ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Blanco Road.

    ลำดับตอนที่ #1 : บนถนน 1

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 502
      2
      7 ก.พ. 54

    บนถนน 

           ชีวิตคนเรา เหมือนการเดินทาง เดินไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด บนถนนที่ถอดยาว บ้างก็เจอหลุม บางก็เจอกรวด หิน ดิน ทราย สารพัดสิ่ง ขวางทาง ในขณะที่บางคนเดินหน้าไปได้อย่างราบเรียบ ไม่เจอสิ่งกีดขวางใดเลย จนหลายครั้งที่เราอาจคิดไปว่า เราเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่อใคร บางคนอาจค้นพบได้คำตอบด้วยเวลาเพียงสั้นๆ ในขณะที่บางคนคนหามานานแสนนานแต่ก็ไม่เจอ

          แต่เราจะทุกข์กับมันไปทำไมเล่า ถึงวันนี้เราอาจไม่พบคำตอบ ความหมายของชีวิตก็จริงอยู่ หากแต่เรารู้จักที่จะใช้ชีวิตของเราให้คุ้มและมีค่า ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และเพื่อนมนุษย์นั้นจะดีกว่าไหม

         ทำอะไร? แบบไหน? ที่ใด? เมื่อไหร?

         ไม่ต้องรอให้ใครบอกหรอก เริ่มด้วยตัวเราเองนั้นแหล่ะ จะคิด จะพูด จะทำ อะไรก็แล้วแต่ ลองตรองดูก่อนดีไหม

         บนถนน...เมื่อเราเดินไปเรื่อยๆ ก็อาจเจอกับทางแยก หลายต่อหลายทาง จะเป็นไรเล่าหากเราลองที่จะเลือกเดินไปสักเส้นทาง และยามเมื่อพบว่าทางนั้นไม่ใช่สิ่งที่หวังไว้ จะเป๋นเช่นใดนะหากเราจะย้อนกลับไป ณ.จุดเริ่มต้นและเลือกทางเส้นใหม่ ไม่ผิดหรอก หากแต่ว่าถ้ามันย้อนไปไม่ได้หล่ะจะทำไง หยุด....หยุดพักก่อนดีไหม

         พักให้หายเหนื่อย ดีขึ้นแล้ว ค่อยๆ คิด เมื่อมันไม่ใช่ก็อย่าไปฝืน หากแต่ลองปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างดูดีไหม เริ่มที่เราดูที่ตัวเองก่อน ไหนดี ไหนไม่ดี และที่สำคัญ จงเชื่อมั่นในตัวเอง และก็อย่าได้ลืมความเป็นตัวของตัวเอง

          ณ. ทางแยกที่เราพบว่ามันช่างมากมายหลายเส้น หากแต่ว่าบางครั้ง บางเส้นเมื่อเราเดินไปได้ ณ.จุดหนึ่ง เราอาจพบว่า ที่ปลายทางหรือกลางทางเหล่านั้น มันอาจมีจุดๆ หนึ่ง จุดที่ทางทั้งหลายมาบรรจบและพบกัน

          ดังเช่นแม่น้ำหลายสายไหลมารวมกัน เหมือนชีวิตบางคน ที่ต่างเดินไปในทางของตน แต่บางครั้งก็อาจมาบรรจบ พบกันได้ด้วยเหตุบังเอิญก็ดี ความตั้งใจก็ดี หรือแม้แต่ศาสนา ถึงจะต่างกันที่คำพูด หรือบางสิ่งบางอย่าง หากแต่ว่าจุดมุ่งหมายนั้นกลับไม่แตกต่างกันเลย หลายคำสอน หลายศาสนา ล้วนมุ่งหวังให้คนเป็นคนดี มีความสุข และพ้นทุกข์

            ตัวอย่างเช่น หลักคำสอนของแต่ละศาสนา หากลองพิจารณาเปรียบความ และจุดมุ่งหมายดู แล้วจะรู้ว่า จริงหรือไม่.....มาดูกัน........

