ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บัลเล่ต์ที่รัก{ความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง}

    ลำดับตอนที่ #1 : The history of Ballet.

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.38K
      2
      5 ต.ค. 52

    BALLARE = to dance

    BALLO = a dance

    BALLETO = a little dance

    แต่คำว่า Ballet ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นคำภาษาฝรั่งเศส สืบเนื่องมากจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ที่เริ่มมีขึ้นในราชสำนักอิตาลี แต่มาเจริญเติบโตในประเทศฝรั่งเศส

    ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 14 และ 15 ได้เกิดมีการแสดงบันเทิงที่แพร่หลายในราชสำนัก ดังนี้

    Interludes เป็นการแสดงชุดสั้นๆ ซึ่งประกอบไปด้วยนักร้องและนักเต้น คั่นระหว่างการเสิร์ฟอาหาร  
    Masquerades เป็นขบวนแห่ของนักแสดงที่จะหยุดต่อหน้าแขกผู้มีเกียรติ และนักแสดง จะอ่านโคลงกลอนหรือเล่าเรื่อง โดยสวมหน้ากากด้วย  
    Mummers เป็นการแสดงซึ่งนักเต้นจะสวมหน้ากาก  
                 ในช่วงความเจริญรุ่งเรืองสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ในประเทศอิตาลี คริสตศตวรรษที่ 15-16 การแสดงทั้ง 3 ชนิดนี้ได้ถูกนำมาใช้โดยการรวมเอาการร้องเพลง การเต้นรำและการเล่เรื่องเข้าไว้ด้วยกัน เจ้าชายต่างๆ ในราชสำนักต่างแข่งขันกันจัดการแสดงพิเศษเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่ง อำนาจและรสนิยม สิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ในประเทศฝรั่งเศส ในช่วง
    คริสตศตวรรษที่ 16 เมื่อพระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิชี (Catherine de Medici) ได้เข้าพิธีอภิเษกกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิชีเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและสนับสนุนการแสดงดังกล่าวอย่างจริงจัง

    ในศตวรรษที่ 17 การแสดงในราชสำนักแพร่สะพัดไปทั่วยุโรป แลถึงจุดสูงสุดในประเทศฝรั่งเศส เรียกว่า “The Ballet a Entrée” โดยมีรูปแบบการแสดงเป็นฉากๆ ต่อเนื่องกันไปอย่าง่ายๆ เช่นเดียวกับการเต้นตามความนิยมในสมัยนั้น มีกิริยาท่าทางของราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งยังคงนำมาใช้ถึงสมัยนี้ ส่วนใหญ่การแสดงจะจัดในห้องบอลรูม (Ball Room) มีคนดูอยู่ทั้ง 3 ด้าน การแสดงให้ความสำคัญแก่ขบวนแถวมากกว่าตัวนักเต้นเอง นักแสดงทั้งหมดเป็นชายล้วนและเป็นนักแสดงสมัครเล่น ยกเว้นผู้ฝึกสอน (Ballet Master) เท่านั้นที่เป็นมืออาชีพและเป็นผู้จัดการแสดงทั้งหมด นอกเหนือไปจากเครื่องแต่งกายที่แปลกตาแล้ว บรรดานักเต้นเหล่านั้นจะสวมหน้ากากทำด้วยทองคำถักอีกด้วย

    ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ.1643-1715) พระองค์ทรงเป็นนักเต้นรำที่มีความสามารถและกระตือรือร้นในการแสดงออก รูปแบบของการแสดงในสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก ที่สำคัญคือ การเปลี่ยนเวทีจากห้องบอลรูม มาเป็นเวทีมียกพื้นแบบอิตาเลียน แทนที่คนดูจะอยู่รอบๆ และมองการแสดงด้วยมุมต่ำ กลับเปลี่ยนมาเป็นคนดูอยู่ข้างหน้านักแสดง และมองดูการแสดงที่อยู่สูงกว่าบนเวทียกพื้นสิ่งนี้ทำให้มีผลในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงอย่างสิ้นเชิง ขบวนแถวตรงไปตรงมาเหมือนรูปทรงเรขาคณิตไม่สามารถใช้ได้ดีอีกต่อไปบนเวทียกพื้นแบบใหม่ กลายเป็นการเน้นจุดสนใจที่ตัวนักเต้นโดยเฉพาะ นักเต้นมีเทคนิคการเต้นดีขึ้น ยากขึ้น และมีนักเต้นอาชีพเพิ่มมากขึ้น ในปี ค.ศ.1861 นักเต้นอาชีพหญิงคนแรกก็ปรากฏขึ้นบนเวทีในประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลากว่า 100 ปีที่ผู้หญิงจะมีบทบาทในบัลเล่ต์ แต่ก็ยังเป็นเพียงแค่ท่าเต้นง่ายๆ เล็กๆ น้อยๆ 
    คริสตศตวรรษที่ 18 เป็นยุคทองของนักเต้นชาย เช่น Gaetano และ Auguste Vertri ซึ่งก็เป็นดาวดวงเด่นในนักเต้นชาย จุดเด่นของนักเต้นชายก็คือ ผลของลีลาที่เกิดจากชุดในสมัยนั้นผู้หญิงจะนุ่งกระโปรงบานที่หนักและไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว วิกผมทรงหอคอย ซึ่งสามารถทำได้อย่างมากก็คือ ท่าเลื่อนตัวไปอย่างสง่ารอบๆ เวที แล้วหยุดนิ่งในท่าเก๋ๆ ผู้ชายจะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเพราะเครื่องแต่งตัวไม่มีสิ่งกีดขวางโดยเฉพาะช่วงขา สามารถกระโดและใช้ขาแสดงท่าที่ยากและสับสนได้

