ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

    ลำดับตอนที่ #8 : กรรณิการ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.56K
      0
      12 พ.ค. 47

    กรรณิการ์

    ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Nyetanthes arbou – tristis.

    วงศ์ : VERBENACEAE

    วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : อิเหนา , ลิลิตตะเลงพ่าย ,ดาหลัง, นิราศธารโศก, รามเกียรติ ,นิราศธารทองแดง

    กรรณิการ์เป็นไม้ยืนต้นซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย อินเดีย ลังกา พม่า แถว ๆ ละแวกบ้านเรานี่เอง เป็นไม้พุ่มขนาดกลางสูงได้ประมาณ 15 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมักเป็นเหลี่ยมเป็นพุ โดยเฉพาะบริเวณส่วนที่เป็นกิ่งแขนงหรือกิ่งอ่อน มักจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีรอยเส้นคาดรอยต้น ๆ เป็นช่วง ไปตามข้อเปลือกของลำต้นเป็นสีขาว บริเวณแนวสันเหลี่ยมของกิ่งหรือลำต้น มีตุ่มเล็ก ๆ ประเป็นแนวอยู่ตามสันเหลี่ยมของต้นหรือกิ่งอีกด้วย

    ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ๆ สลับทิศทางกันไปมาตามข้อต้น ใบเขียวเนื้อใบสากระคาย เพราะมีขนละเอียดเป็นละอองปกคลุมอยู่ตามใบและยอดกิ่งอ่อน ใบรูปมนตรี ปลายใบแหลม ปลายใบมนขอบริมใบเรียบไม่มีจัก ขนาดใบยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ดอกมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ ๆ มีก้านแขนงช่อดอกย่อย ๆ เป็นจำนวนมากในช่อดอกย่อยช่อหนึ่ง มีตั้งแต่ 5-8 ดอก แต่ดอกจะผลัดกันบานเพียงคราวละดอกเดียวตอช่อดอกย่อยช่อ หนึ่ง ๆ กลีบดอกสีขาวมี 6 กลับปลายกลีบหยักเป็นหางปลา เมื่อบานเต็มที่ กลีบดอกทั้ง 6 กลีบ จะบิดหมุนตะแคงไปทางขวาลักษณะคล้ายกังหัน วงในดอกสีแดง หรือสีชาด หลอดดอกก็เป็นสีแดงชาดเช่นเดียวกับวงในดอกเกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ่อนอยู่ในหลอดดอก ขนาดดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร หลอดดอกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตรขยายพันธุ์ด้วยวิธีจำเพาะเมล็ด ตอน หรือปักชำกรรณิการ์เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคหลายชนิด และใช้สีจากก้านคั้นทำสีขนมหรือใช้เป็นสีย้อมผ้าก็ได้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×