ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทวตำนานเทพเจ้ากรีก โรมันและอีทรัสกัน

    ลำดับตอนที่ #9 : อารยธรรมโรมัน: ทำความรู้จักกับชาวโรมัน 100%

    • อัปเดตล่าสุด 24 ต.ค. 55


             ทำความรู้จักกับชาวโรมัน
             ในเวลาใกล้เคียงกับที่อารยธรรมกรีกเจริญรุ่งเรืองได้เกิดอารยธรรมโรมันขึ้นในคาบสมุทรอิตาลี ชาวโรมันเป็นคนที่มีระเบียบวินัย เป็นนักรบที่กล้าหาญ เชื่อฟังผู้บังคับบัญชาทำให้ราชอาณาจักรโรมันขยายอานาจอย่างไม่หยุดยั้งเมื่อประมาณ
    275 ปี ก่อนคริสตกาลและในไม่ช้าก้ได้ปกครองดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมด และยังขยายไปยังดินแดนใกล้เคียงทั้งในเอเชียตะวันตก และตะวันออกกลาง แอฟรีกา และยุโรปตะวันตก

              การที่โลกตะวันตกรวมอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกันในสมัยจักรวรรดิโรมัน ทำให้อารยธรรมกรีกที่ชาวโรมันชอบแพร่หลายไปด้วย อย่างไรก็ดีชาวโรมันมิได้เป็นเพียงผู้สืบทอดอารยธรรมกรีกแต่ยังสร้างภาษา วรรณคดี กฎหมาย และสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของตนเอง ซึ่งเป็นรากฐานของโลกตะวันตก เช่น ปฏิทิน 12 เดือน ที่แต่ละเดือนมีช่วงเวลาไม่เท่ากัน ซึ่งพัฒนาโดย จูเลียส ซีซาร์ การสร้างถนนและสาธารณูปโภคต่างๆเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนในจักรวรรดิโรมัน เป็นที่มาของการวางผังเมืองสมัยใหม่ นอกจากจากนี้โรมันยังพัฒนาการปกครองและกฎหมายซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างการประกอบโลกตะวันตกจนถึงทุกวันนี้

     

    อิทธิพลของกรีกต่อโรมัน

              อารยธรรมโรมันรับอิทธิพลหลายอย่างจากกรีก  และนำมันปรับเข้ากับวิถีชีวิตชาวโรมันและส่งต่อให้กับโลกตะวันตก ชาวโรมันมีความเชื่อในเทพเจ้าซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากเทพเจ้ากรีก โรมันนำเทพของกรีกมานับถือและเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ เช่น ซุส เปลี่ยนเป็นจูปีเตอร์ เทพอดพร์ไดท์ เป็นวินัส เป็นต้น การประกอบพีกรรมทางศาสนาเป็นหน้าที่ของพระซึ่งประมุขของพระได้แก่ กงสุลในสมัยสาธารณรัฐและจักรพรรดิสมัยจักรวรรดิ ประมุขของพระยังทำหน้าที่เป็นผุ้สร้างปฎิทินและกำหนดพิธีฉลองต่างๆด้วย

              ชาวโรมันเป็นผู้สืบทอดอารยธรรมกรีก ภาษากรีกเป็นภาษาราชการของจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิสมัยจักรบแซนไทน์  แทนภาษาละตินของชาวโรมันในราว 2 ก่อนคริสตกาล เป็นต้น มาจนสิ้นสุดยุคกลาง ชาวโรมันยังนำอักษรกรีกมาพัฒนาเป็นอักษรลาติน และสร้างผลงานที่มีชื่อเสียงด้าน กฎหมาย วรรณคดี และประวัติศาสตร์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×