    1. หลักการสำคัญของพุทธศาสนา

            ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวงคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้น การศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี (อิทัปปัจจยตา) และความเป็นไปตามธรรมชาติ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา

           หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นหลักการพื้นฐานของจริยธรรมสากลคุณธรรมสากลและศิลธรรมสากล จริยธรรมสากลคือการรักษาหน้าที่ตามบทบาทที่สมมุติของสังคม คุณธรรมสากลคือความดีของจิตใจตามที่สังคมคาดหวัดยึดถือ ศิลธรรมสากลคือการไม่ทำร้ายกันความประพฤติถูกต้องตามที่วัฒนธรรมนั้นๆยอมรับได้ และ ปรมัตถธรรมสากล คือหลักปรัชญาหลักวิทยาศาสตร์หรือหลักวิชาการ

    2. หลักการสำคัญของลัทธิเต๋า

           ลัทธิเต๋า  เป็นลัทธิและศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ โดยคำว่า เต๋า แปลว่า "หนทาง" ไม่สามารถที่จะรู้จากอักษรและชื่อ ถ่ายทอดไม่ได้

           หยินหยาง เป็น คติทวินิยมของลัทธิเต๋า หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นของคู่ตรงกันข้าม, สิ่งที่เป็นของคู่ ของคู่อันพึ่งทำลาย ของคู่อันทำให้สมดุล

    ธรรมชาติประกอบด้วยของคู่

           หยาง คือพลังบวกมีลักษณะสีแดง เป็นพลังเพศชาย พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความอบอุ่น สว่างไสว มั่นคง สดใส เช่น ดวงอาทิตย์ ไฟ ฯลฯ

           หยิน คือพลังลบ มีลักษณะสีดำ เป็นพลังเพศหญิง พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความหนาวเย็น ความมืด อ่อนนุ่ม ชื้นแฉะ ลึกลับ และเปลี่ยนแปลง เช่น เงามืด น้ำ ฯลฯ

    3. หลักการสำคัญของลัทธิขงจื้อ

           ลัทธิขงจื๊อ (Confucianism) เป็นศาสนาหรือลัทธิ ที่มุ่งแก้ไขปัญหาการเมืองและสังคมของจีน ในสมัยจลาจล โดยเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุขเรียบร้อย ทั้งนี้จะถือหลักการเรื่องมนุษยธรรมและจารีตประเพณี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักแห่งสัมพันธภาพ 5 ประการ ได้แก่ เมตตาธรรม มโนธรรม จริยธรรม สัตยธรรม ปัญญาธรรม (สอดคล้องกับหลักศีล 5 ของพุทธศาสนา) และศาสตร์สี่แขนง ที่ขงจื๊อวางรากฐานไว้ ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติดหรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า

    4. หลักการสำคัญของศาสนาคริสต์

         ความรัก เป็นกฎทองคำของศาสนาคริสต์ กล่าวว่า "จงรักพระเจ้าสุดใจ สุดความคิดสุดกำลัง" และ "จงรักเพื่อนบ้านเหมือนเจ้ารักตัวเอง" นอกจากนี้บรรดาคำสอนทั้งหลายของพระเยซูนั้นเทศนาบนภูเขา (Sermon on the Mount) เป็นคำสอนที่จัดเป็นระบบมากที่สุด และแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ของพระเยซูที่ต้องการปฏิรูปชีวิตมนุษย์ไปสู่หนทางที่ถูกต้อง อีกทั้งเป็นหลักจริยธรรมที่พระองค์ทรงมอบให้แก่มนุษย์ทุกคนได้ปฏิบัติเพื่อความสุขในโลกนี้และโลกหน้า อาทิเช่น ความโกรธ การล่วงประเวณี การหย่าร้าง การสบถสาบาน การตอบแทน รักศัตรู การทำทาน ฯลฯ (หมายเหตุ – รายละเอียดสามารถหาอ่านได้ที่ http://www.panyathai.or.th/wiki )

    5. หลักการสำคัญของศาสนาอิสลาม

            ศาสนาอิสลาม คือ ความศรัทธา เป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นทางนำในการดำรงชีวิตทุกด้าน แก่มนุษย์ทุกคน ไม่ยกเว้น อายุ เพศ เผ่าพันธ์ วรรณะ หรือฐานันดร

