ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

    ลำดับตอนที่ #16 : พนมสวรรค์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.61K
      0
      15 มิ.ย. 47

    ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Clerodendruim paniculatum

    วงศ์ : VERBENACEAE

    วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : อิเหนา , ลิลิตตะเลงพ่าย , รามเกียรติ

    พนมสวรรค์ เป็นพันธุ์ไม้ของไทยที่ค่อนข้างหายากชนิดหนึ่งในปัจจุบันนี้ สันนิษฐานว่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย หรือในแถบสุมาตรานี้เอง เป็นไม้พุ่มเตี้ยลักษณะต้นและใบคล้ายนางแย้ม ต้นสูงประมาณ 5-8 ฟุต ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนสีเขียวจัดกิ่งแก่สีน้ำตาลจาง ๆ ในลำต้นและกิ่งกลวง กิ่งเปราะและหักง่ายเมื่อทุกพายุแรง ๆ ใบโตขอบใบจักเป็นรูปมุมแหลมหยักเข้าในสองหยัก ขนาดใบยาวประมาณ 8-12 นิ้ว ลักษณะใบค่อนข้างบอบบาง เมื่อโดนแสงแดดจัดใบจะเหี่ยวหลุบลง แต่จะฟื้นได้โดยเร็ว เมื่อพ้นแสงแดด หรือถูกน้ำ

    ดอกสีเหลืองเหมือนสีทองสุกสว่าง ลักษณะดอกคล้ายดอกเข็ม มี 5 กลีบ เกสรยาวโผล่ดอกออกมาเป็นประมาณเท่ากับความยาวของหลอดดอก คือประมาณ 3 เซนติเมตร ออกเป็นช่อตั้งทรงฉัตรตามยอดปลายกิ่ง ดอกช่อหนึ่ง ๆ สูงประมาณ 12-18 นิ้ว ดอกจะบานอยู่ราว 1 สัปดาห์ จึงติดเมล็ด เป็นต้นไม้ออกดอกตลอดปี

    พนมสวรรค์ ปลูกได้ทั้งสภาพติดดินเกือบทุกชนิด ขึ้นง่ายและเจริญเติบโตเร็วเป็นไม้ที่สามารถปลูกได้ทั้งในกลางแจ้ง หรือในที่ร่มที่แสงแดดรำไร ขยายพันธ์ด้วยวิธี ปักชำ , ตอน , เพาะเมล็ด หรือตัดหางไหลจากรากไปปักชำก็ได้ พนมสวรรค์เป็นพันธุ์ไม้ที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเก่า ๆ ของไทยหลายเรื่อง ในวรรณคดีบางเรื่องเรียกพนมสวรรค์ว่า “ นมสวรรค์” ก็มีเช่น “ รามเกียรติ “ ในพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 ตอน “ นางมาลีเก็บดอกไม้” ความว่า “ เที่ยวเก็บบุปผา มาลาศ พุทธชาติสุกรพนมสวรรค์ “ ดังนี้เป็นต้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×