ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทวตำนานเทพเจ้ากรีก โรมันและอีทรัสกัน

    ลำดับตอนที่ #4 : อารยธรรมกรีก:สาภาพสังคม (100%)

    • อัปเดตล่าสุด 24 ต.ค. 55


    สาภาพสังคม

    การปกครอง

              ทุกคนรัฐมีความเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ และมีระบอบการปกครองทีมีวิวัฒนการหรือปรับเปลี่ยนมาหลายรูปแบบ ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละรัฐ โดยนครรัฐที่ยิ่งใหญ่ที่สุดได้แก่นครเอเธนส์ (Athens) และนครรัฐสปาร์ตา(Sparta)

     

    ประชาธิปไตยในเอเธนส์

              ประมาณ 5 ปีก่อนคริสตกาล ชาวเอเธนส์มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง มีสภาประชาชนที่ทำหน้าที่ออกกกหมายและเป็นศาลสูง มาจากราษฎรชายกรีกในเอเธนส์ทุกคนมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์

              ทุกคนมีเสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น สภาประชาชนจะเลือกแม่ทัพ 10 คนทำหน้าที่ควบคุมทัพบกและทัพเรือ มีการประชุมกันทุก 10 วัน สำหรับฝ่ายบริหารประกอบด้วยสภาห้าร้อย เลือกโดยวิธีจับฉลากเป็นประจำทุกปี

              ส่วนศาลใช้ราษฎรชาวเอเธนส์เป็นผู้ตัดสิน จำนวนตั้งแต่  201-1001 คน ใช้เสียงข้างมากตัดสิน และมีระบบเนรเทศผู้เป็นอันตรายต่อรัฐ

     

    เศรษฐกิจ

              การตั้งอาณานิคมพ้นทะเลทำให้เกิดความมั่งคงทางเศรษฐ์กิจ การทำไร่นาส่วนผสมเพื่อบริโภคเฉพาะแต่ละท้องถิ่น เปลี่ยนมาเป็นการปลุกพืชหลักบางชนิด เพื่อผลิตน้ำมันมะกอกและเหล้าองุ่นไปขายในดินแดนต่างๆ

              ขณะเดียวกันนครรัฐต่างๆ ก้ผลิตสินค้าและงานฝีมือส่งไปขายในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น เครื่องปั้งดินเผ่าสิดำและสีแดง ทาสมีจำนวนมากขึ้นเพื่อใช้ในงานไร่องุ่น ในโรงงานและงานที่ต้องใช้แรงงานอื่นๆ

              พวกกรีกรับการใช้เงินมาจากพวกลิเดีย (Lydia) ช่วยให้การค้าขายสะดวกขึ้น แทนการแลกเปลี่ยนสิ่งของ (barter system) แบบเดิม ส่งเสริมให้ชนชั้นกลางสะสมทรัพย์สินเงินทองและอิทธิพลมากขึ้น

     

    การศึกษา      

              วัฒนธรรมเอเธนส์เป็นวัฒนธรรมผู้ชายเป็นใหญ่ เนื่องจากราษฎรมีหน้าที่ปกครองและบริหารบ้านเมือง การศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญสำหรับชาวเอเธนส์ ครอบครัวชนชั้นสูงมักจ้างอาจารย์สอนพิเศษมาสอนที่บ้าน

              ส่วนเด็กคนอื่นๆโดยทั่วไปมักจะเรียนโรงเรียนเอกชนซึ่งเสียค่าเล่าเรียนเพียงเล็กน้อย ชาวกรีกศึกษาหาความรุ้และพบปะสังสรรค์กันเป็นประจำในบริเวณอะกรอรา ซึ่งเป็นย่านชุมชนและตลาด นอกจากนี้ยังมีอภิปรายถกเถียงกันในประชาชน เด็กผู้ชายจะเริ่มเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 7 ปีและสำเร็จการศึกษาเมืออายุ 18 ปี

