ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

    ลำดับตอนที่ #9 : กาหลง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.94K
      0
      12 พ.ค. 47

    กาหลง

    ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Bauhinia acuminata.

    วงศ์ : CAESALPINACEAE

    ชื่อไทยพื้นเมือง : เสี้ยวน้อย เสี้ยวดอกขาว ส้มเสี้ยว

    วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : อิเหนา , ดาหลัง , ลิลิตพระลอ รามเกียรติ์ , ลิลิตตะเลงพ่าย , กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง

    กาหลง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่อยู่ตามป่าเบญจพรรณทั่วประเทศไทย และเป็นดอกไม้ที่วรรณคดีเก่า ๆ ของไทยเรามักกล่าวถึงอยู่เป็นอันมากอีกชนิดหนึ่งมีต้นสูงประมาณ 4-5 ฟุต เป็นไม้ใบแฝด ออกใบสลับกันตามข้อต้นใบสีเขียวระคายมือ ทรงใบมองเหมือนรูปปีกของแมลง ปกติใบมันพับงอเข้าหากันขนาดใบกว้างและยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร

    ดอกออกเป็นช่อตามข้อโคนก้านใบส่วนยอด ดอกสีขาว มีกลีบดอก 6 กลีบ เรียงทับซ้อนเหลื่อมกัน เกศรผู้เป็นเส้นสีขาวคล้ายเส้นด้ายยาวยื่นออกมาจากกลางดอก 5 เส้น ปลายเกสรผู้เป็นตุ่มสีเหลืองสดใส เกสรตัวเมียเป็นสีเขียวอ่อนอยู่กึ่งกลางมีเส้นเดียว ขนาดโคและยาวกว่าเกสรตัวผู้ ขนาดดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ดอกกาหลงช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 5-8 ดอก แต่จะผลัดกันบานคราวละ 2-3 ดอก

    กาหลงเป็นต้นไม้ที่ชอบกลางแจ้ง ปลูกขึ้นง่ายในดินทุนกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด และตอน ออกดอกเป็นระยะตลอดปี ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกกาหลงเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ใช้ดอกรับประทานปวดศรีษะ ลดความดันโลหิตสูง ชาวจีนรุ่นเก่า ๆ นิยมปลูกกาหลงไว้เป็นต้นไม้ประจำบ้านเชื่อกันว่าเป็นต้นไม้ที่ให้คุณแก่เจ้าของมาก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×