ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทวตำนานเทพเจ้ากรีก โรมันและอีทรัสกัน

    ลำดับตอนที่ #13 : อารยธรรมโรมัน:มรดกอารยธรรมโรมัน 100%

    • อัปเดตล่าสุด 24 ต.ค. 55


    มรดกอารยธรรมโรมัน

              การปกครอง ชาวโรมันมีความเฉลียวฉลาดในด้านการปกครอง แบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล จังหวัด และอำเภอ วางหลักทฤษฏีทางการเมือง  เช่น ทฤษฏีสัญญาประชานิคม ความคิดเห็นเกี่ยวกับอธิปไตยของปวงชน หลีกการแบ่งแยกอำนาจแบ่งเป็น 3 ฝ่าย นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ดังปรากฏในการปกครองของยุโรป อเมริกากลาง และประเทศต่างๆในปัจจุบัน และความคิดเห็นที่ว่ากฎหมายต้องเป็นหลักสูงสุดในการปกครองประเทศ อันที่มาของการปกครองนั้บตั้งแต่เริ่มต้นสมัยใหม่เป็นต้นมา

              กฎหมาย กฎหมายโรมันยึดหลักความยุติธรรม ความเสมอภาค สอดคล้องกับหลักเหตุผลและมนุษย์ธรรม ใช้ได้เป็นสากล และปรับปรุงเปลี่ยนปลงให้เข้ากับยุคสมัย มีประมวลกกหมายใน ค.ศ. 534 ในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก กฎหมายโรมันเน้นอำนาจรัฐเหนือปัจเจกชน ให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานแก่พลเมืองเป็นรายบุคคล ขณะเดียวกันก็ระบุสิทธิตามกฎหมายที่ราษฎรพึงจะได้รับความคุ้มครอง เช่น ผู้กล่าวหายังคงเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ผิดจริง กฎหมายโรมกลายเป็นหลักกฎหมายประเทศส่วนใหย่ในยุโรป อริกากลางและอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่อกฎหมายของศาสนาจักรดรมันคาทอลิกส่วนกกหมายระหว่างประเทศก็ยึดกฎหมายโรมหลายข้อ

              สถาปัตยกรรม มีการก่อสร้างถนนที่คงทนถาวร สะพาน การก่อสร้างสถานที่สาธารณะ ละท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ตามเมืองต่างๆที่เป็นอาณานิคมของโรม เช่น บอนน์ เวียนนา ลอนดอน ปาริส ชาวโรมันได้วางแผนการสร้างถนนให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการเดินทางการบริหารและยุทธศาสตร์ จนมีคำกล่าวว่า ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรมถนนและท่อส่งน้ำบางแห่งที่โรมันสร้างไว้ยังคงใช้ได้ดีในปัจจุบัน

              ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมโรมันคือการสร้างหลังคาโค้ง เราจะพบส่วนโค้งในสิ่งก่อสร้างทุกแบบของสถาปัตยกรรมโรมัน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำ สะพานที่เป็นฐานท่อส่งน้ำ ประตูชัย และอัฒจันทร์สนามประลองยุทธ์ ซึ่งล้วนมีความแข้งแรง ความหรูหราและโออ่า และใช้ประโยชน์ได้ดี สิ่งก่อสร้างที่เป็นตัวอย่างชัดเจน ได้แก่ วิหารพาเทนอน

              ศิลปะ โรมันประสบความสำเร็จในด้านประติมากรรม จิตรกรรมปูนเปียก และภาพแกะสลักนูนต่ำ ประติมากรรมมักเป็นการจำลองภาพคนได้อย่างสมจริงตามธรรมชาติ  มีความสารถแกะสลักหินอ่อนรูปจริงตัวของจักรพรรดิ ทหารและนักการเมือง ภาพแกะสลักนูนต่ำแสดงถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อสดุดีวีรกรรมของนักรบและความยิ่งใหญ่ของชาวโรมัน

              วรรณคดี ระยะแรกการประพันธ์เป็นการบันทึกพงศวดาร ตัวบทกำหมายต่างๆตลอดจนตำราทางการทหารและการเกษตร ต่อมารามศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลในสมัยพระเจ้าออกุสตสเมื่อภาษาละตินกลายมาเป็นภาษาที่สละสลวย ชาวดรมันจึงนิยมแต่ประพันธ์อย่างจริงจัง เป็นยุคทองของวรรณคดีภาษาละตินผลงานที่สำคัญได้แก่งานของเวอรืจิน เรื่อ อีเนอิด เป็นมหากาฬเล่าเรื่องบรรพบุรุษชาวโรมัน เทียบเคียงได้กับงานของโฮเมอร์กวีเอกชาวกรีก งานประพันธ์ร้อยแก้วที่เกียวกับการเมืองและจริธรรมของซิเซโร ผู้ได้การยกย่องว่าเป็นผุ้ให้กำเนิดคำประพันธืและบทร้อยแก้ว ฮอเรซและโอวิด มีชื่อเสียงการเขียนกวีที่ไพเราะ นอกจากนี้ยังมีงานเขียนของจุเลียส ซีซาร์เรื่องบันทึกสงครามกอล และงานประวัติศาสตร์กรุงโรมของลิวี และงานเขียนเกี่ยวกับอนารยชน เรื่องเยอร์มาเนีย ของตาซีอุส

              ภาษา ภาษาของโรมันกลายเป็นภาษาของยุโรปในสมัยจักรวรรดิ แต่หลังจากสมัยจักรวรรดิล่มสลายประชาชนเริ่มใช้ภาษาถิ่นของตน ภาษาละตินเป็นที่มาของภาษาอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกสและโรมันเนีย นอกจากนี้ยังเป็นร่างศัพท์ในภาษาอังกฤษ

              การยอมรับนับถือคริสต์ศาสนา คริสต์ศาสนามาจากเอเชียตะวันออก พระเยวูประสูติในเมืองเบทแฮม ในดินแดนปาเลสไตน์ มีอาชีพช่างใหม่ในหมู่บ้านนาซาเรท ในขณะที่ชาวฮิบรูต้องการได้ผุ้นำเพื่อขับไล่ชาวโรมันจากดินแดนปาเลสไตน์ และสร้างชาติฮิบรูขึ้นใหม่ ประมาณ ศ.ส. 28 พระเยซูได้สังสอนอบรมผู้คนจนมีผู้นับถือเป้นจำนวนมาก พระองค์ถุกโรมันตัสสินประหารชีวิตโดยการตรึงไม้กางเขนใน ค.ศ. 29 เมื่อมีพนะชนมายุได้ 33 พรรษา การสิ้นสุดของพระองค์ยิ่งทำให้มีผู้เลื่อใสมากขึ้น จนจักรพรรดิคอนแตนติน (Constantine) แห่งจักรวรรดิตะวันออกได้ออกกกหมายขันตะรรมทางศาสนาขึ้นใน ศ.ส.313 ในบริเวณจักรวรรดิโรมันทางตะวันตกซึ่งใช้ภาษาละตินและมีสันตะปะปาเป็นประมุขทางศาสนา เรียกศาสนาจักรโรมันคาทอลิก ส่วนจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่ใช้ภาษากรีกมีจักรพรรดิเป็นประมุขทางศาสนา เรียก ศาสนจักรอิสเทีร์นออร์ทอดอกว์ คริสต์ศาสนาจึงกลายเป็นศาสนาหนึ่งของจักรวรรดิโรมันและเป้นศาสนาสำคัญในประเทศต่างๆในโลกตะวันตกจนถึงทุกวันนี้                        

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×