ลำดับตอนที่ #3
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : 10 อันดับสุดยอด อารยธรรมลึกลับ, แห่งอดีตกาล
I. มู ทวีปแห่งมารดร (Ancient Mu or Lemuria)
ก็เห็นพ้องต้องกันในวงการลึกลับศาสตร์แหละครับว่า อาณาจักรที่เก่าแก่ยืนนานที่สุดในโลกที่เป็นอารยธรรมของ"มนุษย์โลก"จริงๆนั้น คือ มู:ทวีปแห่งมารดร ระยะเวลาของอาณาจักรนี้ว่ากันว่าย้อนหลังไปถึง 78,000 ปีที่แล้ว บนทวีปขนาดใหญ่ที่มีชื่อตามภาษาโบราณว่า มู หรือที่คนสมัยใหม่เรียกเลมูเรียตามชื่อของลิงชนิดหนึ่ง และเจริญรุ่งเรืองอย่างยาวนานมาอย่างน้อยก็ถึง 52,000 ปีที่ผ่านมา แต่ก็มีบางแหล่งเหมือนกันครับที่ระบุว่า มูไม่ได้มีอายุยืนยาวถึงขนาดนั้น แต่ก่อตัวเมื่อประมาณ 26,000 ปีก่อนและพังพินาศลงด้วยภัยพิบัติ Pole shift หรือขั้วโลกพลิกเมื่อ 24,000 ปีที่ผ่านมาแล้ว สาเหตุประการหลังนี่แฟนๆเรื่อง MMR คงคุ้นๆกันอยู่
อย่างไรก็ตาม มูมิได้สูงส่งด้วยวิทยาการไฮเทคดังอาณาจักรหลังๆ ที่รุ่งเรืองตามมา แต่อารยธรรมของมูเป็นอารยธรรมด้านจิตวิญญาณ สังคมของอาณาจักรนี้บูชาความรู้และศัรทธาโดยเฉพาะ ซึ่งต่างจากแอตแลนติสที่สัญลักษณ์ของอาณาจักรนี้คือเทคโนโลยีและนวัตกรรม
II. แอตแลนติสโบราณ (The Ancient Atlantis)
ว่ากันว่าไม่นานนักหลังจากที่ทวีปมูจมลง ความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาได้ทำให้แผ่นดินแห่งนึงผุดขึ้นบริเวณคาบสมุทรแปซิฟิค อารยธรรมที่รุ่งเรืองของมูได้หายไปกับภัยพิบัติครั้งนั้น แต่ไม่ได้รวมถึงอาณาจักรอีกแห่งที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงปลายยุคของ มู
ดินแดนที่ว่าเป็นเสมือนอาณาจักรในม่านหมอกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติครับ เพราะจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามันตั้งอยู่บนดินแดนไหนของโลก อาณาจักรนี้จะมีตัวตนอยู่จริงหรือเป็นเพียงตำนานก็ยังหาคนมายืนยันไม่ได้ด้วยซ้ำ ถึงกระนั้น คนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อครับ ว่าครั้งหนึ่งโลกของเรา เคยมีอาณาจักรที่สูงส่งด้วยวิทยาการแต่ประสบความพินาศเพราะภัยสงครามนามว่า แอตแลนติส อยู่จริงๆ เชื่อกันว่าอาณาจักรแอตแลนติสมีความก้าวหน้าทางวิทยาการเอามาก ๆ ก้าวหน้าชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนนับแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการทำลายล้างเป็นเทคโนโลยีที่เป็นตัวแทนของแอตแลนติสเ
ลยทีเดียวครับ เหตุผลที่อาณาจักรโบรารแห่งนี้เน้นเทคโนโลยีด้านสงครามก็อาจเป็นเพราะ ต้องปกครองอาณานิคมที่กระจัดกระจายอยู่รอบโลก แถมยังต้องทำสงครามกับทวีปอื่นๆที่รุ่งเรืองมาในยุคไล่ๆกัน ตำราบางเล่มกล่าวถึงการรบกันระหว่างแอตแลนติสกับอาณาจักรทางฝั่งอินเดียโบราณไว้อย่า
งน่าดูชม ดูเหมือนภาษาสันสกฤตโบราณจะขนานนามของชาวแอตแลนติสว่า อัศวินหรือนักรบ
หลายตำนานกล่าวตรงกันว่า แอตแลนติสมาถึงจุดหายนะเพราะภัยสงคราม เนื่องจากการใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอย่างไม่ยั้งคิดนั่นเอง จุดจบของแอตแลนติสน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับมนุษย์เราในปัจจุบันได้ไม่มากก็น้อย ตราบที่เรายังไม่ยุติการแก้ปัญหาด้วยกำลัง หรือกระหายสงครามอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
อัพภาพ image(s)
III. อาณาจักรโบราณแห่งชมพูทวีป (Rama Empire of India)
นับว่าฟ้ายังเข้าข้างอยู่ไม่น้อย ที่ตำรับตำราโบราณของทางอินเดียไม่ได้ถูกม้วนหายไปกับวังวนทางประวัติศาสตร์มากนัก หลายๆชาติต้องพบกับความเจ็บปวดใจ ที่บันทึกโบร่ำโบราณถูกทำลายไปเสียหมดสิ้น ถ้าไม่เพราะภัยพิบัติก็ฝีมือมนุษย์ด้วยกันนี่แหละครับ การเผาตำรา-ฆ่านักปราชญ์ของฉินสื่อหวง(จิ๋นซีฮ่องเต้) การเผาคัมภีร์สำคัญของอียิปต์ตามคำสั่งของผู้นำอิสลาม หนังสือโบรารของมายา อินคา หรือแม้แต่ชาวเกาะอีสเตอร์ก็ถูกชาวตะวันตกเผาทำลายสิ้น เคราะห์ดีที่ทางอินเดียยังมีสิ่งเหล่านี้เหลืออยู่อีกเยอะ อย่างน้อยก็เยอะมากพอที่จะให้คนรุ่นหลังอ้าปากค้างอย่างอัศจรรย์ใจ ในความเป็นมาและเป็นไปของอาณาจักรโบราณแห่งดินแดนภารตะนี้ได้แหละน่า
บทเรียนในวิชาประวัติศาสตร์สอนเราว่า อารยธรรมอินเดียเริ่มขึ้นประมาณห้าพันปีที่ผ่านมา แท้ที่จริงอารยธรรมแห่งนี้ยาวนานย้อนหลังไปกว่าที่เรารู้จักมากนักครับ ก่อนหน้านี้ วงการประวัติศาสตร์รู้จักอินเดียโบราณในแง่ของอาณาจักรใหญ่ ที่เคยรบพุ่งกันอย่างเอาเป็นเอาตาย กับกองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซีโดเนีย มีอารยธรรมที่รุ่งเรืองอย่างน่าทึ่ง ครั้นพอมีการตั้งไซต์ทางโบราณขึ้นที่หุบแห่งความตาย เฮนโจ ดาโร นักประวัติศาสตร์จึงเริ่มเอะใจเกี่ยวกับอาณาจักรโบราณแถบลุ่มน้ำสินธุแห่งนี้ เพราะหลักฐานทั้งหลายแหล่ที่พบล้วนบ่งบอกว่า ดินแดนแห่งนี้มีความเป็นมาและเป็นไปที่ไม่ธรรมดาเอาเสียจริงๆ
