มารยาทการขับรถ - นิยาย มารยาทการขับรถ : Dek-D.com - Writer
×

    มารยาทการขับรถ

    สำหรับคนรักรถ

    ผู้เข้าชมรวม

    325

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    325

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:52 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    มารยาทในการขับรถ


    การใช้ถนนร่วมกัน นอกจากกฎหมายราชการแล้ว ยังควรมีมารยาทและความเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อให้มีทั้งความราบรื่นและความปลอดภัยในการเดินทางผู้ขับรถยนต์ไทยกับมารยาทในการ
    ใช้รถใช้ถนนร่วมกันยังมีไม่มากนัก หากไม่หันมาสนใจและรณรงค์ร่วมกัน การรักษามารยาท
    ก็คงจะถดถอยลงเรื่อยๆ มารยาทและวิธีปฏิบัติต่อไปนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่รวบรวมขึ้น ซึ่งอาจ
    มีอีกหลากหลายแนวทาง ถ้าเห็นว่าสมควรก็นำไปปฏิบัติได้

    1. ข้ า ม สี่ แ ย ก - ต ร ง ไ ป ไ ม่ ค ว ร เ ปิ ด ไ ฟ ฉุ ก เ ฉิ น
    การข้ามสี่แยกแล้วต้องการตรงไป พร้อมกับเปิดไฟฉุกเฉินกะพริบสี่มุม เป็นวิธีที่ผิด ! อันตราย ! และแพร่หลายกันอยู่ไม่น้อยเหตุผลที่ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินในกรณีนี้ เพราะผู้ขับรถยนต์ที่มา
    ด้านซ้าย-ขวา จะเห็นไฟกะพริบด้านหน้าเพียงมุมเดียว เสมือนเป็นการเปิดไฟเลี้ยว โดยไม่ทราบเลยว่าเป็นการเปิดไฟฉุกเฉินกะพริบพร้อมกันสี่มุมซ้าย-ขวา ลองนึกภาพแล้ว
    จะพบว่า ไฟเลี้ยวด้านหน้า แม้จะกะพริบพร้อมกันซ้าย-ขวา แต่ผู้ขับรถยนต์คันที่มาด้านข้าง
    ในแต่ละด้านจะเห็นไฟกะพริบเพียงมุมเดียว โดยเฉพาะผู้ที่มาจากด้านซ้าย จะไม่ชะลอ
    ความเร็วลงหรือไม่ให้ทาง ด้วยคิดว่ารถยนต์คันที่เปิดไฟฉุกเฉินจะเลี้ยวซ้าย เพราะไม่เกี่ยว
    กับเขาเลยนอกจากนั้นในมุมอื่น หากมีรถยนต์บางคันบังรถยนต์คันที่เปิดไฟฉุกเฉิน ผู้ขับ
    รถยนต์คันอื่นๆ อาจเข้าใจผิดว่าคิดเป็นการเปิดไฟเลี้ยวเฉพาะมุมที่เขาเห็นในกฎหมาย
    จราจรไม่มีการระบุไว้ว่า ต้องเปิดไฟฉุกเฉินเมื่อต้องการข้ามสี่แยกแล้วตรงไป วิธีปฏิบัติที่
    ถูกต้องและปลอดภัย คือ เบรกชะลอความเร็วลง มองซ้าย-ขวา เมื่อเส้นทางว่างพอ ก็ตรง
    ไปด้วยความเร็วที่เหมาะสม โดยไม่ต้องเปิดสัญญาณไฟใดๆ ใช้สมาธิและเวลามองรถยนต์
    คันอื่น ปลอดภัยกว่าเสียสมาธิและเวลาเปิด-ปิดสวิตช์ไฟฉุกเฉิน

