ลำดับตอนที่ #15
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #15 : special - วัฒนธรรมเกย์ คืออะไร?
ยิ่งคุณออกไปพบเจอคนอื่นๆ มากขึ้น คุณจะยิ่งรู้ว่า จริงๆ แล้ว มีคนที่เหมือนคุณเยอะแยะ ผมเจอเกย์บางคนที่บ่นว่า ผมเป็นเกย์ แต่ร้องเพลงไม่เป็น ลองฟังเพลงโอเปร่า ก็ไม่เห็นจะซาบซึ้ง หุ่นผมก็ไม่เซ็กซี่ หน้าอกไม่นูน หน้าท้องไม่แบนราบ ผมก็จะบอกเขาว่า ยังมีคนอย่างคุณอีกมากมายที่ดูแสนจะธรรมดา แต่เป็นเกย์ และเมื่อคุณพบ คุณจะประหลาดใจ
แล้วถ้าผมไม่ได้นิยมชมชอบอะไรอย่างนั้น อะไรล่ะที่หล่อหลอมหรือจะช่วยให้เกย์คนหนึ่งสื่อสาร ติดต่อ พูดคุยกับเกย์คนอื่นๆ แล้วรู้สึกว่า เรามีส่วนร่วมกันบางอย่าง เรามีความรู้สึกที่เข้าใจกันได้ และเราเป็น “พวกเดียวกัน”
หลายๆ คนเลยบอกว่า เกย์ก็มีวัฒนธรรมนะ มีบางอย่างที่ทำให้เกย์สื่อสารกันได้
ก่อนอื่น เวลาเราพูดถึงคำว่า “วัฒนธรรม” คงต้องเริ่มต้นจากความหมายโดยพื้นฐานตามธรรมเนียม เราพูดว่า วัฒนธรรมจนชิน แอบหมั่นไหส้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นบางครั้ง แต่บางที น่าแปลก เราแปลไม่ออกว่า ตกลง วัฒนธรรมมันแปลว่าอะไรกันแน่
ตามรากศัพท์ที่ทราบกันแล้ว วัฒน ก็คือ ความดี ความเจริญงอกงาม ส่วนคำว่า ธรรม ก็หมายถึง ความมีระเบียบ มีแบบแผน มีหลักการ
แต่คำว่า “เกย์” เหมือนจะอยู่ฝั่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิง คำว่า “เกย์” มีความหมายทั้งทางตรง และทางอ้อมที่สร้างความรู้สึกในแง่ลบอยู่เสมอ แม้กระทั่งในใจคนเป็นเกย์เอง ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าและน่าอึดอัด สำหรับผมแล้ว เวลาเจอเกย์ที่รู้สึกว่า ตัวเองเป็นสิ่งที่มีตำหนิ และหาค่าความภูมิใจอะไรไม่ได้ ผมสงสัยจังว่า เขาเคยคิดมองหามันจริงๆ จังๆ หรือยัง?
ดังนั้น พอเวลาที่มีใครพูดคำว่า “วัฒนธรรมเกย์” ผมคิดว่า คนฟังคงรู้สึกขัดเขิน ขมวดคิ้ว นึกไม่ออก ทำหน้าปูเลี่ยนๆ หรือบางที หากไปพูดคำนี้กับใครที่จิตใจไม่ค่อยเปิดให้กับคนอื่น หรือคิดว่า ตัวเองไม่ต้องรับรู้อะไรที่แตกต่างออกไปในโลกนี้ เขาก็จะหาว่า ไม่เข้าท่าที่จะเอาคำว่า “วัฒนธรรม” มาผูกกับคำว่า “เกย์” อย่าเชียวนะ
ที่จริงแล้วคำว่า “วัฒนธรรม” มีความหมายหลากหลายมากมายกว่าที่ว่าไว้ นักสังคมวิทยาก็จะให้ความหมายอย่างหนึ่ง นักมานุษยวิทยาก็ให้ความหมายอีกอย่างหนึ่ง คุณครูที่โรงเรียนก็คิดอีกอย่างหนึ่ง และในกระทรวงวัฒนธรรมก็อาจคิดเห็นไปคนละด้าน
คำว่า วัฒนธรรรม ในความหมายอื่นๆ ที่มีก็คือ วิถี หรือวิธีการดำเนินชีวิต พฤติกรรมของกลุ่มบุคคล หรือผลงานทั้งหลายทั้งปวงที่มวลมนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แถมยังรวมไปถึงความคิด ความเชื่อ และความรู้ อีกด้วย