ที่ว่าไม่ธรรมดาคือ การสร้างเมือง โมเฮนโจ ดาโร กับ ฮารัปปา (Harappa) นั้นดูเหลือกำลังของคนโบราณจะทำได้ เมืองทั้งเมืองถูกวางผังเอาไว้อย่างดีก่อนสร้าง ด้วยแปลนที่เหมือนกับวิศกรหย่ายสมัยศตวรรษที่ 20 เป็นคนเขียน แถมด้วยระบบระบายน้ำที่อัศจรรย์เหลือเชื่อ มัน advance ถึงขั้นที่ว่าทันสมัยและดีเยี่ยมกว่าเมืองหลวงของหลายชาติในเอเชียปัจจุบันเสียด้วยซ
IV. อาณาจักรโอสิเรียน (Osirian civilization of the Mediterranean)
ในยุคสมัยของแอตแลนติสและ Rama Empire มีอีกอาณาจักรนึงครับ ที่รุ่งเรืองมาในเวลาไล่เลี่ยกัน ท่ามกลางหุบเหวที่อุดมสมบูรณ์และพื้นที่ที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อาณาจักรโบราณนี้นับเวลาย้อนหลังไปได้ไกลกว่าราชวงศ์เก่าของอียิปต์เสียอีก นักประวัติศาสตร์เรียกขานชื่อของอาณาจักรลึกลับนี้ว่าโอสิเรียน หรือ Osirian civilization ครับ
ปูพื้นกันนิดสำหรับความเป็นมาของอาณาจักรนี้ อารยธรรมโอสิเรียน จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด หากขาด แม่น้ำไนล์ไป แม่น้ำไนล์(ซึ่งในบางครั้งเรียกแม่น้ำ Styx)นั้นมีต้นกำเนิดจากทวีปอาฟริกา มีส่วนที่ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ทางตอนเหนือของอียิปต
์ กระแสน้ำได้พัดดินตะกอนทับถม (รวมทั้งกร่อนส่วนที่กร่อนได้) จนเกิดเป็นหุบและทะเลสาบขนาดใหญ่ขึ้น ตรงบริเวณพื้นที่ระหว่างมัลต้าและซิซิลีในปัจจุบัน ครอบไปถึงซาร์ดิเนียในมหาสมุทรแอตแลนติคตรงบริเวณที่เรียกว่าเสาหินของเฮอร์คิวลิส (ช่องแคบยิบรอลตานั่นล่ะครับ ^.^ ) หลังจากที่แอตแลนติสจมลงสู่ก้นมหาสมุทร กระแสน้ำที่เปลี่ยนทิศจากมหาสมุทรแอตแลนติค ก็ได้ทำให้ดินแดนบริเวณอ่าวเมดิเตอร์เรเนียนจมลงอย่างช้าๆ กวาดเอาซากแห่งความรุ่งเรืองของอาณาจักรโอสิเรียนลงไปเฝ้าเทพโปเซดอนที่ก้นมหาสมุทรด้วย
(ด้านซ้ายมือคือภาพของรางยาวเหยียดบนพื้นหิน ลักษณะเหมือนรางสำหรับยานพาหนะบางประเภท อายุอานามก็หลายพันปีอยู่ครับ)
ในวงการโบราณคดีแล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่ามีซากเมืองจำนวนมาก(อย่างน้อยๆก็ 200 เมือง)ที่จมอยู่ใต้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อารยธรรมของอียิปต์เก่า, มิโนอันกับไมซีเนียนแห่งครีต รวมไปถึงเมืองน้อยใหญ่ของชาวกรีกก็รวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย มาถึงตรงนี้บางท่านก็อาจจะงงว่าทำไมตูข้าไม่เคยได้ยินชื่อของอาณาจักรหรืออารยธรรมที
่ว่านี้มาก่อน อันนี้มีสาเหตุครับ เรื่องของเรื่องมันอยู่ที่นักคิดนักเขียนเป็นจำนวนมาก ได้เหมารวมเอาอารยธรรมโอสิเรียนให้เป็นหนึ่งในอารยธรรมของแอตแลนติส ทั้งที่ความจริงมันไม่ใช่ หลักฐานที่หลงเหลือของอาณาจักรโอสิเรียนคือสิ่งก่อสร้างขนาดมหึมา ที่มีขนาดไม่แพ้มหาวิหารในบาลเบ็คของเลบานอน เสาที่หลงเหลือจากแผ่นดินไหว แนวกำแพงยาวเหยียดใต้ก้นมหาสมุทร รวมไปถึงร่อยรอยของสิ่งก่อสร้างลึกลับในเกาะมัลต้าด้วยครับ
V. อารยธรรม ณ ทะเลทรายโกบี (Uiger Civilization of Gobi Desert)
เรายังไม่ได้ไปจากช่วงเวลาของแอตแลนติสและ Rama Empire นะครับ แต่ย้ายโลเกชั่นไปแถวทะเลทรายโกบี ที่ซึ่งมีทั้งเมืองโบราณและท่าเรือขนาดใหญ่ซุกอยู่ใต้ผืนทรายอันไพศาล นักโบราณคดีหลายกลุ่มได้พบเครื่องยนตร์โบราณอายุหลายพันปีในถ้ำบริเวณทะเลทรายโกบี เชื่อกันว่าเครื่องยนตร์เหล่านี้คือซากของยานบินวิมานะในตำนานโบราณของ ชาวภารตะ
นิโคลาส โรเอริช นักสำรวจชาวรัสเซียเคยรายงานถึงการพบเห็นยานบินรูปร่างคล้ายแผ่น CD ในน่านฟ้าทางตอนเหนือของประเทศธิเบตเมื่อทศวรรษที่ 40 บางทีอาจเป็นไปได้ว่า ทายาทของอาณาจักรนี้ยังคงหลงเหลือแต่ซ่อนกายอยู่ที่ไหนสักแห่งใน Uiger area อันไพศาลทางตอนเหนือของทะเลทรายโกบีนี้ก็ได้นะครับ
แถวธิเบตยังมีนครในตำนานเช่น ศัมภาลา(Chamberla หรือที่การ์ตูนญี่ปุ่นชอบอ่านว่า จัมบารา) รวมทั้งตัวของมหาปราชญ์แห่งจีนผู้รจนาคัมภีร์ เต๋าเต็กเก็ง อย่างท่านเล่าจื้อ ก็เคยกล่าวถึงอาณาจักรลึกลับที่เต็มไปด้วยผู้ทรงความรู้ เป็นดินแดนในตำนานที่เล่าขานกันว่าอยู่ทางตะวันตกของจีน โดยดินแดนนี้เรียกกันว่าดินแดนของ ชิหวังมู่ ครับ ว่ากันว่าในการท่องเที่ยวอันยาวนานของท่านเล่าจื้อนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ท่านได้ไปพำนักในดินแดนนี้ และในบั้นปลายของชีวิตท่านก้ได้เดินทางออกจากแผ่นดินจีน เพื่อใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายในดินแดนโบราณดังกล่าวด้วย
VI. เทียฮัวนาโค (Tiahunaco)
เทียฮัวนาโคแห่งอเมริกาใต้ ดินแดนของชนเผ่าลึกลับที่ไม่ทราบที่มาหลายคนว่ากันว่า ชาวพื้นเมืองของเทียฮัวนาโคสืบเชื้อสายมาจาก อาณาจักรมู ครับ บ้างก็ว่าน่าจะเป็น แอตแลนติส เพราะดูจากสภาพภูมิศาสตร์แล้วมันเอื้อกว่า ใครจะถูกจะผิดเรายังไม่รู้ แต่หลักฐานที่เหลืออยู่อันประกอบด้วยโบราณสถานที่สร้างจากหินขนาดมหึมา รวมทั้งสถาปัตยกรรมการสร้างกำแพงจากหินหลายเหลี่ยม ซึ่งออกแบบไว้สำหรับป้องกันแผ่นดินไหวนั้น บอกกับเราว่า ชาวเทียฮัวนาโคมีความรู้เรื่องธรณีวิทยาและแนวแผ่นดินไหวใน Ring of Fire เป็นอย่างดี หรือความรู้เหล่านี้ได้รับมาจากบรรพชนชาวมูที่ล่วงลับไปแล้วครับ?
