ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

    ลำดับตอนที่ #5 : รัก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.32K
      1
      12 พ.ค. 47

    รัก

    ชื่อพฤกษศาสตร์ : Melanorrhoea usitata

    วงศ์ : ANACARDIACEAE

    ชื่อไทยพื้นเมือง : ฮัก

    วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : ลิลิตเพชรมงกุฎ, สมุทรโฆษคำฉันท์, ขุนช้างขุนแผน, ลิลิตตะเลงพ่าย, พระอภัยมณี

    รักเป็นตนไม้ขนาดใหญ่ มีความสูงได้ตั้งแต่ 15 – 25 เมตร ลำต้นเปลาตรงเรือนยอดเป็นพุ่มกลมเขียวเข้ม เปลือกสีเทาเข้มค่อนข้างดำ หรือสีน้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องมียางสีดำซึมตามรอยแตก ตามกิ่งก้านอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลเทาหนาแน่นปกคลุมอยู่ ขนจะร่วงหลุดเมื่อกิ่งก้านแก่ขึ้น ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว รูปมนรีขอบขนานออกเรียงเวียนสลับอยู่ตอนปลาย ๆ กิ่งเป็นกลุ่ม ขนาดใบกว้างประมาณ 5 – 12 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 – 36 เซนติเมตร โคนใบและปลายใบโค้งเป็นวงมนกว้างเข้าหากัน หลังมีขนเล็กน้อย แต่ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเทาขึ้นอย่างหนาแน่นแต่จะร่วงหลุดออกหมดเมื่อใบแก่เต็มที่ เนื้อใบหนา ก้านใบยาวประมาณ 1 – 3.5 เซนติเมตร

    ออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมติดต่อกันไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จึงค่อยกลายเป็นผล ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามง่ามใบปลาย ๆ กิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมี 5 กลีบ ที่ดอกมีขนสีน้ำตาลปนเทาขึ้นปกคลุมอยู่ด้วยเช่นเดียวกับใบพบขึ้นตามป่าเบ็ญจพรรณแล้งและป่าดง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×