ปราชญ์คนสำคัญของไทย พระยาอนุมานราชธนอธิบายคำว่า วัฒนธรรมว่า เป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้
อ้ะ ถึงตอนนี้ คุณผู้อ่านอย่าเพิ่งสับสนแล้วรีบฟันธงนะครับว่า อ้อ...ก็เป็นอย่างงั้นไง การเป็นเกย์นั้นมัน “ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ และเอาอย่างกันได้” คุณพ่อ คุณแม่จึงต้องพึงระวัง ไม่ควรมีเกย์มาให้เห็นทางหน้าจอตู้สี่เหลี่ยม ไม่ควรมีเกย์ยืนตรงหน้ากระดานในห้องเรียน ไม่ควรมีเกย์ไปห่มผ้าเหลือง เพราะถ้ามีให้เห็นมากๆ จะเกิดการเลียนแบบ ถ่ายทอดและเอาอย่างกัน
ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงความสำเร็จทางวิทยาการ หนังสือชั้นเยี่ยม งานศิลปะชั้นยอด สิ่งประดิษฐ์มากมายก็มาจากบุคคลที่เป็นเกย์ทั้งนั้น จะโทษคนทั่วไปก็ไม่ได้ที่เขาไม่รู้ ที่เขาไม่รู้ ก็เพราะ ไม่มีใครไปเผยแพร่ให้เขารู้
ในเรื่องการให้ความหมาย ในอีกประเด็นหนึ่ง ผมไม่เห็นด้วยเลยที่หลายๆ คนใช้คำว่า “รสนิยมทางเพศ” และคำว่า “ไลฟ์สไตล์” เวลาบอกใครๆ ให้เปิดใจรับฟังหรือเวลาสนทนากันโดยทั่วไปที่มีประเด็นเรื่องการยอมรับ หรือไม่ยอมรับของสังคม แล้วบอกว่า เกย์เป็นรสนิยมทางเพศ/ หรือไลฟ์สไตล์อย่างหนึ่ง ซึ่งความจริงเคยพูดไปหลายครั้งแล้ว แต่...อยากพูดอีก
สองคำนี้นะครับ ต้องยอมรับว่า ฟังง่าย สำเร็จรูป ใช้สะดวก พอๆ กับคำว่า “ชายจริงหญิงแท้” ที่พูดกันจนเกร่อ จนชินหู จนชินปาก แต่อย่าลืมนะครับว่า คนฟัง ก็อาจตีความต่อไปเอาเองว่า อ๋อ...เป็นเกย์เหรอ ก็เป็นรสนิยมทางเพศ เป็นแค่ไลฟ์สไตล์หนึ่ง และคิดต่อไปในใจ แล้วทำไม เอ็งไม่เปลี่ยนรสนิยม หรือเลิกใช้ชีวิต (lifestyle) แบบนั้นล่ะ จะได้ไม่ต้องมาอึดอัดกับชาวบ้าน จะได้เหมือนชาวบ้านที่เป็น "ชายจริง-หญิงแท้" นะ?
ในประเด็นนี้ การเป็นเกย์ไม่ใช่รสนิยม (รสนิยมเปลี่ยนกันได้) และไม่ได้จำกัดอยู่ที่ไลฟ์สไตล์ (ไลฟ์สไตล์ ก็เปลี่ยนกันได้) แต่ในความเป็นจริง ผมว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจที่ว่า ทำไมเป็นเกย์มันถึงเปลี่ยนกันไม่ได้
เกย์คือ เกย์ เกย์ก็คือมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่ถูกกำหนดให้เกิดมาเป็นอย่างนั้นเอง การที่เกย์คือมนุษย์กลุ่มหนึ่งนี่เอง เกย์ย่อมมีอะไรที่คล้ายๆ กัน รู้สึกคล้ายๆ กัน ปฏิบัติตัวบางอย่างคล้ายๆ กัน มีสื่อสัญญาณ หรือความเป็นไปในชีวิตที่เราไม่เคยถูกสั่งสอน แต่กลับรู้สึกได้เหมือนกัน เกย์มีการให้คุณค่าบางอย่างที่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเฉพาะเกย์ในประเทศไทย แต่ทุกเกย์ทั่วโลก
บทเรียนเกี่ยวกับเกย์ไม่มีสอนในโรงเรียนนี่ครับ แต่ทำไมนะเกย์ที่เมืองไทย เวียดนาม หรืออูกานดาก็รู้สึกอะไรบางอย่างได้เหมือนกัน?