    2. ฝ น ต ก ห นั ก ไ ม่ ค ว ร เ ปิ ด ไ ฟ ฉุ ก เ ฉิ น
    นับเป็นความหวังดี แต่อาจให้ผลร้าย ที่เกรงว่าผู้ร่วมทางจะไม่สามารถมองเห็นรถยนต์
    ของตนเมื่อฝนตกหนักในความเป็นจริง ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน เพราะจะแยงสายตา และหากมีรถยนต์บางคันบังรถยนต์คันที่เปิดไฟฉุกเฉิน ผู้ขับรถยนต์คันอื่นๆ อาจเข้า
    ใจผิดว่าเป็นการเปิดไฟเลี้ยวเฉพาะมุมที่เขาเห็น รวมถึงการเปลี่ยนเลนโดยไม่ปิดไฟ
    ฉุกเฉินก่อน เพราะจะไม่มีไฟเลี้ยวให้ใช้บอกเตือนตามปกติ เมื่อฝนตกหนัก วิธีปฏิบัต
    ิที่ถูกต้องและปลอดภัย คือ ชะลอความเร็วลง ชิดเลนซ้าย-กลาง และเปิดไฟหน้าแบบต่ำ
    หรือถ้ามีไฟตัดหมอกหลังสีแดงเพิ่มอีก 2 ดวง ก็ควรเปิดด้วย แล้วขับด้วยความระมัด
    ระวังไฟฉุกเฉินมีไว้ใช้เมื่อฉุกเฉินจริงๆ เช่น รถยนต์จอดเสีย เกิดอุบัติเหตุบนผิว
    จราจร รถยนต์ถูกลาก (ถ้ามีโอกาส ทำป้ายหรือเขียนกระดาษแปะด้านท้ายว่า -
    รถลาก- จะช่วยให้ปลอดภัยขึ้น) ในกรณีที่เปิดไฟฉุกเฉินในรถยนต์ถูกลาก ควรชิด
    เลนซ้าย และถ้าต้องการเปลี่ยนเลน ควรปิดไฟฉุกเฉินแล้วเปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าพอสมควร

    3. ส ป อ ต ไ ล ต์ / ไ ฟ ตั ด ห ม อ ก เ ปิ ด เ มื่ อ จ ำ เ ป็ น
    มีทั้งติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานและติดตั้งเพิ่มเอง ตำแหน่งอยู่ตรงด้านล่างของกันชนหน้า 2 ดวง/1 คันรถยนต์บางรุ่นออกแบบให้ใช้เป็นไฟตัดหมอก ซึ่งก็ควรใช้เมื่อมีหมอกตามชื่อเรียกมีการใช้สปอตไลต์/ไฟตัดหมอกที่ผิดมารยาท สร้างความรำคาญ และเริ่มแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ จนอาจลดความปลอดภัยแก่ผู้ร่วมทาง คือ เปิดใช้ในขณะที่เส้นทางไม่มืดมาก ซึ่งไม่จำเป็น แสงสว่างที่แรงนั้นแยงสายตาทั้งผู้ขับรถยนต์คันที่สวนมา และคันนำหน้า ในเส้นทางปกติไม่ควรเปิดใช ้งานเพราะสว่างอยู่คนเดียว แต่ทำให้คนอื่นตาพร่ามัว คล้ายหรือแย่กว่าการเปิดไฟสูงสาดไปทั่วนั่นเอง บางรายหนักข้อด้วยการเปิดเพียงไฟหรี่ แล้วเปิดสปอตไลต์เพิ่มความสว่าง นับเป็นการรบกวนสายตาของเพื่อนร่วมทางอย่างมาก ก็ไม่ทราบว่าทำเพื่ออะไร ! สาเหตุที่หลายคนเปิดสปอตไลต์หรือไฟตัดหมอกด้านหน้า โดยไม่เกรงใจผู้ขับรถยนต์คันนำ หรือคันที่สวนทางมา เพราะคิดไปเองแต่เพียงว่า ตำแหน่งของสปอตไลต์อยู่ต่ำ ไม่น่าแยงตาเหมือนการเปิดไฟสูง ในความเป็นจริง ไฟส่องสว่างที่ติดตั้งอยู่ต่ำก็อาจแยงตาได้ ถ้ามีแสงแรงและมีการกระจายแสงมากๆสปอตไลต์ส่วนใหญ่มีแสงแรง และมีการกระจายแสงมากจนแยงตาแบบประกายแฉก ถ้าอยากเปิดใช้จริงๆ ควรเปิดแล้วออกไปมองอย่างรอบคอบว่า จะแยงตาผู้อื่นหรือไม่ (ส่วนใหญ่-แยงตา) หากไม่แน่ใจ ก็ไม่ควรเอาเปรียบผู้ขับร่วมทางด้วยการเปิดสปอตไลต์โดยไม่จำเป็น ควรเปิดเมื่อมืดจริงๆ และแน่ใจว่าไม่รบกวนผู้อื่นสำหรับคำถามที่ว่า แล้วผู้ผลิตรถยนต์ติดตั้งสปอตไลต์มาเพื่ออะไร แล้วจะได้ใช้เมื่อไรเพราะกลัวไม่คุ้มค่า ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายระบุในคู่มือประจำรถยนต์ว่า สปอตไลต์ควรเปิดเมื่อจำเป็นและไม่รบกวนคนอื่น หรือควรเปิดเมื่อหมอกลง และไม่ควรเปิดใช้ต่อเนื่องนานๆ เพราะจะร้อนเกินไปจนจานฉายเสื่อมได้ง่าย การเปิดสปอตไลต์ต่อเนื่องจนร้อน เมื่อต้องลุยน้ำกะทันหัน กระจกด้านหน้าของสปอตไลต์อาจแตกร้าวได้ การติดตั้งสปอตไลต์เพิ่มเติมเองผิดกฎหมาย ทั้งมีการเปิดใช้และไม่ได้เปิด จะไม่ผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อมีฝาครอบปิด และไม่ได้เปิดใช้บนเส้นทางเรียบปกติ

