ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

    ลำดับตอนที่ #13 : ประดู่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.03K
      1
      15 มิ.ย. 47

    ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Pterocapus macrocarpus

    วงศ์ : PAPILONACEAE

    วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : อิเหนา , ตะเลงพ่าย , ลิลิตพระลอ, รามเกียรติ , มหาเวสสันดรชาดก

    ประดูที่คนไทยรู้จักกันดีและนิยมปลูกกันมากอยู่เป็นที่แพร่หลายนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 พันธุ์ คือ

    1. ประดู่ หรือประดู่ป่า (pterocapus macrocarpus) พันธุ์ไม้ชนิดนี้มักมีขนาดอยู่ในป่าเบญจพรรณ และในป่าดงดิบทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศไทยประดู่ชนิดนี้ค่อยข้างเล็ก และช่อดอกมักไม่แตกกิ่งก้านแขนงดอกมากนัก และกิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้า

    2. ประดู่บ้านหรือประดู่ลาย (Ptercarpus indicus) ประดู่ชนิดนี้เป็นพันธุ์ไม้ของถิ่นอินเดีย แต่มีเข้ามาปลูกประดับเป็นต้นไม้แต่งริมถนนในกรุงเทพฯ มาตั้งแต่ในครั้งรัชสมัยของพระปิยมหาราช ประดู่ชนิดนี้มีพุ่มแผนใบกว้าง ปลายกิ่งยาวห้อยระย้า ช่อดอกจะแตกช่อแขนงย่อยเป็นช่อใหญ่

    ประดู่ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงไดถึง 25 เมตร หรือกว่านั้นเนื้อไม้มีราคาและมีประโยชน์ในทางหัตถศิลป์หลายอย่าง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำคล้า และเลือกจะแจกสะเก็ดออกเป็นร่องตื้น ๆ ใบเป็นใบรวมเป็นช่อหนึ่ง ๆ มีประมาณ 7-11 ใบที่ออกปลายช่อออกเดี่ยวไม่จับคู่ และมีขนาดใหญ่กว่าใบคู่อื่น ๆ ในช่อเดียวกัน รูปใบมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ขนาดใบยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร

    ดอกขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือโคนก้านใบใกล้ ๆ ส่วนยอด มีกลิ่นหอมไกล ดอกจะบานพร้อมกันในระหว่าง 1-3 วัน ในเดือนเมษายน ขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×