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของเทียฮัวนาโคก็คือสถาปัตยกรรมครับ ทุกอย่างดูมโหฬารอลังการไปหมด ลำพังแค่ขนาดก็น่าทึ่งพออยู่แล้ว พอนักโบราณคดีศึกษาลึกลงไปอีก ก็ยิ่งทึ่งหนักเข้าไปใหญ่กับเทคนิคการก่อสร้างของพวกเขา การตัดหินขนาดใหญ่ เทคนิคการใช้คอนกรีตแบบโบราณเอย ปูนพลาสเตอร์แบบผสมเอย และเขียนแปลนที่ยอดเยี่ยมอดทำให้นักโบราณคดีงุนงงไม่ได้ว่า นี่เป็นผลงานของคนเมื่อหลายพันปีที่แล้วแน่หรือ? พูดถึงเรื่องนี้ก็อดงงไม่ได้นะครับ ว่าทำไมคนโบราณชอบสร้างอะไรที่มันใหญ่โตเกินจำเป็นนัก แล้วไอ้สิ่งที่สร้างขึ้นน่ะมันก็ขัดกับเทคโนโลยีและความเป็นอยู่ของพวกเขาเสียเหลือเ
กิน แหละดูเหมือนว่าคนโบราณจะเป็นยังงี้กันไปซะหมด เพราะนอกจากเทียฮัวนาโคแล้ว สิ่งก่อสร้างในอียิปต์ เกาะมัลต้า หรือส่วนอื่นๆในเปรู ก็ล้วนแต่โอ่อ่าอลังการไปเหมือนๆกันหมดซะอย่างนั้น
นอกจากตัวเทียฮัวนาโคเองแล้ว โบราณสถานอีกหลายแห่งใน ประเทศโบลิเวีย ล้วนแต่ชี้ให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากเทียฮัวนาโค เช่นโบราณสถานทางตอนใต้ของคุซโกที่เป็นที่ตั้งของเมืองแห่งพระเจ้าโบราณ Puma Punku ซึ่งสวยงามและโอ่อ่าเอามากๆ ทุกสิ่งทุกอย่างมีขนาดใหญ่โตเสียจนอดคิดไม่ได้ว่าคนงานที่สร้างเมืองแห่งนี้น่าจะเป็
นยักษ์เสียกระมัง เพราะหินแต่ละก้อน เสาแต่ละต้นมันใหญ่โตเสียจนเหลือเชื่อว่าลำพังแรงงานมนุษย์จะจัดการกับมันได้ เสาบางต้นมีขนาดร้อยกว่าตัน บางต้นมากกว่านั้น แถมแปลนของวิหารที่นั่นก็ดูทันสมัยต่างไปจากวิหารของคนโบราณเสียด้วยนะครับ ลองทัศนารูปกำแพงและซากที่เหลือของ Puma Punku จากภาพด้านล่างดูสิ แล้วเห็นด้วยกับผมหรือเปล่า?
กำแพงอันใหญ่โตและราบเรียบ ไม่งงกันเหรอครับว่าคนโบราณเค้าเอาอะไรตัด แล้วเอาอะไรยก?
VII. อารยธรรมายา(The Mayans)
หากจะนับปิระมิดที่สวยงามมีชื่อเสียงนอกจากมหาปิระมิดแห่งอียิปต์แล้ว ก็มีปิระมิดของ ชาวมายา นี่แหละครับที่พอจะทาบรัศมีได้ เป็นเรื่องน่าแปลกที่ปิระมิดของชาวมายาในอเมริกากลางดันไปเหมือนกับปิระมิดที่พบกันใ
นแถบบ้านเรา คือปิระมิดน้อยใหญ่ในชวาตอนกลาง ชาวมายามาทำอะไรแถวบ้านเราหรือคนอินโดนิเซียไปหว่านอะไรไว้แถวอเมริกากลางตอนนี้ยังไ
ม่มีคำตอบ เพราะลำพังแค่ปริศนาของปิระมิดนับแสนแห่งที่ซุกซ่อนอยู่ตามป่าของชาวมายานั้น ก็เป็นปัญหาที่นักโบราณคดีขบไม่แตกกันมากพออยู่แล้ว
บรรพบุรุษชาวมายา กล่าวได้ว่าปราดเปรื่องในศาสตร์สำคัญหลายๆแขนง เป็นต้นว่า ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ พวกเขามีวิชาความรู้ด้านวิศวกรรมที่ยอดเยี่ยม มีการสร้างคลองส่งทำ การทำชลประทานดังที่เหลือหลักฐานอยู่ในคาบสมุทรยูคาทาน ตลอดไปจนมีสิ่งแปลกๆผิดยุคในครอบครองอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องประดับที่เป็นรูปเครื่องบินปีกสามเหลี่ยม กล่องสมบัติที่รูปร่างเหมือนเครื่องส่งวิทยุ หรือแม้แต่แผนที่ดาวซึ่งระบุตำแหน่งของดวงดาวเอาไว้เมื่อสองหมื่นกว่าปีก่อนไว้อย่าง
แม่นยำไม่มีผิดเพี้ยน น่าทึ่งดีนะครับ
เสาที่แกะสลักไม่เหมือนใครของชาวมายา
นักคิดนักเขียนหลายเชื่อว่าอารยธรรมมายาคือสิ่งที่หลงเหลือมาจากแอตแลนติส เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยให้เชื่อเช่นนั้น แต่บางกระแสก็ว่าไม่ใช่ เพราะระยะเวลาของอารยธรรมทั้งสองห่างกันมากโข หากชาวมายาได้รับความรู้จากอารยธรรมที่สูงส่งกว่าจริง แหล่งความรู้ดังกล่าวควรจะมาจากนอกโลกมากกว่า เพราะตำนานของชาวมายาเองก็ระบุเอาไว้เช่นนั้น
เชื่อกันว่า ชาวมายา เองมีสถานที่ที่เรียกว่า ห้องแห่งความรู้ ที่เก็บสรรพวิทยาของชาวมายาเอาไว้ น่าเสียดายที่ไม่มีใครทราบว่ามันอยู่ตรงไหน บางทีอาจอยู่ในปิระมิดซักลูก(ในบรรดานับแสนลูก)หรือสุสานใต้ดินซักแห่งนึง รอให้เราขุดพบและตีความเหมือนที่เคยทำกันมาแล้วกับสุสานของ กษัตริย์นักบินปากัล ในภาพด้านล่าง ห้องแห่งความรู้ของชาวมายาจะเก็บความรู้ไว้ในลักษณะใดยังไม่มีใครบอกได้ อาจจะเป็นจารึกภาษามายาหรือภาพวาดบนฝาผนัง หรือยิ่งไปกว่านั้นคือเก็บไว้ในสื่อลักษณะอื่นซึ่งเคยมีการกล่าวถึงบ่อยๆในตำนานของช
าวมายา สื่อที่ว่ามีลักษณะคล้ายคริสตัลที่สามารถเข้ารหัสเก็บข้อมูลได้อย่างมหาศาลในทำนองเด
ียวกับ CD/DVD ในปัจจุบัน
ภาพเปรียบเทียบยานยุคปัจจุบัน และภาพของของปากัลกษัตริย์โบราณของชาวมายา กับ"พาหนะ"ที่ทรงใช้เดินทางเพื่อไปพบกับพระเจ้า
VIII. อาณาจักรของมังกรตะวันออก (Ancient China)
ชนชาติจีนที่เรียกตนเองว่า ชาวฮั่น นั้น ถือเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของโลก นอกจากประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายพันปีแล้ว จีนในปัจจุบันยังนับเป็นมหาอำนาจชาติหนึ่งซึ่งนับวันจะมีอิทธิพลต่อประชาคมโลกมากขึ้
นตามวันและเวลา เช่นเดียวกับอารยธรรมอื่นๆ โบราณสถาน, โบราณวัตถุ ตลอดจนบันทึกทางประวัติศาสตร์ของชาวฮั่นนั้น มีอยู่ไม่น้อยที่เชื่อมโยงกับอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ ดูเหมือนว่าชาวจีนโบราณจะคุ้นเคยกันดีกับเรือที่สามารถลอยลำได้บนท้องฟ้า สนามพลังลึกลับจากพื้นโลก รวมทั้งหลักฐานสำคัญอีกสองสามชิ้น เช่น ประติมากรรม,หยก, ถั่วลิสง ซึ่งเชื่อมอารยธรรมจีนโบราณและอารยธรรมมายาเข้าไว้ด้วยกันอย่างแนบแน่น พวกเขามีอะไรหลายอย่างเหมือนๆกันทั้งที่อยู่กันคนละซีกโลก
ปิระมิดในจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งคล้ายกับปิระมิดของชาวมายาเอามากๆ ปัจจุบันค้นพบกันแล้วนับพันลูก
นักมานุษยวิทยาหลายชุดได้ตีพิมพ์ผลงานการวิจัยเรื่องความเกี่ยวพันของอารยธรรมจีนและ
มายาเอาไว้ว่า คติความเชื่อของทั้งสองอารยธรรมมีส่วนคล้ายกันอย่างน่าประหลาด แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นคนเผยแพร่หรือใครเป็นคนรับถ่ายทอด เพราะถ้าดูจากระยะเวลาแล้วมายาอ่อนกว่าจีนอยู่โข แต่ก็นั่นแหละครับไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมายืนยัน ทุกสิ่งจึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน(แม้ว่ามันเข้าเค้ามากๆจนเกือบนับเป็นข้อสรุปได้ก็ต
ามที) เป็นต้นว่าสัญลักษณ์ทางศาสนาของราชวงศ์ฉางที่ไปคล้ายกับศิลปะของชาวมายา การนิยมใช้เครื่องประดับที่ทำจากหยก ตลอดจนการบูชาเทพเสือดาวซึ่งเสือดาวของทั้งสองชนชาติไม่มีขากรรไกรล่างเหมือนกัน เป็นต้น นักมานุษยวิทยาบางท่านถึงกับระบุลงไปเลยว่า ชาวจีนเป็นผู้เผยแพร่อารยธรรมบางส่วนให้กับมายาในช่วง 500-300 B.C. โดยอ้างอิงช่วงเวลาจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีน อันเป็นช่วงที่นักบวชชาวจีนจำนวนมากเดินทางไปทั่วแผ่นดิน เพื่อหายาอายุวัฒนะให้กับฮ่องเต้
ต่อให้ตัดเรื่องของพระเจ้าจากอวกาศหรืออารยธรรมก่อนน้ำท่วมโลกออกไป จีนก็ยังนับเป็นผู้คนพบนวัตกรรมหลายๆอย่างของโลกอยู่ดี ชาวจีนโบราณรู้จักการทำกระดาษจากเยื่อไม้, มีการใช้แว่นสายตา, เลนส์ขยาย, ธนบัตร มานับเป็นพันปี พวกเขามีเทคโนโลยีทางสงครามที่น่าทึ่ง เช่น รู้จักใช้ประโยชน์จากดินปืนมาทำปืนใหญ่, จรวด, การนำน้ำมันดิบมาทำเชื้อเพลิงในแถบซินเกียง ที่ร้ายไปกว่านั้นคือราวปี 1960 นักโบราณคดีได้ขุดพบชิ้นส่วนเครื่องโลหะจำนวนมากที่ทำจากอลูมินัม ชิ้นส่วนเหล่านี้มีอายุหลายพันปีอยู่ครับ อ้อ... ชิ้นส่วนเหล่านี้ทำมาจากโลหะซึ่งได้มาจากกรรมวิธีที่ต้องใช้ไฟฟ้า!! หรือว่าชาวจีนก็เป็นเช่นเดียวกับอาหรับโบราณ ที่รู้จักการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าก่อนหน้าวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ตั้งหลายพันปี เรื่องราวของแบตเตอร์รี่โบราณอายุสามพันปี
สุสานนักรบโบราณ
IX. อิสราเอลกับเอธิโอเปียโบราณ (Ancient Ethiopia & Israel)
จากหนังสือโบราณของอิสราเอลคือไบเบิลและตำราเก่าแก่ Kebra Negast ของ เอธิโอเปีย เราได้ทราบเรื่องราวของอารยธรรมโบราณที่มีเทคโนโลยีสูงส่ง ซึ่งเคยตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว แม้ปัจจุบันเองก็ตามนะครับ ถ้ารื้อวิหารของยิวหรือมุสลิมออกดู(ชวนโดนฆ่าไหมเนี่ย คำพูดมัน) เราก็จะเห็นว่า วิหารหลายแห่งได้สร้างทับของเดิมในลักษณะของการต่อยอดเยอะแยะไปหมดเลยครับ ขนาดของวิหารเหล่านั้นพอๆกะบาลเบ็คในเลบานอนเลยทีเดียว
นักโบราณคดีหลายคนให้ข้อสังเกตว่า อารยธรรมบริเวณนี้อาจมีต้นตอเดียวกับอาณาจักรโอสิเรียนซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลกันก็
เป็นได้
สถาปัตยกรรมโดยรวมของอาณาจักรดังกล่าวคล้ายกับของ ชาวฟินิเชียน มากครับ และว่ากันว่ามีวิหารขนาดยักษ์แห่งหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการเก็บหีบอ
าร์ค ช่ายครับ Ark of the Covenant ในตำนานนั่นเอง ว่ากันว่าคิงโซโลมอนทรงลงมือควบคุมการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง หีบดังกล่าวคืออุปกรณ์สื่อสารที่ชาวยิวโบราณใช้ติดต่อกับพระเจ้า จากคำบรรยายในคัมภีร์ หีบอาร์คมีลักษณะเหมือนเครื่องส่งวิทยุกำลังสูงที่มีขนาดใหญ่ ไม่แน่นะครับ เมื่อหลายพันปีก่อน อาจมีโบราณสถานซักแห่งในเอธิโอเปียที่ติดตั้งเครื่องส่งขนาดมหึมา และมีหีบอาร์คต่ออยู่ในลักษณะของเทอร์มินัลนับเป็นร้อยๆเครื่องก็ได้ ทำนองเดียวกับในวิหารของชาวอินคาที่มีท่อส่งสายสัญญาณอิเล็คทรอนิกส์ แต่นักโบราณคดีรุ่นก่อนๆไปสรุปว่ามันคือรางน้ำอย่างไรล่ะครับ
ps.ดูโครงสร้างของโบราณสถานนี้สิครับ ทันสมัยดีนะ
อัพภาพ image(s)
X. อาณาจักรมหาสุริยาแห่งแปซิฟิค (Aroi Sun Kingdom of the Pacific)
หากเอ่ยคำว่า Aroi หลายๆคนคงไม่คุ้น แต่ถ้าพูดถึงเกาะ อีสเตอร์ นี่รับรองว่าต้องคุ้นกันแน่ๆ เพราะจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า รูปสลักโมอายอันลือชื่อบนเกาะนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรกันแน่ อาณาจักร Aroi นั้นไม่เคยถูกกล่าวถึงในวงการประวัติศาสตร์สากลเลยครับ เนื่องด้วยหลักฐานที่ออกจะเลื่อนลอย การขาดโบราณวัตถุหรือโบราณสถานต่างๆมาบ่งชี้ ดังนั้น อาณาจักรดังกล่าวจึงเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานกันอย่างแพร่หลายในแถบหมู่เกาะในมหาสมุ
ทรแปซิฟิคเท่านั้น
เชื่อกันว่าเมื่ออาณาจักรมูล่มสลายลงราว 24,000 ปีก่อน เหล่าทายาทแห่งมูได้กระจัดกระจายออกตั้งรกรากกันทั่วโลก และจุดหนึ่งคือหมู่เกาะในบริเวณนี้นั่นเอง เรื่องราวของอาณาจักรสุริยาแห่งนี้ถูกเล่าขานสืบเนื่องกันมาในชนชาติ โพลินีเซีย, มาลานีเซีย, และไมโครนิเซีย โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ชาวโพลินีเซียนที่ให้ข้อมูลกับนักมานุษยวิทยาถึงอาณาจักรเก่าแ