    4. ถ้ า มี ไ ฟ ตั ด ห ม อ ก ห ลั ง ค ว ร เ ปิ ด เ มื่ อ ห ม อ ก ล ง ห รื อ ฝ น ต ก ห นั ก เ ท่ า นั้ น
    รถยนต์บางรุ่นมีสวิตช์พิเศษสำหรับไฟตัดหมอกด้านหลัง คือ ไฟท้ายสีแดงเพิ่มขึ้นอีกข้างละดวง และมีความสว่างมากกว่า ไฟท้ายปกติมาก เพื่อใช้เตือนผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมาเมื่อหมอกลง ฝนหรือหิมะตกหนัก หากเปิดใช้ไฟตัดหมอกหลังสีแดงแสนสว่างในยามทัศนวิสัยปกติแบบในไทย แสงสว่างที่เพิ่มขึ้นมาจะแยงตาผู้ร่วมทางมาก จึงไม่ควรเปิดใช้ในการใช้รถใช้ถนนปกติ และไม่ควรหลงลืมเปิดโดยไม่จำเป็น

    5. ก ะ พ ริ บ ไ ฟ สู ง ข อ ท า ง ห รื อ เ ตื อ น
    บ้างเรียกศัพท์สแลงกันว่า ดิฟไฟสูง คนไทยมักใช้เพื่อเตือนไม่ให้รถยนต์ทางโทตัดเข้ามาหาทางเอกหรือทางตรงทั้งที่ในบางประเทศใช้การกะพริบไฟสูงเมื่อต้องการให้ทาง เพราะแสดงว่าเห็นแล้วและให้ทางไปได้ ในขณะที่คนไทยใช้เพื่อบอกว่า เห็นแล้วว่ากำลังจะตัดทางเข้ามา แต่ไม่ให้เข้ามา กรณีนี้กฏหมายไทยไม่มีกำหนดว่าให้ใช้การกะพริบไฟสูงเพื่อจุดประสงค์ใด อาจเพราะไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นสากลได้ จึงยังคงใช้กันในสไตล์คนไทยได้ แต่ก็มีผู้ที่ใช้เพื่อต้องการให้ทาง ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะต้องเห็นก่อนจึงจะสามารถกะพริบไฟบอกได้คงต้องปล่อยวางและใช้กันไปตามกระแส

    6. จ อ ด ใ น พื้ น ที่ ห้ า ม จ อ ด แ ล้ ว เ ปิ ด ไ ฟ ฉุ ก เ ฉิ น
    นับเป็นการเอาเปรียบสังคมอย่างหนึ่ง แม้จะเป็นการจอดชั่วคราวก็ตาม เพราะการเปิดไฟฉุกเฉิน แม้จะแสดงว่าจอด แต่ถ้าไม่ใช่เวลาและพื้นที่ซึ่งควรจอดก็ไม่ควรปฏิบัติ อีกทั้งยังผิดกฏจราจรอีกด้วย การเปิดไฟฉุกเฉินจอดในพื้นที่ห้ามจอด ไม่สามารถป้องกันการออกใบสั่งได้

