ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    The 25 Prophets in Al- Quran ประวัตินบีในคัมภีร์อัล-กรุอ่าน

    ลำดับตอนที่ #5 : นบีอิดรีส อะลัยฮิสสลาม 2 (ตอนจบ)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.2K
      2
      28 ก.ค. 55

      ปรัชญาและคำสั่งสอนของอิดรีส

     

            ประวัติศาสตร์ไม่ได้ทิ้งชีวประวัติโดยละเอียดของนบีอิดรีสไว้ ให้พวกเราได้

    เรียนรู้ตั้งแต่ต้นจนจบเหมือนกับที่พวกเราได้เรียรู้ชีวประวัติของนบีท่านอื่นๆ  แต่

    ขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้ใจร้ายกับพวกเราจนเกินไปที่ยังได้ทิ้งร่องรอย

    คำสั่งสอน และปรัชญาต่างๆไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และกล่าวขาน  ภายหลัง

    จากเจ้าของถ้อยคำเหล่านั้นจากไปแล้ว.  ตำราประวัติศาสตร์บางเล่มได้รายงานคำสั่ง

    สอนอันยิ่งใหญ่ และปรัชญาที่มีความสำคัญของนบีอิดรีส (อ.ล) ไว้ให้แก่พวกเรา.

     

            นักรายงานกล่าวว่านบีอิดรีส (อ.ล) ได้กล่าวว่า : 

     

            “ เมื่อพวกเจ้าวิงวอนขอดุอาต่ออัลเลาะห์ ตาอาลา   พวกท่านจงทำใจให้

    บริสุทธ์ “

     

            ปรัชญาข้อนี้เชิญชวนเราให้ทำจิตใจให้บริสุทธิ์  ในทุกๆกิจกรรมที่เราลงมือ

    กระทำ หรือทุกๆ คำพูดที่เราพูดออกไป  เพื่ออัลเลาะห์จะตอบรับคำวิงวอนของเรา

    ขณะที่วิงวอนขอดุอา เช่นเดียวกับที่เราได้เรียนรู้ในศาสนาของเราจากคำดำรัสของ

    อัลเลาะห์ ตาอาลาที่ว่า :

     

     “ ดังนั้นพวกเจ้าจงวิงวอนขอต่อพระองค์   โดยเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจในศาสนาของ

    พระองค์เถิด “ (ฆอฟิร : 65) 

     

    และในคำของท่านนบี (ซ.ล) ที่ได้กล่าวว่า :

    “ กิจกรรมทุอย่างขึ้นอยู่กับเจตนา และทุกคนจะได้รับตามที่เขาตั้งเจตนา “  และนี่

    ย่อมเป็นเครื่องยืนยันแก่มนุษยชาติว่านบีทั้งหลายนั้นมาจากแหล่งเดียวกันคือมา

    จากอัลเลาะห์ ตาอาลา .

     

            นักรายงานหลายท่านได้กล่าวว่านบีอิดรีส (อ.ล) ได้กล่าวว่า :

            “ พวกท่านอย่าสาบานเท็จ  อย่าจู่โจมอัลเลาะห์ด้วยคำสาบาน  อย่าใช้ให้คน

    โกหกสาบาน จะเป็นเหตุให้พวกท่านได้รับบาปร่วมกับพวกเขา “

     

            หมายความว่าการโกหกเป็นบาปใหญ่และการสาบานเท็จเป็นความผิดที่ศาสนา

    ห้าม  อัลกุรอานได้อธิบายเรื่องสาบานเท็จไว้ในคำดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลาที่ว่า :

     “ ท่านทั้งหลายอย่าใช้อัลเลาะห์เป็นข้ออ้างสำหรับการสาบาน (จะไม่ทำความดี)ของ

    พวกท่าน”   (อัลบะกอเราะห์ :  224)  และพวกท่านอย่าขอร้องให้คนโกหกกล่าวคำ

    สาบาน  เพราะพวกเขาจะมีบาปด้วยคำสาบานของพวกเขา  และเมื่อเป็นเช่นนั้นพวก

    ท่านก็จะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการทำบาปของคนเหล่านั้นด้วย.

