การทดสอบประหยัดน้ำมัน - นิยาย การทดสอบประหยัดน้ำมัน : Dek-D.com - Writer
×

    การทดสอบประหยัดน้ำมัน

    สำหรับคนรักรถ

    ผู้เข้าชมรวม

    436

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    436

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:52 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    การทดสอบประหยัดน้ำมัน


    เครื่องยนต์ยุคใหม่ถูกพัฒนาขึ้นสวนทางกับขีดจำกัดเดิมๆ อยู่เสมอ แรงขึ้น แต่ต้องประหยัด และมลพิษต่ำ ผู้ผลิตทุกรายล้วนทำได้ แต่รายใดประสบความสำเร็จมากหน่อย ก็เอาตัวเลขความประหยัดมาโฆษณาเรียกร้องความสนใจ ผู้บริโภคจะเชื่อตัวเลขเหล่านั้นได้ไหม ? เพราะเมื่อใช้งานจริง ไม่เคยทำได้ตามนั้นเลย ตัวเลขแสดงความประหยัด โดยทั่วไปแล้วการดูความประหยัดของรถยนต์แต่ละคัน มักจะใช้ระยะทางกับปริมาตรของน้ำมันเชื้อเพลิงมาคำนวณเปรียบเทียบกัน ซึ่งทั่วโลกไม่ได้ใช้หน่วยเป็นกิโลเมตร/ลิตรเสมอไป ต้องแล้วแต่หน่วยปริมาตรหรือหน่วยระยะทางที่ใช้ในประเทศนั้นๆ เช่น ไมล์/แกลลอน (แกลลอนก็มีหลายหน่วย) หรืออย่างในยุโรป แม้เป็นกิโลเมตรและลิตรเหมือนกับที่คนไทยนิยม แต่ก็ต่างกัน เพราะคิดและแสดงผลออกมาเป็น กี่ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร ดังนั้นต้องอ่านให้ละเอียด

    ถ้าจะเปรียบเทียบกันในแบบต่างหน่วย ก็ต้องคำนวณกันให้ถูกต้อง ระยะทาง 1 ไมล์ = 1.609334 กิโลเมตร, ปริมาตร 1 แกลลอน ยูเอส = 3.7853 ลิตร, 1 แกลลอน อังกฤษ = 4.5496 ลิตร

    ในไทยนิยมแสดงผลหรือคิดกันเป็นอัตรา กิโลเมตร/ลิตร เพราะใช้การวัดระยะทางเป็นกิโลเมตร และจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในหน่วยลิตร

    วิธีทดสอบ
    ในเอกสารโฆษณาของบริษัทรถยนต์ มักมีการอ้างอิงถึงความประหยัดน้ำมันฯ และมักจะมีข้อความกำกับเกี่ยวกับเส้นทางทดสอบ ลักษณะ และความเร็วประมาณเท่าไร หรือบอกเพียง ขับความเร็วคงที่ ที่ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในสนามทดสอบ หรือบนถนนหลวง ฯลฯ ถ้าเป็นตัวเลขจากผู้ผลิต มักจะเป็นการทดสอบด้วยความเร็วคงที่ ในสนามทดสอบ หรือเส้นทางเรียบโล่ง เพื่อไม่ให้มีตัวแปรอื่นๆ มากวน เพราะแสดงผลได้แม่นยำ และถ้ามีการทดสอบซ้ำก็น่าจะได้ผลใกล้เคียงเดิมที่สุดการขับก็มักจะนั่งคนเดียว การวัดใช้เครื่องมือพิเศษ ไม่ใช่ดูจากตัวเลขบนมาตรวัดบนหน้าปัด เพราะอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ โดยอาจทำถังน้ำมันฯ แบบใสแยกออกมาแสดงปริมาตรอย่างชัดเจนการวัดระยะทางทำด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรับตั้งจนตรงกับระยะทางจริงๆ ต่างจากมาตรวัดบนหน้าปัดที่มีเพี้ยนน้อยกับเพี้ยนมากการทำความเร็วคงที่มีระบบควบคุมพิเศษ เพื่อให้รอบเครื่องยนต์และความเร็วของรถยนต์นิ่งคงที่จริงๆ

    เส้นทางทดสอบทำในสนามเฉพาะ ที่ลมไม่แรง เส้นทางเรียบโล่ง ไม่มีรถยนต์คันอื่นๆ มากวน บางครั้งมีการล็อกคันเร่งกันเลยคนไม่ต้องเหยียบ มีการทดสอบหลายครั้ง จนมั่นใจว่าได้ตัวเลขที่แน่นอน จึงนำผลการทดสอบนั้นออกมาโฆษณา เพราะถ้าหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคสงสัยแล้วให้ทดสอบซ้ำ จะได้ใกล้เคียงกันและไม่โดนเล่นงานผู้ผลิตทุกรายต้องพยายามทดสอบให้ได้ตัวเลขออกมาประหยัดมากๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ซื้อ แต่เงื่อนไขที่ใช้ทดสอบไม่ตรงกับการใช้งานจริง เช่น ขับด้วยความเร็วคงที่ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมงและปิดแอร์ ซึ่งไม่มีใครขับช้าขนาดนั้นบนถนนหลวง และผู้ใช้รถยนต์เกือบทั้งหมดก็ต้องเปิดแอร์ขณะขับระยะหลังมานี้ก็ยังมีผู้ผลิตหลายราย ที่ยังใช้เงื่อนไขการทดสอบแตกต่างจากการใช้งานจริงอยู่ไม่น้อย แต่ก็เริ่มมีผู้ผลิตบางรายที่เพิ่มความเร็วที่ใช้ในการทดสอบ เช่น ใช้ความเร็วคงที่ในช่วง 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ไล่ไปจนถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ก็ไม่มากรายนัก เพราะตัวเลขความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ออกมาเป็นกิโลเมตร/ลิตรจะน้อย จนลดความน่าสนใจลงไปด้วย