    7. เ ป ลี่ ย น เ ล น - แ ซ ง - ขึ้ น ท า ง ต ร ง แ ล้ ว ค ว ร เ ร่ ง ค ว า ม เ ร็ ว เ พิ่ ม
    การขึ้นทางตรงจากซอยหรือทางโท รวมถึงการเปลี่ยนเลน ควรกระทำเมื่อเส้นทางว่างพอ เมื่อเข้าเลนที่ต้องการได้แล้ว บางคนไม่สนใจมารยาทต่อผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมา เพราะคิดแต่เพียงว่า ถ้าถูกชนด้านท้ายแล้วจะไม่ผิด เนื่องจากเข้าสู่เส้นทางได้เต็มคันแล้วในทางมารยาท เมื่อเข้าสู่เส้นทางได้เต็มคันแล้ว ควรเร่งความเร็วเพิ่มไล่รถยนต์คันหน้าในระยะที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่ารถยนต์คันหลังห่างแค่ไหน เพื่อมารยาท ผู้ขับรถยนต์คันหลังจะได้ไม่ต้องเบรกจนตัวโก่ง และไม่เสี่ยงต่อการเสียโฉมของบั้นท้ายรถยนต์ของตน

    8. ก า ร เ บ ร ก ต้ อ ง ส น ใ จ ร ถ ย น ต์ ที่ ต า ม ม า ด้ ว ย
    ไม่ใช่เฉพาะเป็นการรักษามารยาท แต่เป็นการเพิ่มความปลอดภัยของตนเองด้วยการเบรก ดูเหมือนผู้ขับส่วนใหญ่จะมองแต่เพียงเป็นการลดความเร็วเมื่อมีสิ่งกีดขวางด้านหน้า โดยไม่ค่อยสนใจมารยาทและความปลอดภัยของผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมาถ้ามีโอกาสและเวลาพอ ก่อนการเบรกควรเหลือบ มองกระจกมองหลัง เพื่อจะได้ตัดสินใจกดแป้นเบรกด้วยน้ำหนักและจังหวะที่เหมาะสมเพื่อมารยาท ผู้ขับรถยนต์คันหลัง ไม่ต้องเบรกจนตัวโก่ง และไม่เสี่ยงต่อการเสียโฉมของบั้นท้ายรถยนต์ของตน นอกจากนั้น การแตะเบรกโดยไม่จำเป็นก็ถือว่าเสียมารยาทบ้างเล็กน้อย เพราะไฟเบรกจะสว่าง ทำให้ผู้ขับรถยนต์คันตามมาชะงัก แต่ก็อย่ากังวลมากจนแตะเบรกช้าเพราะอาจเป็นอันตราย การเบรกมิใช่ต้องสนใจแต่เพียงด้านหน้าเท่านั้น ด้านหลังก็ต้องสนใจทั้งความปลอดภัยและมารยาท

    9. ก้ ม ศี ร ษ ะ ข อ บ คุ ณ ลื ม ไ ป แ ล้ ว ห รื อ ?
    ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้ขับมีการก้มหัวขอบคุณเมื่อได้รับการให้ทาง แต่ในระยะหลังมานี้เริ่มมีการหลงลืมไปบ้างโดยอาจเป็นเพราะการรักษาศักดิ์ศรีแบบแปลกๆ เช่น ผู้ขับรถยนต์หรูราคาแพง มักไม่ยอมขอบคุณผู้ขับรถยนต์ราคาถูกที่ให้ทาง หรือผู้ชายมักไม่ยอมขอบคุณผู้หญิง ฯลฯน่าชื่นชมมาก เมื่อมีผู้ขอบคุณ ให้เมื่อได้รับการให้ทาง หากกลัวจะเสียศักดิ์ศรีแบบแปลกๆ ไม่อยากก้มศีรษะให้ ก็สามารถใช้วิธียกแขน พร้อมแบฝ่ามือครบทั้ง 5 นิ้ว (เน้นครบ 5 นิ้ว เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด) ซึ่งยังดีกว่าการเพิกเฉย การขอบคุณในสิ่งที่สมควร ไม่ใช่เรื่องเสียศักดิ์ศรีแต่อย่างใด

