดเมนบนสุด

    .th

    รหัสโทรศัพท์

    66

     รูปแบบรัฐ

     รูปแบบการปกครอง

    ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด

    ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก

    ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

    ชื่อเรียก

    คำว่า "สยาม" เป็นคำที่ชาวต่างประเทศใช้เรียกอาณาจักรอยุธยา เมื่อราว พ.ศ. 2000 เดิมทีประเทศไทยเองก็เคยใช้ชื่อว่า สยาม มานับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา โดยปรากฏใช้เป็นชื่อประเทศชัดเจนใน พ.ศ. 2399 แต่ทว่าคนไทยไม่เคยเรียกตนเองว่า "สยาม" หรือ "ชาวสยาม" อย่างชาวต่างชาติหรือตามชื่อประเทศอย่างเป็นทางการในสมัยนั้นเลย ส่วนคำว่า "คนไทย" นั้น จดหมายเหตุลาลูแบร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า ชาวอยุธยาได้เรียกตนเองเช่นนั้นมานานแล้ว

    ต่อมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ตามประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ซึ่งประกาศใช้เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482) ได้เปลี่ยนชื่อประเทศ พร้อมกับเรียกประชาชน และสัญชาติจาก "สยาม" มาเป็น "ไทย" ซึ่งจอมพล ป. มีเจตนาต้องการบ่งบอกว่าดินแดนนี้เป็นของชาวไทย มิใช่ของเชื้อชาติอื่น ตามลัทธิชาตินิยมในเวลานั้น โดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488 แต่ก็ได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี การเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ยังเปลี่ยนจาก "Siam" ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็น "Thaïlande" ในภาษาฝรั่งเศส และ "Thailand" ในภาษาอังกฤษอย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษมักถูกจำสับสนกับไต้หวันอยู่บ่อย ๆ

    ภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

     

    ภาพถ่ายประเทศไทยจากดาวเทียม

    ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลกและเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย (1,910,931 กม.2) และประเทศพม่า (676,578 กม.2) และมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศสเปน (505,370 กม.2) มากที่สุด

    ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ภาคเหนือเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน จุดที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท์ ณ 2,565 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รวมทั้งยังปกคลุมด้วยป่าไม้อันเป็นต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของที่ราบสูงโคราช สภาพของดินค่อนข้างแห้งแล้งและไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลูก แม่น้ำเจ้าพระยาเกิดจากแม่น้ำปิงและยมที่ไหลมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ภาคกลางกลายเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศ และถือได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไทย-มาเลย์ ขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน มีจุดที่แคบลง ณ คอคอดกระ แล้วขยายใหญ่เป็นคาบสมุทรมลายู ส่วนภาคตะวันตกเป็นหุบเขาและแนวเทือกเขาซึ่งพาดตัวมาจากทางตะวันตกของภาคเหนือ

    แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทย การผลิตของภาคอุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องอาศัยผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จากแม่ น้ำทั้งสองและสาขาทั้งหลาย อ่าวไทยมีพื้นที่ประมาณ 320,000 ตารางกิโลเมตร รองรับน้ำซึ่งไหลมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตาปี ถือเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว เนื่องจากน้ำตื้นใสตามแนวชายฝั่งของภาคใต้และคอคอดกระ นอกจากนี้ อ่าวไทยยังเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของประเทศ เพราะมีท่าเรือหลักที่สัตหีบ ถือได้ว่าเป็นประตูที่จะนำไปสู่ท่าเรืออื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร ภาคใต้มีสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวมาก นักท่องเที่ยวมักเดินทางมาเยือนเสมอ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดตรัง และหมู่เกาะตามแนวชายฝั่งของทะเลอันดามัน

    ช้างเอเชีย (Elephas maximus) สัตว์ประจำชาติไทย

    ภูมิอากาศของไทยเป็นแบบเขตร้อน หรือแบบสะวันนา มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-34 °C และมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปีกว่า 1,500 มิลลิเมตร สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฤดูกาล: ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนเป็นฤดูร้อน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้และพายุหมุนเขตร้อน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคมเป็นฤดูหนาว ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีน ส่วนภาคใต้มี สภาพอากาศแบบป่าดงดิบ ซึ่งมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและร้อน โดยฝั่งทะเลตะวันออก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และฝั่งทะเลตะวันตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน

    ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของทั้งพืชและสัตว์อยู่มาก อันเป็นรากฐานอันมั่นคงของการผลิตในภาคการเกษตร และประเทศไทยมีผลไม้เมืองร้อนหลากชนิด พื้นที่ราว 29% ของประเทศไทยเป็นป่าไม้ รวมไปถึงพื้นที่ปลูกยางพาราและกิจกรรมปลูกป่าบางแห่ง ประเทศไทยมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากว่า 50 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอีก 56 แห่ง โดยพื้นที่ 12% ของประเทศเป็นอุทยานแห่งชาติ (ปัจจุบันมี 110 แห่ง) และอีกเกือบ 20% เป็นเขตป่าสงวน ประเทศไทยมีพืช 15,000 สปีชีส์ คิดเป็น 8% ของสปีชีส์พืชทั้งหมดบนโลก ในประเทศไทย พบนก 982 ชนิด นอกจากนี้ ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และสัตว์เลื้อยคลานกว่า 1,715 สปีชีส์ซึ่งมีการบันทึก

    ประวัติศาสตร์

    ยุคก่อนประวัติศาสตร์

     