               ตำราเรียนที่สำคัญที่สำคัยได้แก่ มหากาพย์อีเลียดและโอดิซีย์ ซึ่งเรียนในช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่ายเป็นวิชาพละศึกษา วิชาสำคัญอีกวิชาหนึ่งคือ ศิลปะการพูด ซึ่งเป็นวิชาบังคับเมื่อย่างเข้าวัยรุ่นหลังจากจบการศึกษาเมื่ออายุ 18 ปี เยาวชนชายชาวเอเธนส์จะต้องเป้นทหารเป็นเวลา 2 ปี ส่วนวิชาอื่นๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ เรขาคณิต วาดเขียน และดนตรี

     

    สถาปัตยกรรมและประติมากรรม

              สะท้อนความเชื่อและความสอดคล้องกับจักรวาล ความงดงามตามธรรมชาติ ความได้สัดส่วน จากการก่อสร้างวิหารปละประติมากรรมขึ้นใหม่บนอโครโพลิส ได้แก่ วิหารพาเธนอน (Parthenon)

     

    กีฬาโอลิมปีก
     

              ภาพสัญลักษณ์กีฬาโอลิมปีก
     

     

                ชาวกรีกทุกคนตระหนักว่าตนเป็นชนเชื้อชาติเดียวกันผูกผันกันด้วยภาษาและศาสนาเดียวกัน บูชาเทพเจ้าองค์เดียวกัน นอกจากนี้ยังชอบการแข่งขันกีฬาเหมือนๆกัน สำหรับชาวกรีกกรีฑาเคยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม และได้รับความนิยมทุกนครรัฐ ที่สำคัญคือการแข่งขันกรีฑาถวายเทพเจ้าซูสที่จะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี ที่เมืองโอลิมเปีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรีกเรียกการแข่งขันนี้ว่ากีฬาโอลิมปีก (Olympic Games) ผู้ชนะจะได้รับมงกุฎจากใบมะกอกเทศ ปัจจุบันกีฬาโอลิมปีกได้ขยายไปยังทั่วโลก 

     


    การปกครองและเศรษฐกิจ

              วิถีชีวิตมีลักษณะสากล มีวัฒนธรรมกรีกและใช้ภาษากรีกในวงราชการ มีเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าและหัตถกรรมหลายเมือง พวกชนชั้นปกครองและชนชั้นสูงได้รับอารยะรรมกรีกประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับวัฒนธรรมกรีก

              ส่วนผู้นำดินแดนต่างๆซึ่งมักจะเป็นแม่ทัพนายกองที่ปกครองหลังพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนก็ปกครองแบบสมบูรณ์นาญาสิทธิราชตามประเพณีตะวันออกที่ถือว่าผู้ปกครองมีความศักดิสิทธิ์ดุจเทพเจ้า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีส่วนร่วมในการปกครองและทางเศรษฐกิจ

     

    ศิลปะวิทยาการ

              สมัยเฮเลนนิติกมีความเจริยในด้านต่างๆเช่น ปรัชญา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะและสถาปัตยกรรม โดยทั่วไปศิลปกรรมในสมัยนี้มักมีขณาดใหญ่เพื่อแสดงให้เห็นถึงชัยชนะ สร้างอย่างวิจิตรและพิสดารเกินความพอดี ไม่ผสมกลมกลืนอย่างในสมัยเฮเลนิก นอกจากนี้ยังมีศิลปะเพื่อกาค้า เช่น การประติมากรรมรูปคนครึ่งตัว ซึ่งนิยมกันมากในสมัยนี้ นักวิทยาศาสตร์ในยุคสมัย

    เฮเลนนิกเน้นความชำนาญเฉพาะด้านและการทดลองให้ได้ผล นอกจากนี้ยังมีการผสมผสานความรู้ของกรีกกับตะวันออกในแขนงวิชาการต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ซึ่งเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก

              กล่าวได้ว่ามรดกที่สำคัยที่สุดในสมัยเอเลนนิสติส คือ การเผยแพร่อารยธรรมกรีกเข้าไปผสมผสานกับอารยธรรมตะวันออกกลาง ทำให้ความรู่ของกรีกได้วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และปรัชญา กลายเป็นรากฐานของอารยธรรมโรมันและยุโรปในสมัยต่อมา และยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมโลกตะวันออก คือ อินเดีย นอกจากนี้สมัยเฮเลนนิสติกถือว่าเป็นการเปิดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าขาย และศิลปะวิทยาการระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์โลก

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×