     

            นบีอิดรีสได้กล่าวไว้อีกว่า :

            “  พวกท่านจงออกห่างไกลจากการประกอบอาชีพที่สกปรก “

            หมายความว่าเราจะต้องไม่ดำเนินตามแนวทางที่นำไปสู่อาชีพการงานที่

    อัลเลาะห์ ตาอาลา ห้าม  และนี่ก็ตรงกับข้อความที่มีปรากฏอยู่ในอัลกุรอานว่า

    : “ ท่านทั้งหลายอย่ากินทรัพย์ของพวกท่านในหมู่พวกท่านกันเองโดยทุจริต “

      (อันนิซาอ์ :29) 

     

          อาชีพที่สกปรกไม่ได้มีอยู่ในเรื่องของเงินทองเท่านั้น   ยกตัวอย่างเช่นในชีวิต

    ของพวกเรานั้นมีอาชีพการงานมีอยู่มากมายและหลากหลาย  ปรัชญาข้อนี้บอกให้เรา

    รู้ว่าเราจะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์ใดๆ ด้วยวิธีการที่สกปรก  แต่เราจะต้องยึดมั่น

    อยู่กับเส้นทางที่ยุติธรรมเพื่อนำไปสู่สิ่งที่อัลเลาะห์ ตาอาลา อนุมัติแก่พวกเราในชีวิต

    นี้.

     

            อิดรีสได้กล่าวว่า :

     

            “ ปรัชญาคือชีวิตของจิตใจ “

     

            ปรัชญาในที่นี้หมายถึงวิชาการที่มีประโยชน์  เป็นวิชาการที่ลับสมอง  ทำให้

    สติปัญญาปราดเปรื่อง  วิชาการจะทำให้สติปัญญาเป็นเหมือนตาชั่ง ที่จะใช้แยกแยะ

    ความดีออกจากความชั่ว  แยกสิ่งที่ดีงามออกจากสิ่งที่เลวทราม  ด้วยเหตุนี้จิตใจจะ

    ทำให้ชีวิตเฟื่องฟูขึ้นอย่างเหมาะสมกับความเป็นมนุษย์  ที่อัลเลาะห์ได้แต่งตั้งให้เป็น

    ผู้แทนของพระองค์ในโลกนี้  อัลกุรอานได้ยืนยันถึงเรื่องนี้แก่พวกเราว่า : “ พระองค์

    จะมอบวิชาการแก่ผู้ที่พระองค์ประสงค์  และผู้ใดได้รับวิชาการ  ก็เท่ากับว่าเขาได้รับ

    ทรัพย์สินอันมากมาย  และจะไม่มีผู้ใดสำนึกนอกจากพวกที่มีสติปัญญาเท่านั้น “

     (อัลบะกอเราะห์ : 269)

     

            และเพราะนบีอิดรีส ทราบดีถึงคุณค่าของความอดทนในชีวิตของมนุษย์  และ

    เพราะชีวิต จะไม่สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นนอกจากต้องมีความอดทน   อิดรีส จึง

    เชิญชวนมนุษย์ให้มีความอดทนและเตือนตนเองอยู่เสมอให้มีความอดทนด้วยเช่นเดียวกัน 

    เขาได้แกะสลักที่หัวแหวนของเขาด้วยถ้อยคำที่เป็นปรัชญาอันยิ่งใหญ่

    ว่า  :

    “ ความอดทนพร้อมด้วยความศรัทธาต่ออัลเลาะห์จะทำให้ได้รับชัยชนะ “

     