    เครื่องปั้นดินเผาซึ่งถูกพบใกล้กับบ้านเชียง สันนิษฐานว่ามีอายุกว่า 2,000 ปี

    ในอดีต พื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศไทยนั้นมีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า คือ ราว 20,000 ปีที่แล้ว ภูมิภาคดังกล่าวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและทางศาสนาจากอินเดีย นับตั้งแต่อาณาจักรฟูนัน เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 แต่สำหรับรัฐของคนไทยแล้ว ตามตำนานโยนกได้บันทึกว่า การก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1400

    อาณาจักรสุโขทัย


     

    ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไล่เลี่ยกัน อาทิ ชาวไท มอญ เขมรและมาเลย์ นักประวัติศาสตร์ไทยเริ่มถือเอาสมัยอาณาจักรสุโขทัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 1781 เป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งตรงกับสมัยรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรสุโขทัยมีการปกครองแบบ ปิตุราชา หรือ พ่อปกครองลูก ที่ผู้ปกครองใกล้ชิดกับผู้ใต้ปกครอง อาณาจักรสุโขทัยแผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ รัชสมัยพญาลิไทมี การเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท แบบลังกาวงศ์ อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา

    อาณาจักรอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 มีการปกครองแบบเทวราชา ซึ่งยึดตามหลักของศาสนาพราหมณ์ การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรง ปฏิรูปการปกครองใหม่ ซึ่งบางส่วนได้ใช้มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อาณาจักรอยุธยากลายเป็นสังคมศักดินา

    การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทำให้อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตก ขณะเดียวกัน ราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น กระทั่งขยายดินแดนมายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระเจ้าบุเรงนอง การสงครามยืดเยื้อนับสิบปีส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้เวลา 15 ปีสร้างภาวะครอบงำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งหนึ่ง

     

    โกษาปานนำพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์ถวายแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14

    จากนั้น กรุงศรีอยุธยาได้รุ่งเรืองถึงขีดสุด ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับฝรั่งเศส ฮอลันดา และอังกฤษ อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของชาวต่างชาติในกรุงศรีอยุธยาที่เพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้พระเพทราชาประหารชีวิตคอนสแตนติน ฟอลคอน[39] ความขัดแย้งภายในทำให้การติดต่อกับชาติตะวันตกซบเซาลง

    อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การสงครามกับราชวงศ์คองบอง (อลองพญา) จนส่งผลให้เสียกรุงครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2310 ในที่สุด ทว่า ในปีเดียวกัน พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของคนไทยอยู่ 15 ปี ถือเป็นช่วงเวลาของการทำสงครามและการฟื้นฟูความเจริญของชาติ จากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

    ช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยเผชิญกับการรุกรานจากชาติเพื่อนบ้านหลายครั้งจนถึงรัชกาลที่ 4 พระราชนโยบายของพระมหากษัตริย์ในช่วงนี้ คือ การป้องกันตนเองจากมหาอำนาจอาณานิคม แต่ก็ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ เทคโนโลยีตะวันตก และการศึกษาอันทันสมัย

    การเผชิญหน้ากับชาติตะวันตก

     

    การยกดินแดนให้ฝรั่งเศสและอังกฤษ ระหว่าง พ.ศ. 2393-2451

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เซอร์จอห์น เบาริ่ง ราชทูตอังกฤษ ได้เข้ามาทำสนธิสัญญาเบาว์ริง อันนำมาสู่การทำสนธิสัญญากับชาติอื่น ๆ ด้วยเงื่อนไขที่คล้ายกัน หากก็นำมาซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจในกรุงเทพมหานครและการค้าระหว่างประเทศ ต่อมา การคุกคามของจักรวรรดินิยมทำให้สยามยอมยกดินแดนให้ฝรั่งเศสและอังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และดำรงบทบาทของตนเป็นรัฐกันชนระหว่างเจ้าอาณานิคมทั้งสอง หากแม้จะถูกกดดันอย่างหนักจากชาติมหาอำนาจ สยามก็ยังสามารถธำรงตนเป็นรัฐเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่ตกเป็น อาณานิคมของชาติตะวันตก แต่ก็ต้องรับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกเข้ามาอย่างมาก จนนำไปสู่การปฏิรูปทางสังคมและวัฒนธรรมในเวลาต่อมา

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ประเทศได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ นำไปสู่การแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลายเพื่อให้ชาติมีอธิปไตยอย่างแท้จริง แต่กว่าจะเสร็จก็ล่วงถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

     

     

     

    ปฏิวัติ สงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเย็น

     

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของไทย

    วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร แต่เนื่องจากประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรให้การยอมรับขบวนการเสรีไทย ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม

    ช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค และส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ต่อมา ประเทศไทยประสบกับปัญหาการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในประเทศ การสู้รบกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ยุติลงอย่างสิ้นเชิงเมื่อปี พ.ศ. 2523

    ร่วมสมัย

     

     


    ผู้ร่วมชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา

    หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการทหารในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2516 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ยังให้มีนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรกในช่วงเวลานั้น ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านรัฐประหารกว่าสิบครั้ง อย่างไรก็ดี มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญถึงสองครั้งในเหตุการณ์ 6 ตุลา และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศไทยจึงมั่นคงยิ่งขึ้น

    ช่วงพุทธทศวรรรษ 2540 เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ไทยต้องกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ต่อมา ทักษิณ ชินวัตรได้ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัยติดต่อกัน เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่เป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุด ได้ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจนประสบผลหลายอย่าง แต่ก็ตกเป็นที่กล่าวหาอย่างกว้างขวางเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2547 เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มภาคใต้และเริ่มต้นความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ ขณะทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สอง วิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น ใน พ.ศ. 2549 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปใน พ.ศ. 2550 ทำให้ประเทศกลับเข้าสู่บรรยากาศประชาธิปไตยอีกครั้ง

