ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาญี่ปุ่นกับบุ้งเซ็นเซย์

    ลำดับตอนที่ #8 : พยายามหน่อยนะ:episode2 คำช่วยเบื้องต้นเเละการบ่งชี้สิ่งของ

    • อัปเดตล่าสุด 13 ต.ค. 55


    ครับ  ก็มาเริ่มที่คำช่วยนะครับ เพื่อนๆครับ   ในบทนี้จะได้เรียนคำช่วย の /と/も  เริ่มที่คำช่วย の หมายถึง เจ้าของ/もหมายถึง ก้ด้วย ゾウ は ニュの ともだちです. ニュも  ゾウのともだちです. นิววะโซ่โนะโทโมดาจิเดส โซ่โม่ นิวโนะโทโมดาจิเดส เเปลว่า นิวเป็นเพื่อนของโซ่ โว่ก้เป็นเพื่อนของนิว と หมายถึง เเละ หรือ กับ ตัวอย่าง หมาเเละเเมว คือ いぬとねこ อินุโทะเนโกะ   ฉันเเละเธอคือครู わたしときみは  せんせいです.  วะติชิโตะคิมิวะ เซนเซเดส000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000                   การบ่งชี้สิ่งของ

    นี่  これ โคเระ
    นั่น それ โซะเระ
    โน่น あれ อาเระ
    ..........................
    วิธีการสร้างรูปประโยคบ่งชี้สิ่งของ           ใช่เลยนั่นก็คือ
    คำบ่งชี้  は  นาม   です.
    ทีนี้  ก้จะมาดูการอธิบายเเบบเจาะลึกครับ

    คำบ่งชี้

    คำบ่งชี้
    ko- so- a- do-
    kore
    อันนี้
    sore
    อันนั้น
    are
    อันโน้น
    dore
    อันไหน?
    kono
    นี้
    sono
    นั้น
    ano
    โน้น
    dono
    ไหน?
    konna
    เหมือนอย่างนี้
    sonna
    เหมือนอย่างนั้น
    anna
    เหมือนอย่างโน้น
    donna
    อย่างไร? เหมือนอย่างไหน
    koko
    ที่นี่
    soko
    ที่นั่น
    asoko *
    ที่โน่น
    doko
    ที่ไหน?
    kochira
    ทางนี้
    sochira
    ทางนั้น
    achira
    ทางโน้น
    dochira
    ทางไหน?

    แบบนี้

    แบบนั้น
    ā *
    แบบโน้น

    แบบไหน?
    * รูปพิเศษ

    คำบ่งชี้มีทั้งหมดสามแบบคือ คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko, so และ a คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูดมากกว่าผู้ฟัง คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย so ใช้ระบุสิ่งที่ใกล้ตัวผู้ฟังมากกว่าผู้พูด และคำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย a ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คำบ่งชี้สามารถทำให้เป็นรูปคำถามได้ด้วยการใช้คำว่า do ขึ้นต้น คำบ่งชี้ยังสามารถใช้ระบุบุคลได้ด้วย เช่น

    「こちらは林さんです。」
    Kochira wa Hayashi-san desu.
    "นี่คือคุณฮะยะชิ"

    คำบ่งชี้ที่ใช้เจาะจงคำนาม ต้องวางไว้หน้าคำนาม เช่น この本 (kono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนี้ และ その本 (sono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนั้น

    เมื่อใช้คำบ่งชี้ระบุสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้ฟังไม่เห็นในขณะนั้น คำบ่งชี้แต่ละคำจะมีความหมายในเชิงความรู้สึกที่แตกต่างกัน คำบ่งชี้ที่แสดงความไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง มักจะใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดมีร่วมกับผู้ฟัง เช่น

    A:先日、札幌に行って来ました。
    A: Senjitsu, Sapporo ni itte kimashita.
    A: เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปซัปโปโรมา
     
    B:あそこ(*そこ)はいつ行ってもいい所ですね。
    B: Asoko (*Soko) wa itsu itte mo ii tokoro desu ne.
    B: ไม่ว่าจะไปเมื่อไร ที่นั่นก็เป็นที่ที่ดีเสมอเลยเนอะ

    หากใช้ soko แทน asoko ในประโยคนี้ จะหมายความว่า B ไม่มีความรู้เกี่ยวกับซัปโปโร ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับซัปโปโร ดังนั้น จึงใช้ soko แทนไม่ได้ คำบ่งชี้ที่ใช้บอกว่าอยู่ใกล้ผู้ฟังมากกว่าผู้พูด มักใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้มีร่วมกัน เช่น

    佐藤:田中という人が昨日死んだって…
    Satō: Tanaka to iu hito ga kinō shinda tte…
    ซาโต้: ฉันได้ยินว่าคนที่ชื่อทานากะตายเมื่อวานนี้…
     
    森:えっ、本当?
    Mori: E', hontō?
    โมริ: เอ๊ะ จริงหรือ?
     
    佐藤:だから、その(*あの)人、森さんの昔の隣人じゃなかったっけ?
    Satō : Dakara, sono (*ano) hito, Mori-san no mukashi no rinjin ja nakatta 'kke?
    ซาโต้: ฉันถึงได้ถามไง เขาเป็นญาติของเธอไม่ใช่หรือ?

    สังเกตว่า ถ้าใช้ ano แทน sono ในประโยคนี้จะไม่เหมาะสม เพราะว่าซาโต้ไม่ได้รู้จักกับทานากะเป็นการส่วนตัว
    0000000000000000000000000000000000000000000000
    ขอขอบคุณ ภาษาญี่ปุ่น-วิกิพีเดียนะครับ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×