    เพราะรายรับที่แท้จริงในชีวิต จะผ่านเข้ามาทางเส้นทางของความอดทน  และ

    ความอดทนนั้นถือเป็นมารยาทที่อิสลามเรียกร้องเชิญชวน  และได้แจ้งข่าวดีแก่ผู้มี

    ความอดทนว่าจะได้รับสิ่งที่ดีในบั้นปลายของชีวิต  อัลเลาะห์ ตาอาลาได้ตรัสไว้ในอัล

    กุรอานว่า : “ และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่พวกที่มีความอดทนเถิด “  (อัลบะกอเราะห์ :

     155)  ในเมื่ออัลเลาะห์ ตาอาลาจะตอบแทนความดีเป็นสิบเท่าถึงเจ็ดร้อยเท่า แต่

    พระองค์จะตอบแทนความอดทนมากยิ่งกว่านั้นมากมายหลายเท่า อัลเลาะห์ ตาอาลา

    ตรัสว่า :

     

    “ พวกที่มีความอดทนนั้นจะได้รับผลบุญของพวกเขาโดยสมบูรณ์ อย่างคิด

    คำนวณไม่ได้ “

    (อัซซุมัร :10) 

     

           เพราะความอดทนคือการเหนี่ยวรั้งจิตใจไม่ให้เตลิดไปตามความปรารถนาของ

    มันไม่ว่าจะเป็นการอดทนในการทำอิบาดะห์ต่ออัลเลาะห์การปฏิบัติตามสิ่งที่อัลเลาะห์

    ใช้  อดทนในการยับยั้งจากสิ่งที่อัลเลาะห์ห้าม  หรืออดทนต่อกำหนดของอัลเลาะห์

    ด้วยความพอใจเผชิญกับภัยพิบัติเหตุแห่งความเศร้าหมองด้วยความพอใจและยอมรับ

    ในกำหนดของอัลเลาะห์  และรู้ว่าจะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นในจักรวาลนี้  นอกจากเป็นไป

    ตามที่อัลเลาะห์ประสงค์ให้เกิดขึ้น และเป็นไปตามที่

     

           ท่านนบี (ซ.ล) ได้กล่าวไว้ว่า : “ พึงทราบเถิดว่าสิ่งที่พลาดไปจากท่านนั้นจะ

    ไม่มาประสบกับท่าน และสิ่งที่ประสบกับท่านนั้นจะไม่พลาดไปจากท่าน “  และเช่น

    ที่อัลเลาะห์ ตาอาลาได้ตรัสว่า :“ ไม่มีเคราะห์กรรมใดที่เกิดขึ้นในโลกนี้ และไม่มีที่

    เกิดขึ้นในตัวของพวกเจ้าเอง นอกจากมีบันทึกไว้แล้วก่อนที่เราจะจะบังเกิดมันขึ้นมา

    แท้จริงนั่นเป็นการง่ายสำหรับอัลเลาะห์ “ (อัลฮะดีด :22)

     

            และที่เป็นปรัชญาของอิดรีสด้วยเช่นกัน   ก็คือการเชิญชวนให้ประชาชนปฏิบัติ

    ตามหน้าที่ที่เป็นฟัรดู ต่างๆ   และปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา  และวันรื่นเริง(วัน

    อีด) ที่แท้จริงก็คือวันที่จะทำให้พระผู้เป็นเจ้าพอพระทัย  และเป็นวันที่จะนำศาสน

    บัญญัติมาปฏิบัติ, และได้ปักไว้ที่เสื้อคลุมของนบีอิดรีส (อ.ล)  ด้วยประโยคที่ว่า :

    “ วันรื่นเริงต่างๆ มีไว้เพื่อการปฏิบัติตามหน้าที่  บทบัญัติมีไว้เพื่อให้ศาสนาสมบูรณ์

     ศาสนาจะสมบูรณ์ อยู่ที่ความมีมารยาทสมบูรณ์ “

     

    นบีอิดรีส ได้กล่าวไว้อีกเช่นกันว่า :