ผมคิดว่า สิ่งเหล่านั้นถูกผูกโยงเข้าด้วยกันเพราะคนเป็นเกย์ให้คุณค่ากับบางสิ่งบางอย่างที่คนทั่วไปไม่จำเป็นต้องโหยหา เช่น อิสระ ความรู้สึกอยากจะหลุดพ้นจากพันธนาการ ไม่ต้องการให้ใครมากำหนดวิถีชีวิต มีความเป็นตัวของตัวเอง รักความยุติธรรม และเห็นใจเพื่อนมนุษย์
เราจะเรียกสิ่งเหล่านี้ที่พูดมานี้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเกย์ได้ไหม?
ผมเลยคิดว่า ความนิยมเพลงดิสโก้ ชอบไปคลับ ไปบาร์ ไปท่องเซาน่า ติดเพลงโอเปร่า หรือละครเพลง คลั่งไคล้สินค้าแบรนเนม หรือเสื้อผ้า แฟชั่นนั้น และในยุคสมัยนี้ เกย์นิยมไปยิมฯ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ ความชอบของคนกลุ่มหนึ่ง คุณจะเรียกมันว่า เป็น gay sub-culture ก็ได้
ไม่ใช่เกย์ทุกคนที่เป็นอย่างนั้น ดังนั้นถ้าคุณหุ่นไม่ดี เต้นระบำในคลับไม่เป็น ไม่รู้ว่า ใครเป็นคนร้องเพลง “I Will Survive” หรือเพลง “I Am What I Am” มีความหมายว่าอะไร หรือไม่รู้ว่า จริงๆ แล้วเพลง My Way “เกย์จะตายไป” ก็ไม่ต้องเดือดร้อนนะครับ เพราะคุณก็เป็นเกย์ในอีก sub-culture หนึ่ง
เรื่องนี้คงต้องตั้งคำถามกันต่อไป แต่มีอีกคำถามหนึ่ง แล้ว...วัฒนธรรมของเกย์ไทยน่ะ มีมั๊ย?
แล้วถ้าผมไม่ได้นิยมชมชอบอะไรอย่างนั้น อะไรล่ะที่หล่อหลอมหรือจะช่วยให้เกย์คนหนึ่งสื่อสาร ติดต่อ พูดคุยกับเกย์คนอื่นๆ แล้วรู้สึกว่า เรามีส่วนร่วมกันบางอย่าง เรามีความรู้สึกที่เข้าใจกันได้ และเราเป็น “พวกเดียวกัน”
หลายๆ คนเลยบอกว่า เกย์ก็มีวัฒนธรรมนะ มีบางอย่างที่ทำให้เกย์สื่อสารกันได้
ก่อนอื่น เวลาเราพูดถึงคำว่า “วัฒนธรรม” คงต้องเริ่มต้นจากความหมายโดยพื้นฐานตามธรรมเนียม เราพูดว่า วัฒนธรรมจนชิน แอบหมั่นไหส้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นบางครั้ง แต่บางที น่าแปลก เราแปลไม่ออกว่า ตกลง วัฒนธรรมมันแปลว่าอะไรกันแน่
ตามรากศัพท์ที่ทราบกันแล้ว วัฒน ก็คือ ความดี ความเจริญงอกงาม ส่วนคำว่า ธรรม ก็หมายถึง ความมีระเบียบ มีแบบแผน มีหลักการ
แต่คำว่า “เกย์” เหมือนจะอยู่ฝั่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิง คำว่า “เกย์” มีความหมายทั้งทางตรง และทางอ้อมที่สร้างความรู้สึกในแง่ลบอยู่เสมอ แม้กระทั่งในใจคนเป็นเกย์เอง ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าและน่าอึดอัด สำหรับผมแล้ว เวลาเจอเกย์ที่รู้สึกว่า ตัวเองเป็นสิ่งที่มีตำหนิ และหาค่าความภูมิใจอะไรไม่ได้ ผมสงสัยจังว่า เขาเคยคิดมองหามันจริงๆ จังๆ หรือยัง?