ก่ ซึ่งปกครองแถบนั้นมาหลายพันปีก่อนหน้าที่ชาวยุโรปคนใดจะมาถึง ซึ่งก็ท่าจะมีเค้าครับ เพราะนักสำรวจเองก็ได้พบปิระมิดตามเกาะเล็กเกาะน้อยเป็นจำนวนมาก บางเกาะมีวิหารรูปร่างประหลาดตั้งอยู่ บางแห่งที่พิสูจน์อายุด้วยคาร์บอน 14 แล้วพบว่ามีอายุย้อนหลังไปหกถึงเจ็ดพันปี เทคนิคที่ใช้ในการสร้างก็เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าชาวอินคาเหมือนกัน สิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือ ชาวเกาะโบราณพวกนี้นิยมสร้างถนนขนาดใหญ่จากกลางเกาะมาสู่ชายหาดด้านใดด้านหนึ่ง จากนั้นก็สร้างรูปสลักมหึมาตามขอบถนนหรือไม่ก็บริเวณชายฝั่ง เมื่อเจาะลึกลงไปอีกนิด นักโบราณคดีพบว่า ชาวโพลินีเซียนในนิวซีแลนด์ เกาะอีสเตอร์ ฮาวาย และตาฮิติ ล้วนมีตำนานเกี่ยวกับมนุษย์ปักษีที่สามารถเหินฟ้าเดินทางไปมาระหว่างเกาะหนึ่งไปยังอ
ีกเกาะหนึ่งได้
ps.โมอายแห่งอีสเตอร์
ก็เห็นพ้องต้องกันในวงการลึกลับศาสตร์แหละครับว่า อาณาจักรที่เก่าแก่ยืนนานที่สุดในโลกที่เป็นอารยธรรมของ"มนุษย์โลก"จริงๆนั้น คือ มู:ทวีปแห่งมารดร ระยะเวลาของอาณาจักรนี้ว่ากันว่าย้อนหลังไปถึง 78,000 ปีที่แล้ว บนทวีปขนาดใหญ่ที่มีชื่อตามภาษาโบราณว่า มู หรือที่คนสมัยใหม่เรียกเลมูเรียตามชื่อของลิงชนิดหนึ่ง และเจริญรุ่งเรืองอย่างยาวนานมาอย่างน้อยก็ถึง 52,000 ปีที่ผ่านมา แต่ก็มีบางแหล่งเหมือนกันครับที่ระบุว่า มูไม่ได้มีอายุยืนยาวถึงขนาดนั้น แต่ก่อตัวเมื่อประมาณ 26,000 ปีก่อนและพังพินาศลงด้วยภัยพิบัติ Pole shift หรือขั้วโลกพลิกเมื่อ 24,000 ปีที่ผ่านมาแล้ว สาเหตุประการหลังนี่แฟนๆเรื่อง MMR คงคุ้นๆกันอยู่
อย่างไรก็ตาม มูมิได้สูงส่งด้วยวิทยาการไฮเทคดังอาณาจักรหลังๆ ที่รุ่งเรืองตามมา แต่อารยธรรมของมูเป็นอารยธรรมด้านจิตวิญญาณ สังคมของอาณาจักรนี้บูชาความรู้และศัรทธาโดยเฉพาะ ซึ่งต่างจากแอตแลนติสที่สัญลักษณ์ของอาณาจักรนี้คือเทคโนโลยีและนวัตกรรม
II. แอตแลนติสโบราณ (The Ancient Atlantis)
ว่ากันว่าไม่นานนักหลังจากที่ทวีปมูจมลง ความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาได้ทำให้แผ่นดินแห่งนึงผุดขึ้นบริเวณคาบสมุทรแปซิฟิค อารยธรรมที่รุ่งเรืองของมูได้หายไปกับภัยพิบัติครั้งนั้น แต่ไม่ได้รวมถึงอาณาจักรอีกแห่งที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงปลายยุคของ มู
ดินแดนที่ว่าเป็นเสมือนอาณาจักรในม่านหมอกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติครับ เพราะจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามันตั้งอยู่บนดินแดนไหนของโลก อาณาจักรนี้จะมีตัวตนอยู่จริงหรือเป็นเพียงตำนานก็ยังหาคนมายืนยันไม่ได้ด้วยซ้ำ ถึงกระนั้น คนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อครับ ว่าครั้งหนึ่งโลกของเรา เคยมีอาณาจักรที่สูงส่งด้วยวิทยาการแต่ประสบความพินาศเพราะภัยสงครามนามว่า แอตแลนติส อยู่จริงๆ เชื่อกันว่าอาณาจักรแอตแลนติสมีความก้าวหน้าทางวิทยาการเอามาก ๆ ก้าวหน้าชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนนับแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการทำลายล้างเป็นเทคโนโลยีที่เป็นตัวแทนของแอตแลนติสเ
ลยทีเดียวครับ เหตุผลที่อาณาจักรโบรารแห่งนี้เน้นเทคโนโลยีด้านสงครามก็อาจเป็นเพราะ ต้องปกครองอาณานิคมที่กระจัดกระจายอยู่รอบโลก แถมยังต้องทำสงครามกับทวีปอื่นๆที่รุ่งเรืองมาในยุคไล่ๆกัน ตำราบางเล่มกล่าวถึงการรบกันระหว่างแอตแลนติสกับอาณาจักรทางฝั่งอินเดียโบราณไว้อย่า
งน่าดูชม ดูเหมือนภาษาสันสกฤตโบราณจะขนานนามของชาวแอตแลนติสว่า อัศวินหรือนักรบ
หลายตำนานกล่าวตรงกันว่า แอตแลนติสมาถึงจุดหายนะเพราะภัยสงคราม เนื่องจากการใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอย่างไม่ยั้งคิดนั่นเอง จุดจบของแอตแลนติสน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับมนุษย์เราในปัจจุบันได้ไม่มากก็น้อย ตราบที่เรายังไม่ยุติการแก้ปัญหาด้วยกำลัง หรือกระหายสงครามอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
อัพภาพ image(s)
III. อาณาจักรโบราณแห่งชมพูทวีป (Rama Empire of India)
นับว่าฟ้ายังเข้าข้างอยู่ไม่น้อย ที่ตำรับตำราโบราณของทางอินเดียไม่ได้ถูกม้วนหายไปกับวังวนทางประวัติศาสตร์มากนัก หลายๆชาติต้องพบกับความเจ็บปวดใจ ที่บันทึกโบร่ำโบราณถูกทำลายไปเสียหมดสิ้น ถ้าไม่เพราะภัยพิบัติก็ฝีมือมนุษย์ด้วยกันนี่แหละครับ การเผาตำรา-ฆ่านักปราชญ์ของฉินสื่อหวง(จิ๋นซีฮ่องเต้) การเผาคัมภีร์สำคัญของอียิปต์ตามคำสั่งของผู้นำอิสลาม หนังสือโบรารของมายา อินคา หรือแม้แต่ชาวเกาะอีสเตอร์ก็ถูกชาวตะวันตกเผาทำลายสิ้น เคราะห์ดีที่ทางอินเดียยังมีสิ่งเหล่านี้เหลืออยู่อีกเยอะ อย่างน้อยก็เยอะมากพอที่จะให้คนรุ่นหลังอ้าปากค้างอย่างอัศจรรย์ใจ ในความเป็นมาและเป็นไปของอาณาจักรโบราณแห่งดินแดนภารตะนี้ได้แหละน่า
บทเรียนในวิชาประวัติศาสตร์สอนเราว่า อารยธรรมอินเดียเริ่มขึ้นประมาณห้าพันปีที่ผ่านมา แท้ที่จริงอารยธรรมแห่งนี้ยาวนานย้อนหลังไปกว่าที่เรารู้จักมากนักครับ ก่อนหน้านี้ วงการประวัติศาสตร์รู้จักอินเดียโบราณในแง่ของอาณาจักรใหญ่ ที่เคยรบพุ่งกันอย่างเอาเป็นเอาตาย กับกองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซีโดเนีย มีอารยธรรมที่รุ่งเรืองอย่างน่าทึ่ง ครั้นพอมีการตั้งไซต์ทางโบราณขึ้นที่หุบแห่งความตาย เฮนโจ ดาโร นักประวัติศาสตร์จึงเริ่มเอะใจเกี่ยวกับอาณาจักรโบราณแถบลุ่มน้ำสินธุแห่งนี้ เพราะหลักฐานทั้งหลายแหล่ที่พบล้วนบ่งบอกว่า ดินแดนแห่งนี้มีความเป็นมาและเป็นไปที่ไม่ธรรมดาเอาเสียจริงๆ