    “ คนที่มีความสุขคือคนที่พิจารณาตนเอง  และสิ่งที่จะช่วยเหลือเขาได้ ณ องค์

    อภิบาลของเขา  คือกิจกรรมที่ดีงามทั้งหลาย “

     

    นี่คือสัจธรรม, ความสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากต้องทำความดี  และ

    ไม่มีอะไรจะเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ นอกจากสิ่งที่เขาได้ทำไว้  อัลเลาะห์ ตาอาลา

    ทรงสัจจะที่ได้ตรัสไว้ว่า :

     

    “ ความจริงมนุษย์จะไม่มีสิทธิ์ได้รับอะไร นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้ (39)

    และแท้จริงสิ่งที่เขาพากเพียรไว้นั้น  เขาก็จะได้เห็น (40) หลังจากนั้นเขาจะได้รับการ

    ตอบแทนที่ครบสมบูรณ์ ยิ่ง (41) “  (อันนัจม์)

     

    ปรัชญาข้อนี้เรียกร้องเราให้ประเมิณกิจกรรมต่างๆ ของเรา  พิจารณาเพื่อตัว

    ของเราทั้งกลางวันและกลางคืน  และตรวจสอบตัวเราเองก่อนที่อัลเลาะห์ ตาอาลา

    จะสอบสวนเรา.

     

    ผู้แจ้งข่าวดีและแจ้งข่าวร้าย

     

    อิดรีส (อ.ล) เป็นผู้แจ้งข่าวดี และแจ้งข่าวร้าย  หน้าที่ของเขาก็เหมือนกับ

    หน้าที่ของนบีทุกๆ ท่าน, เขาจะแจ้งข่าวดีด้วยสัจธรรม ด้วยแสงสว่าง และความดี

    และแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ละเมิดและทำบาปด้วยการลงโทษอันเจ็บปวด. อิดรีสได้แจ้ง

    ข่าวดีถึงการมาของบรรดานบี และรอซู้ล  ภายหลังจากเขา และยังได้แจ้งคุณลักษณะ

     และบุคลิกภาพของพวกเขาให้ประชาชนได้รับทราบ เขาได้กล่าวว่า :

     

    “ นบีจะเป็นผู้สะอาดปราศจากคุณสมบัติที่ต้อยต่ำ และสิ่งที่น่ารังเกียรติทั้งปวง

     เป็นผู้มีคุณลักษณะที่ควรแก่การสรรเสริญอย่างครบถ้วน เขาจะไม่บกพร่องในประการ

    ใดๆ ที่ถูกถามทั้ง

     

            เรื่องในโลกนี้ และในชั้นฟ้า  และเขาสามารถบอกได้ถึงทุกสิ่งที่จะมาเยียวยา

    รักษาทุกความเจ็บปวด, และนบีทุกท่านมีคำวิงวอนที่จะถูกตอบสนอง อัลเลาะห์จะ

    ตอบสนองทุกคำวิงวอนของนบีที่ได้วอนขอ “

     

            นบี ตามคุณลักษณะดังกล่าวคือนบีที่อิดรีส (อ.ล)ได้ แจ้งข่าวดีไว้แก่ประชาชน

    ของเขา … เช่นเดียวกับที่เขาได้ได้แจ้งถึงลำดับชั้นของมนุษย์รองจากนบีทั้งหลาย

    ว่ามีสามลำดับชั้นคือ :

     

    -      นักทำอิบาดะห์

    -      กษัตริย์

    -      และประชาชน

    อิดรีสถือว่านักทำอิบาดะห์มีตำแหน่งสูงเหนือกว่ากษัตริย์ เพราะนักทำอิบาดะห์

    จะวิงวอนขอต่ออัลเลาะห์ขอให้แก่ตัวเขาเอง ขอให้แก่กษัติย์ และขอให้แก่ประชาชน.