    บัลเล่ต์ถือได้ว่าเป็นศิลปะอย่างชัดเจนในระหว่างคริสตศตวรรษที่ 18 วิธีการเป็นแบบฉบับมากขึ้นและยากขึ้น เช่น Marie Carmago และ Marie Salle ได้ปฏิวัติเครื่องแต่งกายหญิงให้สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระมากขึ้น ขณะเดียวกันกับที่ Jean Noverre, Franz Hilferding พยายามพัฒนาบัลเล่ต์ไปสู่ความมีแบบฉบับชัดเจนที่เรียกว่า Ballet d’ action

    นักเต้นและนักแสดงในสมัยนั้นถูกตำหนิโดยองค์กรทางศาสนา และไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้โบสถ์เป็นสาถนที่ประกอบพิธีแต่งานหรือฝังศพ นอกจากจะเลือกอาชีพนี้ และประกาศว่าอาชีพการแสดงเป็นอาชีพที่ขัดแย้กับศาสนาคริสเตียน นักเต้นส่วนใหญ่จะอยู่ในสังคมอย่างคนบาป คบหาสมาคมกันเองเพื่องานอาชีพ นักเต้นจะต้องมีคนรัก 1 คน หรือมากกว่า 1 คน เมื่อครบเกษียณอายุก็มีเงินเก็บพอที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ จนถึงปี ค.ศ.1775 มีการยอมรับอย่างไม่เป็นทางการว่านักเต้นและนักร้องที่ปารีส ไม่อยู่ในความควบคุมของผู้ปกครองหรือตำรวจ ขุนนางทั้งหลายจะต้องมีคู่รักเป็นนักแสดงจึงจะเป็นที่ยอมรับ เช่น Prince de Conti มีคนรัก 60 คน อย่างเปิดเผยและยังมีอย่างลับๆ อีกมาก

    ประมาณ ค.ศ.1750 Ballet d’ action เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ลักษณะเด่น ก็คือ แสดงการเล่าเรืองอย่างชัดเจนโดยไม่มีคำพูดซึ่งแสดงว่าบัลเล่ต์แยกตัวออกมาจากการแสดงละครและเพลงอย่างชัดเจน ในความหลากหลายของหารแสดงตอนต่างๆ จะเน้นการแสดงออกทางลีลามากกว่าการแสดงโดยตรง

    ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส Comic Ballet และเรื่องราวเกี่ยวกับคนธรรมดาได้ถูกนำมาใช้แทนเรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยาย เพราะผู้ชมมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ แทนที่จะเป็นเพียงผู้มีอันจะกินเครื่องแต่งกายก็เปลี่ยนแปลงเป็นชุดรัดรูปมากขึ้นเพื่อแสดงความไม่มีแบบแผนและหรูหรา

    ราวปลายศตวรรษที่ 18 ผลกระทบกระเทือนทางการเมืองและเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส สงครามนโปเลียนและการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ส่งผลมายังการปฏิวัติทางศิลปะ การเคลื่อนไหวทางโรแมนติคได้เริ่มขึ้นในประเทศเยอรมนี นักเขียน เช่น Tieck และ Holfman ได้เขียนเรื่องเทพนิยาย นำผู้อ่านไปสู่แดนมหัศจรรย์อันเหลือเชื่อ ลิทธิ Romanticism ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส เรื่องราวเกินความจริงนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้นในปารีสผู้ที่จริงจังทางด้านโรแมนติค เช่น Gautier, Hugo และ Sand ต้องต่อสู้กับพวกที่ไม่เห็นด้วย