ดังนั้น พอเวลาที่มีใครพูดคำว่า “วัฒนธรรมเกย์” ผมคิดว่า คนฟังคงรู้สึกขัดเขิน ขมวดคิ้ว นึกไม่ออก ทำหน้าปูเลี่ยนๆ หรือบางที หากไปพูดคำนี้กับใครที่จิตใจไม่ค่อยเปิดให้กับคนอื่น หรือคิดว่า ตัวเองไม่ต้องรับรู้อะไรที่แตกต่างออกไปในโลกนี้ เขาก็จะหาว่า ไม่เข้าท่าที่จะเอาคำว่า “วัฒนธรรม” มาผูกกับคำว่า “เกย์” อย่าเชียวนะ
ที่จริงแล้วคำว่า “วัฒนธรรม” มีความหมายหลากหลายมากมายกว่าที่ว่าไว้ นักสังคมวิทยาก็จะให้ความหมายอย่างหนึ่ง นักมานุษยวิทยาก็ให้ความหมายอีกอย่างหนึ่ง คุณครูที่โรงเรียนก็คิดอีกอย่างหนึ่ง และในกระทรวงวัฒนธรรมก็อาจคิดเห็นไปคนละด้าน
คำว่า วัฒนธรรรม ในความหมายอื่นๆ ที่มีก็คือ วิถี หรือวิธีการดำเนินชีวิต พฤติกรรมของกลุ่มบุคคล หรือผลงานทั้งหลายทั้งปวงที่มวลมนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แถมยังรวมไปถึงความคิด ความเชื่อ และความรู้ อีกด้วย
ปราชญ์คนสำคัญของไทย พระยาอนุมานราชธนอธิบายคำว่า วัฒนธรรมว่า เป็นสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้
อ้ะ ถึงตอนนี้ คุณผู้อ่านอย่าเพิ่งสับสนแล้วรีบฟันธงนะครับว่า อ้อ...ก็เป็นอย่างงั้นไง การเป็นเกย์นั้นมัน “ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ และเอาอย่างกันได้” คุณพ่อ คุณแม่จึงต้องพึงระวัง ไม่ควรมีเกย์มาให้เห็นทางหน้าจอตู้สี่เหลี่ยม ไม่ควรมีเกย์ยืนตรงหน้ากระดานในห้องเรียน ไม่ควรมีเกย์ไปห่มผ้าเหลือง เพราะถ้ามีให้เห็นมากๆ จะเกิดการเลียนแบบ ถ่ายทอดและเอาอย่างกัน
ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงความสำเร็จทางวิทยาการ หนังสือชั้นเยี่ยม งานศิลปะชั้นยอด สิ่งประดิษฐ์มากมายก็มาจากบุคคลที่เป็นเกย์ทั้งนั้น จะโทษคนทั่วไปก็ไม่ได้ที่เขาไม่รู้ ที่เขาไม่รู้ ก็เพราะ ไม่มีใครไปเผยแพร่ให้เขารู้
ในเรื่องการให้ความหมาย ในอีกประเด็นหนึ่ง ผมไม่เห็นด้วยเลยที่หลายๆ คนใช้คำว่า “รสนิยมทางเพศ” และคำว่า “ไลฟ์สไตล์” เวลาบอกใครๆ ให้เปิดใจรับฟังหรือเวลาสนทนากันโดยทั่วไปที่มีประเด็นเรื่องการยอมรับ หรือไม่ยอมรับของสังคม แล้วบอกว่า เกย์เป็นรสนิยมทางเพศ/ หรือไลฟ์สไตล์อย่างหนึ่ง ซึ่งความจริงเคยพูดไปหลายครั้งแล้ว แต่...อยากพูดอีก
สองคำนี้นะครับ ต้องยอมรับว่า ฟังง่าย สำเร็จรูป ใช้สะดวก พอๆ กับคำว่า “ชายจริงหญิงแท้” ที่พูดกันจนเกร่อ จนชินหู จนชินปาก แต่อย่าลืมนะครับว่า คนฟัง ก็อาจตีความต่อไปเอาเองว่า อ๋อ...เป็นเกย์เหรอ ก็เป็นรสนิยมทางเพศ เป็นแค่ไลฟ์สไตล์หนึ่ง และคิดต่อไปในใจ แล้วทำไม เอ็งไม่เปลี่ยนรสนิยม หรือเลิกใช้ชีวิต (lifestyle) แบบนั้นล่ะ จะได้ไม่ต้องมาอึดอัดกับชาวบ้าน จะได้เหมือนชาวบ้านที่เป็น "ชายจริง-หญิงแท้" นะ?