    เขาจะวิงวอนขอให้แก่ทุกๆคน ในขณะเดียวกันเขาก็จะตักเตือนผู้คนให้รำลึกถึงความ

    โปรดปรานต่างๆ ของอัลเลาะห์ที่ได้ประทานให้แก่พวกเขา  และสอนประชาชนให้

    รู้จักวิธีการแสดงความขอบคุณต่ออัลเลาะห์ที่ได้ให้ความโปรดปรานเหล่านี้แก่พวเขา.

     

            ส่วนกษัตริย์นั้นจะไม่วิงวอน  เขาจะไม่ขอต่ออัลเลาะห์ ยกเว้นเพื่อประโยชน์แก่

    ตัวเขาเองเท่านั้น  คือขออำนาจและทรัพย์สิน, ดังนั้นพวกนักทำอิบาดะห์จึงใกล้ชิด

    กับอัลเลาะห์ยิ่งกว่ากษัตริย์ และยิ่งกว่าประชาชน.

            ดังกล่าวนี้คือการจัดระเบียบให้แก่สังคม ของท่านนบีอิดรีส (อ.ล) และดังกล่าว

    นั้นคือคำประกาศเชิญชวนของเขา ที่มีทั้งการแจ้งข่าวดี และการแจ้งข่าวร้าย เป็นคำ

    ประกาศเชิญชวนสู่ความเที่ยงธรรม บนแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งอัลเลาะห์ประสงค์พัฒนา

    โลกนี้ให้มีความเจริญรุ่งเรือง เพื่อความผาสุขของมวลมนุษย์.

     

    ภาพลักษณ์ของนบีอิดรีส (อ.ล)

     

    ตำราต่างๆ กล่าวว่า: ท่านนบี อิดรีส (อ.ล) มีรูปร่างสูงสง่า  มีใบหน้าคมเข้ม

    เคราดก  มีกริยามารยาทงดงาม  ไหล่กว้าง  กระดูกใหญ่  เนื้อน้อย  ดวงตามีประกาย

    ตาคม  ท่านพูดจาเนิบๆ  ส่วนใหญ่ท่านจะเป็นคนนิ่งเงียบ  ท่านมีอาการสำรวมขณะ

    เดิน  ตามองพื้น ใช้ความคิดมาก ขณะที่ท่านพูดท่านจะกระดิกนิ้วชี้ .

     

    สำหรับชีวิตของนบีอิดรีสนั้นเต็มไปด้วยการต่อสู้ และการประกาศเชิญชวนสู่

    ศาสนาของอัลเลาะห์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร  ส่วนผลงานของท่าน  มีผู้กล่าวว่า

    ท่านเป็นคนแรกที่พูดถึงเรื่องธรรมชาติการสร้างของอัลเลาะห์  เดชานุภาพของผู้ทรง

    สร้าง  สิ่งเร้นลับของจักรวาลและเอกภพ  หมายถึงเรื่องเทหะวัตถุในท้องฟ้าเบื้องบน

    และในการโคจรของดวงดาว  ท่านเป็นคนแรกที่ก่อสร้างสถานที่ทำอิบาดะห์  และ

    กล่าวคำสรรเสริญอัลเลาะห์ในสถานที่เหล่านั้น เป็นคนแรกที่ให้ความสนใจกับวิชาการ

    แพทย์  ท่านได้ขับโคลงกลอนที่มีจังหวะบังคับ  และเป็นคนแรกที่เตือนว่าจะเกิดน้ำ

    ท่วมโลกในยุคของนบีท่านหนึ่งที่จะมีมาภายหลังจากท่าน.

     

    นักวิชาการหลายคนกล่าวว่านบีอิดรีสเป็นผู้สร้างปีรามิดแรกๆ ในที่ราบสูงของ

    อียิปต์  และได้วาดภาพการอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ ไว้ในปีรามิด

    ด้วย  ท่านได้เขียนรายละเอียดของวิชาการต่างๆ ไว้ในปีรามิดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ให้

    คนยุคหลัง  และกลัวว่าจะหายไปจากโลก  และสูญสลายไปเมื่อเกิดน้ำท่วมโลกขึ้น.