    ยุคโรแมนติคที่อิทธิพลมากต่อสังคมเฉกเช่นเดียวกับในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเมื่อ 300 ปีก่อน บัลเล่ต์และการแสดงทางศิลปะอื่นๆ อยู่ในการสนับสนุนของสาธารณชนโดยเฉพาะชมชั้นกลางมากขึ้นแลัอย่างรวดเร็ว แทนที่จะได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักอย่างเดียว

    ผู้ออกแบบท่าเต้น (Choreographer) ซึ่งเชื่อมความสามารถของนักเต้นที่มีฝีมือในคริสตศตวรรษที่ 18 และ Romantic Ballet ของศตวรรษที่ 19 ได้แก่

    Carlo Blasis ผู้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์บัลเล่ต์ โดยเน้นถึงวิธีการที่เรียกว่า “Ballon” แปลว่า เบาลอย อันเป็นท่าหนึ่งของบัลเล่ต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

    Charls Didelot ผู้เป็นอัจฉริยะในเรื่องการสร้างฉากและผลิต “Adagio” ครั้งแรกใน Zephyre et Flore ปี ค.ศ. 1796

    Jean Dauberval ลูกศิษย์คนหนึ่งของ Noverre ที่ทำให้ Ballet d’ action แพร่หลายทั่วยุโรป

    Salvatore Vigano เป็นผู้ริเริ่มสร้างรูปแบบของบัลเล่ต์ที่เน้นพระเอกของเรื่อง

    ศิลปินทั้ง 4 ท่านนี้ ต่างเน้นการแสดงออกอย่างละคร ดนตรี การออกแบบท่าเต้นและ Plot เรื่อง

    ยุคโรแมนติคของบัลเล่ต์ เริ่มในปี ค.ศ. 1830 และจบสิ้นในช่วงสงคราม Franco-Prussian ในปี ค.ศ.1870 ช่วง 40 ปีของยุคนี้ มีการเปลี่ยนแปลงในบัลเล่ต์มากมาย เช่น เกิดการเต้นแบบ Pas de deux, การขึ้นปลายเท้า (Pointe) กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น แม้ในสมัยนั้น จะยังไม่มีรองเท้าหัวแข็ง (Blocked shoes) นักเต้นยังไม่สามารถทำอะไรได้มากเหมือนในปัจจุบัน เทคนิคใหม่ๆ เช่น แสงจากตะเกียง ถึงแม้จะมีอันตรายก็สามารถจะทำอะไรได้มากขึ้นในด้านแสง หรือในด้านเครื่องแต่งกาย Marie Taglioni สวมเครื่องแต่งกายใน La Sylphide ในปี ค.ศ.1832 ด้วยชุดที่ฟิตช่วงอก กระโปรงบานทรงระฆัง สีขาวนวล ซึ่งต่อมากลายเป็นชุดที่นิยมและยังใช้มาจนถึงทุกวันนี้

    ในยุคโรแมนติคจะเห็นได้ว่า มีการยกฐานะของนักเต้นหญิง (Ballerina) เหนือกว่านักเต้นชาย และเป็นที่ชื่นชอบต่อสายตาสาธารชนทุกแห่งยกเว้นที่รัสเซียและเดนมาร์ก นักเต้นชายจะเป็นเพียงแค่ตัวประกอบหรือเป็นผู้ยกนักเต้นหญิงเหมือนเครื่องจักรกลเท่านั้น ในบางครั้ง ถึงขนาดมีการใช้ผู้หญิงแต่งตัวเป็นนักเต้นชาย En travestri Ballet ถือเป็นเรื่องของผู้หญิงในระยะนั้น จนกระทั่ง Michel Fokine เริ่มให้ความสำคัญในบทของนักเต้นชายในปี ค.ศ.1909 จนกลายเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่จนทุกวันนี้ เช่น Rudolf Nureyev และ Makhil Barshinikov ในทางตรงข้ามปรากฏว่าผู้ปกครองชาวอเมริกัน ยังอยากจะเห็นลูกชายของตนเองเป็นนักฟุตบอลแทนที่จะเป็นนักเต้น แต่อย่างไรก็ตาม นักกีฬาหลายคนได้มีการฝึกบัลเล่ต์เพื่อพัฒนาการ Balance และ Co-ordination

    Romantic Ballet เกี่ยวข้องกับอารมณ์และสิ่งเหนือธรรมชาติ แทนที่จะเป็นเรื่องที่มีเหตุผล เรื่องราวส่วนมากมักจะเกี่ยวกับการหนีโลกความเป็นจริงไปสู้โลกทีเหนือความจริง Ballerina เช่น Marie Tagioni ได้แสดงให้เห็นถึงวิญญาณหรือสิ่งที่ลอยได้หรือสัตว์จากโลกอื่น Fanny Essler แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางเทคนิคที่ส่งประกายเด่น ซึ่งสมัยนั้นนักเต้นจะต่างจากปัจจุบัน คือจะมีความสามารถแต่หุ่นไม่ดีนัก ขาใหญ่และน่องใหญ่ Gauitier เคยเขียนถึง Essler ว่าเสมือนนักเต้นปัจจุบัน คือ สะโพกเล็ก อกไม่ใหญ่มาก ดูไม่รู้ว่าหญิงหรือชาย มีลักษณะทั้งสวยและหล่อเหมือนเด็กชาย

    ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคใดสมัยใดก็ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องจุดสูงุดและจุดต่ำสุด บัลเล่ต์เบ่งบานรุ่งโรจน์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นความน่าเบื่อจนกระทั่งไม่เหลือความหมายอยู่เลย บัลเล่ต์เริ่มต้นชัดเจนเมื่อเกิด Ballet d’ action ต่อมาก็ถึงยุคโรแมนติคซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นอีก แต่ในที่สุดก็หนีไม่พ้นอีกช่วงหนึ่งของความตกต่ำ ปัญหามีปลกระทบให้ความนิยมบัลเล่ต์ทรุดหนักลง เช่นระบบการเอาใจหรือง้อดารา ซึ่งคณะต่างๆ ไม่สามารถรับได้แกต่อไป นักเต้นชายขาดการยอมรับและหายหน้าไปจากวงการ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความตกต่ำในวงการบัลเล่ต์ แต่ในฝรั่งเศสและเดนมาร์ก ก็ยังดำเนินการต่อไป ส่วนอังกฤษเริ่มหันเหจากบัลเล่ต์มาสนใจนักร้องแทน เช่น Jenny Lind ในสหพันธรัฐเยอรมันและออสเตรีย ผู้ที่เคยสนับสนุนบัลเล่ต์เริ่มหายหน้าไป ในอิตาลียังคงผลิตนักเต้นที่มีคุณภาพ เช่น ที่ La Scala แต่ในส่วนของวงการผู้ออกแบบท่าเต้นแล้ว ถือได้ว่าเข้าสู่ความหายนะทีเดียว

    ในรัสเซีย บัลเล่ต์ยังคงดำเนินสืบเนื่องต่อไป โดยได้รวมเอาความดีของอิตาเลียน ฝรั่งเศส และเดนมาร์ก มาหล่อหลอมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง รัสเซียยังคงผลิตนักเต้นที่มีคุณภาพ แข็งแรง เทคนิคการเต้นที่สมบูรณ์แบบ ยอมรับกันว่าเป็น “Russian School” ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบัลเล่ต์ คือ Marius Petipa ผู้ซึ่งคิดค้นแบบฉบับของ Classical Ballet ที่ใช้อยู่จนทุกวันนี้

    รูปแบบ (Form) ดังกล่าว ยกตัวอย่างบัลเล่ต์ เรื่อง Sleeping Beauty, Nutcracker มีลักษณะเฉพาะ คือ การแสดงจะประกอบไปด้วยองก์ต่างๆ 5-6 องก์ มีการแยกกันอย่างชัดเจนระหว่าง Pantomime และ Real Dancing นอกจากนั้น Petipa ได้นำเอา Pas de deux มาใช้จนถึงจุดสุดยอด และจัดตั้งเป็นแบบฉบับปัจจุบัน เช่น มี Romantic Adadio, Variations สำหรับนักเต้นชายและหญิง และจบลงด้วย Coda

    บัลเล่ต์รัสเซียดำเนินต่อไปจนถึง ค.ศ.1800 ปรากฏว่า บัลเล่ต์ของ Petipa ใช้แสดงบ่อยเกินไป ประกอบกับนักเต้นชาวรัสเซียอยากจะก้าวหน้าต่อไปอีก Serge Diaghilev จึงเป็นคนแรกและถือว่าเป็นผู้จัดการบัลเล่ต์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในประวัติศาสตร์บัลเล่ต์ เขาได้รวบรวมเอาหัวกระทิของนักเต้นที่มีความสามารถของรัสเซีย ตั้งเป็น “Ballet Russes” เปิดการแสดงรอบแรก ณ กรุงปารีสในปี ค.ศ.1909 ทำให้เกิดความนิยมบัลเล่ต์ขึ้นอีกครั้งในยุโรป และเป็นรูปแบบที่ตรงกันข้ามกับประเพณีของบัลเล่ต์อย่างเห็นได้ชัด โดยผู้ออกแบบทาเต้นที่มีไฟและนำเอาศิลปะในการออกแบบฉากที่มีคุณภาพมาชุบชีวิตใหม่ให้กับศิลปะที่กำลังจะตาย





    เครดิต:http://www.zheza.com/index.php?a=blog&b=entry&uid=228341&eid=6
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×