            อิสลาม เป็นธรรมนูญสำหรับมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในชีวิตส่วนตัว และสังคม เป็นธรรมนูญที่ครอบคลุมทุกด้าน เป็นจริยธรรมอันสูงส่งเพื่อการครองตนอย่างมีเกียรติ เน้นความอดกลั้น ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที ความสะอาดของกายและใจ ความกล้าหาญ การให้อภัย ความเท่าเทียมและความเสมอภาคระหว่างมนุษย์ การเคารพสิทธิของผู้อื่น สั่งสอนให้ละเว้นความตระหนี่ถี่เหนียว ความอิจฉาริษยา การติฉินนินทา ความเขลาและความขลาดกลัว การทรยศและอกตัญญู การล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น เป็นต้น

    กลับมาที่ศาสนาพุทธ

           บนถนนนี้มีทางสายหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ เรียกว่า ทางสายกลาง หรือ มรรคมีองค์ 8 (มชฺฌิมา ปฏิปทา) เพราะงดเว้นจากข้อปฏิบัติที่เอียงสุด 2 ประการ

           ข้อปฏิบัติเอียงสุดอย่างแรก ได้แก่ การแสวงหาความสุขด้วยกามสุข อันเป็นของต่ำทราม เป็นของธรรมดา ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นทางปฏิบัติของสามัญชน

           ข้อปฏิบัติเอียงสุดอีกอย่างหนึ่ง คือการแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนเองให้เดือดร้อน ด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยาในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการทรมานร่างกาย เป็นสิ่งไม่มีค่า และเป็นสิ่งไม่มีประโยชน์ ในเบื้องแรกนั้น

           พระพุทธองค์ได้ทรงทดลองปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เอียงสุดทั้งสองประการนี้มาแล้ว ทรงพบว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จึงได้ทรงค้นพบทางสายกลางนี้ด้วยประสบการณ์ของพระองค์เอง ซึ่งเป็นทางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และนิรวาณะ (พระนิพพาน) ทางสายกลางนี้โดยทั่วไปหมายถึง ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ (อริยอฏฐคิกมคฺค) เพราะประกอบด้วยองค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการคือ

            1.เห็นชอบ (สัมมาทิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูต ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง 2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น

           2.ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย 1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)

           3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ

          4.กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม

          5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ

          6.พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

          7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม 44

          8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาน 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาน 44

          องค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการของทางสายกลางนี้ ต้องนำไปปฏิบัติทีละข้อ โดยเรียงตามลำดับ จะต้องพัฒนาให้มีขึ้นพร้อมๆกันมากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่ขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะให้เป็นไปได้ องค์เหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวโยงกัน และแต่ละองค์ก็ช่วยส่งเสริมองค์อื่นๆไปด้วย

          องค์ 8 ประการเหล่านี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม และทำให้หลักการ 3 อย่างของการฝึกอบรม และการควบคุมตนเองของชาวพุทธมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ

          1.ความประพฤติทางจริยศาสตร์ (ศีล)

          2.การควบคุมทางจิตใจ (สมาธิ)

          3.ปัญญา (ปัญญา)

          ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามรรคเป็นวิถีชีวิตที่แต่ละบุคคลจะต้องนำไปประพฤติ และพัฒนาเป็นการควบคุมตนเอง ทั้งกาย วาจา และใจ เป็นการพัฒนาตนเอง และเป็นการชำระ (จิต) ตนเองให้บริสุทธิ์ เป็นทางที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งในอุดมสัจ ความมีอิสระอย่างสมบูรณ์ ความสุขและสันติ โดยอาศัยการบำเพ็ญตาม ศิล สมาธิ และปัญญาอย่างสมบูรณ์

          ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาทั้งหลาย ยังมีประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนาที่ประกอบกันแบบง่ายๆ และสวยงามในโอกาสต่างๆ แต่ประเพณี และพิธีกรรมเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอริยมรรคนี้ มันมีคุณค่าก็แต่เพียงเป็นการสนองศรัทธา และความต้องการบางอย่างของผู้ที่ได้รับการพัฒนามาน้อย และช่วยให้คนเหล่านั้นได้ดำเนินไปสู่อริยมรรคนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไปเท่านั้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×