ในประเด็นนี้ การเป็นเกย์ไม่ใช่รสนิยม (รสนิยมเปลี่ยนกันได้) และไม่ได้จำกัดอยู่ที่ไลฟ์สไตล์ (ไลฟ์สไตล์ ก็เปลี่ยนกันได้) แต่ในความเป็นจริง ผมว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจที่ว่า ทำไมเป็นเกย์มันถึงเปลี่ยนกันไม่ได้
เกย์คือ เกย์ เกย์ก็คือมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่ถูกกำหนดให้เกิดมาเป็นอย่างนั้นเอง การที่เกย์คือมนุษย์กลุ่มหนึ่งนี่เอง เกย์ย่อมมีอะไรที่คล้ายๆ กัน รู้สึกคล้ายๆ กัน ปฏิบัติตัวบางอย่างคล้ายๆ กัน มีสื่อสัญญาณ หรือความเป็นไปในชีวิตที่เราไม่เคยถูกสั่งสอน แต่กลับรู้สึกได้เหมือนกัน เกย์มีการให้คุณค่าบางอย่างที่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเฉพาะเกย์ในประเทศไทย แต่ทุกเกย์ทั่วโลก
บทเรียนเกี่ยวกับเกย์ไม่มีสอนในโรงเรียนนี่ครับ แต่ทำไมนะเกย์ที่เมืองไทย เวียดนาม หรืออูกานดาก็รู้สึกอะไรบางอย่างได้เหมือนกัน?
ผมคิดว่า สิ่งเหล่านั้นถูกผูกโยงเข้าด้วยกันเพราะคนเป็นเกย์ให้คุณค่ากับบางสิ่งบางอย่างที่คนทั่วไปไม่จำเป็นต้องโหยหา เช่น อิสระ ความรู้สึกอยากจะหลุดพ้นจากพันธนาการ ไม่ต้องการให้ใครมากำหนดวิถีชีวิต มีความเป็นตัวของตัวเอง รักความยุติธรรม และเห็นใจเพื่อนมนุษย์
เราจะเรียกสิ่งเหล่านี้ที่พูดมานี้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเกย์ได้ไหม?
ผมเลยคิดว่า ความนิยมเพลงดิสโก้ ชอบไปคลับ ไปบาร์ ไปท่องเซาน่า ติดเพลงโอเปร่า หรือละครเพลง คลั่งไคล้สินค้าแบรนเนม หรือเสื้อผ้า แฟชั่นนั้น และในยุคสมัยนี้ เกย์นิยมไปยิมฯ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ ความชอบของคนกลุ่มหนึ่ง คุณจะเรียกมันว่า เป็น gay sub-culture ก็ได้
ไม่ใช่เกย์ทุกคนที่เป็นอย่างนั้น ดังนั้นถ้าคุณหุ่นไม่ดี เต้นระบำในคลับไม่เป็น ไม่รู้ว่า ใครเป็นคนร้องเพลง “I Will Survive” หรือเพลง “I Am What I Am” มีความหมายว่าอะไร หรือไม่รู้ว่า จริงๆ แล้วเพลง My Way “เกย์จะตายไป” ก็ไม่ต้องเดือดร้อนนะครับ เพราะคุณก็เป็นเกย์ในอีก sub-culture หนึ่ง
เรื่องนี้คงต้องตั้งคำถามกันต่อไป แต่มีอีกคำถามหนึ่ง แล้ว...วัฒนธรรมของเกย์ไทยน่ะ มีมั๊ย?
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น