    อาจมีข้อโต้แย้งว่า การขับด้วยความเร็วคงที่ ย่อมประหยัดกว่าสภาพการขับจริง ที่ต้องมีการลดและเพิ่มความเร็วบ่อยกว่า นั่นเป็นเรื่องจริง แต่การที่บริษัทรถยนต์ต้องทำเช่นนั้น เพราะต้องการให้มีเงื่อนไขที่อ้างอิงได้ชัดเจนถ้าจะทดสอบคล้ายกับการใช้งานจริง ก็อาจจะได้ผลที่ผิดเพี้ยนจากสารพัดตัวแปร และดูเลื่อนลอย เช่น บอกว่าขับทางไกล แล้วขับแบบไหน เร่งแซงบ่อยหรือไม่ เส้นทางคดเคี้ยวหรือการจราจรคับคั่งหรือเปล่า หากบอกว่าขับในเมือง เดี๋ยวจอด เดี๋ยวออกตัว ในเมืองการจราจรติดหนักขนาดไหน ทางด่วนรวมด้วยหรือไม่...ตัวแปรมากมายเต็มไปหมด ! ดังนั้นถ้าใครสนใจตัวเลขความประหยัดจากผู้ผลิต ก็ควรนำมาอ้างอิงบ้างเท่านั้น โดยมองกว้างๆ ว่า ในการขับจริงนั้นใช้ความเร็วสูงกว่าและไม่ค่อยคงที่ เปิดแอร์ นั่งหลายคน ความประหยัดต้องไม่เท่ากันแน่ๆ โดยอาจแตกต่างกันหลายกิโลเมตร/ลิตร ส่วนการขับในเมือง เดี๋ยวเร่งเดี๋ยวจอดนั้น ย่อมกินน้ำมันมากกว่าขับทางไกลความเร็วคงที่เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ผู้ผลิตแสดงตัวเลขเกินจริงเสมอไป เพราะถ้ามีหน่วยงานราชการสงสัย ขอทดสอบซ้ำแล้วไม่ได้ผลตามที่ระบุไว้ อาจมีปัญหาได้ แต่เป็นเพราะเงื่อนไขการทดสอบมีความแตกต่างจากการใช้งานจริง และมักเป็นเงื่อนไขแปลกๆ ที่ทำให้ตัวเลขออกมาสวยๆ

    ทำไมประหยัดขึ้น ?
    เงื่อนไขในการทดสอบของผู้ผลิตตลอดนับสิบปีที่ผ่านมามักคล้ายกัน เช่น ใช้ความเร็วคงที่ ปิดแอร์ ขับคนเดียว บนเส้นทางเรียบโล่ง แต่ทำไมระยะหลังมานี้ รถยนต์ส่วนใหญ่ประหยัดขึ้น ?สมัยก่อนตัวเลขของรถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน ระดับ 1,300-1,600 ซีซี ข้บด้วยความเร็วคงที่ช้าๆ ยังป้วนเปี้ยนแถวๆ 15 กิโลเมตร/ลิตร แต่ทำไมปัจจุบันนี้ขยับมาแถวๆ 20 กิโลเมตร/ลิตร โม้หรือเปล่า ?ในทางวิศวกรรมแล้ว ผู้ผลิตทุกรายล้วนพยายามพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีกำลังสูงขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มซีซี แต่มีความสิ้นเปลืองและมลพิษต่ำลง จริงอยู่...ม้าต้องกินหญ้าถึงจะมีแรง แต่ก็อยากให้หญ้า (น้ำมันเชื้อเพลิง) ที่กินเข้าไป แปรสภาพเป็นกำลังงานให้ได้มากที่สุด เมื่อมีกำลังมากขึ้นต่อน้ำมันฯ แต่ละหยด ก็สามารถเลือกอัตราทดของระบบส่งกำลังให้เอื้อต่อสมรรถนะและความประหยัดควบคู่กันได้มีหลากหลายเทคโนโลยีที่ทำให้เครื่องยนต์ยุคใหม่เป็นเช่นนั้น เช่น ระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ฝาสูบที่ดี โลหะวิทยาที่ทั้งทำให้ชิ้นส่วนทั้งเบา ลื่น และทนทาน ฯลฯลองนึกง่ายๆ ว่า รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ 1,600 ซีซี รุ่นเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว มีเรี่ยวแรงไม่ถึง 100 แรงม้า พอมาถึงรุ่นปัจจุบัน ซีซีเท่าเดิม แต่แรงกว่าเดิม จนแรงถึงระดับ 130-150 แรงม้า ในขณะที่กินน้ำมันพอๆ กับแต่ก่อนหรือประหยัดกว่า จริงๆ แล้ว ตัวเลขความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง จากผู้ผลิตส่วนใหญ่นั้นเชื่อถือได้ อย่าเพิ่งรีบมองว่าโม้ เพราะมักมีการทดสอบกันอย่างละเอียด แม้จะทำโดยทีมงานเอง ซึ่งพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ได้ตัวเลขสวยๆ แต่ก็อยู่ในเงื่อนไขที่ระบุไว้เสมอ และไม่ตรงกับลักษณะในการใช้งานจริง ถ้าตัวเลขความสิ้นเปลืองแตกต่างกันก็ไม่น่าแปลกใจ

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น