ที่ว่าไม่ธรรมดาคือ การสร้างเมือง โมเฮนโจ ดาโร กับ ฮารัปปา (Harappa) นั้นดูเหลือกำลังของคนโบราณจะทำได้ เมืองทั้งเมืองถูกวางผังเอาไว้อย่างดีก่อนสร้าง ด้วยแปลนที่เหมือนกับวิศกรหย่ายสมัยศตวรรษที่ 20 เป็นคนเขียน แถมด้วยระบบระบายน้ำที่อัศจรรย์เหลือเชื่อ มัน advance ถึงขั้นที่ว่าทันสมัยและดีเยี่ยมกว่าเมืองหลวงของหลายชาติในเอเชียปัจจุบันเสียด้วยซ
IV. อาณาจักรโอสิเรียน (Osirian civilization of the Mediterranean)
ในยุคสมัยของแอตแลนติสและ Rama Empire มีอีกอาณาจักรนึงครับ ที่รุ่งเรืองมาในเวลาไล่เลี่ยกัน ท่ามกลางหุบเหวที่อุดมสมบูรณ์และพื้นที่ที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อาณาจักรโบราณนี้นับเวลาย้อนหลังไปได้ไกลกว่าราชวงศ์เก่าของอียิปต์เสียอีก นักประวัติศาสตร์เรียกขานชื่อของอาณาจักรลึกลับนี้ว่าโอสิเรียน หรือ Osirian civilization ครับ
ปูพื้นกันนิดสำหรับความเป็นมาของอาณาจักรนี้ อารยธรรมโอสิเรียน จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด หากขาด แม่น้ำไนล์ไป แม่น้ำไนล์(ซึ่งในบางครั้งเรียกแม่น้ำ Styx)นั้นมีต้นกำเนิดจากทวีปอาฟริกา มีส่วนที่ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ทางตอนเหนือของอียิปต
์ กระแสน้ำได้พัดดินตะกอนทับถม (รวมทั้งกร่อนส่วนที่กร่อนได้) จนเกิดเป็นหุบและทะเลสาบขนาดใหญ่ขึ้น ตรงบริเวณพื้นที่ระหว่างมัลต้าและซิซิลีในปัจจุบัน ครอบไปถึงซาร์ดิเนียในมหาสมุทรแอตแลนติคตรงบริเวณที่เรียกว่าเสาหินของเฮอร์คิวลิส (ช่องแคบยิบรอลตานั่นล่ะครับ ^.^ ) หลังจากที่แอตแลนติสจมลงสู่ก้นมหาสมุทร กระแสน้ำที่เปลี่ยนทิศจากมหาสมุทรแอตแลนติค ก็ได้ทำให้ดินแดนบริเวณอ่าวเมดิเตอร์เรเนียนจมลงอย่างช้าๆ กวาดเอาซากแห่งความรุ่งเรืองของอาณาจักรโอสิเรียนลงไปเฝ้าเทพโปเซดอนที่ก้นมหาสมุทรด้วย
(ด้านซ้ายมือคือภาพของรางยาวเหยียดบนพื้นหิน ลักษณะเหมือนรางสำหรับยานพาหนะบางประเภท อายุอานามก็หลายพันปีอยู่ครับ)
ในวงการโบราณคดีแล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่ามีซากเมืองจำนวนมาก(อย่างน้อยๆก็ 200 เมือง)ที่จมอยู่ใต้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อารยธรรมของอียิปต์เก่า, มิโนอันกับไมซีเนียนแห่งครีต รวมไปถึงเมืองน้อยใหญ่ของชาวกรีกก็รวมอยู่ในจำนวนนั้นด้วย มาถึงตรงนี้บางท่านก็อาจจะงงว่าทำไมตูข้าไม่เคยได้ยินชื่อของอาณาจักรหรืออารยธรรมที
่ว่านี้มาก่อน อันนี้มีสาเหตุครับ เรื่องของเรื่องมันอยู่ที่นักคิดนักเขียนเป็นจำนวนมาก ได้เหมารวมเอาอารยธรรมโอสิเรียนให้เป็นหนึ่งในอารยธรรมของแอตแลนติส ทั้งที่ความจริงมันไม่ใช่ หลักฐานที่หลงเหลือของอาณาจักรโอสิเรียนคือสิ่งก่อสร้างขนาดมหึมา ที่มีขนาดไม่แพ้มหาวิหารในบาลเบ็คของเลบานอน เสาที่หลงเหลือจากแผ่นดินไหว แนวกำแพงยาวเหยียดใต้ก้นมหาสมุทร รวมไปถึงร่อยรอยของสิ่งก่อสร้างลึกลับในเกาะมัลต้าด้วยครับ
V. อารยธรรม ณ ทะเลทรายโกบี (Uiger Civilization of Gobi Desert)
เรายังไม่ได้ไปจากช่วงเวลาของแอตแลนติสและ Rama Empire นะครับ แต่ย้ายโลเกชั่นไปแถวทะเลทรายโกบี ที่ซึ่งมีทั้งเมืองโบราณและท่าเรือขนาดใหญ่ซุกอยู่ใต้ผืนทรายอันไพศาล นักโบราณคดีหลายกลุ่มได้พบเครื่องยนตร์โบราณอายุหลายพันปีในถ้ำบริเวณทะเลทรายโกบี เชื่อกันว่าเครื่องยนตร์เหล่านี้คือซากของยานบินวิมานะในตำนานโบราณของ ชาวภารตะ
นิโคลาส โรเอริช นักสำรวจชาวรัสเซียเคยรายงานถึงการพบเห็นยานบินรูปร่างคล้ายแผ่น CD ในน่านฟ้าทางตอนเหนือของประเทศธิเบตเมื่อทศวรรษที่ 40 บางทีอาจเป็นไปได้ว่า ทายาทของอาณาจักรนี้ยังคงหลงเหลือแต่ซ่อนกายอยู่ที่ไหนสักแห่งใน Uiger area อันไพศาลทางตอนเหนือของทะเลทรายโกบีนี้ก็ได้นะครับ
แถวธิเบตยังมีนครในตำนานเช่น ศัมภาลา(Chamberla หรือที่การ์ตูนญี่ปุ่นชอบอ่านว่า จัมบารา) รวมทั้งตัวของมหาปราชญ์แห่งจีนผู้รจนาคัมภีร์ เต๋าเต็กเก็ง อย่างท่านเล่าจื้อ ก็เคยกล่าวถึงอาณาจักรลึกลับที่เต็มไปด้วยผู้ทรงความรู้ เป็นดินแดนในตำนานที่เล่าขานกันว่าอยู่ทางตะวันตกของจีน โดยดินแดนนี้เรียกกันว่าดินแดนของ ชิหวังมู่ ครับ ว่ากันว่าในการท่องเที่ยวอันยาวนานของท่านเล่าจื้อนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ท่านได้ไปพำนักในดินแดนนี้ และในบั้นปลายของชีวิตท่านก้ได้เดินทางออกจากแผ่นดินจีน เพื่อใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายในดินแดนโบราณดังกล่าวด้วย
VI. เทียฮัวนาโค (Tiahunaco)
เทียฮัวนาโคแห่งอเมริกาใต้ ดินแดนของชนเผ่าลึกลับที่ไม่ทราบที่มาหลายคนว่ากันว่า ชาวพื้นเมืองของเทียฮัวนาโคสืบเชื้อสายมาจาก อาณาจักรมู ครับ บ้างก็ว่าน่าจะเป็น แอตแลนติส เพราะดูจากสภาพภูมิศาสตร์แล้วมันเอื้อกว่า ใครจะถูกจะผิดเรายังไม่รู้ แต่หลักฐานที่เหลืออยู่อันประกอบด้วยโบราณสถานที่สร้างจากหินขนาดมหึมา รวมทั้งสถาปัตยกรรมการสร้างกำแพงจากหินหลายเหลี่ยม ซึ่งออกแบบไว้สำหรับป้องกันแผ่นดินไหวนั้น บอกกับเราว่า ชาวเทียฮัวนาโคมีความรู้เรื่องธรณีวิทยาและแนวแผ่นดินไหวใน Ring of Fire เป็นอย่างดี หรือความรู้เหล่านี้ได้รับมาจากบรรพชนชาวมูที่ล่วงลับไปแล้วครับ?