     

     

    ตำแหน่งอันสูงส่ง

     

    อัลเลาะห์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกรได้สดุดีนบีอิดรีส (อ.ล) โดยพระองค์ได้

    ตรัสว่า :

    “และจงกล่าวถึงเรื่องอิดรีส ที่อยู่ในคัมภีร์เถิด แท้จริงเขาเป็นผู้ศรัทธามั่น และเป็นนบี

     และเราได้เทิดเกียรติเขาสู่ตำแหน่งอันสูงส่ง “ (มัรยัม : 56-57)

     

    และเป็นความจริงที่อิดรีส (อ.ล) สมควรได้รับตำแหน่งนบี  ความสัจจริง และ

    ตำแหน่งอันสูงส่งในสวรรค์ ..  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  ? !

     

    เล่ากันว่าอิดรีส (อ.ล) ทำงานเป็นคนเย็บผ้า  เขาจะปักเข็มพร้อมกับกล่าวว่า

     ซุบฮานั้ลลอฮ์ ทุกครั้ง จนไม่มีผู้ใดในโลกนี้จะมีกิจกรรมที่ประเสริฐยิ่งกว่าเขา ..

     อัลเลาะห์ได้มีโองการมายังเขาว่าความดีที่ลูกหลานอาดัมกระทำนั้นจะถูกยกมามอบ

     ให้แก่เขา ..

     

    อิดรีสทำอย่างไรต่อไป  ? !

    เขาชอบที่จะทำความดีเพิ่มขึ้น และกล่าวคำตัสบีฮ์ ต่ออัลเลาะห์ ให้มาก

    ยิ่งขึ้นไปอีก  เขาปรารถนาตำแหน่งอันสูงส่ง และความโปรดปรานอันใหญ่หลวง ณ

    พระองค์อัลเลาะห์ผู้อภิบาลสากลโลก .

     

    วันหนึ่งได้มีมะลาอิกะห์ท่านหนึ่งมาหาอิดรีส  เขาได้ขอร้องให้มะลาอิกะห์นำ

    เขาไปให้เห็นความดีของมนุษย์ทั้งหมด.. มะลาอิกะห์จึงพาเขาตระเวนไปทั่วทั้งพื้น

    ปฐพี  โดยเขากล่าวคำตัสบีฮ์ คือ ซุบฮานั้ลลอฮ์ วะบิฮัมดิฮี   ไม่ขาดปาก  หลังจาก

    นั้นอิดรีสได้ขอร้องมะลาอิกะห์ให้พาเขาไปเที่ยวชมขุมนรกและชาวนรก  มะลาอิกะห์

    ได้พาเขาไปจนถึงนรก  เขาได้เห็นนรก มันยิ่งทำให้เขายำเกรงอัลเลาะห์มากยิ่งขึ้น

    เพิ่มความศรัทธาต่อพระองค์ให้แก่เขามากขึ้น   และเพิ่มการกล่าวตัสบีฮ์ต่ออัลเลาะห์

    มากยิ่งขึ้น .. เขาขอร้องมะลาอิกะห์ให้นำเขาไปพบ มะลาอิกะห์แห่งความตายเพื่อขอ

    ร่นกำหนดความตายออกไป เพื่อเขาจะได้ทำความดีมากขึ้น และกล่าวตัสบีฮ์ต่อ

    อัลเลาะห์มากยิ่งขึ้น  มะลาอิกะห์ให้เขาขึ้นหลังแล้วพาเขาบินขึ้นไปยังฟ้าชั้นที่สี่  และ

