ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การเขียนนิยายสไตล์มัลลิกา

    ลำดับตอนที่ #1 : ข้อคิดจากพันธนาการหัวใจ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.03K
      1
      23 ก.พ. 50




    ข้อคิดจากพันธนาการหัวใจ

     

     

            หลังจากที่เขียนพันธนาการหัวใจจบ มัลลิกาก็ได้ข้อคิดดี ๆ มาพอสมควรค่ะ ซึ่งก็คือได้รู้ว่า การที่เราจะเขียนนิยายดี ๆ สักเรื่องหนึ่งนั้นต้องทำอะไรบ้าง

     

     

            1.ตีมของเรื่อง เป็นสิ่งสำคัญมากนะคะ คือต้องวางตีมว่าเรื่องนี้จะเริ่มยังไง จบยังไง และจุดไคลแมกซ์อยู่ที่ไหน ถ้าวางไว้ดีเรื่องก็จะออกมาดี

     

     

            2.พล็อตเรื่อง มัลลิกาซึ้งแล้วค่ะว่าพล็อตเรื่องเป็นสิ่งที่สำคัญมากกกก ถ้าเขียนเรื่องโดยไม่มีพล็อตโอกาสที่จะเขียนไม่จบก็จะมีสูงมากเช่นกัน

     

            ดังนั้นก่อนที่จะลงมือเขียนนิยายสักเรื่องหนึ่ง เราจึงต้องวางพล็อตไว้ก่อน ยิ่งพล็อตเรื่องละเอียดมากเท่าไร เราก็จะเขียนเรื่องได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

     

            อย่างพันธนาการหัวใจนั้น เล่มแรกมัลลิกาใช้เวลาเขียนถึง 4 เดือน เพราะว่าไม่ได้วางพล็อตเรื่องไว้ก่อน มีเพียงตีมของเรื่องเท่านั้นที่อยู่ในหัว คิดอะไรได้ก็เขียนไป มันก็เลยช้า

     

            มัลลิกาเพิ่งมาเห็นความสำคัญของพล็อตก็เมื่อเขียนบทที่ 6 จบแล้ว ซึ่งพล็อตมาวางอย่างจริงจังหลังบทที่ 6 ทำให้เล่มที่ 2 เขียนเร็วขึ้น

     

            ดังจะเห็นว่าเล่มที่ 2 นั้น มัลลิกาเขียนจบภายใน 2 เดือนครึ่ง ทั้ง ๆ ที่เล่มนี้หนากว่าเล่ม 1 ตั้ง 20 หน้า ซึ่งตรงนี้ต้องยกความดีให้พล็อตเรื่อง

     

     

            3.คาเร็คเตอร์ของตัวละคร เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องรักษาไว้ให้คงเดิมตั้งแต่ต้นจนจบ ยกเว้นว่าคุณเขียนเรื่องที่ตัวเอกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในชีวิต ตรงนั้นก็สามารถเปลี่ยนได้ แต่ถึงเปลี่ยนก็ต้องยึดคาแร็คเตอร์ใหม่ไว้จนกว่าเรื่องจะจบ

     

     

            4.การใช้สรรพนามควร ควรใช้ให้หลากหลายและกลมกลืน อย่าใช้ชื่อตัวละครเรียกร่ำไป เพราะจะทำให้นิยายของเราไม่ชวนอ่าน ซ้ำซาก จำเจ เช่น

     

            นางเอกควรใช้ชื่อจริง สลับกับสรรพนาม เธอ หล่อน เจ้าหล่อนร่างบาง ร่างโปร่ง หญิงสาว สาวน้อย และสรรพนามที่เกี่ยวกับเรื่องเช่น บทง้องอน ก็อาจแทนนางเอกว่า แม่คนขี้งอน เป็นต้น

     

            ส่วนพระเอกควรใช้ชื่อจริง สลับกับสรรพนาม เขา ชายหนุ่ม ร่างสูง หรืออาชีพ อย่างวายุ ก็เรียกว่า ผู้กองหนุ่ม หรือลักษณะเฉพาะเช่น ตะวัน ก็จะเรียกว่า ทายาททรัพย์เทวัญ พ่อหนุ่มตาคม

     

            สรรพนามเกี่ยวกับเรื่อง เช่น บทง้องอน นางเอกว่าพระเอกบ้าเราก็แทนพระเอกว่า 'คนบ้า' ให้ดูน่ารักก็ได้ แล้วแต่จะพลิกแพลง ไม่มีข้อจำกัดตายตัว

     

     

            5.ค้นหาตัวเองให้พบ อันนี้สำคัญมาก เราต้องค้นหาลีลาการเขียนของเราให้พบ ว่าเรามีลีลาการเขียนแบบไหน หวาน ดุ หรือมัน แล้วนำมาเป็นจุดขายของตัวเอง ไม่ว่าเขียนเรื่องไหนก็ดัง

     

            สำหรับมัลลิกานั้นค้นพบแล้วว่าตัวเองเขียนนิยายร่วมสมัยได้ดี ภาษาของมัลลิกาไม่ได้หวานหรือเลิศหรูมากมาย แต่ยึดที่การบรรยายลื่นไหลเห็นภาพ สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ดีและตีมเรื่องค่อนข้างแหวกแนว

     

     

            6.อย่าเชื่อตำรามากนัก แต่ควรนำมาประยุกต์ใช้มากกว่า อันนี้มัลลิกาเจอมากับตัวเองแล้ว ดูตัวอย่างจากพันธนาการหัวใจ เรื่องนี้พระเอกมี 2 ชื่อ คือตะวันและพี่มาร์กขา

     

            ซึ่งมัลลิกาใช้สองชื่อปนกัน ซึ่งในตำราบอกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้คนอ่านสับสน แต่มัลลิกาค้นพบว่าเราสามารถใช้ได้ แต่เราต้องเขียนให้คนอ่านรับรู้ทั้งสองชื่อให้ได้

     

            ถ้าทำได้นิยายเราก็จะหลากหลายขึ้นซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นกับประสบการณ์และการค้นพบลีลาของตัวเองเป็นหลัก





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×