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของเทียฮัวนาโคก็คือสถาปัตยกรรมครับ ทุกอย่างดูมโหฬารอลังการไปหมด ลำพังแค่ขนาดก็น่าทึ่งพออยู่แล้ว พอนักโบราณคดีศึกษาลึกลงไปอีก ก็ยิ่งทึ่งหนักเข้าไปใหญ่กับเทคนิคการก่อสร้างของพวกเขา การตัดหินขนาดใหญ่ เทคนิคการใช้คอนกรีตแบบโบราณเอย ปูนพลาสเตอร์แบบผสมเอย และเขียนแปลนที่ยอดเยี่ยมอดทำให้นักโบราณคดีงุนงงไม่ได้ว่า นี่เป็นผลงานของคนเมื่อหลายพันปีที่แล้วแน่หรือ? พูดถึงเรื่องนี้ก็อดงงไม่ได้นะครับ ว่าทำไมคนโบราณชอบสร้างอะไรที่มันใหญ่โตเกินจำเป็นนัก แล้วไอ้สิ่งที่สร้างขึ้นน่ะมันก็ขัดกับเทคโนโลยีและความเป็นอยู่ของพวกเขาเสียเหลือเ
กิน แหละดูเหมือนว่าคนโบราณจะเป็นยังงี้กันไปซะหมด เพราะนอกจากเทียฮัวนาโคแล้ว สิ่งก่อสร้างในอียิปต์ เกาะมัลต้า หรือส่วนอื่นๆในเปรู ก็ล้วนแต่โอ่อ่าอลังการไปเหมือนๆกันหมดซะอย่างนั้น
นอกจากตัวเทียฮัวนาโคเองแล้ว โบราณสถานอีกหลายแห่งใน ประเทศโบลิเวีย ล้วนแต่ชี้ให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากเทียฮัวนาโค เช่นโบราณสถานทางตอนใต้ของคุซโกที่เป็นที่ตั้งของเมืองแห่งพระเจ้าโบราณ Puma Punku ซึ่งสวยงามและโอ่อ่าเอามากๆ ทุกสิ่งทุกอย่างมีขนาดใหญ่โตเสียจนอดคิดไม่ได้ว่าคนงานที่สร้างเมืองแห่งนี้น่าจะเป็
นยักษ์เสียกระมัง เพราะหินแต่ละก้อน เสาแต่ละต้นมันใหญ่โตเสียจนเหลือเชื่อว่าลำพังแรงงานมนุษย์จะจัดการกับมันได้ เสาบางต้นมีขนาดร้อยกว่าตัน บางต้นมากกว่านั้น แถมแปลนของวิหารที่นั่นก็ดูทันสมัยต่างไปจากวิหารของคนโบราณเสียด้วยนะครับ ลองทัศนารูปกำแพงและซากที่เหลือของ Puma Punku จากภาพด้านล่างดูสิ แล้วเห็นด้วยกับผมหรือเปล่า?
กำแพงอันใหญ่โตและราบเรียบ ไม่งงกันเหรอครับว่าคนโบราณเค้าเอาอะไรตัด แล้วเอาอะไรยก?
VII. อารยธรรมายา(The Mayans)
หากจะนับปิระมิดที่สวยงามมีชื่อเสียงนอกจากมหาปิระมิดแห่งอียิปต์แล้ว ก็มีปิระมิดของ ชาวมายา นี่แหละครับที่พอจะทาบรัศมีได้ เป็นเรื่องน่าแปลกที่ปิระมิดของชาวมายาในอเมริกากลางดันไปเหมือนกับปิระมิดที่พบกันใ
นแถบบ้านเรา คือปิระมิดน้อยใหญ่ในชวาตอนกลาง ชาวมายามาทำอะไรแถวบ้านเราหรือคนอินโดนิเซียไปหว่านอะไรไว้แถวอเมริกากลางตอนนี้ยังไ
ม่มีคำตอบ เพราะลำพังแค่ปริศนาของปิระมิดนับแสนแห่งที่ซุกซ่อนอยู่ตามป่าของชาวมายานั้น ก็เป็นปัญหาที่นักโบราณคดีขบไม่แตกกันมากพออยู่แล้ว
บรรพบุรุษชาวมายา กล่าวได้ว่าปราดเปรื่องในศาสตร์สำคัญหลายๆแขนง เป็นต้นว่า ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ พวกเขามีวิชาความรู้ด้านวิศวกรรมที่ยอดเยี่ยม มีการสร้างคลองส่งทำ การทำชลประทานดังที่เหลือหลักฐานอยู่ในคาบสมุทรยูคาทาน ตลอดไปจนมีสิ่งแปลกๆผิดยุคในครอบครองอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องประดับที่เป็นรูปเครื่องบินปีกสามเหลี่ยม กล่องสมบัติที่รูปร่างเหมือนเครื่องส่งวิทยุ หรือแม้แต่แผนที่ดาวซึ่งระบุตำแหน่งของดวงดาวเอาไว้เมื่อสองหมื่นกว่าปีก่อนไว้อย่าง
แม่นยำไม่มีผิดเพี้ยน น่าทึ่งดีนะครับ
เสาที่แกะสลักไม่เหมือนใครของชาวมายา
นักคิดนักเขียนหลายเชื่อว่าอารยธรรมมายาคือสิ่งที่หลงเหลือมาจากแอตแลนติส เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยให้เชื่อเช่นนั้น แต่บางกระแสก็ว่าไม่ใช่ เพราะระยะเวลาของอารยธรรมทั้งสองห่างกันมากโข หากชาวมายาได้รับความรู้จากอารยธรรมที่สูงส่งกว่าจริง แหล่งความรู้ดังกล่าวควรจะมาจากนอกโลกมากกว่า เพราะตำนานของชาวมายาเองก็ระบุเอาไว้เช่นนั้น
เชื่อกันว่า ชาวมายา เองมีสถานที่ที่เรียกว่า ห้องแห่งความรู้ ที่เก็บสรรพวิทยาของชาวมายาเอาไว้ น่าเสียดายที่ไม่มีใครทราบว่ามันอยู่ตรงไหน บางทีอาจอยู่ในปิระมิดซักลูก(ในบรรดานับแสนลูก)หรือสุสานใต้ดินซักแห่งนึง รอให้เราขุดพบและตีความเหมือนที่เคยทำกันมาแล้วกับสุสานของ กษัตริย์นักบินปากัล ในภาพด้านล่าง ห้องแห่งความรู้ของชาวมายาจะเก็บความรู้ไว้ในลักษณะใดยังไม่มีใครบอกได้ อาจจะเป็นจารึกภาษามายาหรือภาพวาดบนฝาผนัง หรือยิ่งไปกว่านั้นคือเก็บไว้ในสื่อลักษณะอื่นซึ่งเคยมีการกล่าวถึงบ่อยๆในตำนานของช
าวมายา สื่อที่ว่ามีลักษณะคล้ายคริสตัลที่สามารถเข้ารหัสเก็บข้อมูลได้อย่างมหาศาลในทำนองเด
ียวกับ CD/DVD ในปัจจุบัน
ภาพเปรียบเทียบยานยุคปัจจุบัน และภาพของของปากัลกษัตริย์โบราณของชาวมายา กับ"พาหนะ"ที่ทรงใช้เดินทางเพื่อไปพบกับพระเจ้า
VIII. อาณาจักรของมังกรตะวันออก (Ancient China)
ชนชาติจีนที่เรียกตนเองว่า ชาวฮั่น นั้น ถือเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของโลก นอกจากประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายพันปีแล้ว จีนในปัจจุบันยังนับเป็นมหาอำนาจชาติหนึ่งซึ่งนับวันจะมีอิทธิพลต่อประชาคมโลกมากขึ้
นตามวันและเวลา เช่นเดียวกับอารยธรรมอื่นๆ โบราณสถาน, โบราณวัตถุ ตลอดจนบันทึกทางประวัติศาสตร์ของชาวฮั่นนั้น มีอยู่ไม่น้อยที่เชื่อมโยงกับอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ ดูเหมือนว่าชาวจีนโบราณจะคุ้นเคยกันดีกับเรือที่สามารถลอยลำได้บนท้องฟ้า สนามพลังลึกลับจากพื้นโลก รวมทั้งหลักฐานสำคัญอีกสองสามชิ้น เช่น ประติมากรรม,หยก, ถั่วลิสง ซึ่งเชื่อมอารยธรรมจีนโบราณและอารยธรรมมายาเข้าไว้ด้วยกันอย่างแนบแน่น พวกเขามีอะไรหลายอย่างเหมือนๆกันทั้งที่อยู่กันคนละซีกโลก
ปิระมิดในจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งคล้ายกับปิระมิดของชาวมายาเอามากๆ ปัจจุบันค้นพบกันแล้วนับพันลูก
นักมานุษยวิทยาหลายชุดได้ตีพิมพ์ผลงานการวิจัยเรื่องความเกี่ยวพันของอารยธรรมจีนและ