    วิกฤตการณ์การเมืองนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มมวลชนสองกลุ่ม คือ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ กลุ่มแรกชุมนุมประท้วงรัฐบาลทักษิณ เรื่อยมาถึงรัฐบาลสมัครและสมชาย โดยมีการชุมนุมใหญ่ในห้วง พ.ศ. 2551 ส่วนกลุ่มหลังชุมนุมประท้วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ใน พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 ล่าสุด การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปใน พ.ศ. 2554 ผลปรากฏว่าพรรคเพื่อไทย นำโดยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้ง และเป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาล ในปีเดียวกัน เกิดมหาอุทกภัย มีพื้นที่ประสบภัย 65 จังหวัด

    การเมืองการปกครอง

     

    ห้องประชุมรัฐสภาไทย

     

    ที่ทำการศาลฎีกา

    เดิมประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา จนกระทั่งมีการปกครองในลักษณะรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางแบบเด็ดขาดตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ปฏิวัติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน

    ปัจจุบัน ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเรียกรวมกันว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นฉบับที่ 18 อันกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้

    • อำนาจนิติบัญญัติ มีรัฐสภาในระบบสองสภา อันประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีสมาชิกรวมกันทั้งสิ้น 630 คน เป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีประธานรัฐสภาเป็นประมุขแห่งอำนาจ
      • สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน 125 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
      • วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน (รวมกรุงเทพมหานคร) และมาจากการสรรหา 73 คน โดยมีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา 7 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี และไม่สามารถเป็นสมาชิกวุฒิสภาติดต่อกันเกิน 1 วาระ
    • อำนาจบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี เป็นองค์กรบริหารอำนาจ นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ
      • นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ตามสภาผู้แทนราษฎร และไม่สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้เกิน 8 ปี นายกรัฐมนตรีมิได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่ได้รับการลงมติเห็นชอบโดยสภาผู้แทนราษฎร
      • คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
    • อำนาจตุลาการ มีระบบศาล ซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง เป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประมุขในส่วนของตน

    การแบ่งเขตการปกครอง

     

    การแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยโดยใช้เกณฑ์อย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสถาน


      ภาคเหนือ

      ภาคอีสาน

      ภาคกลาง

      ภาคตะวันออก

      ภาคตะวันตก

      ภาคใต้

    ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น (1) ราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง, ทบวง และกรม (2) ราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 76 จังหวัด 878 อำเภอ 7,255 ตำบล และ (3) ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา สำหรับสุขาภิบาลนั้นถูกยกฐานะไปเป็นเทศบาลทั้งหมดใน พ.ศ. 2542

    เมืองใหญ่และจังหวัดใหญ่

    รายชื่อจังหวัดซึ่งมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย (31 ธันวาคม พ.ศ. 2553)

    อันดับ

    เขตการปกครอง / จังหวัด

    จำนวนประชากร

    กรุงเทพมหานคร

    5,701,394

    1

    นครราชสีมา

    2,582,089

    2

    อุบลราชธานี

    1,813,088

    3

    ขอนแก่น

    1,767,601

    4

    เชียงใหม่

    1,640,479

    5

    บุรีรัมย์

    1,553,765

    6

    อุดรธานี

    1,544,786

    7

    นครศรีธรรมราช

    1,522,561

    รายชื่อเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 20 อันดับแรก

    เมืองใหญ่ที่สุดใน ไทย
    30 ธันวาคม 2554 (อ้างอิงล่าสุด)

     

    ที่

    เมือง

    จังหวัด

    ประชากร

    ที่

    เมือง

    จังหวัด

    ประชากร

     


    กรุงเทพมหานคร


    นนทบุรี

    1

    กรุงเทพมหานคร

    -

    5,782,196

    11

    ขอนแก่น

    ขอนแก่น

    110,114


    ปากเกร็ด


    หาดใหญ่

    2

    นนทบุรี

    นนทบุรี

    258,208

    12

    เจ้าพระยาสุรศักดิ์

    ชลบุรี

    109,902

    3

    ปากเกร็ด

    นนทบุรี

    180,037

    13

    นครศรีธรรมราช

    นครศรีธรรมราช

    109,353

    4

    หาดใหญ่

    สงขลา

    157,521

    14

    บางเมือง

    สมุทรปราการ

    101,373

    5

    นครราชสีมา

    นครราชสีมา

    138,378

    15

    นครสวรรค์

    นครสวรรค์

    87,626

    6

    เชียงใหม่

    เชียงใหม่

    137,966

    16

    อุบลราชธานี

    อุบลราชธานี

    81,094

    7

    อุดรธานี

    อุดรธานี

    135,951

    17

    นครปฐม

    นครปฐม

    79,498

    8

    สุราษฎร์ธานี

    สุราษฎร์ธานี

    125,088

    18

    รังสิต

    ปทุมธานี

    78,681

    9

    บางปู

    สมุทรปราการ

    118,870

    19

    ภูเก็ต

    ภูเก็ต

    75,506

    10

    พัทยา

    ชลบุรี

    110,258

    20

    พิษณุโลก

    พิษณุโลก

    73,063

     

    เศรษฐกิจ

    ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

    อัตราการว่างงาน

    0.6% (2555 ประมาณ)

     

    การเติบโตของจีดีพี

    5.5% (2555 ประมาณ)

     

    ภาวะเงินเฟ้อ CPI

    -0.9% (2553)

     

    หนี้สาธารณะ

    4.27 ล้านล้านบาท (พ.ค. 2554)