    ที่นั่นเขาได้พบกับมะลาอิกะห์แห่งความตาย   ซึ่งอัลเลาะห์ได้บัญชาเขาให้มาเก็บ

    ดวงวิญญาณอันบริสุทธิ์ ของอิดรีสที่ฟ้าชั้นที่สี่ มะลาอิกะห์แห่งความตายรู้สึกแปลกใจ

    ที่ได้พบอิดรีสอยู่ในฟ้าชั้นที่สี่  และเขาก็ได้เก็บดวงวิญญาณของอิดรีสไป … ที่กล่าว

    นี้เป็นคำพูดของนักบรรยายความหมายอัลกุรอาน (มุฟัซซิรูน)  และอัลเลาะห์ทรง

    ทราบดีถึงความถูกต้องในเรื่องนี้.

     

    ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล) ได้แจ้งให้พวกเราทราบว่าท่านได้เห็นนบีอิดรีสอยู่ใน

    ฟ้าชั้นที่สี่ ในคืนอิสรออ์ และเมียะอ์รอจ.

     

    ขออัลเลาะห์ได้โปรดประทานความเมตตาแก่อิดรีสนบีผู้สะอาดบริสุทธิ์ ผู้กล่าว

    คำตัสบีฮ์ พร้อมด้วยสรรเสริญอัลเลาะห์ ทุกลมหายใจตลอดชีวิตของท่าน.

     

    ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ตำรับตำราทั้งหลายได้กล่าวถึงนบีอิดรีส (อ.ล)ซึ่งเราได้

    นำมาเล่าต่อ โดยที่เราทราบดีว่าบรรดานบีของอัลเลาะห์ และผู้ที่ได้รับแนวทางของ

    บรรดานบี และปฏิบัติงานเหมือนที่พวกเขาปฏิบัติ และเจริญรอยตามพวกเขา แท้ที่

    จริงพวกเขากำลังปฏิบัติหน้าที่อันยิ่งใหญ่เพื่อมนุษยชาติทั้งปวง  และรับใช้การดำเนิน

    ชีวิตของมนุษย์  ด้วยการนำเสนอปรัชญา คำสั่งสอนที่จะทำให้จิตใจและเรือนร่างของ

    มนุษย์สงบนิ่งอยู่กับหลักศรัทธาที่ถูกต้องและการงานที่ให้ผลผลิต และมีความบริสุทธิ์

    ใจที่จะยกคุณภาพชีวิตให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น.

    เราทราบดีว่านบีทั้งหลายประดุจดังดวงประทีป  ที่พวกเขาจะทำหน้าที่ชี้นำ

    ขบวนการพัฒนา และวางแผนอย่างชัดเจนสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง  และที่จะเกิดผล

    ตามมาก็คือความผาสุขของมวลมนุษย์นั่นเอง.

     

    ภายหลังจากบรรดานบี ก็มาถึงบทบาทของนักวิชาการที่เรียกว่า อุละมาอ์

    ทั้งหลายซึ่งพวกเขาเป็นทายาทที่รับมรดกทางวิชาการมาจากบรรดานบีทั้งหลาย 

    พวกเขากำลังถือคบไฟนำทาง และเตือนมนุษย์ให้ระวังกลอุบายต่างๆ ของชัยตอนที่

    เป้าหมายของมันอยู่ที่การทำลายสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  และ

    ทำลายล้างทุกสิ่งที่มนุษย์ได้ใช้สติปัญญาสร้างสสรรค์ไว้.

     

    นี่คือชีวประวัติของท่านนบีอิดรีส (อ.ล) เป็นห่วงหนึ่งจากสายโซ่นบีของ

    อัลเลาะห์ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างอาดัม กับนัวฮ์ (อ.ล) ที่อิดรีสได้กล่าวเตือนผู้คน

    ว่าจะมีนบีท่านหนึ่งมา และจะเกิดน้ำท่วมโลกขึ้นในยุคของเขา นั่นคือเรื่องราวที่

    จะได้นำเสนอต่อไป  อินชาอั้ลลอฮ์.

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×