มายาเอาไว้ว่า คติความเชื่อของทั้งสองอารยธรรมมีส่วนคล้ายกันอย่างน่าประหลาด แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นคนเผยแพร่หรือใครเป็นคนรับถ่ายทอด เพราะถ้าดูจากระยะเวลาแล้วมายาอ่อนกว่าจีนอยู่โข แต่ก็นั่นแหละครับไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมายืนยัน ทุกสิ่งจึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน(แม้ว่ามันเข้าเค้ามากๆจนเกือบนับเป็นข้อสรุปได้ก็ต
ามที) เป็นต้นว่าสัญลักษณ์ทางศาสนาของราชวงศ์ฉางที่ไปคล้ายกับศิลปะของชาวมายา การนิยมใช้เครื่องประดับที่ทำจากหยก ตลอดจนการบูชาเทพเสือดาวซึ่งเสือดาวของทั้งสองชนชาติไม่มีขากรรไกรล่างเหมือนกัน เป็นต้น นักมานุษยวิทยาบางท่านถึงกับระบุลงไปเลยว่า ชาวจีนเป็นผู้เผยแพร่อารยธรรมบางส่วนให้กับมายาในช่วง 500-300 B.C. โดยอ้างอิงช่วงเวลาจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีน อันเป็นช่วงที่นักบวชชาวจีนจำนวนมากเดินทางไปทั่วแผ่นดิน เพื่อหายาอายุวัฒนะให้กับฮ่องเต้
ต่อให้ตัดเรื่องของพระเจ้าจากอวกาศหรืออารยธรรมก่อนน้ำท่วมโลกออกไป จีนก็ยังนับเป็นผู้คนพบนวัตกรรมหลายๆอย่างของโลกอยู่ดี ชาวจีนโบราณรู้จักการทำกระดาษจากเยื่อไม้, มีการใช้แว่นสายตา, เลนส์ขยาย, ธนบัตร มานับเป็นพันปี พวกเขามีเทคโนโลยีทางสงครามที่น่าทึ่ง เช่น รู้จักใช้ประโยชน์จากดินปืนมาทำปืนใหญ่, จรวด, การนำน้ำมันดิบมาทำเชื้อเพลิงในแถบซินเกียง ที่ร้ายไปกว่านั้นคือราวปี 1960 นักโบราณคดีได้ขุดพบชิ้นส่วนเครื่องโลหะจำนวนมากที่ทำจากอลูมินัม ชิ้นส่วนเหล่านี้มีอายุหลายพันปีอยู่ครับ อ้อ... ชิ้นส่วนเหล่านี้ทำมาจากโลหะซึ่งได้มาจากกรรมวิธีที่ต้องใช้ไฟฟ้า!! หรือว่าชาวจีนก็เป็นเช่นเดียวกับอาหรับโบราณ ที่รู้จักการชุบโลหะด้วยไฟฟ้าก่อนหน้าวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ตั้งหลายพันปี เรื่องราวของแบตเตอร์รี่โบราณอายุสามพันปี
สุสานนักรบโบราณ
IX. อิสราเอลกับเอธิโอเปียโบราณ (Ancient Ethiopia & Israel)
จากหนังสือโบราณของอิสราเอลคือไบเบิลและตำราเก่าแก่ Kebra Negast ของ เอธิโอเปีย เราได้ทราบเรื่องราวของอารยธรรมโบราณที่มีเทคโนโลยีสูงส่ง ซึ่งเคยตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว แม้ปัจจุบันเองก็ตามนะครับ ถ้ารื้อวิหารของยิวหรือมุสลิมออกดู(ชวนโดนฆ่าไหมเนี่ย คำพูดมัน) เราก็จะเห็นว่า วิหารหลายแห่งได้สร้างทับของเดิมในลักษณะของการต่อยอดเยอะแยะไปหมดเลยครับ ขนาดของวิหารเหล่านั้นพอๆกะบาลเบ็คในเลบานอนเลยทีเดียว
นักโบราณคดีหลายคนให้ข้อสังเกตว่า อารยธรรมบริเวณนี้อาจมีต้นตอเดียวกับอาณาจักรโอสิเรียนซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลกันก็
เป็นได้
สถาปัตยกรรมโดยรวมของอาณาจักรดังกล่าวคล้ายกับของ ชาวฟินิเชียน มากครับ และว่ากันว่ามีวิหารขนาดยักษ์แห่งหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการเก็บหีบอ
าร์ค ช่ายครับ Ark of the Covenant ในตำนานนั่นเอง ว่ากันว่าคิงโซโลมอนทรงลงมือควบคุมการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง หีบดังกล่าวคืออุปกรณ์สื่อสารที่ชาวยิวโบราณใช้ติดต่อกับพระเจ้า จากคำบรรยายในคัมภีร์ หีบอาร์คมีลักษณะเหมือนเครื่องส่งวิทยุกำลังสูงที่มีขนาดใหญ่ ไม่แน่นะครับ เมื่อหลายพันปีก่อน อาจมีโบราณสถานซักแห่งในเอธิโอเปียที่ติดตั้งเครื่องส่งขนาดมหึมา และมีหีบอาร์คต่ออยู่ในลักษณะของเทอร์มินัลนับเป็นร้อยๆเครื่องก็ได้ ทำนองเดียวกับในวิหารของชาวอินคาที่มีท่อส่งสายสัญญาณอิเล็คทรอนิกส์ แต่นักโบราณคดีรุ่นก่อนๆไปสรุปว่ามันคือรางน้ำอย่างไรล่ะครับ
ps.ดูโครงสร้างของโบราณสถานนี้สิครับ ทันสมัยดีนะ
อัพภาพ image(s)
X. อาณาจักรมหาสุริยาแห่งแปซิฟิค (Aroi Sun Kingdom of the Pacific)
หากเอ่ยคำว่า Aroi หลายๆคนคงไม่คุ้น แต่ถ้าพูดถึงเกาะ อีสเตอร์ นี่รับรองว่าต้องคุ้นกันแน่ๆ เพราะจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า รูปสลักโมอายอันลือชื่อบนเกาะนี้มีที่มาที่ไปอย่างไรกันแน่ อาณาจักร Aroi นั้นไม่เคยถูกกล่าวถึงในวงการประวัติศาสตร์สากลเลยครับ เนื่องด้วยหลักฐานที่ออกจะเลื่อนลอย การขาดโบราณวัตถุหรือโบราณสถานต่างๆมาบ่งชี้ ดังนั้น อาณาจักรดังกล่าวจึงเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานกันอย่างแพร่หลายในแถบหมู่เกาะในมหาสมุ
ทรแปซิฟิคเท่านั้น
เชื่อกันว่าเมื่ออาณาจักรมูล่มสลายลงราว 24,000 ปีก่อน เหล่าทายาทแห่งมูได้กระจัดกระจายออกตั้งรกรากกันทั่วโลก และจุดหนึ่งคือหมู่เกาะในบริเวณนี้นั่นเอง เรื่องราวของอาณาจักรสุริยาแห่งนี้ถูกเล่าขานสืบเนื่องกันมาในชนชาติ โพลินีเซีย, มาลานีเซีย, และไมโครนิเซีย โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ชาวโพลินีเซียนที่ให้ข้อมูลกับนักมานุษยวิทยาถึงอาณาจักรเก่าแ
ก่ ซึ่งปกครองแถบนั้นมาหลายพันปีก่อนหน้าที่ชาวยุโรปคนใดจะมาถึง ซึ่งก็ท่าจะมีเค้าครับ เพราะนักสำรวจเองก็ได้พบปิระมิดตามเกาะเล็กเกาะน้อยเป็นจำนวนมาก บางเกาะมีวิหารรูปร่างประหลาดตั้งอยู่ บางแห่งที่พิสูจน์อายุด้วยคาร์บอน 14 แล้วพบว่ามีอายุย้อนหลังไปหกถึงเจ็ดพันปี เทคนิคที่ใช้ในการสร้างก็เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าชาวอินคาเหมือนกัน สิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือ ชาวเกาะโบราณพวกนี้นิยมสร้างถนนขนาดใหญ่จากกลางเกาะมาสู่ชายหาดด้านใดด้านหนึ่ง จากนั้นก็สร้างรูปสลักมหึมาตามขอบถนนหรือไม่ก็บริเวณชายฝั่ง เมื่อเจาะลึกลงไปอีกนิด นักโบราณคดีพบว่า ชาวโพลินีเซียนในนิวซีแลนด์ เกาะอีสเตอร์ ฮาวาย และตาฮิติ ล้วนมีตำนานเกี่ยวกับมนุษย์ปักษีที่สามารถเหินฟ้าเดินทางไปมาระหว่างเกาะหนึ่งไปยังอ
ีกเกาะหนึ่งได้
ps.โมอายแห่งอีสเตอร์
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น