     

    ความยากจน

    7.75% (2553 ประมาณ)

     

     

     

    กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงและศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ

     

     

    ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก

    ประเทศไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม มีรายได้หลักจากอุตสาหกรรม การส่งออกสินค้าและบริการ การท่องเที่ยว การบริการ เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 24 ของโลก และมีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ตลาดนำเข้าสินค้าไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย[ ข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ประเทศไทยส่งออกสินค้ากว่า 406,990 ล้านบาท โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร 141,401 ล้านบาท อาหาร 52,332 ล้านบาท สินค้าอุคสาหกรรม 45,959 ล้านบาท และมีมูลค่าการนำเข้าราว 285,965 ล้านบาท โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร 113,421 ล้านบาท น้ำมันและเชื้อเพลิง 50,824 ล้านบาท และเคมีภัณฑ์ 46,376 ล้านบาท มีมูลค่าการค้าสุทธิ 121,025 ล้านบาท

     

    อย่างไรก็ตาม แรงงานส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในภาคเกษตรกรรม โดยมีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญที่สุดของประเทศ และถือได้ว่าเป็นประเทศซึ่งส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 36 ของโลกประเทศไทยมีพื้นที่ซึ่งเหมาะต่อการเพาะปลูกกว่า 27.25% ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 55% ใช้สำหรับการปลูกข้าว ส่วนพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ ยางพารา ผักและผลไม้ต่าง ๆ รวมไปถึงมีการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น วัว สุกร เป็ด ไก่ สัตว์น้ำทั้งปลาน้ำจืด ปลาน้ำเค็มในกระชัง การทำนากุ้ง การเลี้ยงหอย รวมไปถึงการประมงทางทะเล เนื่องจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพรรณธัญญาหารตลอดปี จึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกเป็นอันดับที่ 5

    วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     

     

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพแขกต่างประเทศ ณ ค่ายหลวงหว้ากอ

    ได้มีการบรรจุแผนการใช้และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนับตั้งแต่แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) เป็นต้นมา แต่ในขณะนั้นยังพบว่ามีอุปสรรคด้านสมรรถภาพของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของประเทศยังไม่เข้มแข็ง จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) จึงได้จัดแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็น 1 ใน 10 ของแผน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการผลิตและการแปรรูปสินค้า[67]

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" จากการที่ได้ทรงคำนวณสุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 อย่างแม่นยำ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 โดยรัฐบาลกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ[68]

    ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในประเทศไทยมากขึ้นในเรื่องการแพทย์ การคมนาคม การศึกษา การสื่อสารทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว[69]

    การคมนาคม

    รถสามล้อหรือรถตุ๊กตุ๊ก รูปแบบการคมนาคมที่พบเห็นได้ทั่วไป

    การคมนาคมส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะใช้การขนส่งทางบกเป็นหลัก คือ อาศัยรถยนต์และจักรยานยนต์ ทางหลวงสายหลักในประเทศไทย ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม นอกจากนี้ระบบขนส่งมวลชนจะมีการบริการตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ ได้แก่ระบบรถเมล์ และรถไฟ รวมถึงระบบที่เริ่มมีการใช้งานรถไฟลอยฟ้า และรถไฟใต้ดิน และในหลายพื้นที่จะมีการบริการรถสองแถว รวมถึงรถรับจ้างต่าง ๆ ได้แก่ แท็กซี่ เมลเครื่อง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และรถตุ๊กตุ๊ก ในอดีตประเทศไทยเคยมีการคมนาคมโดยใช้รถรางที่มีลักษณะคล้ายรถไฟ

    สำหรับการคมนาคมทางอากาศนั้น ปัจจุบันประเทศไทยได้เปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นท่าอากาศยานขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยเปิดอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549[70] เพื่อใช้แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ส่วนการคมนาคมทางน้ำ โดยอาศัยเรือเป็นหลัก ประเทศไทยมีท่าเรือหลัก ๆ คือ ท่าเรือกรุงเทพ คลองเตย และท่าเรือแหลมฉบัง

    การสื่อสาร

    ภาพการส่งจดหมายโดยบุรุษไปรษณีย์ในสมัยรัชกาลที่ 5

     

    การสื่อสารในประเทศไทยเดิมใช้จดหมาย โดยไปรษณีย์ไทยเป็นผู้รับส่งจดหมาย แต่การเขียนจดหมายที่ล่าช้าจึงได้มีการนำโทรเลขมาใช้ในประเทศไทย โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขและเลิกใช้ไปแล้วในปัจจุบัน โดยมีโทรศัพท์และโทรสารเป็นเครื่องสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วที่สุดและราคาประหยัด อย่างไรก็ตามยังมีอินเทอร์เน็ตใช้เป็นเครื่องสื่อสารอยู่กันไม่น้อย

    การท่องเที่ยว


    การท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศเป็นสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับสัดส่วน ของหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย (ราว 6% ของจีดีพี) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังประเทศไทยด้วยเหตุผลหลายประการ ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวตามชายหาดและพักผ่อน ถึงแม้ว่าจะมีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม  โดยแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่

    ในปี พ.ศ. 2553 มีนักท่องเที่ยวรวม 15.94 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 12.63 โดยมากกว่า 1 ใน 4 เป็นนักท่องเที่ยวจากอาเซียน

    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทหาร

    ดูบทความหลักที่ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย และ กองทัพไทย

     

    นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลาม

    ปัจจุบัน ประเทศไทยได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศและองค์การท้องถิ่น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา และยังได้กระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การธนาคาร การเมือง และด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้ให้ความร่วมมือกับองค์การท้องถิ่น อาทิ องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเคยส่งทหารเข้าร่วมในกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก, อัฟกานิสถาน, อิรัก, บุรุนดี และปัจจุบัน ในดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างตกต่ำ

     

    เรือหลวงจักรีนฤเบศร

    กองทัพไทยแบ่งออกเป็น 3 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ทุกวันนี้กองทัพไทยมีกำลังทหารทั้งสิ้นราว 1,025,640 นาย และมีกำลังหนุนกว่า 200,000 นาย และมีกำลังกึ่งทหารประจำการกว่า 113,700 นาย พระมหากษัตริย์ไทยดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยโดยนิตินัย ซึ่งปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่ในทางปฏิบัติ กองทัพอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกระทรวงกลาโหม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้สั่งการ และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองบัญชาการกองทัพไทย โดยมีผู้บัญชาการกองทัพไทยเป็นผู้บัญชาการ เมื่อปี พ.ศ. 2553 กระทรวงกลาโหมได้รับจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น 154,032,478,600 บาท

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติไว้ว่าการป้องกันประเทศเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยทุกคน ชายไทยทุกคนมีหน้าที่รับราชการทหาร โดยชายสัญชาติไทยต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในปีที่อายุย่างเข้า สิบแปดปี และจักมีสภาพเป็นทหารกองเกิน กองทัพจะเรียกเกณฑ์ทหารกองเกินชายซึ่งมีอายุย่างเข้า 21 ปี โดยจะถูกเรียกมาตรวจเลือกหรือรับเข้ากองประจำการ (ส่วนทหารกองเกินที่เป็นนักศึกษาวิชาทหารจะได้รับการยกเว้นการเรียกเข้ามาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปกติ)

    โดยระยะเวลาทำการฝึกอยู่ระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับระดับคุณวุฒิการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองคุณวุฒิ) การศึกษาวิชาทหาร และการสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ หากผู้รับการตรวจเลือกสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี จับได้สลากแดง (ใบแดง) ต้องรับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี หรือหากร้องขอสมัครใจโดยไม่จับสลากจะรับราชการทหารกองประจำการ 6 เดือน เป็นต้น ส่วนผู้ที่จับได้สลากดำ (ใบดำ) จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ หรือถ้าทหารกองเกินสมัครเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหารและ สำเร็จการศึกษาวิชาทหารในชั้นปีที่ 1 มีสิทธิเข้ารับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี 6 เดือน แต่ถ้าเป็นผู้ร้องขอเข้ารับราชในกองประจำการ ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง 1 ปี ถ้าสำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 2 มีสิทธิเข้ารับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี แต่ถ้าเป็นผู้ร้องขอเข้ารับราชในกองประจำการ ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง 6 เดือน และถ้าสำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3 ขึ้นไปให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน โดยมิต้องเข้ารับราชการในกองประจำการ และมีหน้าที่ถูกเรียกระดมพลเข้าฝึกวิชาทหารหรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ในฐานะทหารกองหนุน

    ใน พ.ศ. 2554 เว็บไซต์ GlobalFirepower ได้จัดอันดับความแข็งแกร่งของกองทัพไทยอยู่อันดับที่ 19 ของโลก

    ประชากร

     

    สถิติจำนวนประชากรไทย ตามสำมะโนประชากร พ.ศ. 2453 2553 ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ [88] [89]

    ครั้ง

    ปีที่สำรวจ
    (พ.ศ./ค.ศ.)

    จำนวน (คน)

    อัตราเพิ่ม

    1

    2453 (1910)

    8,131,247

    -

    2

    2462 (1919)

    9,207,355

    + 13.2

    3

    2472 (1929)

    11,506,207

    + 25.0

    4

    2480 (1937)

    14,464,105

    + 25.7

    5

    2490 (1947)

    17,442,689

    + 20.6

    6

    2503 (1960)

    26,257,916

    + 50.5

    7

    2513 (1970)

    34,397,371

    + 31.0

    8

    2523 (1980)

    44,824,540

    + 30.3

    9

    2533 (1990)

    54,548,530

    + 21.7

    10

    2543 (2000)

    60,916,441

    + 11.7

    11

    2553 (2010)

    65,926,261

    + 8.2

    ชนชาติ

     

    แผนที่ชาติพันธุ์ในไทย

    สถิติจำนวนประชากรไทยนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา ทั้งนี้ตามการประมาณของ CIA The World Factbook เมื่อปี พ.ศ. 2553 ประชากรทั้งหมดของประเทศไทยมีประมาณ 66,404,688 คน ประกอบด้วยไทยสยามประมาณร้อยละ 75 ไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 ไทยเชื้อสายมลายูร้อยละ 3 ประเทศไทยประสบปัญหาอัตราการเกิดต่ำกว่ามาตรฐาน โดยที่ในปี พ.ศ. 2551 อัตราการเกิดของประชากรอยู่ที่ 1.5% และมีแนวโน้มที่จะลดลงเหลือเพียง 1.45% ในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งมีสาเหตุมาจากอัตราการคุมกำเนิดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยคิดเป็น 81% ในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งเมื่อประกอบกับอัตราการตายที่ลดลงในศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัยมากขึ้นในอนาคต

    ในประเทศไทยถือได้ว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยมีทั้ง ชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายมอญ ชาวไทยเชื้อสายเขมร รวมไปถึงกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมลายู ชาวชวา (แขกแพ) ชาวจาม (แขกจาม) ชาวเวียด ชาวพม่า และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวกะเหรี่ยง ลีซอ ชาวม้ง ส่วย เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2553 ตามข้อมูลของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายอยู่ 1.4 ล้านคน โดยมีอีกเท่าตัวที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตามข้อมูลการอพยพระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมีผู้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่จำนวน 1.05 ล้านคน คิดเป็น 1.6% ของจำนวนประชากร

