ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

    ลำดับตอนที่ #2 : เสลา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.75K
      1
      12 พ.ค. 47

    เสลา

    ชื่อพฤกษศาสตร์ : Lagerstroemia tomentosa

    วงศ์ : LYTHRACEAE

    ชื่อไทยพื้นเมือง : เสลาใบใหญ่, อินทชิต, ตะแบกขน, อินทนิล, ตะ เกรียบ

    วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : ลิลิตตะเลงพ่าย

    เสลาเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงได้ตั้งแต่ 10 – 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ สีเข้มเปลือกไม้เสลาสีเทาเข้มค่อยข้างดำ ตามลำต้นมีรอยแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ไปตลอดลำต้น ใบยาวรูปหอก ขอบขนานเป็นคลื่นที่ขอบใบเล็กน้อย มีขนปุยอ่อนนุ่มสีเหลืองทอง ปกคลุมทั้ง 2 ด้าน ทั้งอ่อนและใบแก่ โคนใบโค้งมนเข้าหากัน มีก้านใบเพียงนิดหน่อย ปลายใบเรียวแหลมและมีติ่งแหลมยื่นเล็กน้อย

    ก่อนที่เสลาจะออกดอกจะผลัดใบก่อน แต่การผลัดใบของเสลามักจะทิ้งใบไม่หมดเลยทีเดียว จากนั้นเสลาก็จะเริ่มออกดอก และบานติดต่อกันในประมาณเดือน มีนาคม ถึงเมษายน ดอกของเสลามีสีม่วงสดใสออกเป็นช่อ ๆ เมื่อเวลาที่ดอกเสลาบานก็จะแน่นช่อซึ่งเป็นรูปทรงกระบอก ที่ก้านช่อดอกและกลีบรองดอกมีขนอ่อนนุ่มสีเหลืองทองปกคลุมโดยทั่วไป กลีบดอกและกลีบรองดอกของเสลามักมีจำนวนไม่แน่นอน มักมี 6,7 หรือ 8 กลีบ

    เสลาเป็นไม้ที่ขึ้นได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าชายหาดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง ลงมาจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×