    10. ไ ฟ เ ห ลื อ ง ค ว ร เ ร่ ง ห นี ห รื อ เ บ ร ก ?
    ตามหลักการที่ถูกต้องอันเป็นสากล แต่ไม่ค่อยมีการปฏิบัติ คือ ต้องเบรกและจอดเมื่อเห็นไฟเหลืองก่อนไฟแดงผู้ขับรถยนต์ไทยส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่เมื่อเห็นไฟเหลือง คือ ไฟเตือนให้เร่งหนีการติดไฟแดง ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เพราะการที่ไฟเหลืองสว่างขึ้นก่อนจังหวะไฟแดง ตามหลักการจริงเป็นการเตือนเพื่อให้ผู้ขับชะลอความเร็วและจอด ในเมื่อวิถีการขับรถยนต์ของคนไทยส่วนใหญ่ เมื่อเห็นไฟเหลือง คือ ไฟเตือนให้เร่งหนีการติดไฟแดง ก็คงหลีกหนีไม่พ้น และยากที่จะให้ชะลอความเร็วลงและเบรกเมื่อเห็นไฟเหลืองสว่างขึ้นก่อนจังหวะไฟแดง ถ้าอยากจอดเมื่อเห็นไฟเหลืองแล้วเบรกเพื่อจอด ก็นับเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยจากการถูกชนท้าย เพราะคนไทยส่วนใหญ่ เมื่อเห็นไฟเหลืองจะเข้าใจกันว่าเป็นการเตือนให้เร่งหนีการติดไฟแดงหากต้องการฝืนสังคม (ทั้งที่ไม่ผิด) ควรเหลือบมองกระจกมองหลัง เพื่อจะได้ตัดสินใจกดแป้นเบรกด้วยน้ำหนักและจังหวะที่เหมาะสม เพื่อมารยาท ผู้ขับรถยนต์คันหลังไม่ต้องเบรกจนตัวโก่ง

    11. ไ ฟ เ ลี้ ย ว ต้ อ ง เ ปิ ด - ปิ ด อ ย่ า ง เ ห ม า ะ ส ม
    นับเป็นเรื่องพื้นฐานที่ถูกมองข้าม การเปิดไฟเลี้ยวเป็นเรื่องจำเป็น เพราะกฎหมายกำหนดให้มีการเตือนผู้ร่วมทางล่วงหน้าตามระยะที่เหมาะสมควรเปิดไฟเลี้ยวเมื่อเตรียมเปลี่ยนเลน หรือเลี้ยวล่วงหน้าพอสมควร และไม่ควรเปิดค้างลืมทิ้งไว้

    12. ชิ ด ซ้ า ย เ ส ม อ
    บนถนนหลายเลนมักมีการเตือนว่า -ขับช้า ชิดซ้าย- ซึ่งไม่ค่อยตรงกับหลักการขับปลอดภัยและมารยาทในการใช้ถนนนักเพราะจะมีรถยนต์แล่นอยู่เลนขวาตลอด โดยคิดว่าความเร็วที่ใช้ในขณะนั้นถือว่าเร็วแล้ว ซึ่งอาจเป็นเพราะกฎหมายไทยกำหนดให้ใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 80-90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อใช้ความเร็วเกินขึ้นไปแล้ว ก็มักคิดไปเองว่าเร็วพออยู่แล้ว จึงสามารถแล่นชิดขวาได้ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง รักษามารยาท และปลอดภัยในการใช้เลนขวา คือ -แซงแล้วชิดซ้าย- ไม่ว่าจะใช้ความเร็วสูงเท่าไรก็ตาม เร็วแล้วแต่ยังมีเร็วกว่าได้ ถึงจะผิดกฎหมายในการใช้ความเร็วสูง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ... มารยาทในการขับรถยนต์ เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งเพื่อตัวเองและผู้ร่วมทาง

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น