    ประเทศไทยมีการแบ่งแยกเชื้อชาติและชาติพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ ประเทศเพื่อนบ้านมาก โดยสนับสนุนความเป็นอิสระในแต่ละเชื้อชาติ ได้มีนักวิชาการตะวันตกเขียนเอาไว้ว่า ประเทศไทยเป็น "สังคมที่มีโครงสร้างอย่างหลวม ๆ"

    ศาสนา

    จำนวนผู้นับถือศาสนาในประเทศไทย

    ศาสนา

       

    %

     

    พุทธ

     

    93.4%

    อิสลาม

     

    5.2%

    อื่น ๆ

     

    1.4%

    ตามสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 ประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 93.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยโดยพฤตินัย แม้ว่าจะยังไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใดเลยก็ตาม ทั้งนี้ ประเทศไทยถือได้ว่ามีผู้นับถือศาสนาพุทธมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

    รองลงมา ได้แก่ ศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 5.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ตอนล่าง ประชาชนในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส บางพื้นที่ของสงขลาและชุมพรนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีผู้นับถือศาสนาอื่นอีก เช่น คริสต์ ซิกข์และฮินดู รวมประมาณร้อยละ 1.4 สำหรับประชาคมชาวยิวนั้น มีประวัติยาวนานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17

    ภาษา

    ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาทางการ และเป็นภาษาหลักที่ใช้ติดต่อสื่อสาร การศึกษาและเป็นภาษาพูดที่ใช้กันทั่วประเทศ โดยใช้อักษรไทยเป็น รูปแบบมาตรฐานในการเขียน ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยสุโขทัย นอกเหนือจากภาษาไทยกลางแล้ว ภาษาไทยสำเนียงอื่นยังมีการใช้งานในแต่ละภูมิภาคเช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือ ถิ่นใต้ และถิ่นอีสาน

    นอกเหนือจากภาษาไทยแล้ว ในประเทศไทยยังมีการใช้ภาษาของชนกลุ่มน้อยเช่น ภาษาจีนโดยเฉพาะสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งบางครั้งนิยามว่าภาษาลาวสำเนียงไทย ภาษามลายูปัตตานีทางภาคใต้ นอกจากนี้ก็มีภาษาอื่นเช่น ภาษากวย ภาษากะยาตะวันออก ภาษาพวน ภาษาไทลื้อ ภาษาไทใหญ่ รวมไปถึงภาษาที่ใช้กันในชนเผ่าภูเขา ประกอบด้วยตระกูลภาษามอญ-เขมร เช่น ภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม และภาษามลาบรี; ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เช่น ภาษาจาม; ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เช่น ภาษาม้ง ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไตอื่น ๆ เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาแสก เป็นต้น

    ภาษาอังกฤษมี สอนในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย แต่ผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้คล่องในประเทศไทยยังมีน้อยอยู่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมืองและในครอบครัวมีการศึกษาดีเท่านั้น สำหรับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษนั้น จากที่ไทยเคยอยู่ในระดับแนวหน้าใน พ.ศ. 2540 แต่เมื่อกลาง พ.ศ. 2549 กลับล้าหลังลาวและเวียดนาม[97]

    การศึกษา

     

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2459

    การศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2464 ตามกฎหมายไทย รัฐบาลจะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบให้เปล่าแก่ประชาชนเป็นเวลา 12 ปี ส่วนการศึกษาภาคบังคับในปัจจุบันกำหนดไว้ 9 ปี ระบบโรงเรียนที่จัดไว้มีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอน ต้นตามลำดับ แต่หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว บุคคลสามารถเลือกได้ระหว่างศึกษาต่อสายสามัญในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเลือกศึกษาสายวิชาชีพ หรืออาจเลือกศึกษาต่อในสถาบันทางทหารหรือตำรวจ

    ในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะต้องผ่านระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งโดยปกติจะเสร็จสิ้นในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งติดอยู่ในอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียจาก QS Asian University Rankings 2011

    แต่กระนั้น ก็ยังมีความเป็นห่วงในประเด็นด้านระดับเชาวน์ปัญญาของเยาวชนไทย หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น รายงานเมื่อ พ.ศ. 2548 ว่า "กรมอนามัยและกรมสุขภาพจิตจะต้องรับมือกับความฉลาดที่ต่ำลง หลังจากได้พบว่าระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยในกลุ่มเยาวชนต่ำกว่า 80" การวิจัยซึ่งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ระบุว่า เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญา -70 ซึ่งต่ำที่สุดในทวีปเอเชีย โดยเด็กไทยภาคตะวันออกมีสติปัญญาน้อยที่สุด สูงขึ้นมาจึงเป็นภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลางตามลำดับ อนึ่ง ในการจัดการศึกษาไทย ยังมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์อย่างจำกัดมากด้วย

    วัฒนธรรม

    วัฒนธรรมไทยรับเอาวัฒนธรรมอินเดีย จีน ขอมและดินแดนบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาอย่างมาก พุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเอกลักษณ์และศรัทธาของไทยสมัยใหม่ ทำให้พุทธศาสนาในประเทศไทยได้มีการพัฒนาตามกาลเวลา ซึ่งรวมไปถึงการรวมเอาความเชื่อท้องถิ่นที่มาจากศาสนาฮินดู การถือผี และการบูชาบรรพบุรุษ ส่วนชาวมุสลิมอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ รวมไปถึงชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามามีส่วนสำคัญอยู่ในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและใกล้เคียง ซึ่งการปรับตัวเข้ากับสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ทำให้กลุ่มชาวจีนได้มีตำแหน่งในอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง

    วัฒนธรรมไทยมีส่วนที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมเอเชีย กล่าวคือ มีการให้ความเคารพแก่บรรพบุรุษ ซึ่งเป็นการยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน ชาวไทยมักจะมีความเป็นเจ้าบ้านและความกรุณาอย่างดี แต่ยังมีการแบ่งชนชั้น ความอาวุโสเป็นแนวคิดที่สำคัญในวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่ง ผู้อาวุโสต้องปกครองดูแลครอบครัวของตนตามธรรมเนียม และน้องต้องเชื่อฟังพี่

    การทักทายตามประเพณีของไทย คือ การไหว้ ผู้น้อยมักจะเป็นผู้ทักทายก่อนเมื่อพบกัน และผู้ที่อาวุโสกว่าก็จะทักทายตอบในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน สถานะและตำแหน่งทางสังคมก็มีส่วนต่อการตัดสินว่าผู้ใดควรจะไหว้อีกผู้หนึ่ง ก่อนเช่นกัน การไหว้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ในการให้ความเคารพและความนับถือแก่อีกผู้หนึ่ง

    ศิลปะ

     

    พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว

    ประติมากรรมไทยเดิม นั้นช่างไทยทำงานประติมากรรมเฉพาะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป โดยมีสกุลช่างต่างๆ นับตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย เรียกว่า สกุลช่างเชียงแสน สกุลช่างสุโขทัย อยุธยา และกระทั่งรัตนโกสินทร์ โดยใช้ทองสำริดเป็นวัสดุหลักในงานประติมากรรม เนื่องจากสามารถแกะแบบด้วยขี้ผึ้งและตกแต่งได้ แล้วจึงนำไปหล่อโลหะ เมื่อเทียบกับประติมากรรมศิลาในยุคก่อนนั้น งานสำริดนับว่าอ่อนช้อยงดงามกว่ามาก

    สถาปัตยกรรมไทยมี ปรากฏให้เห็นในชั้นหลัง เนื่องจากงานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ชำรุดทรุดโทรมได้ง่าย โดยเฉพาะงานไม้ ไม่ปรากฏร่องรอยสมัยโบราณเลย สถาปัตยกรรมไทยมีให้เห็นอยู่ในรูปของบ้านเรือนไทย โบสถ์ วัด และปราสาทราชวัง ซึ่งล้วนแต่สร้างขึ้นให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและการใช้สอยจริง

    อาหารไทย

     

    แกงมัสมั่น

    อาหารไทยเป็นการผสมผสานรสชาติความหวาน ความเผ็ด ความเปรี้ยว ความขมและความเค็ม ส่วนประกอบซึ่งมักจะใช้ในการปรุงอาหารไทย รวมไปถึง กระเทียม พริก น้ำมะนาว และน้ำปลา และวัตถุดิบสำคัญของอาหารในประเทศไทย คือ ข้าว โดยมีข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือเป็นพื้น มีคุณลักษณะพิเศษ คือ ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และให้สรรพคุณทางยาและสมุนไพร ตามสถิติพบว่า ชาวไทยรับประทานข้าวขาวมากกว่า 100 กิโลกรัมต่อคนต่อปี อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด ส่วนอาหารที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้นคือ ต้มยำกุ้ง เมื่อ พ.ศ. 2554 เว็บไซต์ CNNGO ได้จัดอันดับ 50 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกโดยการลงคะแนนเสียงทางเฟซบุ๊ก ปรากฏว่า แกงมัสมั่นได้รับเลือกให้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก

    วัฒนธรรมสมัยนิยมได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินของคนไทย โดยหันมาบริโภคอาหารจานด่วนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคจากภาวะโภชนาการเกิน แต่กลับไม่สามารถขจัดโรคขาดสารอาหารได้

    ภาพยนตร์ไทย

     

    จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ ดาราคู่แรกของไทย

    ภาพยนตร์ไทยมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่ สร้างโดยคนไทย

    ช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพยนตร์ไทยก็ซบเซาลง กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นตัว ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคมระหว่าง พ.ศ. 2516-2529 ต่อมาภาพยนตร์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2530-2539 โดยในตอนต้นทศวรรษวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากภาพยนตร์ประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ และหนังเกรดบี ก็มีการผลิตมามากขึ้น

    ปัจจุบันประเทศไทยมีภาพยนตร์ที่มุ่งสู่ตลาดโลก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสในสหรัฐอเมริกา และยังมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์ ล่าสุด ภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ กำกับโดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ครั้งที่ 63 นับเป็นภาพยนตร์จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้

    การแสดงนาฏศิลป์ไทยที่มีลักษณะงดงาม อ่อนช้อย

    ดนตรีไทย

    ดนตรีไทยเกิดจากชนชาติไทยเองและได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย มอญ เขมร ดนตรีไทยแต่ละภาคเป็นดนตรีพื้นบ้านที่ถ่ายทอดกันมาด้วยคำพูดซึ่งเรียนรู้ ผ่านการฟังมากกว่าการอ่าน และเป็นสิ่งที่พูดต่อกันมาแบบปากต่อปากโดยไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร เป็นลักษณะการสืบทอดทางวัฒนธรรมของชาวบ้านตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเอกลักษณ์ทางพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้น ๆ สืบต่อไป เครื่องดนตรีไทยสามารถแบ่งได้ตามประเภทการบรรเลง มี 4 ประเภท ได้แก่ ดีด สี ตี เป่า และแบ่งตามภูมิภาคของประเทศเป็น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ ในอดีตดนตรีไทยนิยมเล่นในการขับลำนำและร้องเล่น ต่อมามีการนำเอาเครื่องดนตรีจากต่างประเทศเข้ามาผสม ดนตรีไทยนิยมเล่นกันเป็นวง เช่น วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี วงดนตรีไทยแต่ละวงนิยมบรรเลงแตกต่างกันไปตามโอกาสและสถานที่ ดนตรีไทยเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน โดยใช้ประกอบงานมงคล งานอวมงคล ฯลฯ ในปัจจุบันดนตรีไทยไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันแพร่หลายนักเนื่องจากการวัฒนธรรม ตะวันตกที่เข้ามาแทนที่ การเล่นดนตรีสากลเป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้ดนตรีไทยหาดูได้ยาก คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยรู้จักดนตรีไทยสักเท่าไรนัก

    การปล่อยโคมลอยในงานประเพณียี่เป็ง

    นาฏศิลป์ไทย

    นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการแสดงประกอบดนตรีเช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป นาฏศิลป์ไทยได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสาน เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้าและตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมคือผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสานและถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้น เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน ขนบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน นาฏศิลป์เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่สร้างสรรค์สุนทรียะด้านจิตใจและอารมณ์ให้กับ คนในสังคมและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิต และกิจกรรมของคนในสังคม ทั้งที่เป็นกิจกรรมส่วนตัวและกิจกรรมส่วนรวม ดังพิจารณาได้จากบทบาทของนาฏศิลป์ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทางด้าน ต่าง ๆ เช่น บทบาทในพิธีกรรมรัฐพิธีและราชพิธี การแสดงนาฏศิลป์ในพิธีกรรมต่าง ๆ สามารถแสดงถึงความเชื่อในพลังเหนือธรรมชาติของภูตผีปีศาจและสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่น การฟ้อนรำในพิธีรำผีฟ้าเพื่อรักษาโรค หรือสะเดาะเคราะห์ของภาคอีสาน การฟ้อนผีมดผีเม็งในภาคเหนือ ที่จะมีผู้หญิงมาเข้าทรง เป็นต้น

    เทศกาลประเพณี

    เทศกาลประเพณีในประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายและอลังการแต่ก็มีบ้างพื้นที่ที่เทศกาลประเพณีในประเทศไทยนั้นรับอิทธิพลมาจากประเทศอื่น เช่น เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ เทศกาลวันตรุษจีน เทศกาลวันสงกรานต์ เทศกาลวันคริสต์มาส ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีลอยกระทง ประเพณียี่เป็ง ฯลฯ

    วันสำคัญ

    วันสำคัญในประเทศไทยมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่มิใช่วันหยุดราชการ และตั้งขึ้นเนื่องในเหตุการณ์สำคัญ วันสำคัญอาจจะมาจากวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน อนึ่ง ปัจจุบัน วันเฉลิมฉลองของชาติไทย คือ วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี

    กีฬา

     

    มวยไทย กีฬาประจำชาติของไทย

    กีฬาซึ่งเป็นของชาวไทยแท้ คือ มวยไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นกีฬาประจำชาติของไทยโดยพฤตินัย เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เผยแพร่ออกไปทั่วโลก นักมวยไทยที่มีชื่อเสียงเช่น สมรักษ์ คำสิงห์ และบัวขาว ป.ประมุข มวยไทยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับศิลปะการต่อสู้ของประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ นอกจากนี้ กีฬาอื่นที่รู้จักกันว่าเป็นของไทย เช่น ตะกร้อ

    ส่วนกีฬาที่กำลังเติบโตในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ได้แก่ รักบี้และกอล์ฟ โดยผลงานของนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย ทำผลงานได้ถึงอันดับที่ 61 ของโลก ประเทศไทยยังเป็นประเทศแรกที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรักบี้ทัวร์นาเมนต์รุ่นเวลเทอร์เวท 80 กิโลกรัมในปี พ.ศ. 2548 ส่วนกีฬากอล์ฟนั้น ไทยได้รับสมญานามว่าเป็น "เมืองหลวงของกอล์ฟในทวีปเอเชีย" ในประเทศไทย มีสนามกอล์ฟคุณภาพระดับโลกกว่า 200 แห่ง ซึ่งดึงดูดนักกอล์ฟจำนวนมากจากเกาหลี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้และประเทศตะวันตกทุกปี

    ในส่วนของกีฬาฟุตบอล เป็นกีฬาที่นิยมที่สุดในประเทศไทย โดยฟุตบอลทีมชาติไทยได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศและเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จในระดับอาเชียน

    สำหรับผลงานทางด้านกีฬา ประเทศไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับโลกหลายอย่าง เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน โอลิมปิกฤดูหนาว เอเชียนเกมส์ และซีเกมส์ ซึ่งประเทศไทยเองได้รับสิทธิเป็นผู้จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง และซีเกมส์ 6 ครั้ง นอกจากนี้ยังเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนคัพและฟุตบอลโลกหญิงเยาวชน อีกด้วย สมรักษ์ คำสิงห์เป็นนักกีฬาชาวไทยคนแรกผู้คว้าเหรียญทองในการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 1996

    เชิงอรรถ

    . ^  ตามข้อมูลของกรมการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยแบ่งการปกครองออกเป็น 75 จังหวัด[127] และต่อมา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 ซึ่งทำให้จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 76 ของไทย

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×